ชำมะเลียง เป็นพืชในวงศ์ SAPINDACEAE ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนชื้น (tropical) บริเวณเส้นศูนย์สูตรในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการแพร่กระจายพันธุ์จากอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม สำหรับในประเทศไทยถือว่าเป็นพืชท้องถิ่นสามารถพบชำมะเลียง ได้ทั่วทุกภาคของประเทศแต่จะพบได้มากในภาคใต้ บริเวณป่าดิบเขาป่าโปร่ง ป่าชายเลนตามแนวชายป่า หรือ ริมลำธาร ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,000 เมตร
ลักษณะทั่วไป
ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ถึง 8 ม. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับกว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง ใบเขียวเต็ม มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียนซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวครีม ออกเป็นช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ผลรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด
ประโยชน์และสรรพคุณชำมะเลียง1.แก้พิษไข้
2.แก้ไข้กาฬ
3.แก้ไข้เหนือ
4.แก้ไข้จับสั่น
5.แก้ร้อนใน
6.แก้เลือดกำเดาไหล
7.แก้ไข้สันนิบาต
8.แก้ไข้กำเดา
9.แก้ท้องผูก
10.แก้โรคระบบทางเดินอาหาร
11.แก้ร้อนใน
12.แก้กระสับกระส่าย
13.แก้โรคท้องเสียในเด็ก
14.ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ
15.แก้ร้อนในกระหายน้ำ
16.แก้ท้องร่วง
มีการนำส่วนต่างๆ ของชำมะเลียง มาใช้ ประโยชน์หลายด้านดังนี้
ผลชำมะเลียงแก่ มีรสฝาดหวาน คนโบราณให้เด็กดินแก้โรคท้องเสีย
ราก แก้ร้อนใน แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต และเลือดกำเดาไหล
ใบอ่อน ใช้ประกอบการทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในแกงเลียง
นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่ามีการปลูกชำมะเลียงไว้เป็นไม้ประดับ เนื่องจากชำมะเลียง มีใบสีเขียวเข้มทั้งปี (ไม่ผลัดใบ) เมื่อมีผลก็มีสีม่วงสด ตัดกับสีของใบดูสวยงามสบายตาและมีความร่มรื่นตลอดปี
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ DISTHAI, ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองคณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"ชำมะเลียง" พืชที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและยา
ประโยชน์และสรรพคุณชำมะเลียง
15.แก้ร้อนในกระหายน้ำ