คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
การตั้งคำถามต่อสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องจารีต ประเพณี และสิ่งที่ จขกท. กล่าวมานั้น 'เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสังคมไทย' ครับ เพราะตัว Concept นั้นเป็น Social Values ของฝั่งตะวันตก โดยเหล่า Social Values นั้นไม่สามารถ (หรือทำได้ยาก) นำเข้ามาเป็นส่วนนึงของสังคมที่มีมาอยู่แล้วได้
ทีนี้ เรามาดูสังคมไทยกัน โดยสังคมไทยนั้น เช่นเดียวกับสังคมเอเชียตะวันออก คือมีลักษณะแบบ Top-Down สูงมาก คืออำนาจไหลลงมาจากบนสู่ล่าง ทุก ๆ อย่างในสังคมคือ 'Up there' เป็นคนกำหนด รวมถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เพื่อนฝูง หรือชุมชนเช่นกัน เราจึงมี Values ในด้านการกตัญญู ความอาวุโส ผู้หลักผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ อะไรแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น ครู-นักเรียน, ผู้ปกครอง-ลูก, รุ่นพี่-รุ่นน้อง, etc. เหล่านี้ในสังคมไทยนั้นถูกปกครองด้วยความสัมพันธ์แบบ Top-Down คือข้างล่างต้องเชื่อฟังข้างบน ด้วยกฏเกณฑ์หรือจารีตทางสังคมอะไรก็ตาม
ทีนี้ความสัมพันธ์แบบ ครู-อาจารย์, ผู้ปกครอง-ลูก อะไรนี้ทางสังคมตะวันตกก็มีนะครับ แต่เขาไม่ได้ถูกปกครองด้วย Top-Down แบบเรา ของเขาความสัมพันธ์เชิงอำนาจมันจะมาเป็นแบบ 'แนวนอน' มากกว่า คืออยู่กันด้วยเหตุผล ความเคารพอะไรซึ่งกันและกันแบบนี้ อาจจะมีถึง Down-Top บ้างในบางกรณี
มาดูที่ จขกท. สงสัยกันบ้าง
อย่างที่ยกตัวอย่างไป ครู-นักเรียน มีความสัมพันธ์แบบ Top-Down ชัดเจน ดังนั้นเมื่อนักเรียนตั้งข้อสงสัยกับคุณครู มันคือการส่งสัญญาณทางสังคมแบบ Down-Top ซึ่งผิดกับสิ่งที่อยู่ในสังคมไทยมาโดยตลอด Top จึงเกิดการต่อต้านโดยใช้ข้อจารีตต่าง ๆ ในกลไกทางสังคมเพื่อมากด Down เอาไว้ เช่น การไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่ เป็นการลองภูมิอาจารย์ เพื่อเป็นการรักษาโครงสร้างทางอำนาจที่พวกเขาต้องการเอาไว้
เรื่องบรรทัดฐานทางสังคม วัฒนธรรม หรือแม้แต่ประเพณีต่างๆ ก็เหมือนกันครับ มันคือสิ่งที่ Top กำหนดลงมาแล้ว กลไกทางสังคมเองก็ไม่เอื้อให้ Down ตั้งคำถามนั้น ส่วนนึงก็ไม่รู้ว่าตั้งคำถามไปทำไมหรือตั้งไปตังเองก็ไม่ได้อะไร หาเรื่องใส่ตัวเปล่า ๆ <<<< นี่ล่ะครับ กลไกทางสังคมที่ว่า
เรื่องการตั้งครรถ์ในวัยเรียนเราก็สามารถใช้ตรรกะเดียวกันนี้ได้ครับ การตั้งครรถ์ในวัยเรียนแล้ว สำหรับ Top มันคือสิ่งผิดปกติ หรือการ 'ขัดคำสั่ง' ที่เกิดขึ้นใน Down ไม่ว่าจะเป็นทางโรงเรียน (Top) ในแง่ของการเสียชื่อเสียง (ผลกระทบ) ที่มาจากนักเรียน (Down) ที่ไม่ทำตัวตามศีลธรรมอันดี (กลไกทางสังคม) เมื่อ Top รู้ถึงความผิดปกติจาก Down สิ่งแรกที่ Top ทำเพื่อให้โครงสร้างทางอำนาจกลับมาเร็วที่สุดคิอ 'การกำจัด' หรือ 'กดทับ' ความผิดปกติเหล่านั้นครับ เพราะหากเข้าไปยุ่งเกี่ยว เช่นช่วยให้นักเรียนที่ท้องปรับตัวกับเพื่อน ๆ และเรียนต่อไปได้ มันจะเป็นการยอมรับว่าตัว Top เองนั้นผิดพลาดในการกำหนดสังคมนั้น ๆ ไป
อีกอย่างถ้าให้พูดแบบตรง ๆ คือ การจำกัดมันง่ายกว่าการแก้ไข อยู่แล้วครับ
ประสบการณ์ตรง: เคยได้มีโอกาสไปอยู่ในประเทศตะวันตกจ๋า ๆ ตอนสมัยมัธยมตอนแรก ๆ ก็ปรับตัวไม่ได้ เจอ Culture Shock พอปรับตัวได้ ดันถึงเวลากลับไทยพอดี พอกลับมาไทยก็ดันไปตรงกับการเข้าค่าย 'ธรรมะ' (หลาย ๆ คนในนี้คงเคย) ของระดับพอดี เท่านั้นแหละครับ เจอ Reverse Culture Shock เข้าไปอีก ไม่เข้าใจทำไมพระต้องทำตัวอย่างนั้น ทำไมไม่มีใครในระดับชั้นเข้าไปห้าม เข้าไปถาม ไม่มีใครสงสัยอะไรเลย แถมยังจำยอมเขาอีก หลังจบค่ายนี่ผมมึนไปพักใหญ่ ๆ เหมือนหลุดไปอีกโลกนึงมาเลย
เอ้ออ อันนี้ผมพึ่งเห็น ถ้าอยากหาตัวอย่างความสัมพันธ์แบบ Top-Down ผมขอส่อง Spotlight ไปที่ความคิดเห็นที่ 4 เลยครับ เขาคือตัวอย่างของ To p ที่มอง จขกท. เป็น Down ที่ 'ผิดปกติ' ฉะนั้น Reaction ของเขาคือการทำยังไงก็ได้ให้ Down (จขกท.) กลับมาเป็นปกติให้ได้เร็วที่สุด
ทีนี้ เรามาดูสังคมไทยกัน โดยสังคมไทยนั้น เช่นเดียวกับสังคมเอเชียตะวันออก คือมีลักษณะแบบ Top-Down สูงมาก คืออำนาจไหลลงมาจากบนสู่ล่าง ทุก ๆ อย่างในสังคมคือ 'Up there' เป็นคนกำหนด รวมถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เพื่อนฝูง หรือชุมชนเช่นกัน เราจึงมี Values ในด้านการกตัญญู ความอาวุโส ผู้หลักผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ อะไรแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น ครู-นักเรียน, ผู้ปกครอง-ลูก, รุ่นพี่-รุ่นน้อง, etc. เหล่านี้ในสังคมไทยนั้นถูกปกครองด้วยความสัมพันธ์แบบ Top-Down คือข้างล่างต้องเชื่อฟังข้างบน ด้วยกฏเกณฑ์หรือจารีตทางสังคมอะไรก็ตาม
ทีนี้ความสัมพันธ์แบบ ครู-อาจารย์, ผู้ปกครอง-ลูก อะไรนี้ทางสังคมตะวันตกก็มีนะครับ แต่เขาไม่ได้ถูกปกครองด้วย Top-Down แบบเรา ของเขาความสัมพันธ์เชิงอำนาจมันจะมาเป็นแบบ 'แนวนอน' มากกว่า คืออยู่กันด้วยเหตุผล ความเคารพอะไรซึ่งกันและกันแบบนี้ อาจจะมีถึง Down-Top บ้างในบางกรณี
มาดูที่ จขกท. สงสัยกันบ้าง
อย่างที่ยกตัวอย่างไป ครู-นักเรียน มีความสัมพันธ์แบบ Top-Down ชัดเจน ดังนั้นเมื่อนักเรียนตั้งข้อสงสัยกับคุณครู มันคือการส่งสัญญาณทางสังคมแบบ Down-Top ซึ่งผิดกับสิ่งที่อยู่ในสังคมไทยมาโดยตลอด Top จึงเกิดการต่อต้านโดยใช้ข้อจารีตต่าง ๆ ในกลไกทางสังคมเพื่อมากด Down เอาไว้ เช่น การไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่ เป็นการลองภูมิอาจารย์ เพื่อเป็นการรักษาโครงสร้างทางอำนาจที่พวกเขาต้องการเอาไว้
เรื่องบรรทัดฐานทางสังคม วัฒนธรรม หรือแม้แต่ประเพณีต่างๆ ก็เหมือนกันครับ มันคือสิ่งที่ Top กำหนดลงมาแล้ว กลไกทางสังคมเองก็ไม่เอื้อให้ Down ตั้งคำถามนั้น ส่วนนึงก็ไม่รู้ว่าตั้งคำถามไปทำไมหรือตั้งไปตังเองก็ไม่ได้อะไร หาเรื่องใส่ตัวเปล่า ๆ <<<< นี่ล่ะครับ กลไกทางสังคมที่ว่า
เรื่องการตั้งครรถ์ในวัยเรียนเราก็สามารถใช้ตรรกะเดียวกันนี้ได้ครับ การตั้งครรถ์ในวัยเรียนแล้ว สำหรับ Top มันคือสิ่งผิดปกติ หรือการ 'ขัดคำสั่ง' ที่เกิดขึ้นใน Down ไม่ว่าจะเป็นทางโรงเรียน (Top) ในแง่ของการเสียชื่อเสียง (ผลกระทบ) ที่มาจากนักเรียน (Down) ที่ไม่ทำตัวตามศีลธรรมอันดี (กลไกทางสังคม) เมื่อ Top รู้ถึงความผิดปกติจาก Down สิ่งแรกที่ Top ทำเพื่อให้โครงสร้างทางอำนาจกลับมาเร็วที่สุดคิอ 'การกำจัด' หรือ 'กดทับ' ความผิดปกติเหล่านั้นครับ เพราะหากเข้าไปยุ่งเกี่ยว เช่นช่วยให้นักเรียนที่ท้องปรับตัวกับเพื่อน ๆ และเรียนต่อไปได้ มันจะเป็นการยอมรับว่าตัว Top เองนั้นผิดพลาดในการกำหนดสังคมนั้น ๆ ไป
อีกอย่างถ้าให้พูดแบบตรง ๆ คือ การจำกัดมันง่ายกว่าการแก้ไข อยู่แล้วครับ
ประสบการณ์ตรง: เคยได้มีโอกาสไปอยู่ในประเทศตะวันตกจ๋า ๆ ตอนสมัยมัธยมตอนแรก ๆ ก็ปรับตัวไม่ได้ เจอ Culture Shock พอปรับตัวได้ ดันถึงเวลากลับไทยพอดี พอกลับมาไทยก็ดันไปตรงกับการเข้าค่าย 'ธรรมะ' (หลาย ๆ คนในนี้คงเคย) ของระดับพอดี เท่านั้นแหละครับ เจอ Reverse Culture Shock เข้าไปอีก ไม่เข้าใจทำไมพระต้องทำตัวอย่างนั้น ทำไมไม่มีใครในระดับชั้นเข้าไปห้าม เข้าไปถาม ไม่มีใครสงสัยอะไรเลย แถมยังจำยอมเขาอีก หลังจบค่ายนี่ผมมึนไปพักใหญ่ ๆ เหมือนหลุดไปอีกโลกนึงมาเลย
เอ้ออ อันนี้ผมพึ่งเห็น ถ้าอยากหาตัวอย่างความสัมพันธ์แบบ Top-Down ผมขอส่อง Spotlight ไปที่ความคิดเห็นที่ 4 เลยครับ เขาคือตัวอย่างของ To p ที่มอง จขกท. เป็น Down ที่ 'ผิดปกติ' ฉะนั้น Reaction ของเขาคือการทำยังไงก็ได้ให้ Down (จขกท.) กลับมาเป็นปกติให้ได้เร็วที่สุด
แสดงความคิดเห็น
ทำไมสังคมไทยจึงมองว่าการตั้งคำถามเป็นการไม่มีมารยาทหรือเป็นปรปักษ์ครับ??
ตั้งแต่วัยเรียน ผมสงสัยมาตลอดว่าเหตุใดการตั้งคำถามในห้องเรียน จึงถูกมองว่าเป็นเรื่องแปลก บางครั้งครูบาอาจารย์จึงมองว่าเป็นเรื่องท้าทายความรู้ เป็นการไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่ เป็นการลองภูมิอาจารย์ ทั้งๆ ที่การเรียนรู้เกิดการการตั้งคำถามหรือเปล่า
พอโตมา หลายบรรทัดฐานทางสังคม วัฒนธรรม หรือแม้แต่ประเพณีต่างๆ มีความน่าสงสัยอยู่ไม่ใช่น้อยว่าที่มาที่ไปของสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใดจึงมีการสืบทอดการปฏิบัติต่อๆ กันมา ทำไมความเชื่อหลายๆ อย่างถึงสามารถถูกสืบสานต่อมาได้หลายชั่วอายุคน เคยมีคนสงสัยหรือไม่ ว่าประโยชน์ที่ได้จากการทำสิ่งเหล่านั้นคืออะไร และเป็นไปได้ในทางโลกความเป็นจริงและวิทยาศาสตร์รึเปล่า
บางสิ่งบางอย่างเช่น การตั้งกฏ เช่น การต้องถูกไล่ออกจากโรงเรียนหากตั้งครรภ์ในวัยเรียน ซึ่งแลดูไม่สมเหตุสมผลมากๆ และส่งผลเสียในระยะยาวต่อประชากรไทยด้วยกันเอง ก็ยังเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่ประเทศไทยยึดถืออย่างตั้งมั่น และไม่มีทีท่าว่าจะล้มเลิกได้ในเวลาอันใกล้ หรือแม้แต่การตราคุณค่าความดีความชั่วของสิ่งต่างๆ เช่น การดื่มเหล้า การใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ เหตุใดจึงต้องกำหนดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งดีหรือเลว ในเมื่อโลกแห่งความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่กิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ที่พบได้ทั่วไปในโลกใบนี้เท่านั้น
ทำไมการศึกษาถึงไม่มุ่งเน้นไปในการให้เหตุผล เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ แนวทางและวิธีการป้องกัน แต่จะเน้นในเรื่องการห้ามปรามตามศีลธรรม บาปบุญ และเวรกรรม มากกว่า ที่สำคัญคือเหตุใดบางประเทศที่เจริญแล้วนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่บ้านเราตราว่าไม่ดี ไม่สมควร แต่เขากลับเจริญได้รุดหน้าเป็นอย่างมาก
ผมมักจะได้ยินการเชื่อมโยงว่า อเมริกามีการยิงกราด นี่หรือคือสังคมที่เราต้องการ แต่อย่าลืมว่าประเทศเราเองก็มีอาชญากรรมที่อุกอาจมากมายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ทำไมนะ ทำไม...