สอบถามเกี่ยวกับทฤษฎีการขยายตัวของเอกภพ

ทฤษฎีการขยายตัวของเอกภพมีข้อมูลมาจากการสังเกตุเห็น red shift ของกาแล็กซี่ที่กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไป
ซึ่งผมเข้าใจว่า ในทางตรงกันข้าม แสดงว่าถ้ากาแล็กซี่กำลังเคลื่อนที่ใกล้เข้ามา เราจะต้องสังเกตุเห็น blue shift แทนแน่ๆ แต่เราก็ไม่พบเลย
แสดงว่าทุกกาแล็กซี่ในเอกภพกำลังเคลื่อนห่างกันออกไปไกลขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่มาของทฤษฎีเอกภพขยายตัว

ดวงอาทิตย์ในตอนเย็นก็มีแสงสีแดงเช่นกัน แต่เรามีคำอธิบายว่า เกิดจากแสงกระทบชั้นบรรยากาศโลกและแสงคลื่นสั้นกระเจิงหายไปหมด
เหลือแต่แสงคลื่นยาวเท่านั้นที่มาถึงดวงตาของเราจึงเห็นเป็นแสงสีแดง
เป็นไปได้ไหมที่จะอธิบายว่า แสงคลื่นสั้นจากเอกภพอันไกลโพ้นก็กระเจิงจากการกระทบอนุภาคก๊าซในอวกาศไปหมดเช่นกัน
เหลือแต่แสงสีแดงที่มาถึงโลก ยิ่งกาแล็กซี่อยู่ไกลออกไป ก็เห็นเป็นแสงสีแดงมากขึ้น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
สเปคตรัม ลึกกว่านั้น
เรารู้ว่า ดาวแต่ละชนิด ส่งคลื่นย่านไหน ปริมาณเท่าไรบ้าง
การเกิดเรดชิฟท์ เกิดขึ้นพร้อมกันทุกย่าน จ๊ะ




มี กาแลกซี่ ที่เลื่อนไปทาง บลูชิฟท์ อยู่ด้วย ถึงจะน้อย แต่ก็มี
การตรวจสอบ ไม่ต้องรอ เด็กน้อยสงสัย วิชาเรียนใน ม. ดังๆ ตรวจสอบกันเองอย่างเข้มข้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่