จากข่าวการเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ในแอฟริกาใต้นั้น คงทำให้ท่านผู้อ่านหลายท่านรู้สึกตกใจและหวาดกลัว เพราะหากสายพันธุ์นี้มีคุณสมบัติ 3 ประการพร้อมกันได้แก่ 1) แพร่ได้ง่าย 2) วัคซีนที่มีป้องกันได้น้อย 3) มีความรุนแรง นั่นจะแปลว่ามันคือภัยร้ายอันใหม่ที่อาจทำให้โลกกลับไปสู่ยุคล็อคดาวน์แน่นหนาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามข้อมูลเท่าที่ออกมาจนถึงตอนนี้บอกว่า แม้โอไมคอนแพร่เชื้อง่ายขึ้น และวัคซีนที่เรามีก็สามารถยับยั้งได้น้อยก็จริง แต่ในเรื่องความรุนแรงนั้น ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยังบ่งชี้ว่าไม่มากเท่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ จนกระทั่งมีการระบุว่าโอไมครอนอาจเป็น “สายพันธุ์ที่เราต้องการ” ก็ได้… แต่มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไรล่ะ?
ทุกอย่างยังเร็วไปที่จะสรุป และบทความนี้ไม่ต้องการให้ผู้อ่านประมาทหรือ หวาดกลัวไปก่อน แต่จะพาทุกท่านไปดูว่าทำไมโอไมครอนจึงอาจจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่สามารถเป็นได้ทั้ง “มหันตภัยใหม่” หรือ “ความหวัง” ของเรา
*** โอไมครอน: โควิดสายพันธุ์ซอฟต์? ***
โอไมครอนเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งชื่อว่าโอไมครอนตามอักษรกรีกตัวที่ 15 เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา (แต่การตั้งชื่อนี้ข้ามอักษรกรีกไป 2 ตัว คือ nu เนื่องจากไปพ้องเสียงกับคำว่า new ส่วน xi นั้นข้ามไปเชื่อว่าเพราะพ้องกับ แซ่ของท่านผู้นำสีจิ้นผิง)
ภาพแนบ: ยอดผู้ป่วยโควิดแบ่งตามสายพันธุ์ในแอฟริกาใต้
จนตอนนี้เรามีโควิด 13 สายพันธุ์แล้ว ในจำนวนนี้ เป็นสายพันธุ์น่ากังวล 5 สายพันธุ์ ได้แก่ แอลฟา, เบตา, แกมมา, เดลตา และโอไมครอน
แนวโน้มที่พบคือ มื่อเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ปรับตัวได้ดีกว่าขึ้น ยอดผู้ป่วยของสายพันธุ์ใหม่จะค่อยๆ สูงขึ้นจนเข้าแทนที่สายพันธุ์เดิม และสุดท้ายจะแทบไม่มียอดผู้ป่วยสายพันธุ์เดิมเหลืออยู่เลย
ในลักษณะนี้สายพันธุ์โอไมครอนอาจเป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุด แซงหน้าเดลตาก็เป็นได้ หลังข้อมูลจากแอฟริกาใต้พบว่า อัตราผู้ป่วยรายวันจาก 300 คนเมื่อต้นเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 คนเมื่อปลายเดือน พ.ย.
ภาพแนบ: การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โอไมครอน
ในปัจจุบัน WHO ยังระบุว่าไม่มีข้อมูลว่าสายพันธุ์โอไมครอนมีอัตราแพร่เชื้อและความรุนแรงสูงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้หรือไม่
จากการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมเท่าที่ออกมา พบว่าไวรัสโควิดโอไมครอนมีการกลายพันธุ์ในส่วนโปรตีนหนาม (spike protein) ที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ ทำให้เชื่อว่าจะทำให้เชื้อสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีขึ้น, แพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่นง่ายขึ้น, และลดประสิทธิภาพของวัคซีนด้วย
ภาพแนบ: ค่า Rt ของโรคติดเชื้อต่างๆ
ข้อมูลของการศึกษาที่ยังไม่ผ่านกระบวนการทบทวน (peer review) พบว่า ค่า Rt (ซึ่งบอกว่าคน 1 คนจะแพร่เชื้อต่อให้อีกกี่คน) ของสายพันธุ์โอไมครอนอาจอยู่ที่ 3.5 เทียบกับสายพันธุ์โควิดก่อนหน้านี้ที่ 1.4-2.4 แปลว่าสูงมาก (แต่ยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับโรคหัดที่อยู่ที่ 12-18)
เมื่อจั่วหัวมาแบบนี้ ทำให้หลายฝ่ายรู้สึกกังวลว่ามันอาจกลายเป็นการระบาดระลอกใหม่ที่อาจต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์เข้มงวดอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้วิถีชีวิตและเศรษฐกิจกลับไปหยุดชะงักอีก
ภาพแนบ: อินโฟกราฟิกโอไมครอน
แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านที่ออกมาชี้ว่า สายพันธุ์โอไมครอนนี้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่คงจะติดกันง่ายขึ้น เช่น เวนกี ซาวดาราราจัน (Venky Soundararajan) นักวิจัยจากสหรัฐ ระบุว่า ไวรัสโอไมครอนใหม่นี้ดูเหมือนจะรับเอาสารพันธุกรรมส่วนหนึ่งมาจากไวรัสก่อโรคหวัดธรรมดาที่ติดกันง่ายนั้นเอง (คือไวรัสอาจกลายพันธุ์เอง หรือรวมกับไวรัสอื่นๆ เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ก็ได้)
ข้อมูลเท่าที่มีจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยุโรประบุว่า ผู้ป่วยจากโอไมครอนร้อยละ 50 ไม่มีอาการ และอีกร้อยละ 50 มีอาการไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามเนื้อตัว และอ่อนเพลีย (เป็นอาการคล้ายแบบไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) และข้อมูลจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้ระบุว่า ในจำนวนผู้ป่วยโอไมครอน 42 คน มีผู้ป่วยต้องให้อ็อกซิเจนเพียง 13 คน
ในลักษณะนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่โอไมครอนอาจเป็นโควิดที่กลายพันธุ์ให้ตัวเองสามารถแพร่ได้ง่าย แต่มีความรุนแรงน้อยลงเพื่อให้สามารถ “อยู่ร่วมกัน” กับมนุษย์ เพราะประโยชน์สูงสุดของไวรัสคือการอยู่รอด และแพร่พันธุ์ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่การสังหาร “เจ้าบ้าน” ของตน ซึ่งจะทำให้ตนต้องตายไปด้วย
พอล ออฟฟิต แพทย์จากโรงพยาบาลฟิลาเดลเฟีย กล่าวสรุปว่า “ไวรัสไม่เคยต้องการที่จะฆ่าคุณเลย ไวรัสทุกชนิดอยากเป็นเหมือนโรคหวัด คือแค่อยากอาศัยในตัวคุณ (โดยที่คุณไม่ตระหนักถึงอันตรายจนต้องหาทางป้องกัน) และอยากให้คุณคัดจมูกนิดหน่อยระหว่างเดินไปมาเพื่อแพร่เชื้อใส่คนอื่น”
…ซึ่งถ้าออกมาเป็นแบบนี้โอไมครอนก็อาจเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เราต้องการ…
อนึ่งแอนโทนี เฟาชี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดคนสำคัญของสหรัฐ และวอร์เนอร์ กรีน หัวหน้าศูนย์วิจัยในซานฟรานซิสโก ก็ออกมาระบุในทำนองเดียวกันกับซาวดาราราจัน แต่ยังเตือนว่าอย่าเพิ่งประมาทและด่วนสรุปเกินไป เพราะข้อมูลเต็มๆ น่าจะต้องใช้เวลาศึกษารวบรวมอีกหลายสัปดาห์ การที่อาการป่วยไม่รุนแรงในระยะต้นนั้น ไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยจะไม่ทรุดหนักในอนาคต
เช่นเดียวกับ นพ. อาเมช อะดัลจา (Amesh Adalja) ที่ออกมาชี้ด้วยว่า ที่ประชากรในแอฟริกาใต้ที่เกิดระบาดนั้นมีอายุเฉลี่ยค่อนข้างน้อย อาจมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าคนอายุมากอยู่แล้ว และทำให้อาการของโอไมครอนยังดูรุนแรงน้อยกว่าความเป็นจริง
ภาพแนบ: แผนภาพโครงสร้างของไวรัส เรียบง่ายยิ่งกว่าแบคทีเรียชั้นต่ำที่สุด
*** ย้อนดูวิวัฒนาการร่วมมนุษย์กับไวรัส: กรณีศึกษาไข้หวัดใหญ่ ***
แม้ “ไวรัส” ได้อาศัยอยู่มาหลักพันล้านปี เผลอๆ เกิดมาไล่เลี่ยกับเซลล์มีชีวิตเซลล์แรกของโลกเลยทีเดียว แต่เราก็ยังมีเรื่องที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับมันอีกมาก จะถือไวรัสเป็นเรื่องที่ลึกลับอยู่ในวงการชีววิทยาก็ว่าได้
มันเป็นการยากที่จะระบุว่าไวรัสเป็น “สิ่งมีชีวิต” หรือ “สิ่งไม่มีชีวิต” โดยทั่วไปถือมันเป็นอย่างหลัง เพราะตัวมันไม่ได้กินไม่ได้ถ่าย แต่เป็นแค่ RNA ที่มีเปลือกหุ้ม ลอยไปลอยมาไม่มีจุดหมาย ไม่มีการสืบพันธุ์ จนเมื่อลอยไปเข้าเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นนั่นแหละถึงจะเข้าไปอาศัยกระบวนการของเซลล์นั้นเพื่อผลิตตัวเองซ้ำขึ้นมา
ภาพแนบ: ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
ไวรัสส่วนใหญ่เลือกติดสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะ เช่นติดในหนูเท่านั้น ติดในมนุษย์เท่านั้น โดยไวรัสและสิ่งมีชีวิตที่มันไปก่อโรคจะมีวิวัฒนาการร่วมกัน
วิวัฒนาการร่วมกัน หมายความว่า ในด้านหนึ่งไวรัสมักถูกวิวัฒนาการคัดสรรให้มีการแพร่กระจายได้มากและการก่อโรคที่ไม่รุนแรงเกินไป (เพราะถ้ารุนแรงเกินไปสิ่งมีชีวิตที่ไปอาศัยอยู่จะตายก่อนได้แพร่พันธุ์ต่อ) และขณะเดียวกัน สิ่งมีชีวิตก็จะวิวัฒนาการคัดสรรให้มีความทนทานต่อเชื้อโรคด้วยเหมือนกัน (เพราะสิ่งมีชีวิตที่ไม่ทนทานได้ตายไปแล้ว)
ตามหลัก “การอยู่รอดของผู้เหมาะสมที่สุด” ไวรัสที่ปรับตัวช้าจนสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วก็มี เช่น โรคฝีดาษ ที่ WHO ประกาศว่าหมดไปทั่วโลกแล้วในปี 1980 และที่เข้าใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งคือโรคโปลิโอ (เหลือระบาดแค่ในปากีสถานและอัฟกานิสถาน)
ภาพแนบ: มาตรการกักโรค (quarantine) สมัยไข้หวัดใหญ่สเปน
ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดในมนุษย์มาช้านานแล้ว มีบันทึกว่าตอนที่ชาวยุโรปเดินทางไปยังโลกใหม่ ก็ได้ไปแพร่เชื้อใส่คนพื้นเมืองทำให้มีผู้เสียชีวิตมหาศาล
การระบาดที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่สเปนเมื่อปี 1918-1919 ซึ่งอาจมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 50-100 ล้านคน ซึ่งเป็นโรคระบาดใหญ่สุดนับตั้งแต่แบล็กเดธ (กาฬโรค) การระบาดครั้งต่อๆ มาในศตวรรษที่ 20 และ 21 ล้วนมาจากไวรัสที่มีต้นกำเนิดจากสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่สเปน จนมันถูกเรียกว่า “มารดาแห่งโรคระบาด”
ภาพแนบ: ชาวญี่ปุ่นสวมหน้ากากผ้าในช่วงไข้หวัดใหญ่สเปน
เชื้อไวรัสที่ก่อไข้หวัดใหญ่สเปนได้ชื่อว่า H1N1 เป็นเชื้อที่มีต้นกำเนิดในสัตว์ปีก ดังนั้นจึงเป็นเชื้อใหม่ที่มนุษย์ไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่หลังจากการระบาดผ่านไป 1-2 ปี มนุษย์ก็เริ่มมีภูมิคุ้มกัน และเชื้อเองก็มีการกลายพันธุ์จนลดความรุนแรงลง ปัจจุบันกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไปแล้ว
(แต่เวลาใช้คำว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มันก็หมายถึงโรคที่มีคนติด 5-15% ของประชากรโลก และทำให้มีผู้เสียชีวิตปีละ 300,000-650,000 คนนะครับ ไม่กระจอกเลยนะ)
ภาพแนบ: เส้นเวลาของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ ส่วนโรคซาร์สและเมอร์สไม่ได้ใส่ในที่นี้ เพราะเป็นไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นคนละกลุ่มกัน
เจฟฟรี เทาเบนเบอร์เกอร์ แพทย์จากสถาบันโรคภูมิแพ้และติดเชื้อแห่งชาติ (NIH) เล่าว่า “ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ A ในมนุษย์ทุกคนในรอบ 102 ปีหลังมานี้ล้วนมาจากเชื้อที่เกิดขึ้นตอนไข้หวัดใหญ่สเปนในปี 1918”
หลังจากนั้นมา H1N1 ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่ก่อโรคในมนุษย์อยู่เรื่อยๆ แต่บางทีก็อาจมีการผสมกับไข้หวัดใหญ่ในสัตว์จนเกิดการระบาดใหญ่เป็นระลอกตามมา เช่น เมื่อปี 1957 H1N1 มีการแลกเปลี่ยนยีนกับไข้หวัดนก เกิดเป็นสายพันธุ์ H2N2 และในปี 1968 เกิด “ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง” สายพันธุ์ H3N2 ขึ้นมาอีก
ภาพแนบ: ที่มาของสารพันธุกรรมของไข้หวัดใหญ่ 2009 (ขวากลาง) ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ “รวมมิตร” คน นก หมู
ส่วนไข้หวัดใหญ่ H1N1 ในคนอีกสายหนึ่งกลายเป็นเชื้อประจำในหมู ซึ่งในปี 2009 เชื้อดังกล่าวได้ผสมกับไข้หวัดคนและไข้หวัดนกเกิดเป็น H1N1 ที่มีสารพันธุกรรมแบบใหม่ แต่ปัจจุบันนี้โรคที่ว่าร้ายแรงนั้นก็กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลแล้วเหมือนกัน
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** “โอไมครอน” มหันตภัยใหม่ หรือ ความหวัง? ***
อย่างไรก็ตามข้อมูลเท่าที่ออกมาจนถึงตอนนี้บอกว่า แม้โอไมคอนแพร่เชื้อง่ายขึ้น และวัคซีนที่เรามีก็สามารถยับยั้งได้น้อยก็จริง แต่ในเรื่องความรุนแรงนั้น ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยังบ่งชี้ว่าไม่มากเท่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ จนกระทั่งมีการระบุว่าโอไมครอนอาจเป็น “สายพันธุ์ที่เราต้องการ” ก็ได้… แต่มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไรล่ะ?
ทุกอย่างยังเร็วไปที่จะสรุป และบทความนี้ไม่ต้องการให้ผู้อ่านประมาทหรือ หวาดกลัวไปก่อน แต่จะพาทุกท่านไปดูว่าทำไมโอไมครอนจึงอาจจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่สามารถเป็นได้ทั้ง “มหันตภัยใหม่” หรือ “ความหวัง” ของเรา
*** โอไมครอน: โควิดสายพันธุ์ซอฟต์? ***
โอไมครอนเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งชื่อว่าโอไมครอนตามอักษรกรีกตัวที่ 15 เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา (แต่การตั้งชื่อนี้ข้ามอักษรกรีกไป 2 ตัว คือ nu เนื่องจากไปพ้องเสียงกับคำว่า new ส่วน xi นั้นข้ามไปเชื่อว่าเพราะพ้องกับ แซ่ของท่านผู้นำสีจิ้นผิง)
ภาพแนบ: ยอดผู้ป่วยโควิดแบ่งตามสายพันธุ์ในแอฟริกาใต้
จนตอนนี้เรามีโควิด 13 สายพันธุ์แล้ว ในจำนวนนี้ เป็นสายพันธุ์น่ากังวล 5 สายพันธุ์ ได้แก่ แอลฟา, เบตา, แกมมา, เดลตา และโอไมครอน
แนวโน้มที่พบคือ มื่อเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ปรับตัวได้ดีกว่าขึ้น ยอดผู้ป่วยของสายพันธุ์ใหม่จะค่อยๆ สูงขึ้นจนเข้าแทนที่สายพันธุ์เดิม และสุดท้ายจะแทบไม่มียอดผู้ป่วยสายพันธุ์เดิมเหลืออยู่เลย
ในลักษณะนี้สายพันธุ์โอไมครอนอาจเป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุด แซงหน้าเดลตาก็เป็นได้ หลังข้อมูลจากแอฟริกาใต้พบว่า อัตราผู้ป่วยรายวันจาก 300 คนเมื่อต้นเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 คนเมื่อปลายเดือน พ.ย.
ภาพแนบ: การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โอไมครอน
ในปัจจุบัน WHO ยังระบุว่าไม่มีข้อมูลว่าสายพันธุ์โอไมครอนมีอัตราแพร่เชื้อและความรุนแรงสูงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้หรือไม่
จากการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมเท่าที่ออกมา พบว่าไวรัสโควิดโอไมครอนมีการกลายพันธุ์ในส่วนโปรตีนหนาม (spike protein) ที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ ทำให้เชื่อว่าจะทำให้เชื้อสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีขึ้น, แพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่นง่ายขึ้น, และลดประสิทธิภาพของวัคซีนด้วย
ภาพแนบ: ค่า Rt ของโรคติดเชื้อต่างๆ
ข้อมูลของการศึกษาที่ยังไม่ผ่านกระบวนการทบทวน (peer review) พบว่า ค่า Rt (ซึ่งบอกว่าคน 1 คนจะแพร่เชื้อต่อให้อีกกี่คน) ของสายพันธุ์โอไมครอนอาจอยู่ที่ 3.5 เทียบกับสายพันธุ์โควิดก่อนหน้านี้ที่ 1.4-2.4 แปลว่าสูงมาก (แต่ยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับโรคหัดที่อยู่ที่ 12-18)
เมื่อจั่วหัวมาแบบนี้ ทำให้หลายฝ่ายรู้สึกกังวลว่ามันอาจกลายเป็นการระบาดระลอกใหม่ที่อาจต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์เข้มงวดอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้วิถีชีวิตและเศรษฐกิจกลับไปหยุดชะงักอีก
ภาพแนบ: อินโฟกราฟิกโอไมครอน
แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านที่ออกมาชี้ว่า สายพันธุ์โอไมครอนนี้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่คงจะติดกันง่ายขึ้น เช่น เวนกี ซาวดาราราจัน (Venky Soundararajan) นักวิจัยจากสหรัฐ ระบุว่า ไวรัสโอไมครอนใหม่นี้ดูเหมือนจะรับเอาสารพันธุกรรมส่วนหนึ่งมาจากไวรัสก่อโรคหวัดธรรมดาที่ติดกันง่ายนั้นเอง (คือไวรัสอาจกลายพันธุ์เอง หรือรวมกับไวรัสอื่นๆ เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ก็ได้)
ข้อมูลเท่าที่มีจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยุโรประบุว่า ผู้ป่วยจากโอไมครอนร้อยละ 50 ไม่มีอาการ และอีกร้อยละ 50 มีอาการไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามเนื้อตัว และอ่อนเพลีย (เป็นอาการคล้ายแบบไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) และข้อมูลจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้ระบุว่า ในจำนวนผู้ป่วยโอไมครอน 42 คน มีผู้ป่วยต้องให้อ็อกซิเจนเพียง 13 คน
ในลักษณะนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่โอไมครอนอาจเป็นโควิดที่กลายพันธุ์ให้ตัวเองสามารถแพร่ได้ง่าย แต่มีความรุนแรงน้อยลงเพื่อให้สามารถ “อยู่ร่วมกัน” กับมนุษย์ เพราะประโยชน์สูงสุดของไวรัสคือการอยู่รอด และแพร่พันธุ์ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่การสังหาร “เจ้าบ้าน” ของตน ซึ่งจะทำให้ตนต้องตายไปด้วย
พอล ออฟฟิต แพทย์จากโรงพยาบาลฟิลาเดลเฟีย กล่าวสรุปว่า “ไวรัสไม่เคยต้องการที่จะฆ่าคุณเลย ไวรัสทุกชนิดอยากเป็นเหมือนโรคหวัด คือแค่อยากอาศัยในตัวคุณ (โดยที่คุณไม่ตระหนักถึงอันตรายจนต้องหาทางป้องกัน) และอยากให้คุณคัดจมูกนิดหน่อยระหว่างเดินไปมาเพื่อแพร่เชื้อใส่คนอื่น”
…ซึ่งถ้าออกมาเป็นแบบนี้โอไมครอนก็อาจเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เราต้องการ…
อนึ่งแอนโทนี เฟาชี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดคนสำคัญของสหรัฐ และวอร์เนอร์ กรีน หัวหน้าศูนย์วิจัยในซานฟรานซิสโก ก็ออกมาระบุในทำนองเดียวกันกับซาวดาราราจัน แต่ยังเตือนว่าอย่าเพิ่งประมาทและด่วนสรุปเกินไป เพราะข้อมูลเต็มๆ น่าจะต้องใช้เวลาศึกษารวบรวมอีกหลายสัปดาห์ การที่อาการป่วยไม่รุนแรงในระยะต้นนั้น ไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยจะไม่ทรุดหนักในอนาคต
เช่นเดียวกับ นพ. อาเมช อะดัลจา (Amesh Adalja) ที่ออกมาชี้ด้วยว่า ที่ประชากรในแอฟริกาใต้ที่เกิดระบาดนั้นมีอายุเฉลี่ยค่อนข้างน้อย อาจมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าคนอายุมากอยู่แล้ว และทำให้อาการของโอไมครอนยังดูรุนแรงน้อยกว่าความเป็นจริง
ภาพแนบ: แผนภาพโครงสร้างของไวรัส เรียบง่ายยิ่งกว่าแบคทีเรียชั้นต่ำที่สุด
*** ย้อนดูวิวัฒนาการร่วมมนุษย์กับไวรัส: กรณีศึกษาไข้หวัดใหญ่ ***
แม้ “ไวรัส” ได้อาศัยอยู่มาหลักพันล้านปี เผลอๆ เกิดมาไล่เลี่ยกับเซลล์มีชีวิตเซลล์แรกของโลกเลยทีเดียว แต่เราก็ยังมีเรื่องที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับมันอีกมาก จะถือไวรัสเป็นเรื่องที่ลึกลับอยู่ในวงการชีววิทยาก็ว่าได้
มันเป็นการยากที่จะระบุว่าไวรัสเป็น “สิ่งมีชีวิต” หรือ “สิ่งไม่มีชีวิต” โดยทั่วไปถือมันเป็นอย่างหลัง เพราะตัวมันไม่ได้กินไม่ได้ถ่าย แต่เป็นแค่ RNA ที่มีเปลือกหุ้ม ลอยไปลอยมาไม่มีจุดหมาย ไม่มีการสืบพันธุ์ จนเมื่อลอยไปเข้าเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นนั่นแหละถึงจะเข้าไปอาศัยกระบวนการของเซลล์นั้นเพื่อผลิตตัวเองซ้ำขึ้นมา
ภาพแนบ: ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
ไวรัสส่วนใหญ่เลือกติดสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะ เช่นติดในหนูเท่านั้น ติดในมนุษย์เท่านั้น โดยไวรัสและสิ่งมีชีวิตที่มันไปก่อโรคจะมีวิวัฒนาการร่วมกัน
วิวัฒนาการร่วมกัน หมายความว่า ในด้านหนึ่งไวรัสมักถูกวิวัฒนาการคัดสรรให้มีการแพร่กระจายได้มากและการก่อโรคที่ไม่รุนแรงเกินไป (เพราะถ้ารุนแรงเกินไปสิ่งมีชีวิตที่ไปอาศัยอยู่จะตายก่อนได้แพร่พันธุ์ต่อ) และขณะเดียวกัน สิ่งมีชีวิตก็จะวิวัฒนาการคัดสรรให้มีความทนทานต่อเชื้อโรคด้วยเหมือนกัน (เพราะสิ่งมีชีวิตที่ไม่ทนทานได้ตายไปแล้ว)
ตามหลัก “การอยู่รอดของผู้เหมาะสมที่สุด” ไวรัสที่ปรับตัวช้าจนสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วก็มี เช่น โรคฝีดาษ ที่ WHO ประกาศว่าหมดไปทั่วโลกแล้วในปี 1980 และที่เข้าใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งคือโรคโปลิโอ (เหลือระบาดแค่ในปากีสถานและอัฟกานิสถาน)
ภาพแนบ: มาตรการกักโรค (quarantine) สมัยไข้หวัดใหญ่สเปน
ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดในมนุษย์มาช้านานแล้ว มีบันทึกว่าตอนที่ชาวยุโรปเดินทางไปยังโลกใหม่ ก็ได้ไปแพร่เชื้อใส่คนพื้นเมืองทำให้มีผู้เสียชีวิตมหาศาล
การระบาดที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่สเปนเมื่อปี 1918-1919 ซึ่งอาจมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 50-100 ล้านคน ซึ่งเป็นโรคระบาดใหญ่สุดนับตั้งแต่แบล็กเดธ (กาฬโรค) การระบาดครั้งต่อๆ มาในศตวรรษที่ 20 และ 21 ล้วนมาจากไวรัสที่มีต้นกำเนิดจากสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่สเปน จนมันถูกเรียกว่า “มารดาแห่งโรคระบาด”
ภาพแนบ: ชาวญี่ปุ่นสวมหน้ากากผ้าในช่วงไข้หวัดใหญ่สเปน
เชื้อไวรัสที่ก่อไข้หวัดใหญ่สเปนได้ชื่อว่า H1N1 เป็นเชื้อที่มีต้นกำเนิดในสัตว์ปีก ดังนั้นจึงเป็นเชื้อใหม่ที่มนุษย์ไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่หลังจากการระบาดผ่านไป 1-2 ปี มนุษย์ก็เริ่มมีภูมิคุ้มกัน และเชื้อเองก็มีการกลายพันธุ์จนลดความรุนแรงลง ปัจจุบันกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไปแล้ว
(แต่เวลาใช้คำว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มันก็หมายถึงโรคที่มีคนติด 5-15% ของประชากรโลก และทำให้มีผู้เสียชีวิตปีละ 300,000-650,000 คนนะครับ ไม่กระจอกเลยนะ)
ภาพแนบ: เส้นเวลาของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ ส่วนโรคซาร์สและเมอร์สไม่ได้ใส่ในที่นี้ เพราะเป็นไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นคนละกลุ่มกัน
เจฟฟรี เทาเบนเบอร์เกอร์ แพทย์จากสถาบันโรคภูมิแพ้และติดเชื้อแห่งชาติ (NIH) เล่าว่า “ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ A ในมนุษย์ทุกคนในรอบ 102 ปีหลังมานี้ล้วนมาจากเชื้อที่เกิดขึ้นตอนไข้หวัดใหญ่สเปนในปี 1918”
หลังจากนั้นมา H1N1 ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่ก่อโรคในมนุษย์อยู่เรื่อยๆ แต่บางทีก็อาจมีการผสมกับไข้หวัดใหญ่ในสัตว์จนเกิดการระบาดใหญ่เป็นระลอกตามมา เช่น เมื่อปี 1957 H1N1 มีการแลกเปลี่ยนยีนกับไข้หวัดนก เกิดเป็นสายพันธุ์ H2N2 และในปี 1968 เกิด “ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง” สายพันธุ์ H3N2 ขึ้นมาอีก
ภาพแนบ: ที่มาของสารพันธุกรรมของไข้หวัดใหญ่ 2009 (ขวากลาง) ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ “รวมมิตร” คน นก หมู
ส่วนไข้หวัดใหญ่ H1N1 ในคนอีกสายหนึ่งกลายเป็นเชื้อประจำในหมู ซึ่งในปี 2009 เชื้อดังกล่าวได้ผสมกับไข้หวัดคนและไข้หวัดนกเกิดเป็น H1N1 ที่มีสารพันธุกรรมแบบใหม่ แต่ปัจจุบันนี้โรคที่ว่าร้ายแรงนั้นก็กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลแล้วเหมือนกัน
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***