คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
"เดา"
ครับ
เดาจริงๆ นะ คือ ระยะทางแบบ สามร้อยปีแสง(ระยะทางจากโลกไป HD904790b) จากดาวที่ไม่มีแสงในตัวเองอีก คือเวลาเขาพบดาวพวกนี้คือตอนที่มัน "ผ่านหน้า" ดาวฤกษ์ของมัน แล้วทำให้ระดับความสว่างของดาวฤกษ์เมื่อมองจากโลกลดลงไปแบบไม่ถึง 0.1% ไรงี้เลยครับ คือข้อมูลแค่นี้มันได้แต่เดาล้วนๆ
ซึ่งจริงๆ เขาใช้วิธีการที่เรียกว่า spectroscopy คือการดูแสงที่วัตถุปลดปล่อยออกมาแล้วดูว่าธาตุหลักๆ นั้นมีอะไรบ้าง ใช้ doppler effect ของแสงดาวฤกษ์เวลามีวัตถุผ่านหน้าว่า spectrum ของแสงที่เบี่ยงเบนไปเป็นอย่างไร แล้วเอามาดูองค์ประกอบต่างๆ เช่น องศาเบี่ยงเบนก็ดูว่าดาวใหญ่ขนาดไหน ความเบี่ยงเบนก็ดูมวล พอได้ขนาดกับมวลก็มานั่งหาความหนาแน่น ที่ความหนาแน่นก็จะดูได้ว่าดาวฤกษ์น่าจะเป็นดาวแก๊ส(0.7-1.1 เท่าของน้ำ) หรือดาวหินแบบโลก(5เท่าขึ้นไป) ความถี่ดูว่าดาวห่างจากดาวฤกษ์แค่ไหน(อุณหภูมิพื้นผิว) แล้วถ้ามันมีหลายอันก็จะบอกได้ว่ามีดาวเคราะห์กี่ดวงที่โครจรรอบดาวฤกษ์นี้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อมูลที่ได้น่าจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่มากๆ ตามระยะทางที่ไกลแสนไกล ดังนั้นเวลามีข่าวเจอดาวเคราะห์คล้ายโลกนอกระบบสุริยะพวก 1พันปีแสงอัพไรงี้ผมแทบไม่สนใจเลยเพราะรู้ว่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูลมันเยอะมากๆ (แค่พลูโตกับชารอนกว่าจะรู้องค์ประกอบจริงๆ ของมันต้องรอให้ new horizon ไปถึงเลย นี่ขนาดแค่อยู่ในระบบเราเองนะเนี่ย!)
ครับ
เดาจริงๆ นะ คือ ระยะทางแบบ สามร้อยปีแสง(ระยะทางจากโลกไป HD904790b) จากดาวที่ไม่มีแสงในตัวเองอีก คือเวลาเขาพบดาวพวกนี้คือตอนที่มัน "ผ่านหน้า" ดาวฤกษ์ของมัน แล้วทำให้ระดับความสว่างของดาวฤกษ์เมื่อมองจากโลกลดลงไปแบบไม่ถึง 0.1% ไรงี้เลยครับ คือข้อมูลแค่นี้มันได้แต่เดาล้วนๆ
ซึ่งจริงๆ เขาใช้วิธีการที่เรียกว่า spectroscopy คือการดูแสงที่วัตถุปลดปล่อยออกมาแล้วดูว่าธาตุหลักๆ นั้นมีอะไรบ้าง ใช้ doppler effect ของแสงดาวฤกษ์เวลามีวัตถุผ่านหน้าว่า spectrum ของแสงที่เบี่ยงเบนไปเป็นอย่างไร แล้วเอามาดูองค์ประกอบต่างๆ เช่น องศาเบี่ยงเบนก็ดูว่าดาวใหญ่ขนาดไหน ความเบี่ยงเบนก็ดูมวล พอได้ขนาดกับมวลก็มานั่งหาความหนาแน่น ที่ความหนาแน่นก็จะดูได้ว่าดาวฤกษ์น่าจะเป็นดาวแก๊ส(0.7-1.1 เท่าของน้ำ) หรือดาวหินแบบโลก(5เท่าขึ้นไป) ความถี่ดูว่าดาวห่างจากดาวฤกษ์แค่ไหน(อุณหภูมิพื้นผิว) แล้วถ้ามันมีหลายอันก็จะบอกได้ว่ามีดาวเคราะห์กี่ดวงที่โครจรรอบดาวฤกษ์นี้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อมูลที่ได้น่าจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่มากๆ ตามระยะทางที่ไกลแสนไกล ดังนั้นเวลามีข่าวเจอดาวเคราะห์คล้ายโลกนอกระบบสุริยะพวก 1พันปีแสงอัพไรงี้ผมแทบไม่สนใจเลยเพราะรู้ว่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูลมันเยอะมากๆ (แค่พลูโตกับชารอนกว่าจะรู้องค์ประกอบจริงๆ ของมันต้องรอให้ new horizon ไปถึงเลย นี่ขนาดแค่อยู่ในระบบเราเองนะเนี่ย!)
แสดงความคิดเห็น
เรารู้ข้อมูลดาวที่อยู่ไกลจากโลกเรามากๆได้อย่างไร
จากบทความข้างต้น นาซ่าได้ค้นพบดาวดวงใหม่ซึ่งมีข้อมูลมากมาย ทั้งขนาด บรรยากาศ อุณหภูมิ ความอุดมสมบูรณ์ ดาวบริวาร ฯลฯ
ทั้งๆที่อยู่ห่างไกลจากโลกเราถึง สามแสนปีเมื่อเดินทางโดยยานอวกาศ
อยากทราบว่า นักวิทยาศาสตร์ทราบโดยวิธีใดครับ