ความเร็วแสงและกาลอวกาศ


สมมุติฐาน หรือที่ความเร็วแสงคงที่ไม่สามารถเร่งหรือชลอมันได้ อนุมานว่าเป็นเพราะแสงไม่เคลื่อนไหวใดๆในทิศทางใดๆเลย แต่เป็นปริภูมิเวลาและพื้นที่อวกาศแทน ที่เคลื่อนที่ผ่านอนุภาคของแสงและสิ่งต่างๆทั้งหมดไหลไปในทุกทิศทุกทาง ที่เราสามารถสังเกตุได้ พูดง่ายๆคืออวกาศและเวลาเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ด้วยความเร็วเท่ากับแสงหรือมากกว่าแทน ปริภูมิเวลาและพื้นที่อวกาศ ที่พา แสง พลังงาน อนุภาค และ แรง ไหลไปในทิศทางนั้นๆ และสามารถเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งได้ หรือ บิดงอ ยึดหด ได้ จากพลังงานและแรงต่างๆ  เป็นเหตุผลทำให้สมบัติของแสง สามารถเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาคในเวลาเดียวกันได้ โดยที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ส่วนตัวผมคิดว่าแสงเป็น มิติที่5 เพราะมีผลเกี่ยวข้องกันโดยตรงกับมิติทั้ง4ที่เหลือ กว้างxยาวxสูงxเวลา  โดยพลังงานและแรงสามารถส่งผ่านไปยังที่ต่างๆผ่านมิติของแสงได้ เช่น สสารมืดและหลุมดำน่าจะใช้มิติของแสงในการส่งพลังงานและแรง ทำให้สามารถส่งแรงและพลังงานผ่านกาลอวกาศและพื้นที่ว่างได้ ถ้าเป็นเช่นนี้จริงก็จะขัดต่อสูตรของไอน์สไตล์ และเป็นทฤษฎีใหม่ ที่ความเร็ว ณ จุดนั้นๆ ในการเคลื่อนที่ผ่านอนุภาคต่างๆของปริภูมิเวลาและพื้นที่อวกาศกำลังสองคูณมวล เท่ากับ พลังงานแทน ซึ่งความเร็วของกาลอวกาศสามารถผกผันเร่งให้เร็วกว่าแสงได้ ชลอได้แต่ไม่ช้ากว่าแสง และ เร็วเท่ากับแสงได้ เนื่องจากพลังงานและแรงสามารถยึดแสงและเวลา ให้ในแต่ละพื้นที่ต่างกันได้ ลองคิดภาพแสงเป็นอนุภาคที่นั่งอยู่ในรถนิ่งๆไม่ขยับไปไหนแต่รถเป็นคนพามันเคลื่อนที่ ทำให้ผู้สังเกตการณ์ คิดว่าแสงกำลังเคลื่อนที่ และปริภูมิเวลาและพื้นที่อวกาศก็เหมือนเป็นรถที่นำแสงเหตุการณ์พลังงานและแรง เหล่านั้นมาสู่เราที่เป็นผู้สังเกตุการณ์อีกที คิดว่าทฤษฎีนี้สามารถเป็นไปได้ไหมครับ ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่