ทำไมเด็กไทยส่วนใหญ่ถึงอ่อนภาษาอังกฤษ แม้รับปริญญาแล้วก็ยังสื่อสารไม่ค่อยได้

ภาษาอังกฤษ มีพยัญชนะและสระแค่ไม่กี่ตัว และการสนทนากับชาวต่างประเทศก็ไม่ได้ยากแต่อย่างใด
ทำไมเวลาเจอฝรั่งทีไร หลายคนออกอาการใบ้ และไปไม่ค่อยเป็น ทั้งๆที่หลายคนรู้คำศัพท์หลายร้อยหลายพันคำ
ไวยากรณ์หลักภาษาก็เคยศึกษาและสอบผ่านมาตั้งแต่ชั้นประถม และที่สำคัญฝรั่งเขาไม่ได้เน้นประโยคไวยากรณ์เลย
แค่รู้คำศัพท์และคำเชื่อมนิดหน่อยก็พอสนทนากันได้แล้ว เพราะชาวยุโรปส่วนมากก็หัดพูดอยู่เหมือนกัน เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน สเปนฯหรือชาวอเมริกาใต้หรือแอฟริกา ก็ไม่ได้เก่งไม่ได้เชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษ แต่เขาก็ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกันได้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 109
อยากเล่าให้ฟัง

1.อยากให้ครูสอนแบบสื่อสาร แต่อัดจำนวน นร. นศ. มาห้องละ 50 อัพ หลายๆม.จัดกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในกลุ่มวิชาบรรยาย นศ.ทะลุ 70 คนต่อ1กลุ่มเรียน แน่นอนว่าอาจารย์คงดูแลไม่ทั่วถึง และด้วยจำนวนขนาดนี้ จะให้ดูแลตัวต่อตัว หรือจับคู่สนทนากับเพื่อน หรือรายกลุ่มแล้ว คิดว่ายังไงๆก็คงดูแลไม่ทั่วถึง และไม่พ้นการบรรยาย และถึงแม้ว่าจะสอนเชิงปฏิบัติแล้ว ให้ฝึกพูดก็แล้ว ยังไงๆก็ดูแลไม่ทั่วถึง (แต่คนที่ตั้งใจปฏิบัติ เขาก็บรรลุวัตถุประสงค์นะ)​ จำนวนนร. นศ. ต่อห้องไม่ควรเกิน 20 หรือ 30(ยังว่าเยอะนะ)​ ทุกคนอยากได้คุณภาพ แล้วดูสภาพพพพพ

2.อีกอย่าง ต้องดูที่ตัวนร.ด้วยว่าใส่ใจในการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆมากน้อยแค่ไหน อยากพูดได้ แต่คำศัพท์ทั่วไปในชีวิตประจำวันยังไม่รู้เลยจ้า ถ้าตัดเรื่องแกรมม่าร์ออกไป ก็พูดไม่ได้อยู่ดี เพราะไม่รู้คำศัพท์ พื้นฐานด้านการเรียนรู้คำศัพท์ก็ไม่สนใจ แล้วจะสื่อสารเข้าใจได้ยังไงล่ะ จะไปต่อยอดได้ยังไงกัน ไม่ว่าจะฟัง พูด อ่าน เขียน ก็ทำไม่ได้ เพราะคำศัพท์ในชีวิตประจำวันยังไม่เอาเลยจ้า

3.ต้องทำความเข้าใจระหว่างภาษาเพื่อการสื่อสาร หลักภาษา และสำนวน
ใช่จ้า สื่อสารแกรมม่าร์ไม่เป๊ะก็ได้ แต่ๆๆๆๆ คำศัพท์อ่ะท่องบ้างมั้ย เรียนรู้บ้างมั้ย ขยายคลังคำศัพท์ตัวเองบ้างมั้ย ถ้าไม่ ก็นั่นแหละจ้า จะเอาอะไรไปสื่อสารล่ะ (ย้อนไปดูข้อ2.)​
---> แล้วหลักภาษา ทำไมต้องเรียนแปดแสนรอบ ความจริงก็เพื่อให้การสื่อสารแบบงูๆปลาๆ อะไรก็ได้นั่นแหละดีขึ้น มันเป็นการขัดเกลาให้ภาษามันสละสลวย และชัดเจนตามที่เจ้าของภาษาใช้และเข้าใจมากขึ้นจ้า (ภาษาต่างๆ เขาก็มีระดับของเขานะ คงไม่อยากมีใครใช้ภาษาแบบ broken English ใช่มั้ยล่ะ)​
ขอยกตัวอย่างเรื่อง tenses นะ ไม่ได้มีไว้ประดับเฉยๆนะ tenses ผิด ทำให้ความเข้าใจคาดเคลื่อนได้เลยนะ ฉะนั้น ในบทเรียนภาษาอังกฤษหลายๆวิชาจึงมีการแทรกไวยากรณ์ที่จำเป็นไว้ในแต่ละบทด้วย เคยสังเกตมั้ยว่า บางทีบางวิชามันก็มีการเน้น Language points ซ้ำกันบ้าง ถ้าเราเองพยายามฝึกตาม ภาษาจะดีแน่นอน แต่ถ้าละเลยมาตลอด ก็คงอยู่ที่เดิม
เคยเห็นคนที่สื่อสารพอได้ แต่อ่านไม่ค่อยออก และเขียนไม่ค่อยได้มั้ยล่ะ นั่นแหละคือเหตุผลที่ต้องเรียนหลักภาษาควบคู่ไปด้วย ไม่งั้นก็จะจบที่การท่องจำแล้วสักพักก็ลืม วนลูปเดิม​
---> สำนวนล่ะ อันนี้ก็ต้องเรียนรู้เพิ่มอีกเหมือนกัน ถ้าดูตามหนังสือเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคัดที่ใช้บ่อยๆมา ตัวคนเรียนเองหรือครูเอง เคยค้นคว้าเพิ่มเติมมั้ยว่ามี similar หรือ related expressions อีกมั้ย จะบอกด้วยว่า อย่ารอให้ครูป้อนใส่ปากอย่างเดียว ค้นคว้าเองด้วยนะ Google เลยจ้า เพียบบบ

4.หนังสือเรียนมีความจำกัดเนื้อหาเกินไป จริงๆแล้วหนังสือเรียนเนี่ยมีไว้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนนะ เอาไว้วางscopeของเนื้อหาที่จะสอนตามหลักสูตร ตามคำอธิบายรายวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาที่มีหลายๆกลุ่มเรียน อย่างภาษาอังกฤษทั่วไปนี่ไง แล้วที่ว่ามันจำกัดเนี่ย เปิดดู เปิดอ่านบ้างมั้ยล่ะ

5.สุดท้ายอยากบอกว่า ห้องเรียนที่ดี ไม่ใช่ห้องเรียนที่รอรับจากครูอย่างเดียว มันจะต้องมีการถกกัน เป็นการช่วยกันเรียน ช่วยกันหาข้อมูล ครูอาจจะไม่ใช่คนที่ถูกเสมอ นร.สามารถแชร์ข้อมูลที่ค้นคว้ามา แชร์ความคิดเห็นของตนเอง
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือ พอให้แชร์ ก็จะมีคนเดิมๆที่กระตือรือร้น แล้วที่เหลือล่ะ ก็นั่งเงียบๆไง สำหรับเรา เราชอบนะเวลาครูเปิดโอกาสให้พูด แสดงทัศนคติ คือมันไม่มีถูกผิดนะ แถมทำให้มุมมองกว้างขึ้นจากการรับรู้ไอเดียเพื่อนๆและครู
เพิ่มเติมนะ ความกล้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ ถ้าไม่เริ่ม เราก็จะยังไม่หลุดออกมาจากจุดเดิมๆ อันนี้เรื่องจริง ผิดถูกเรายังพอมีเวลา ขอความกล้าก่อนเลยจ้ส

--> Critical thinking <--

อาจจะตอบตรงบ้างไม่ตรงบ้างนะ แต่อยากแชร์เฉยๆจ้า นึกออกจะมาเขียนเพิ่ม เอาจริงๆประเด็นนี้พูดทั้งวันก็ไม่จบ 😅
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ระบบการสอน และ ตำราเรียน ที่เป็นของกระทรวงศึกษา ไม่ได้เรื่อง ครับ

-ไวยกรณ์หลายเรื่อง ไม่ใช่เรื่องยากเลย อย่างพวก present/past participle ที่เป็นเรื่องง่ายๆ แต่อธิบายตามตำรา วนไปวนมา ย้ำไปย้ำมา จนงง จนไม่รู้เรื่อง ก็กลายเป็นเรื่องซับซ้อน เด็กเรียนก็ร้อง ยี้ ไปตามๆกัน

-บางเรื่องไม่จำเป็นต้องเรียน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง... เช่น คำเรียกทาง syntax ต่างๆ ไม่ได้จำเป็นต่อการนำไปใช้ กลับเอามาสอน ซึ่งทำให้น่าเบื่อ และเพิ่มความงงเข้าไปอีก
เห็นเด็กบางคนมานั่งแยก แตกประโยค ส่วนนั้นเรียกว่าอะไร ส่วนนี้เรียกว่าอะไร.. บ้าไปแล้วป่าวนั่น?!?! มันช่วยให้พูดได้ เขียนได้เหรอ O_o"

-การไม่ให้ความสำคัญการออกเสียง ในส่วนของ "pronunciation"
ย้ำ!! ว่า pronunciation นะ ไม่ใช่ accent ครูหลายๆคนยังออกเสียงไม่ถูกเลย ก็เอาไปสอนเด็กๆ
พอเด็กเริ่มต้นจาก pronunciation ที่ผิด.. พอไปฟังฝรั่งพูด เลยฟังไม่ออก หูดับ shock mic ไปเลย

จะไปโทษเด็กอย่างเดียวก็ไม่ถูกครับ มันต้องไปรื้อทั้งระบบการสอน รวมไปถึงตัวครู ตัวผู้สอน...

เหตุการณ์ล่าสุด สดๆ ร้อนๆ

Her has sixteen mangoes.

มันไม่น่าเกิดขึ้นกับการศึกษา ไม่ว่าระดับชั้นไหน โรงเรียนไหน จะ online/on site ก็เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ และไม่น่าให้อภัย ถ้าอยากให้ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยดีขึ้นกว่านี้

หลายๆครั้ง การเรียนตามตำรา ตามคำอธิบายของครูในโรงเรียน อธิบายย้ำไปย้ำมา เป็นอาทิตย์ นักเรียนกลับไม่เข้าใจ นำไปใช้ไม่ได้
แต่พอเรียนนอกตำรา กับ tutor ตามสถาบันต่างๆ ที่ไม่ใช้ตำราจากกระทรวงศึกษา... กลับสามารถอธิบายได้เข้าใจภายใน 1 ชั่วโมง หรือ 1 คาบในสถาบันนอกโรงเรียนมันซะงั้น

การเรียนการสอนในระบบของกระทรวงศึกษาฯนี่แหละครับ ที่ควรได้รับการโละทิ้ง คิดใหม่ทำใหม่ได้แล้ว
ความคิดเห็นที่ 6
สาเหตุที่เด็กไทย จบระดับปริญญาตรีแล้ว สนทนาภาษาอังกฤษไม่ได้
เพราะ
-- กังวลเรื่องไวยกรณ์ (แกรมม่า) จนเกินไป -- ครับ
เช่น
เขาถามว่า
เมื่อวานไปไหนมาบ้าง?
เวลาจะตอบ  ในหัวมัวแต่นึกว่า
ต้องใช้ Go เอ๊ะ ไม่ใช่นี่หว่า หรือว่า Went  เอ๊ะ น่าจะเป็น Gone หรือเปล่าหว่า
เดี๋ยวนะ ต้องเป็น has been ชัวร์เลย
ใช่ไม๊???
สุดท้าย  ก็ไม่ตอบ หรือ ตอบแบบตะกุกตะกัก เพราะมัวแต่กังวลเรื่องแกรมม่า

เคยสังเกตไหม ว่า กลุ่มคนไทยที่คุยกับฝรั่งโดย ไม่กังวลเรื่องแกรมม่า เขาจะสนทนากับฝรั่งด้วยภาษาอังกฤษได้คล่องกว่า
เช่น กลุ่มคนขับแท๊กซี่ คนขับตุ๊กๆ หรือ สาวๆ
กลุ่มนี้เขาไม่มานั่งกังวลเรื่องแกรมม่า การสนทนาของเขาจึงราบรื่น ไหลคล่อง
เพราะฝรั่ง เขาไม่ได้มานั่งจ้องจับผิดเรื่องแกรมม่าครับ

ฝรั่งขอแค่ ออกเสียงให้ถูกต้อง เขาก็เข้าใจครับ

ตัวอย่างที่คนไทยออกเสียงไม่ชัดคือ เสียง ร.เรือ ครับ
ซึ่ง มันส่งผลต่อคำแปล และ ความหมายครับ
เช่น
In Thailand, we eat lice for breakfast.
คือ แทนที่จะออกเสียงว่า ไร๊ส กลับออกเสียง ไล๊ส แทน
จากที่คนไทยกินข้าว กลับเป็นว่า คนไทยกิน "เหา" เป็นอาหารเช้า
ความคิดเห็นที่ 12
นอกจากปัญหาด้านทักษะแล้วยังมีปัญหาด้านจิตวิทยา

เราถูกสอนให้แคร์สังคมและคนรอบข้าง เรากลัวมากที่จะถูกคนรอบข้างตัดสินเรา นินทาเรา เม้ามอยเรา หัวเราะเยาะเรา ดังนั้นเราจะไม่กล้าพูดอะไรผิดๆ

สมัยก่อนคนต่างจังหวัดเข้ามาเรียนหรือทำงานใน กทม จะถูก คนกทม หรือ คนตจวด้วยกันเองที่อยู่มานานจนพูดภาษาไทยกลางคล่องแล้ว ล้อเรื่องสำเนียง

😱 นี่ขนาดภาษาไทยนะ

เด็กบางคนถูกสอนให้ไม่กล้าทางความคิด จากการที่พ่อแม่ ไม่ให้ลูกปีนป่ายอะไรเลย ลูกอย่าปีนนะ เดี๋ยวตก ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเด็กจะรู้สึกการกลัวตกจากที่สูงมาตั้งแต่ขวบหนึ่งแล้ว ควรปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้และประสบด้วยตัวเอง เด็กจะมีความกล้าและความมั่นใจ

ลูกอย่าวิ่งเดี๋ยวล้ม  ห้ามโน่นห้ามนี่ห้ามไปทุกอย่าง ถ้าบุตัวลูกด้วยนวมได้คงทำไปแล้ว

ด้วยความที่เด็กโตมาแบบนั้นจะกลัวพลาด เด็กบางคนจะไม่เริ่มทำอะไรเลย ถ้ารู้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สำเร็จหรือ เกิดผลดี

เรื่องนี้ ไม่สร้างปัญหาเฉพาะการพูดภาษาอังกฤษนะ เป็นปัญหาอย่างอื่นในวงกว้างด้วย เช่นการกลัว public speaking
ความคิดเห็นที่ 19
อย่าว่าแต่ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย ทุกวันนี้ยังเขียนกันผิดๆ ถูกๆ เลย

แถมเดี๋ยวนี้ ติติงอะไรกันไม่ได้ด้วย
บางคนก็ว่า พอใจจะเขียนแบบนี้
บางคนก็ว่า สื่อสารเข้าใจก็พอ (เอาจริงๆ คือไม่รู้เรื่อง)

แล้วยิ่งภาษาต่างชาติ ไม่ใช่ภาษาตัวเอง
มันจะเหลือหรือ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่