ทฤษฎี ความเร็วแสง คือความสามารถในการประมวลผลของเอกภพ ?

ความเร็วแสงเป็นหนึ่งในความอัศจรรย์ในฟิสิกส์ และมีผลกระทบมากในทุกด้านของสาขาวิทยาต่าง ๆ ความเร็วแสงเป็นค่าคงที่ที่มีค่าประมาณ 299,792,458 เมตรต่อวินาที (ค่า c) เมื่อคุณอยู่บนรถที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 120 km/hr แล้ว วัดความเร็วของรถอีกคันที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว 140 km/hr คุณจะวัดความเร็วรถอีกคันได้เป็น 20 km/hr (ตามสมการ ความเร็ว A - ความเร็ว B) 

แต่ถ้าคุณกำลังเคลื่อนที่ด้วย 1/2 ของความเร็วแสง (สมมุติว่าทำได้) คุณก็จะยังวัดความเร็วแสงได้ ค่า c คงที่เสมอไม่เปลียนแปลง (เพราะเวลายืดขยายได้ ตามทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์)  

เวลาเป็นสิ่งไม่คงที่ แต่ความเร็วแสงจะคงที่เสมอ 

- สมมุติฐาน ความเร็วแสง คือความสามารถในการประมวลผลของระบบเอกภพ
เอกภพนั่นทำงานในรูปแบบเมทริก มีการประมวลผลตามพื้นที่ ไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จัก เมื่อมีการเคลื่อนผ่านของเวลา 1 ครั้ง ทุกอย่างในพื้นที่จะถูกประมวลผล เมื่อมีสิ่งที่ต้องประมวลผลที่เยอะขึ้น ความสามารถในการประมวลผลจะถูกจำกัดลง นั่นทำให้ เมื่อตำแหน่งไหนมีมีมวลเยอะ (หรือต้องใช้ความสามารถในการประมวลผลมาก) เวลาตรงจุดนั่นจะช้าลง เพื่อให้ระดับการประมวลผล (ความเร็วแสง) คงที่เสมอ 

เมื่อคุณอยู่ในตำแหน่งที่มีการประมวลผลมาก 1 วินาทีของคุณก็จะรู้สึกเท่ากับ 1 วินาทีปกติ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นช้าลง เท่ากันทั้งพื้นที่ แต่ถ้าคุณเป็นเพียงผู้สังเกตจากภายนอกในตำแหน่งอื่น คุณจะเห็นคนในนั่นเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าจนน่าตกใจ (ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีสัมพันธภาพ) 

เมื่อคุณเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ในตำแหน่งนั่นเอกภพ ประมวลผลตามความเร็วของคุณช้าลง เพราะระยะทางที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ ความสามารถในการประมวลผลยังคงที่ (ความเร็วแสง) เวลาในจุดนั่นจึงช้าลง (ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีสัมพันธภาพ พิเศษ) 

เรากำลังอยู่ในเอกภพ ที่เป็นระบบจำลอง (ซิมมูเรชั่น) ที่ทำงานบนพื้นฐานระบบเมทริก 

.
.
.
.
.

บทความหน้าจะมาต่อกันเรื่องของควอนตั้ม ที่ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าเรากำลังอยู่ในระบบซิมมูเรชั่นของระบบเมทริก ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างชาญฉลาด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่