1.กรมปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศคืออะไร?
กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (กรม ปพ.อย.) (Special Operations Regiment, Royal Thai Air Force Security Force Command) หรือเรียกสั้นว่า คอมมานโดกองทัพอากาศ (Air Force Commando) เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่อยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ซึ่งหน้าที่ของกรมปฏิบัติการพิเศษจะเกี่ยวกับงาน
-ต่อต้านการก่อการร้ายอากาศยานและชิงตัวประกัน
-ควบคุมอากาศยานหน้าเพื่อให้เครื่องบินรบสามารถทำการสนับสนุนทางอากาศได้อย่างใกล้ชิด
-อารักขาบุคคลสำคัญ
-จู่โจมและยึดสนามบินเป้าหมาย (Seize and defend airfields)
-ทำสงครามนอกแบบ
-ปฏิบัติการจู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิตนักบินหรือกำลังพลจากเหล่าทัพอื่นที่อยู่ในพื้นที่การรบหรืออยู่ในแนวหลังข้าศึก
-ปฏิบัติการหลังแนวข้าศึกเพื่อชี้เป้าให้กับอากาศยาน
-ตรวจสอบภูมิประเทศว่าสามารถนำอากาศยานลงจอดฉุกเฉินได้หรือไม่
-ปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธีขั้นสูงให้กับกำลังพลที่ทำการรบแล้วได้รับบาดเจ็บและเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่การรบ
2.กว่าจะกลายมาเป็นกรมปฏิบัติการพิเศษ?
ในช่วงค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) ประเทศไทยอยู่ในช่วงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ในช่วงเวลานั้นกองทัพไทยทั้ง 3 เหล่าทัพ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, หน่วยงานความมั่นคงพลเรือน ต่างก็ต้องออกปฏิบัติการปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในส่วนพื้นที่การรบที่ดำเนินการโดยทั้ง 3 เหล่าทัพ ต้องเผชิญกับการต่อต้านรูปแบบต่างๆจากทางผกค. ทั้งนี้ในส่วนของกองทัพอากาศ (ทอ.) ได้ตระหนักถึงการที่มีเครื่องบินถูกยิงตกในพื้นที่การรบหรือหลังแนวข้าศึก หากเครื่องถูกยิงตกแล้วนักบินรอดออกมาได้ก็ต้องตกอยู่ภายใต้วงล้อมของข้าศึก ดังนั้นในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างค.ศ.1975-1976 (พ.ศ.2518-2519) ทางทอ.จึงได้จัดตั้งหน่วยค้นหาและช่วยชีวิตหรือที่เรียกสั้นๆว่า หน่วยพีเจ (Pararescue Jumper : PJ) เพื่อทำภารกิจจู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิตนักบินที่ได้ปฏิบัติการรบในสมรภูมิและตกลงยังพื้นที่อันตรายให้กลับออกมาให้ได้ โดยผู้ที่จะมาอยู่ในหน่วยพีเจนั้นเปิดรับเฉพาะบุคคลากรที่สังกัดในเหล่าอากาศโยธิน (อย.)กับเหล่าแพทย์เท่านั้น โดยบุคคลากรเหล่านี้จะถูกส่งไปประจำการอยู่ 2 หน่วยได้แก่
-ศูนย์ส่งกลับทางอากาศ
-หน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิต
โดยเริ่มแรกมี Pararescuemen Jumpers (PJs) เพียง 17 นายเท่านั้น และอีก 5 ปีต่อมา ได้ทำการเปิดหลักสูตรเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิตรุ่นที่ 1 ขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524) ซึ่งถ้าสำเร็จหลักสูตรแล้วจะบรรจุสังกัดฝูงบิน 201 (201st Squadron) กับฝูงบิน 203 (203rd Squadron) อันเป็นหน่วยสังกัดในกองบิน 2 (Wing 2) ที่อยู่จังหวัดลพบุรี
ขณะเดียวกันช่วงปีค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) เกิดเหตุปล้นยึดเครื่องบินของสายการบินฟิลิปปินส์ (Philippine Airlines : PAL) โดยฝีมือของแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro National Liberation Front : MNLF) 3 คน ได้บังคับให้กัปตันเครื่องบินขับมามาแวะพักจอดที่ประเทศไทยเพื่อทำการเปลี่ยนเครื่องไปประเทศลิเบีย โดยผู้ก่อการร้าย 3 คน ใช้ผู้โดยสาร 70 คน เป็นตัวประกันและยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้จ่ายเงินค่าไถ่ 3 แสนเหรียญสหรัฐฯพร้อมกับปล่อยนักโทษการเมือง 4 คน ซึ่งทางสายการบินฟิลิปปินส์ก็ได้จ่ายค่าไถ่ให้กับทางผู้ก่อการร้ายด้วยเงินสด ทางผู้ก่อการร้ายได้ปล่อยตัวประกัน 12 คน ส่วนที่เหลือบินไปยังลิเบีย พอเครื่องบินได้ทำการบินไปถึงลิเบีย พันเอก มูฮัมหมัด กัดดาฟี (Colonel Muammar Gaddafi) ผู้นำประเทศลิเบีย ก็ได้เข้ามาคลี่คลายสถานการณ์โดยการเจรจาให้ผู้ก่อการร้ายปล่อยตัวประกัน ผลสุดท้ายทางผู้ก่อการร้ายปล่อยตัวประกัน และพ.อ.กัดดาฟี ก็ได้ประสานงานส่งคืนตัวประกันและเงินค่าไถ่ให้กับทางสายการบินฟิลิปปินส์ ทว่าเหตุการณ์จี้เครื่องบินในครั้งนี้ทำให้ทางทอ.ตระหนักว่าจำต้องมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์นี้ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกในอนาคต ทำให้อีก 1 ปีต่อมาในค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) ได้มีการจัดตั้งหน่วยคอมมานโด โดยให้ขึ้นตรงกับกองพันสารวัตรทหารอากาศที่ 2 (สห.ทอ.พัน.2) สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (สน.ผบ.ดม.) และได้ดำเนินการเปิดอบรมหลักสูตร Commando รุ่นที่ 1 ให้กับกำลังพล 17 นายที่มาจากหน่วยพีเจในวันที่ 30 ธันวาคม ปีเดียวกัน
ในปีค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) หน่วยคอมมานโดได้ถูกตั้งเป็นกองร้อยปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Company) สังกัดกองปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Group) ภายใต้กรมอากาศโยธิน (Royal Thai Air Force Security Force Regiment : RTAF Security Force Regiment) หรือเรียกสั้นว่าร้อย.ปพ.อย. อีก 6 ปีต่อมา ในปีค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) หน่วย PJ ได้ถูกตั้งเป็นกองร้อยค้นหาและชีวิต (Search and Rescue Company) สังกัดกองปฏิบัติการพิเศษ ภายใต้กรมอากาศโยธิน หลังจากนั้นกองปฏิบัติการพิเศษก็ได้ถูกปรับยกระดับหน่วยให้กลายเป็นกรมปฏิบัติการพิเศษ (กรม ปพ.) (Special Operations Regiment) ในปีค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) ทว่าเมื่อได้มาเป็นกรม ปพ.แล้วก็เกิดปัญหาขึ้นที่ว่า'มีกำลังพลไม่พอต่อการปฏิบัติภารกิจ' ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรม ปพ.จึงได้หาทางแก้ไขโดยการรวม 2 หลักสูตรได้แก่ เจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิต กับ Commando เข้าด้วยกัน (ในกรณีนี้เคยเป็นเหมือนทางศสพ.ทบ.อยู่ช่วงนึงที่เคยทดลองนำเอาหลักสูตร Ranger มารวมเข้ากับ Airborne แต่ผู้เข้ารับการฝึกจบผ่านกันน้อยมาก สุดท้ายก็ต้องแยกออกเหมือนเดิม)เพื่อให้ผู้ที่จบหลักสูตรมาสามารถทำหน้าที่แทนกันได้ ดังนั้นในค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) ได้มีการอนุมัติคำสั่งจัดตั้งหลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Course) รุ่นที่ 1 นับแต่นั้นเป็นต้นมา และหน่วยคอมมานโดก็ได้ถูกยกระดับจากกองร้อยปฏิบัติการพิเศษให้เป็นกองพันปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Battalion)
3.ห้วงระยะเวลาการฝึก?
หลักสูตรปฏิบัติการพิเศษจะใช้เวลาในการฝึก 5 เดือนเศษๆ ในช่วงระยะเวลา 5 เดือนนี้ นักเรียนจะได้รับการฝึกหลากหลายมากมาย อาทิ เช่น
-เตรียมความพร้อมในด้านร่างกายและความอดทน
-ยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายอากาศยานและชิงตัวประกัน (Anti-hijacking and hostage rescue)
-ควบคุมการรบ (Combat Control)
-ลาดตระเวนระยะไกล (Long-range reconnaissance)
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต (Combat search and rescue : CSAR)
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูงทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-การส่งกลับทางการแพทย์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Medical evacuation : Medivac)
-การแทรกซึมทางน้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Helocasting)
-รบระยะประชิด (Close-quarters battle : CQB)
-การต่อสู้ระยะประชิดด้วยมือเปล่าหรือใช้อาวุธสั้น (Close-quarters combat : CQC)
-การเอาชีวิตรอด, การหลบหลีก, ต่อต้าน และการหลบหนี (Survival, Evasion, Resistance and Escape : SERE)
-การลาดตระเวนรบ (Combat patrol)
-ดำน้ำทางยุทธวิธี (Tactical diving)
-การฝึกเดินแผนที่เข็มทิศ การสื่อสาร และการข่าว
-การดำรงชีพในป่า
-การฝึกและแก้ปัญหาทางยุทธวิธี
-ฝึกยิงปืนทางยุทธวิธี
-เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้วัตถุระเบิด
-ฝึกปฏิบัติร่วมกับอากาศยาน
-ฝึกการใช้เรือยางแทรกซึมสู่พื้นที่เป้าหมาย
-การรื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด
-ยุทธวิธีรบนอกแบบ (Unconventional tactics)
หลังจากที่ผ่านในห้วงเวลา 5 เดือนนี้แล้วนักเรียนคนใดที่เป็นบุคคลากรจากทางทอ.จะได้รับเข้าบรรจุในกรมปฏิบัติการพิเศษ ทั้งนี้หลังจากที่ได้เครื่องหมายไปยังไม่ถือว่าสิ้นสุดการฝึก เพราะมันเป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น พวกเขาจะได้รับการฝึกหลักสูตรขั้นสูงต่อไปหลังจากที่ได้รับเข้าบรรจุหน่วย
4.ขีดความสามารถของกรม ปพ.อย. มีอยู่มากมาย อาทิ เช่น
-ส่งทางอากาศทุกรูปแบบ
-การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ (Air assault)
-รบระยะประชิด (Close-quarters battle : CQB)
-การต่อสู้ระยะประชิดด้วยมือเปล่าหรือใช้อาวุธสั้น (Close-quarters combat : CQC)
-ต่อต้านการก่อการร้ายสากล(เน้นไปที่อากาศยาน)และชิงตัวประกัน (Counter-terrorism and hostage rescue)
-ต่อต้านการก่อความไม่สงบ (Counterinsurgency : COIN)
-การสงครามป่าดงดิบ (Jungle warfare)
-การสงครามภูเขา (Mountain warfare)
-การสงครามป่าคอนกรีต (ในเมือง) (Urban warfare)
-การสงครามนอกแบบ (Unconventional warfare : UW)
-การสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious warfare) (ทำได้ในระดับนึง)
-การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทางยุทธวิธี (Tactical Electronic warfare)
-การขับรถทางยุทธวิธี (Tactical driving)
-การดำน้ำทางยุทธวิธี (Tactical diving)
-ยุทธวิธีรบนอกแบบ (Unconventional tactics)
-อารักขาบุคคลสำคัญ (Close protection)
-ปฏิบัติการโดยตรง (Direct action)
-ปฏิบัติการพิเศษ (Special operations)
-การลาดตระเวนพิเศษ (Special reconnaissance)
-การแกะรอย (Tracking)
-การเจาะระยะไกล (Long-range penetration)
-การปฏิบัติการลับ (Clandestine operation)
-การปฏิบัติการปกปิด (Covert operation)
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต (Combat search and rescue : CSAR)
-การส่งกลับทางการแพทย์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Medical evacuation : Medivac)
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูงทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-ตรวจสอบภูมิประเทศว่าสามารถให้อากาศยานลงจอดได้หรือไม่
-ควบคุมอากาศยานหน้า (Forward air control)
-รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด (Bomb disposal)
-ควบคุมการยิงสนับสนุนร่วม (Joint Terminal Attack Controller : JTAC)
5.โครงสร้างหน่วย?
-กองบัญชาการกรมปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศไทย (RTAF Special Operation Regiment Command)
*ศูนย์กองบัญชาการ (Command Center)
**กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (พัน.ปพ.1 อย.) (1st Special Operation Battalion, RTAF Security Force Command)
**กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (พัน.ปพ.2 อย.) (2nd Special Operation Battalion, RTAF Security Force Command)
**กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 3 หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (พัน.ปพ.3 อย.) (3rd Special Operation Battalion, RTAF Security Force Command)
*กองร้อยสนับสนุนการส่งทางอากาศ (Aerial Support Company)
*ศูนย์การจู่โจม ค้นหา และกู้ภัย (Combat Search and Rescue Center)
6.กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็นหนึ่งในหน่วยปฏิบัติการที่อยู่ในศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย (ศตก.) หรือไม่?
คำตอบ เป็น กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น 1 ใน 5 หน่วยระดับเทียร์วันที่รับผิดชอบงานด้านต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกัน
หากใครที่ยังสับสนหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับกรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เราหวังว่าการสรุปข้อมูลแบบคร่าวๆไม่ลงรายละเอียดเจาะลึกมากนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสุดท้ายนี้หากผิดพลาดข้อมูลประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
มาทำความรู้จักกรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธินแห่งกองทัพอากาศไทยแบบง่ายๆคร่าวๆกันเต๊อะ
กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (กรม ปพ.อย.) (Special Operations Regiment, Royal Thai Air Force Security Force Command) หรือเรียกสั้นว่า คอมมานโดกองทัพอากาศ (Air Force Commando) เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่อยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ซึ่งหน้าที่ของกรมปฏิบัติการพิเศษจะเกี่ยวกับงาน
-ต่อต้านการก่อการร้ายอากาศยานและชิงตัวประกัน
-ควบคุมอากาศยานหน้าเพื่อให้เครื่องบินรบสามารถทำการสนับสนุนทางอากาศได้อย่างใกล้ชิด
-อารักขาบุคคลสำคัญ
-จู่โจมและยึดสนามบินเป้าหมาย (Seize and defend airfields)
-ทำสงครามนอกแบบ
-ปฏิบัติการจู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิตนักบินหรือกำลังพลจากเหล่าทัพอื่นที่อยู่ในพื้นที่การรบหรืออยู่ในแนวหลังข้าศึก
-ปฏิบัติการหลังแนวข้าศึกเพื่อชี้เป้าให้กับอากาศยาน
-ตรวจสอบภูมิประเทศว่าสามารถนำอากาศยานลงจอดฉุกเฉินได้หรือไม่
-ปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธีขั้นสูงให้กับกำลังพลที่ทำการรบแล้วได้รับบาดเจ็บและเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่การรบ
2.กว่าจะกลายมาเป็นกรมปฏิบัติการพิเศษ?
ในช่วงค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) ประเทศไทยอยู่ในช่วงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ในช่วงเวลานั้นกองทัพไทยทั้ง 3 เหล่าทัพ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, หน่วยงานความมั่นคงพลเรือน ต่างก็ต้องออกปฏิบัติการปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในส่วนพื้นที่การรบที่ดำเนินการโดยทั้ง 3 เหล่าทัพ ต้องเผชิญกับการต่อต้านรูปแบบต่างๆจากทางผกค. ทั้งนี้ในส่วนของกองทัพอากาศ (ทอ.) ได้ตระหนักถึงการที่มีเครื่องบินถูกยิงตกในพื้นที่การรบหรือหลังแนวข้าศึก หากเครื่องถูกยิงตกแล้วนักบินรอดออกมาได้ก็ต้องตกอยู่ภายใต้วงล้อมของข้าศึก ดังนั้นในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างค.ศ.1975-1976 (พ.ศ.2518-2519) ทางทอ.จึงได้จัดตั้งหน่วยค้นหาและช่วยชีวิตหรือที่เรียกสั้นๆว่า หน่วยพีเจ (Pararescue Jumper : PJ) เพื่อทำภารกิจจู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิตนักบินที่ได้ปฏิบัติการรบในสมรภูมิและตกลงยังพื้นที่อันตรายให้กลับออกมาให้ได้ โดยผู้ที่จะมาอยู่ในหน่วยพีเจนั้นเปิดรับเฉพาะบุคคลากรที่สังกัดในเหล่าอากาศโยธิน (อย.)กับเหล่าแพทย์เท่านั้น โดยบุคคลากรเหล่านี้จะถูกส่งไปประจำการอยู่ 2 หน่วยได้แก่
-ศูนย์ส่งกลับทางอากาศ
-หน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิต
โดยเริ่มแรกมี Pararescuemen Jumpers (PJs) เพียง 17 นายเท่านั้น และอีก 5 ปีต่อมา ได้ทำการเปิดหลักสูตรเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิตรุ่นที่ 1 ขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524) ซึ่งถ้าสำเร็จหลักสูตรแล้วจะบรรจุสังกัดฝูงบิน 201 (201st Squadron) กับฝูงบิน 203 (203rd Squadron) อันเป็นหน่วยสังกัดในกองบิน 2 (Wing 2) ที่อยู่จังหวัดลพบุรี
ขณะเดียวกันช่วงปีค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) เกิดเหตุปล้นยึดเครื่องบินของสายการบินฟิลิปปินส์ (Philippine Airlines : PAL) โดยฝีมือของแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro National Liberation Front : MNLF) 3 คน ได้บังคับให้กัปตันเครื่องบินขับมามาแวะพักจอดที่ประเทศไทยเพื่อทำการเปลี่ยนเครื่องไปประเทศลิเบีย โดยผู้ก่อการร้าย 3 คน ใช้ผู้โดยสาร 70 คน เป็นตัวประกันและยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้จ่ายเงินค่าไถ่ 3 แสนเหรียญสหรัฐฯพร้อมกับปล่อยนักโทษการเมือง 4 คน ซึ่งทางสายการบินฟิลิปปินส์ก็ได้จ่ายค่าไถ่ให้กับทางผู้ก่อการร้ายด้วยเงินสด ทางผู้ก่อการร้ายได้ปล่อยตัวประกัน 12 คน ส่วนที่เหลือบินไปยังลิเบีย พอเครื่องบินได้ทำการบินไปถึงลิเบีย พันเอก มูฮัมหมัด กัดดาฟี (Colonel Muammar Gaddafi) ผู้นำประเทศลิเบีย ก็ได้เข้ามาคลี่คลายสถานการณ์โดยการเจรจาให้ผู้ก่อการร้ายปล่อยตัวประกัน ผลสุดท้ายทางผู้ก่อการร้ายปล่อยตัวประกัน และพ.อ.กัดดาฟี ก็ได้ประสานงานส่งคืนตัวประกันและเงินค่าไถ่ให้กับทางสายการบินฟิลิปปินส์ ทว่าเหตุการณ์จี้เครื่องบินในครั้งนี้ทำให้ทางทอ.ตระหนักว่าจำต้องมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์นี้ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกในอนาคต ทำให้อีก 1 ปีต่อมาในค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) ได้มีการจัดตั้งหน่วยคอมมานโด โดยให้ขึ้นตรงกับกองพันสารวัตรทหารอากาศที่ 2 (สห.ทอ.พัน.2) สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (สน.ผบ.ดม.) และได้ดำเนินการเปิดอบรมหลักสูตร Commando รุ่นที่ 1 ให้กับกำลังพล 17 นายที่มาจากหน่วยพีเจในวันที่ 30 ธันวาคม ปีเดียวกัน
ในปีค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) หน่วยคอมมานโดได้ถูกตั้งเป็นกองร้อยปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Company) สังกัดกองปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Group) ภายใต้กรมอากาศโยธิน (Royal Thai Air Force Security Force Regiment : RTAF Security Force Regiment) หรือเรียกสั้นว่าร้อย.ปพ.อย. อีก 6 ปีต่อมา ในปีค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) หน่วย PJ ได้ถูกตั้งเป็นกองร้อยค้นหาและชีวิต (Search and Rescue Company) สังกัดกองปฏิบัติการพิเศษ ภายใต้กรมอากาศโยธิน หลังจากนั้นกองปฏิบัติการพิเศษก็ได้ถูกปรับยกระดับหน่วยให้กลายเป็นกรมปฏิบัติการพิเศษ (กรม ปพ.) (Special Operations Regiment) ในปีค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) ทว่าเมื่อได้มาเป็นกรม ปพ.แล้วก็เกิดปัญหาขึ้นที่ว่า'มีกำลังพลไม่พอต่อการปฏิบัติภารกิจ' ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรม ปพ.จึงได้หาทางแก้ไขโดยการรวม 2 หลักสูตรได้แก่ เจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิต กับ Commando เข้าด้วยกัน (ในกรณีนี้เคยเป็นเหมือนทางศสพ.ทบ.อยู่ช่วงนึงที่เคยทดลองนำเอาหลักสูตร Ranger มารวมเข้ากับ Airborne แต่ผู้เข้ารับการฝึกจบผ่านกันน้อยมาก สุดท้ายก็ต้องแยกออกเหมือนเดิม)เพื่อให้ผู้ที่จบหลักสูตรมาสามารถทำหน้าที่แทนกันได้ ดังนั้นในค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) ได้มีการอนุมัติคำสั่งจัดตั้งหลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Course) รุ่นที่ 1 นับแต่นั้นเป็นต้นมา และหน่วยคอมมานโดก็ได้ถูกยกระดับจากกองร้อยปฏิบัติการพิเศษให้เป็นกองพันปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Battalion)
3.ห้วงระยะเวลาการฝึก?
หลักสูตรปฏิบัติการพิเศษจะใช้เวลาในการฝึก 5 เดือนเศษๆ ในช่วงระยะเวลา 5 เดือนนี้ นักเรียนจะได้รับการฝึกหลากหลายมากมาย อาทิ เช่น
-เตรียมความพร้อมในด้านร่างกายและความอดทน
-ยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายอากาศยานและชิงตัวประกัน (Anti-hijacking and hostage rescue)
-ควบคุมการรบ (Combat Control)
-ลาดตระเวนระยะไกล (Long-range reconnaissance)
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต (Combat search and rescue : CSAR)
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูงทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-การส่งกลับทางการแพทย์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Medical evacuation : Medivac)
-การแทรกซึมทางน้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Helocasting)
-รบระยะประชิด (Close-quarters battle : CQB)
-การต่อสู้ระยะประชิดด้วยมือเปล่าหรือใช้อาวุธสั้น (Close-quarters combat : CQC)
-การเอาชีวิตรอด, การหลบหลีก, ต่อต้าน และการหลบหนี (Survival, Evasion, Resistance and Escape : SERE)
-การลาดตระเวนรบ (Combat patrol)
-ดำน้ำทางยุทธวิธี (Tactical diving)
-การฝึกเดินแผนที่เข็มทิศ การสื่อสาร และการข่าว
-การดำรงชีพในป่า
-การฝึกและแก้ปัญหาทางยุทธวิธี
-ฝึกยิงปืนทางยุทธวิธี
-เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้วัตถุระเบิด
-ฝึกปฏิบัติร่วมกับอากาศยาน
-ฝึกการใช้เรือยางแทรกซึมสู่พื้นที่เป้าหมาย
-การรื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด
-ยุทธวิธีรบนอกแบบ (Unconventional tactics)
หลังจากที่ผ่านในห้วงเวลา 5 เดือนนี้แล้วนักเรียนคนใดที่เป็นบุคคลากรจากทางทอ.จะได้รับเข้าบรรจุในกรมปฏิบัติการพิเศษ ทั้งนี้หลังจากที่ได้เครื่องหมายไปยังไม่ถือว่าสิ้นสุดการฝึก เพราะมันเป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น พวกเขาจะได้รับการฝึกหลักสูตรขั้นสูงต่อไปหลังจากที่ได้รับเข้าบรรจุหน่วย
4.ขีดความสามารถของกรม ปพ.อย. มีอยู่มากมาย อาทิ เช่น
-ส่งทางอากาศทุกรูปแบบ
-การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ (Air assault)
-รบระยะประชิด (Close-quarters battle : CQB)
-การต่อสู้ระยะประชิดด้วยมือเปล่าหรือใช้อาวุธสั้น (Close-quarters combat : CQC)
-ต่อต้านการก่อการร้ายสากล(เน้นไปที่อากาศยาน)และชิงตัวประกัน (Counter-terrorism and hostage rescue)
-ต่อต้านการก่อความไม่สงบ (Counterinsurgency : COIN)
-การสงครามป่าดงดิบ (Jungle warfare)
-การสงครามภูเขา (Mountain warfare)
-การสงครามป่าคอนกรีต (ในเมือง) (Urban warfare)
-การสงครามนอกแบบ (Unconventional warfare : UW)
-การสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious warfare) (ทำได้ในระดับนึง)
-การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทางยุทธวิธี (Tactical Electronic warfare)
-การขับรถทางยุทธวิธี (Tactical driving)
-การดำน้ำทางยุทธวิธี (Tactical diving)
-ยุทธวิธีรบนอกแบบ (Unconventional tactics)
-อารักขาบุคคลสำคัญ (Close protection)
-ปฏิบัติการโดยตรง (Direct action)
-ปฏิบัติการพิเศษ (Special operations)
-การลาดตระเวนพิเศษ (Special reconnaissance)
-การแกะรอย (Tracking)
-การเจาะระยะไกล (Long-range penetration)
-การปฏิบัติการลับ (Clandestine operation)
-การปฏิบัติการปกปิด (Covert operation)
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต (Combat search and rescue : CSAR)
-การส่งกลับทางการแพทย์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Medical evacuation : Medivac)
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูงทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-ตรวจสอบภูมิประเทศว่าสามารถให้อากาศยานลงจอดได้หรือไม่
-ควบคุมอากาศยานหน้า (Forward air control)
-รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด (Bomb disposal)
-ควบคุมการยิงสนับสนุนร่วม (Joint Terminal Attack Controller : JTAC)
5.โครงสร้างหน่วย?
-กองบัญชาการกรมปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศไทย (RTAF Special Operation Regiment Command)
*ศูนย์กองบัญชาการ (Command Center)
**กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (พัน.ปพ.1 อย.) (1st Special Operation Battalion, RTAF Security Force Command)
**กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (พัน.ปพ.2 อย.) (2nd Special Operation Battalion, RTAF Security Force Command)
**กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 3 หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (พัน.ปพ.3 อย.) (3rd Special Operation Battalion, RTAF Security Force Command)
*กองร้อยสนับสนุนการส่งทางอากาศ (Aerial Support Company)
*ศูนย์การจู่โจม ค้นหา และกู้ภัย (Combat Search and Rescue Center)
6.กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็นหนึ่งในหน่วยปฏิบัติการที่อยู่ในศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย (ศตก.) หรือไม่?
คำตอบ เป็น กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น 1 ใน 5 หน่วยระดับเทียร์วันที่รับผิดชอบงานด้านต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกัน
หากใครที่ยังสับสนหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับกรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เราหวังว่าการสรุปข้อมูลแบบคร่าวๆไม่ลงรายละเอียดเจาะลึกมากนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสุดท้ายนี้หากผิดพลาดข้อมูลประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย