==ก่อนบิ๊กแบง (BEFORE THE BIG BANG)==

==ก่อนบิ๊กแบง (BEFORE THE BIG BANG)==
ทฤษฎีบิกแบง ทฤษฎีกำเนิดเอกภพ



วงโมเดิร์นด็อก



อยู่ดีๆก็คิดถึง พี่ป๊อด คิดถึงวงโมเดิร์นด็อก และคิดถึงเพลง “ก่อน”
อย่ากระนั้นเลย ลองมาเขียนอะไรที่มันเกี่ยวกับ ก่อน ดีกว่า
จะเขียนแล้วก็ย้อนกลับไปให้มากที่สุด เพราะถือคติจากนวนิยายกำลังภายในที่อ่าน
"ช่วยคนช่วยถึงที่สุด ส่งพระส่งถึงชมพูทวีป" ทำอะไรก็สุดๆไปเลย
นี้จึงกลายมาเป็นกระทู้ ก่อนบิ๊กแบงซะเลย 555+




ปกซิงเกิลเพลงก่อน เพลงในอัลบัมแรกที่ทำให้  Moderndog  เป็นที่รู้จัก ออกในปี พ.ศ.2537
ออกแบบโดย ธนา โกสิยพงษ์ เป็นผลงานชิ้นแรกของเขา โดยต้องการให้เหมือนงานในยุคปี 80
ท้องฟ้าสีเหลืองให้ความรู้สึกล่องลอย มีคำว่า ...ก่อน ลอยอยู่บนอากาศ และมีตัว R ในชื่อวง Moderndog กลับด้านอยู่





ใครอ่านกระทู้ก็อยากให้เปิดเพลงก่อนไปด้วยนะครับ เพื่อให้เข้ากับอารมณ์ 555+



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


เนื้อร้อง

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


อ้า คลิกเปิดเพลงกันแล้วใช่ไหม โอเค เรามาเข้าเนื้อหากันเลยนะ
---------------------------------------------------------


==ก่อนบิ๊กแบง (BEFORE THE BIG BANG)==

หลายท่านอาจจะสับสน ผมจะอธิบายให้ฟัง เบงเบงนั้นเป็นขนม แบงบัสนั้นเป็นเว็บไซท์ ส่วนบิ๊กแบงคล้ายๆกับการเริ่มต้นของเอกภพ จริงๆแล้วมันไม่ใช่การเริ่มต้นของเอกภพ แต่หมายถึงช่วงเวลาแรกๆสุดของเอกภพ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบริต ไอนสไตน์และการสำรวจเอกภพทำให้เราสามารถไปสู่ช่วงเวลาที่เป็นศูนย์ ที่ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่าซิงกุลาริตี้ ซึ่งมีความหนาแน่นเป็นอนันต์







ขนมเบงเบง


แบงบัส


บิ๊กแบง

ไอนสไตน์คิดทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเสร็จในปี 1915 ทฤษฎีนั้นเป็นชุดของสมการที่อธิบาย space กับ เวลาและสสาร โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องของแรงดึงดูด แต่ทว่าตอนนั้นที่คิดกันเอกภพยังเป็นแบบหยุดนิ่ง แต่สมการของไอสไตน์กลับไม่ได้บอกแบบนั้น กลับบอกว่ามีการขยายตัวของ space เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวเขาจึงเพิ่มพจน์ใหม่ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง คือ ค่าคงที่ของจักรวาล (cosmological constant) เพื่อที่จะทำให้เอกภพในทฤษฎีนั้นหยุดนิ่ง

สนใจอ่านต่อได้ที่นี่ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Cosmological_constant



แลมดาใช้เป็นตัวแทนหมายถึง ค่าคงที่ของจักรวาล (cosmological constant)

ต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย Alexander Friedmann เขาได้ไอเดียการอธิบาย space และเวลาจากสมการของไอนสไตน์ ผลงานของเขาไม่ถูกตีพิมพ์จนกระทั่งปี 1922 เพราะการปฏิวัติรัสเซียและต่อมากลายเป็นสงครามกลางเมืองส่งผลให้งานวิจัยถูกตีพิมพ์ช้าลง







การปฏิวัติรัสเซียและต่อมากลายเป็นสงครามกลางเมืองส่งผลให้งานวิจัยถูกตีพิมพ์ช้าลง




Friedmann ตระหนักว่าทฤ๋ษฎีสัมพัทธภาพของไอนสไตน์ไม่ได้อธิบายเอกภพแบบเดียว แต่มันเป็นไปได้หลายแบบ เขายอมรับแนวคิดที่ว่าเอกภพนั้นมีการยืดหรือหดตัว แบบจำลองเอกภพบางอย่างของเขาบอกว่าตอนแรกมันเล็กๆและก็ขยายออกไปตลอดการ แบบจำลองบางอันบอกว่า จากเล็กๆแล้วก็ขยายใหญ่จนถึงระดับหนึ่งและก็พังทลาย อีกแบบจำลองหนึ่งก็เป็นวัฎจักรของมัน จากเล็กๆขยายใกญ่ๆและก็กลายกลับมาเล็กๆ วนไปอย่างนี้เรื่อยๆ






Alexander Friedmann

ข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปดูได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_Friedmann



แต่จำกันได้ไหมครับในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการตั้งคำถาม สร้างสมมติฐาน และทำการทดลองและถึงจะสรุปผล ถ้าเป็นการคิดคำนวณอย่างเดียวก็อาจยังไม่ดีนัก ต้องมีหลักฐานมาสนับสนุนด้วย แล้วการขยายตัวของเอกภพหล่ะมีหลักฐานมาสนับสนุนไหม คำตอบคือ มีครับ



ก่อนอื่นมารู้จักคำนี้กันก่อน  เนบิวลามาจากภาษาละติน nebula หมายถึง หมอก เป็นกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยเรียกกาแลคซีแอนดรอเมดาว่าเนบิวลาแอนดรอเมดา





ตัวอย่างเนบิวลา เนบิวลาคาลิน่า  สวยมากๆเลย



ในตอนนั้นที่ Friedmann ตีพิมพ์ผลงานของเขา นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ Vesto Slipher พบหลักฐานว่าวัตถุที่ตอนหลังเรียกกันว่าเนบิวลา หรือปัจจุบันเรียกว่ากาแลคซี  กำลังถอยห่างจากโลกของเรา ซึ่งตรงกับเรื่องของการขยายตัวของเอกภพ การวัดของ Slipher  เกี่ยวข้องกับการวัดเรื่องของ  Redshift หรือ การเคลื่อนไปทางแดง  ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็นผลลัพธ์ของการขยายตัวของระยะทางของคลื่นแสงที่เดินทางมาหาเรา







Vesto Slipher

สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Vesto_Slipher




การเคลื่อนไปทางแดง  เกิดขึ้นเมื่อการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมากเป็นแสงที่ตามองเห็น มีการเปล่งแสงหรือสะท้อนกับวัตถุ แล้วเกิดปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ทำให้คลื่นเคลื่อนตัวไปในทางฝั่งสีแดงของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีพลังงานน้อยกว่า การเคลื่อนไปทางแดงจึงหมายถึงการที่ผู้สังเกตหรืออุปกรณ์ตรวจจับได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิด การที่ความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการที่ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลดลง ดังนั้นในทางตรงกันข้าม หากตรวจพบว่าความยาวคลื่นลดลงก็จะเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า การเคลื่อนไปทางน้ำเงิน




Redshift หรือ การเคลื่อนไปทางแดง




การเคลื่อนไปทางแดงที่เกิดจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเคลื่อนที่ห่างออกไปจากผู้สังเกต เช่นเดียวกับการเคลื่อนดอปเปลอร์ซึ่งความถี่จะเปลี่ยนแปลงลดลงเมื่อต้นกำเนิดเสียงเคลื่อนห่างออกไป ฟิสิกส์ดาราศาสตร์สเปกโตรสโกปีอาศัยปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เช่นนี้ในการคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในที่ห่างไกลได้


ถ้างงลองดูภาพนี้ การเคลื่อนไปทางแดงและการเคลื่อนไปทางน้ำเงิน





---------------------
ขอตัดเข้าโฆษณาก่อนยังเขียนไม่เสร็จครับ

ถ้าถูกใจกระทู้รบกวนกดบวกด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่