ดาวเคราะห์น้อยลูกนี้มีชื่อว่า 7482 หรือ "1994 PC1" หินอวกาศที่มีความยาวราวๆ 1 กิโลเมตร

ล่าสุดนี้เอง องค์กรนาซาก็ได้ออกมาประกาศข่าวที่น่าสนใจอีกเรื่องแล้ว นั่นเพราะในวันที่ 18 มกราคม 2022 โลกของเรากำลังมีกำหนดการที่ต้องพบกับการมาเยือนของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ลูกแรกของปีอยู่
แถมมันยังมีขนาดใหญ่กว่าตึกเอ็มไพร์สเตตราวๆ 2.5 เท่าเลยด้วย

ดาวเคราะห์น้อยลูกนี้มีชื่อว่า 7482 หรือ "1994 PC1" หินอวกาศที่มีความยาวราวๆ 1 กิโลเมตร โดยมันถูกพบเป็นครั้งแรกในปี 1994 สมชื่อ และมีกำหนดการที่จะเข้าใกล้โลกที่สุดด้วยระยะทางราวๆ 1.98 ล้านกิโลเมตร
แน่นอนว่าด้วยระยะทางขนาดนี้ ดาวเคราะห์น้อยลูกนี้ก็คงจะไม่ชนโลกจริงๆ และการรายงานที่ออกมา หลักๆ แล้วก็เป็นเพียงแค่การแจ้งข่าวเท่านั้น
แต่ถึงอย่างนั้นในทางดาราศาสตร์ ดาวเคราะห์น้อยใดๆ ก็ตามที่เข้าใกล้โลกเกิน 7.5 ล้านกิโลเมตร จะถือว่าเป็น "ดาวเคราะห์น้อยที่มีศักยภาพเป็นอันตรายต่อโลก" (PHA) ทั้งสิ้น
และ 1994 PC1 ก็ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยเพียงลูกเดียวที่จะเฉียดผ่านโลกในเดือนมกราคมเสียด้วย เพราะในเดือนนี้โลกจะต้องพบกับ PHA ขนาดต่างๆ กัน ถึง 10 ลูก โดย 4 ลูก ได้ผ่านโลกไปแล้วในช่วงวันที่ 5-7 มกราคม
ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยที่เหลือจะมาถึงในวันที่ 11 (2013 YD48), 18 (1994 PC1 และ 2021 BA), 20 (2022 AB), 21 (2018 PN22) และ 24 มกราคม (2017 XC62) นั่นเอง

ขอบคุณภาพข่างจาก
#เหมียวศรัทธา

ขอถามแบบคนไม่มีความรู้ ชอบมโน และดูหนังมามาก
หากลูกนี้ตกลงในอ่าวไทย ห่างจากชายฝั่งเมืองพัทยา สิบกิโลเมตร
มันจะส่งผลอะไร อย่างไรไหมครับ?


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่