วิทยาศาสตร์ของ ขุนพลประจัญบาน!!! ภาค 2

กระทู้สนทนา
สิ่งที่คั่นกลางระหว่างขุนพลประจัญบานกับโรงเรียนคุโรมาตี้น่ะ... มันแบ่งด้วยขนาดของกระป๋องกาวเท่านั้นแหละ แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังเป็นกระป๋องกาวที่ข้ามผ่านกาลเวลาจนไม่น่าเชื่อว่าจนถึงป่านนี้แล้ว ยังมีเด็กเจน z หยิบมาอ่านแล้วคลั่งกล้ามไปฝึกวิชาตามอีก ขนาดเรื่อง อิจิโกะ 100% เดี๋ยวนี้กลายเป็นตกยุคไปแล้ว ทำไมอีตามานากะเขาไม่ไปลง Go fund me ล่ะ หรือ Orange Road ก็ถาม ถ้าไปสายหาไม่เจอทำไมไม่โทรไปบอกล่ะ แต่ ไอ้มังงะบ้ากล้ามมันถึงกับข้ามกาลเวลา ข้ามยุคสมัย ต่อให้ยุคนี้ที่มากมีไปด้วยโว้ค พลังของกล้าม และ พลังของกาว ก็ยังสามารถทำให้เด็กผู้ชายหลงเชื่อไปฝึกตามไร้สาระนุกรมมินเมย์ได้อีกแน่ะ บัดนี้ นี่คือ 4 ตอนสุดท้ายของบทความวิดกระยาสารทของขุนพลประจัญบาน มาดมกาวไปด้วยกัน ซู้ดดดดดดดดดด

บทความก่อนหน้า อ่านได้ที่นี่ https://ppantip.com/topic/43059328


5. วิดกระยาสารทของ สะพานมนุษย์เพี้ยนไฟลุก
 
ยุคเซนโกคุ ทัพของทาเคดะ ชินเก็น ปะทะกับทัพของ มัตสุยามะ คัตสุโยชิ ขุนพลคุสุโนคิ คิโยฮิสะ เดินทัพเข้าสนับสนุนเพื่อช่วย มัตสุยามะ คัตสุโยชิ ผู้ตกอยู่ในวิกฤติ แต่สะพานข้ามหุบเหวฮิโยโกะที่จะนำไปสู่ภูเขาโกโร่ที่ทัพของมัตสุยามะอยู่ได้ถูกสะบั้นลงด้วยน้ำมือข้าศึก คุสุโนคิ คิโยฮิสะ ได้คิดกลยุทธสร้างสะพานข้ามเหวโดยอาศัยคำใบ้จากคัมภีร์พิชัยสงครามบุคัง ทหาร 30 นาย ได้สละชีพเป็นสะพานมนุษย์ให้ทัพของมัตสุยามะข้ามไปได้ก่อนหมดแรงตกเหวเสียชีวิตหมดสิ้น ครั้นภายหลัง  มัตสุยามะ คัตสุโยชิ ได้ยกย่องผู้กล้าทั้ง 30 นายว่าเป็นเนินสูงทั้ง 30 และกลายเป็นธรรมเนียมในการตั้งพลีบนโต๊ะสูงขออาราธนาความปลอดภัยในการก่อสร้างสะพาน วิชานี้ ได้ถูกนำมาใช้โดยทาซาว่าและมัตสึโอะ เพื่อส่งพวกโมโมทาโร่ข้ามทางเดินที่ขาดเพื่อไปเผชิญหน้ากับรุ่นพี่ปีสาม ทว่า พลังของเหล่านักเรียนนายร้อยเดนตาย จะต้องมากขนาดไหนเพื่อที่จะสร้างสะพานมนุษย์ส่งขุนพลเข้าสู่สนามรบ 
ในฟิสิกส์ของสะพานแขวน แรงตึง คือแรงที่กระทำตามแนวผ่านศูนย์กลางของเส้นเคเบิ้ลหรือสะพาน สามารถคำนวณได้จากระยะห่างของสะพาน และ ระยะตกท้องช้างของเคเบิ้ลหรือสะพานที่ลดลงไป สะพานมนุษย์ของทาซาว่าและมัตสึโอะ ประเมินได้ว่าใช้นักเรียนต่อตัวรัดเอวกัน 20 นาย ระยะห่างของปลายสะพานอยู่ที่ราว 10 เมตร ส่วนระยะตกท้องช้างน่าจะราว 2 เมตรเห็นเลยหัวโมโมทาโร่ไปนิด และคิดที่นำหนักนักเรียนบ้ากล้าม 80  กิโลกรัมต่อนาย เมื่อเข้าสูตรแรงตึงของสะพาน โดยสมมุติโหลดเฉลี่ยที่ 160 กิโลกรัมต่อเมตร เราจะได้แรงตึงสูงสุดที่ปลายสะพานคือ 12.6 พันนิวตั้น หรือเหมือนมีน้ำหนังดึงอยู่ 1.3 ตัน  ส่วนกลางสะพานที่แรงตึงน้อยที่สุดก็ล่อไป 9.8 พันนิวตั้น หรือเหมือนมีน้ำหนักดึงอยู่ 1 ตัน นั่นคือ นักเรียนโรงเรียนลูกผู้ชายนี้ทุกคน มีแรงพอจะดึงข้อได้โดยมีรถโตโยต้าโคโรล่าครอสผูกเอวไว้ และนี่ ยังไม่รวมถึงตอนที่ต่อตัวสูง 10 เมตรแล้วล้มลงข้างหน้าเพื่อจับหิน นักเรียนทุกคนของโรงเรียนนี้ แข็งแกร่ง แข็งแกร่งมาก ถ้าจับมาผูกเชื่อกทำ 5 ม้าแยกร่าง นักเรียนทุกคนคงรู้สึกไม่ต่างอะไรกับ ไปเข้ายิมดึงรอกออกกำลังกายเล่น
 
แน่นอนว่า ด้วยน้ำหนักถ่วงตั้ง 1 ตัน ถ้าเป็นคนทั่วไปมันก็ถูกดึงตัวขาดไปแล้ว แต่นี่ คือนักเรียนโรงเรียนลูกผู้ชาย ถึงโดนฝึกจนตัวขาดลาวาครอกก็ยังถูกชุบขึ้นมาฝึกต่อได้ การฝึกฝนที่เหนือมนุษย์นี้แม้ครั้งหนึ่งกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจะเคยประสานงานร่วมกับโรงเรียนนายร้อยเดนตายเพื่อมาทดลองปรับฝึกเป็นหลักสูตรสามัญ แต่พอทดลองทำออกมาดันได้เป็นโรงเรียนคุโรมาตี้และต้องพับเก็บไปในที่สุด
 

 
6. วิดกระยาสารทของ กอล์ฟexclaimexclaimexclaim

เท็นไก โซชินดัน เป็นสุดยอดวิชาลับที่สืบทอดมาจากสำนักคงโบ อันชำนาญสารพัดวิชาที่ใช้ด้าม ท่านเจ้าสำนักรุ่นที่ 2 โก ริวฟู เป็นผู้คิดค้นวิชานี้เพื่อปราบศัตรูหมู่มากด้วยความแม่นยำสุดร้ายกาจ ท่าร่างนี้ ได้กลายเป็นรากฐานของฟอร์มวงสวิงของกอล์ฟในปัจจุบัน แม้ว่าในทางทฤษฎีกระแสหลักจะอ้างว่ากอล์ฟกำเนิดที่อังกฤษ แต่หลักฐานนั้นอยู่ในชื่อกีฬา เพราะ กอล์ฟ มันเป็นการแผลงชื่อมาจากท่าน โก ริวฟู นั่นเอง อ้างอิงจาก รวมต้นกำเนิดกีฬา จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มินเมย์ นี่คือวิชาที่เง็กโคใช้ ในการต่อสู้กับ โซเก็ตสุ แห่งสำนักเรียวซันปาคุ ท่าร่างนี้ มันทำได้อย่างไร!
 
ในเทคนิคหลักของกอล์ฟ (เท็นไก โซชินดัน ชื่อยาวจะตาย เรียกมันว่ากอล์ฟนี่ละ) จะเน้นความแม่นยำแบบ 4 มิติ แม้แต่เป้าของกอล์ฟ ยังเป็นเป้าแบบหลุม ยอดวิชากอล์ฟ จึงไม่แค่เล็งเป็นเส้นตรงอย่างวิชาปืนหรือวิชาธนู แต่เล็งแบบโปรเจคไทล์ และพลิกแพลงใช้ฟิสิกส์ของการสะท้อนในการทำทริกช็อตต่างๆเพื่อนำลูกกอล์ฟไปถึงเป้าหมาย สำหรับท่าร่างที่เห็นเง็กโคตีลูกกอล์ฟเหล็กวนกลางอากาศเป็นอัศจรรย์นั้น แท้จริงแล้ว มันเป็นฟิสิกส์ของลูกไซด์โค้ง ที่อาศัยการหมุนของลูกกอล์ฟในการเปลี่ยนวิถีการเคลื่อนที่!!! 
 
พื้นผิวของลูกกอล์ฟมีแรงเสียดทานอากาศ ตามรูปประกอบ เมื่อเรามองจากด้านบน ถ้าลูกกอล์ฟหมุนตามเข็มนาฬิกา อากาศทางด้านบน จะถูกผลักไปทางด้านหน้าของลูกกอล์ฟ อากาศเมื่อปะทะอากาศเกิดการบีบอัด นั่นทำให้เกิดการเพิ่มของแรงดัน ส่วนทางด้านล่าง อากาศถูกผลักไปด้านหลัง ทำให้เป็นด้านที่มีแรงดันต่ำ และตามหลักการของเบอร์นูลี เมื่อมีความแตกต่างของความดัน ลูกกอล์ฟก็จะเคลื่อนที่โค้งลงด้านล่างของภาพ นั่นคือสภาพของการไซด์โค้ง ซึ่งเป็นฟิสิกส์เดียวกับการขว้างลูกโค้งของเบสบอล และการเตะไซด์โค้งในกีฬาฟุตบอล 
 
การไซด์โค้งจนลูกกอล์ฟสามารถหมุนวนครบรอบเห็ฯได้ในสนามนั้น มันขึ้นอยู่กับความเร็วการไดรฟ์และความเร็วการหมุน ถ้าเง็กโคตีบอลเหล็กหนักราวครึ่งกิโลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ที่ความเร็วมัค 1 และความเร็วการหมุนเพียง 2000 รอบต่อวินาที มันก็เพียงพอจะสร้างแรงยกได้ราว 500 นิวตั้น คิดเป็นความเร่ง 1000 m/s^2 และจะทำให้ลูกบอลเหล็กหมุนวนครบรอบได้ในรัศมี 80 เมตร ซึ่งสามารถเห็นปรากฎการณ์นี้ได้ในสนาม* ดังนั้น ที่เห็นเง็กโคใช้วิทยายุทธตีกอล์ฟวนเหินในอากาศ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เป็นไปได้ในทางฟิสิกส์ นี่ถ้าพวกไฮดรารู้เข้าคงส่งทหารนาฮีไปเข้าคอร์สเรียนกอล์ฟก็ครองโลกไปแล้ว
 
(* อ้างอิงจากสมการแรงยกตามทฤษฎีของนาซ่า https://www1.grc.nasa.gov/beginners-guide-to-aeronautics/lift-of-a-baseball/ ) 
 


7. วิดกระยาสารทแห่งกระบวนท่าฝ่าชั้นบรรยากาศของ idea“ข้าคือเอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ ผอ. รร. ลูกผู้ชาย!!!”idea
 
การฝ่าชั้นบรรยากาศ วัตถุในวงโคจรจะต้องสลายพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ทั้งหมดสิ้นเพื่อจะตกลงสู่พื้นโลก ซึ่งกระบวนการของการสลายพลังคือการถ่ายพลังงานเข้าสู่อนุภาคอากาศเกิดการบีบอัด และ ตามหลักเทอร์โมไดนามิกส์ การบีบอัดจะทำให้เกิดการเพิ่มของอุณหภูมิ สำหรับร่างกายมนุษย์ในชุดอวกาศ การเข้าชั้นบรรยากาศจากวงโคจรโลกต่ำ ประเมินได้ว่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดขณะฝ่าชั้นบรรยากาศที่ประมาณ 600 องศาเซลเซียส อุณหภูมินี้ จะร้อนน้อยกว่ากระสวยอวกาศที่จะอยู่ที่ 1000 องศาเซลเซียส เพราะต่อให้เป็น เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ มันก็ยังเป็นมนุษย์ ซึ่งร่างกายมนุษย์เบากว่าโครงสร้างโลหะและเซรามิคมากมายนัก แรงกดปะทะจึงน้อยกว่า อุณหภูมิย่อมน้อยกว่า แต่ถึงกระนั้น อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียสก็ยังเกินขีดความสามารถของชุดอวกาศที่ทนอุณหภูมิได้เพียง 120 องศาเซลเซียส มันจะต้องใช้วิชาอะไรกันที่ เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ จะรอดชีวิตผ่านชั้นบรรยากาศได้กันแน่ exclaimquestionexclaimquestion
 
คำตอบของคำถามนี้ มีใบ้ไว้อยู่แล้วในภาพการเข้าชั้นบรรยากาศ เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ เห็นแบกถังออกซิเจนไว้ด้านนอกของสถานีอวกาศ ที่กำลังลดเพดานโคจร ทำไมมันจึงแบกถึง 2 ถัง ไอ้สองถังที่ติดหลังนั่นใหญ่ยังกะถังปตท 48 กิโล ถึงเผื่อ spec ความหนาแบบถังอวกาศ นั่นน่าจะเพียงพอจะให้มนุษย์หายใจได้ครึ่งค่อนเดือน ถังแก๊สที่เห็น เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ แบกออกมานั้น นั่นคือ ถังออกซิเจน และถังไฮโดรเจน นั่นก็เพราะ เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ จะใช้แก๊สตัดเชื่อมสถานีอวกาศออกมาเป็นเกราะความร้อนสำหรับเข้าชั้นบรรยากาศไง!!!!
 
เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ แม้มองยังไงก็เป็นตาลุงบ้ากล้าม แต่หมอนี่ ในตำนาน เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ ลูกผู้ชายอันดับหนึ่ง สมัยหนุ่มๆ มันสร้างเครื่องบินสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก มันถึงกับสร้าง Jet Pack แบบ Rocketeer มันยังถึงกับพิสูจน์สมการสมมูลพลังงานและคิดค้นระเบิดนิวเคลียร์ได้ก่อนโปรเจคแมนฮัตตั้นเสียด้วยซ้ำแต่เห็นว่าอันตรายต่อโลกเกินไปท่าน เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ จึงโหม่งผนึกระเบิดนิวเคลียร์ลงไป เขาคือลูกผู้ชายที่สุดยอดทั้งบู๊และบุ๋น การออกแบบและสร้างเกราะความร้อนเข้าชั้นบรรยากาศ ขอแค่ 1 ช่องก็สร้างเสร็จแล้ว
 
เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ ย่อมรู้ดีว่า วัสดุของสถานีอวกาศสกายแลบนั้นทำมาจากอลูมิเนียมซึ่งหลอมละลายที่ 600 องศาเซลเซียส ด้วยความรู้ทางอวกาศ-อากาศ-อุณหพลศาสตร์ ร่วมกับโหราศาสตร์ และการแปรธาตุ เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ ใช้เวลาเพียง 0.00001 วินาทีก็คำนวณคำตอบออกมาได้ เขาต้องสร้างเกราะความร้อนอลูมิเนียมที่มีพื้นที่อย่างน้อย 8 ตารางเมตร น้ำหนักรวมไม่เกิน 500 กิโลกรัม เพื่อจะกระจายน้ำหนักต่อพื้นที่สัมผัสชั้นบรรยากาศและลดอุณหภูมิลงมาที่ 400 องศาเซลเซียส ที่อลูมิเนียมจะทนความร้อนได้ เกราะความร้อนนี้จะเป็นฉนวนกันความร้อนให้กับชุดอวกาศที่ทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 120 องศาอีกทีหนึ่ง และเอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ ยังรอบคอบถึงขนาดเตรียมออกซิเจนส่วนที่เหลือจากการตัดเชื่อมเกราะความร้อนมาใช้ฉีดพ่นเป็นสารหล่อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิชุดและเกราะความร้อนเสริมถ้าอุณหภูมิการเข้าชั้นบรรยากาศจะสูงเกินไป (วิธีการนี้ในภายหลัง เทมส์ เรย์ ได้นำมาใช้พัฒนาเป็นระบบการเข้าชั้นบรรยากาศสำหรับชุดอวกาศกลขนาดใหญ่ในอนาคต) และนี่เอง คือวิธีที่เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ เข้าชั้นบรรยากาศกลับโลกมา
 

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่