ครอบครัวคนในสังคมไทย โดยรวมแล้วค่อนข้างเคร่งครัดเรื่องเรียนให้ลูกหลาน เหมือนสังคมญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไหมครับ

โรงเรียนรัฐบาลชื่อดัง อย่าง เตรียมอุดมฯ สวนกุหลาบฯ มหิดลวิทย์ หรือโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
หรือโรงเรียนเอกชนชื่อดัง หรือโรงเรียนรัฐชื่อดังประจำจังหวัด
จำนวนเด็กสมัครเข้าเรียนและแข่งขันสอบเข้าค่อนข้างสูงมาก ซึ่งโรงเรียนระดับแนวนี้ ส่วนใหญ่คะแนนโอเน็ตเฉลี่ยสูงติดท็อปของประเทศทั้งนั้น

โรงเรียนต่างๆตามชนบท เริ่มมีเด็กเข้าเรียนน้อยลงเรื่อยๆ เพราะพ่อแม่นิยมส่งลูกให้เรียนโรงเรียนใหญ่ๆในเมือง นั่งรถรับส่งไปเรียนไกลบ้านกันทั้งนั้น

ถ้าวัดดูจากสถิติจำนวนนักเรียนแต่ละระดับชั้นทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ม.3
และเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรเกิดในปีพ.ศ. ที่เด็ก ป.1-ม.3 เกิด
จะพบว่ามีจำนวนตัวเลขใกล้เคียงกันมากทุกๆปี และทุกๆระดับชั้นการศึกษา
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครอบครัวคนไทย ทุกชนชั้นในสังคม โดยรวมนิยมส่งเสียลูกๆเรียนหนังสือกันหมดเกือบทุกครอบครัว

"มหาวิทยาลัยรัฐชื่อดังยังมีการแข่งขันสอบเข้าสูงอยู่"
จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตร มหิดล และมหาลัยระดับแนวนี้อื่นๆอีกหลายแห่ง คะแนนแอดมิชชั่นแต่ละรอบในแต่ละปี ที่ผมเห็นมาคนสมัครแข่งขันสอบเข้าสูงมากๆ
เด็กเก่งและหัวกะทิจริงๆถึงจะเข้าได้

และในแต่ละปีนั้น มีเด็กเรียนจบมหาลัยหลายแสนคนเลย

"แรงงานระดับล่างลดลง เพราะคนรุ่นใหม่มีการศึกษาที่สูงขึ้น"
อันที่จริง ยังมีเด็กไทยอยู่เป็นจำนวนมากนะ ที่เรียนจบเพียง ม.3 ม.6 ปวช. แล้วก็ออกมาทำงานเลย
ซึ่งงานระดับล่างนั้นต้องดูประเภทของงานด้วยนะครับ
ถ้าเป็นงานประเภท ก่อสร้าง ประมง แบกหาม รับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแรงงานต่างด้าว
แต่ถ้าเป็นงานประเภท ฝ่ายผลิตโรงงาน กับงานบริการต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นแรงงานคนไทยอยู่



เด็กไทยมีชั่วโมงการเรียนเฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวัน
หรือ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นี่ยังไม่นับชั่วโมงกิจกรรม กับการบ้านนะ
ซึ่งก็ถือว่าหนักมากๆ

ครูบางคนในหลายโรงเรียน ไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าไหร่
....ครูบางคนก็ดูเหมือนขี้เกียจสอน
....ครูบางคนก็เอาแต่ดุด่า คอยจับผิดนักเรียน จนไม่ได้ใส่ใจเรื่องการเรียนการสอน
....ครูบางคนก็เอาแบบฝึกหัดที่เคยให้นักเรียนทำ มาออกข้อสอบกลางภาค ปลายภาค
....ครูภาษาอังกฤษบางคนก็สอนเอาแค่ประโยคพูด แต่ไม่ได้ใส่ใจสอนเรื่องหลักไวยากรณ์เลย
และอื่นๆอีกสารพัดครับ
(พูดจากใจชายวัยอายุ 22 ปี ที่เรียนโรงเรียนรัฐมาตลอดนะครับ)

ปี 2563 ประเทศไทยมีสถิติ
จำนวนหญิงคลอดบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี ทั้งหมด 28,255 คน
หรือคิดเป็น 4.96% จากจำนวนประชากรเกิดทั้งหมด 569,338 คน
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงไทยรุ่นใหม่ที่มีลูกในวัยเรียนกันนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยในสังคมและลดลงเรื่อยๆแล้ว

จากที่ผมอธิบายมาทั้งหมด ถ้าหากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้แล้ว ครอบครัวคนไทยเคร่งครัดเรื่องการศึกษาให้ลูกมากน้อยแค่ไหน
เพราะได้ยินมาว่าพ่อแม่คนญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นี่เคร่งครัดเรื่องการศึกษาให้ลูกสูงมากๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่