[CR] เที่ยวอุบล#น้ำตกสร้อยสวรรค์#2 ทุ่งดอกไม้ลานหิน สวรรค์ของคนชอบถ่ายดอกไม้

เที่ยวอุบล#น้ำตกสร้อยสวรรค์#1 น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกที่ไหลมาบรรจบเป็นสร้อยคอจากสวรรค์
https://ppantip.com/topic/41158059

เที่ยวอุบล#น้ำตกสร้อยสวรรค์#2 ทุ่งดอกไม้ลานหิน สวรรค์ของคนชอบถ่ายดอกไม้
https://ppantip.com/topic/41158063

เที่ยวอุบล#น้ำตกสร้อยสวรรค์#3 กางเต็นท์ ชมวิวริมผา ผาเจ็ก ผาเมย
https://ppantip.com/topic/41158072


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

สำหรับลานดอกไม้ป่า ที่น้ำตกสร้อยสวรรค์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม  พ.ศ.2548 เวลาประมาณ 17.00 น. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย ข้าราชบริพาร ทรงเสด็จทอดพระเนตร และศึกษาพันธุ์ดอกไม้ป่า เป็นการส่วนพระองค์ ณ บริเวณทุ่งดอกไม้ป่า แปลงที่ 3 ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติผาแต้ม หน่วยที่ 1(สร้อยสวรรค์) โดยมีนายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้กล่าวถวายการต้อนรับ และ ดร. ธวัชชัย สันติสุข เป็นผู้ถวายรายงานเกี่ยวกับพันธุ์ดอกไม้ป่า บริเวณน้ำตกสร้อยสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ, ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9, รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายธานี ปลูกเจริญ) หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม พร้อมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และหัวหน้าหน่วยงานราชการต่างๆ ได้ร่วมรับเสด็จ จนกระทั่งเวลา 18.05 น. พระองค์จึงได้เสด็จกลับยังที่ประทับ ณ เขื่อนสิรินธร 

ทุ่งดอกไม้ป่า บริเวณน้ำตกสร้อยสวรรค์นี้ เป็นทุ่งดอกไม้ป่าซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จะออกดอกเต็มท้องทุ่งในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ของทุกปี คือช่วงเดือนตุลาคม - มกราคม และเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติของพันธุ์ดอกไม้ป่าจำพวกดอกหญ้า และพืชล้มลุกจำพวกกินแมลงมากที่สุดในประเทศไทย

โดยมีดอกไม้ อยู่ 5 ชนิด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทานนาม ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สรัสจันทร ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก บนพื้นที่รวมกว่า 40 ไร่ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเสด็จเยือนทุ่งดอกไม้ป่า เพื่อทรงทอดพระเนตร และศึกษาพันธุ์ดอกไม้ป่าเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ ปี 2542 เป็นต้นมา (ยกเว้นปี 2547 )

*** ข้อมูลจาก
https://www.guideubon.com/2.0/go2ubon/4092/

------------------------------------------
ดุสิตา (Dusita)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia delphinioides Thor. ex Pell.
ชื่อเรียกอื่น : Other name(s) : หญ้าข้าวก่ำน้อย, หญ้าเข็ม (เลย)
ชื่อวงศ์ : Family name : LENTIBULARIACEAE




ลักษณะ :
พืชล้มลุกกินแมลง ขึ้นเป็นกอเล็ก สูง 10-20 ซม. อายุปีเดียว ใบ เดี่ยวขนาดเล็ก ที่ข้อใกล้โคนต้นและมีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับ ดักจับแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร ดอก สีม่วงเข้ม ออกเป็นช่อ แทงขึ้นจากโคนกอ ช่อดอกตั้งสูงประมาณ 5-20 ซม. มีดอกย่อย 3-10 ดอก ออกเรียงสลับ ขนาดประมาณ 6-10 มม. กลีบดอกล่าง แผ่แยกออกเป็น 2 ปาก ผล เป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่
Characteristics :

การกระจายพันธุ์ :
ลาว กัมพูชา เวียดนาม ในประเทศไทยพบที่จังหวัดพิษณุโลก เลย มุกดาหาร สกลนคร อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ตราด พบตามพื้นที่ชื้นแฉะ เปิดโล่ง ขึ้นปะปนกับหญ้า บนหิน หรือในนาข้าว ระดับความสูง 0-1300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกออกผลช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม

*** ข้อมูลจาก
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1391

---------------------------------------------------------------------
สร้อยสุวรรณา (Soi suwanna)

ชื่อสมุนไพร  สร้อยสุวรรณา
ชื่ออื่นๆ  เหลืองพิศมร (กรุงเทพฯ), หญ้าสีทอง (เลย), สาหร่ายดอกเหลือง (ภาคกลาง) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานนามว่า “สร้อยสุวรรณา”
ชื่อวิทยาศาสตร์  Utricularia bifida L.
ชื่อพ้อง  U. alata Benj., U. brevicaulis Benj., U. humilis Vahl, U. recurva Lour., U. wallichiana Benj., Nelipus bifida
ชื่อวงศ์  Lentibulariaceae







ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
              พืชล้มลุก อายุฤดูเดียว สูง 10-30 เซนติเมตร เป็นพืชกินแมลง ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ไม่มีใบหรือรากที่แท้จริง รากเป็นรากเทียม แตกแขนงมาก ยาว 2-3 มิลลิเมตร มีไหลยาว 2-3 เซนติเมตร กว้าง 0.1 มม. ปล้องยาว 4-5 มม. ใบเดี่ยว รูปแถบ ออกตามข้อของไหล แบบเรียงเวียนรอบโคนต้น กว้าง 1-2 มม. ยาวได้ถึง 2 ซม. ปลายมน โคนสอบแคบ ตามใบจะมีถุงดักแมลง เป็นถุงกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มม. ที่ปากถุงมีหนวด 2 เส้น ยาวแข็ง โค้ง ดอกช่อกระจะ ก้านตั้งตรง แทงออกจากดิน กลีบดอกสีเหลืองสด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 มม. ดอกเรียงอยู่บนก้าน แบบสลับ ยาว 3-20 เซนติเมตร ก้านช่อดอกกลมเกลี้ยง ใบประดับรูปไข่ ยาว 1-3 มม. ปลายมน หรือแหลม ที่โคนมีเส้นตามยาว 1-5 เส้น ใบประดับย่อยรูปลิ่ม ปลายแหลม สั้นกว่าใบประดับมาก แต่ละช่อมีดอก 3-10 ดอก ระยะที่ดอกบาน ก้านดอกจะกางออกตั้งฉากกับแกนช่อดอก เมื่อเป็นผลก้านยาว 2-5 มม. งอ และมีปีก 2 ข้าง กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ สีน้ำตาลอ่อน รูปไข่กว้าง ยาว 2.5-7 มม. กลีบบนใหญ่กว่ากลีบล่าง ปลายกลีบมน กลีบล่างปลายหยักเว้าตื้นๆ หรือกลม กลีบดอกรูปปากเปิด ยาว 0.6-1 เซนติเมตร โคนดอกเชื่อมติดกันและยื่นยาวเป็นจงอยแหลมตรงที่ด้านล่าง ส่วนปลายแยกเป็น 2 ปาก ดูคล้ายถ้วยเล็กๆ กลีบด้านบนยาวเป็นสองเท่าของกลีบอื่น ปากบนตรงที่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลางเล็กน้อยจะมีรอยคอด ส่วนบนของรอยคอดรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กว้าง ปากล่างตรงปากแตรรูปคล้ายหมวกค่อนข้างกลม ที่โคนมีรอยนูน ส่วนล่างที่ยื่นยาวลงไปเป็นจงอยคล้ายรูปลิ่ม โค้งเล็กน้อย เกสรเพศผู้มี 2 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 มม. ตรงอับเรณูมี 2 ช่อง แยกกัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ ค่อนข้างแบน มี 1 ห้อง ผลแบบผลแห้งแตก รูปหัวใจ ขนาดเล็ก  แบน ยาว 2.5-3 มม. เปลือกผลบาง เมื่อแก่แตกตามแนวบนและล่าง เมล็ด รูปไข่กลับ เบี้ยว ยาว 0.4-0.5 มม. ปลายตัด ชอบขึ้นตามดิน หรือลานหินที่ชื้น ที่มีน้ำขัง และตามท้องนาทั่วไป ออกดอกและติดผลราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

สรรพคุณ    
              ตำรายาไทย ทั้งต้น แก้ไข้ แก้บวม แก้ผดผื่นคัน แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
              ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ทั้งต้น ต้มแล้วคั้นดื่มเพื่อบำรุงเลือด

***ข้อมูลจาก
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=287

-------------------------------------------------------
มณีเทวา (Manee Dhewa)
ดอกกระดุมเงินหรือดอกมณีเทวา เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ







เติบโตแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วและขึ้นเป็นกอ ซึ่งเป็นญาติห่างๆ กับดอกหญ้าอยู่ในวงศ์ ERIOCAULACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ManeeDheva Eriocaulon sp.

เดิมทีก่อนจะมีชื่อว่า “มณีเทวา” อันไพเราะเพราะพริ้งนั้น ชาวบ้านทางแถบภาคอีสานเรียกว่า “หญ้าหัวงอก” หรือ “หญ้าผมหงอก” เพราะเกสรที่อยู่รอบดอกมีลักษณะเหมือนขนเล็กๆ สีขาวทั่วทั้งดอก เหมือนคนแก่หัวหงอก อาจเรียกอีกชื่อว่า “ดอกกระดุม” หรือ “ดอกกระดุมเงิน” เพราะดอกเป็นรูปทรงกลมคล้ายกับกระดุม และท้ายสุดจะเรียกเหมารวมเป็นดอกหญ้าว่า “หญ้าดอก” ก็ได้เพราะขึ้นง่าย ตายยากเหมือนกัน

ชื่อ “มณีเทวา” ชาวบ้านไม่ได้ตั้งขึ้นเอง แต่เจ้าดอกหญ้าต้นน้อยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานนามให้ ด้วยรูปลักษณ์ที่กลมเหมือนกระดุมแล้วยังสามารถมองคล้ายแก้วมณีสีขาวใสผุดผ่อง จึงอาจเป็นที่มาของชื่อ “มณีเทวา” หรือที่แปลตามความเข้าใจของผู้เขียนเองว่า “แก้วมณีจากเทวดา” ก็เป็นได้

ด้วยคุณสมบัติล้มแล้วลุก จึงทั้งอึดและทนต่อการเหยียบย่ำจากคนและวัวควาย ยิ่งเป็นพื้นที่โล่งชุ่มชื้นหรือป่าโปร่งยิ่งขึ้นได้ดี ยิ่งแพร่ได้เร็ว ช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ตามท้องนาก็จะเริ่มมีดอกกระดุมเงินแทรกขึ้นมาจากพื้นดิน โดยเฉพาะช่วงอากาศปลายฝนต้นหนาวในเดือนตุลาคม บางกอก็เริ่มพากันทยอยบาน จนช่วงธันวาคมถึงปลายมกราคม ท้องทุ่งนาจะบานสะพรั่งไปด้วยดอกกระดุมเงิน บรรดาแมลงเต่าทองสีส้มอมแดงต่างพากันมาเกาะดอกแต้มจุดให้ดอกกระดุมเงินดูมีสีสันไม่จืดชืด เหมือนตกอยู่ในสภาวะ “ทิ้งตัว” อยากจะเกลือกกลิ้งในดงหญ้า

หากใครมาปิดท้ายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก็ยังคงมีดอกกระดุมเงินขึ้นอยู่ แต่ต้นและดอกจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลและสีขาวตุ่นๆ บางจุดก็อาจหายไปเป็นหย่อมๆ ดูไม่สดใสเท่าวันส่งท้ายปีเก่าเข้าปีใหม่ ให้ความรู้สึกเป็นฤดูใบไม้ร่วงหม่นๆ เหงาๆ

นอกจากรูปสวย นามเพราะ ก็ยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรให้คุณประโยชน์ ถ้าเปรียบเป็นหญิงสาว เธอคนนี้นอกจากสวยแล้วก็ยังฉลาดปราดเปรียว ด้วยขนาดลำต้นที่สูงเพียง 10-20 เซ็นติเมตร ตามขนาดต้นหญ้าทั่วไป รสจืดเย็น (คาดว่าน่าจะไม่มีรสแต่ให้ความรู้สึกโล่ง) เป็นยาสงบประสาท แก้ไข แก้ปวด ขับปัสสาวะ พบในภูมิภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

*** ข้อมูลจาก
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/686594

-----------------------------------------------------------------
ชื่อสินค้า:   ดอกไม้ลานหิน
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่