5 โรคระบาด ที่โลกต้องบันทึกไว้
อย่างที่ทราบกันดีนะครับว่า โควิด-19 ไม่ใช่โรคระบาดโรคแรกที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ เพราะในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ผ่านมา เราก็เคยเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว เรียกได้ว่ายิ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากเท่าไหร่ เชื้อโรคก็พัฒนาตัวเองมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ระยะหลังๆ มานี้มักจะมีโรคใหม่ๆ แปลกๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ
แต่ไม่ว่าจะมีโรคอะไรหรือร้ายแรงซักแค่ไหน พี่หมอก็เชื่อว่า สุดท้ายแล้วเราก็จะสามารถหาวิธีรับมือ รวมถึงคิดค้นยาและวัคซีนเพื่อเอามารักษาและป้องกันได้อย่างแน่นอน เหมือนกับที่เราเคยเอาชนะโรคร้ายๆ ทั้งหลายมาแล้วในอดีตนั่นเอง
แล้วมนุษย์เราเคยเจอกับโรคระบาดอะไรมาบ้าง แต่ละโรคมีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้พี่หมอจะมาเล่าให้ฟังครับ
โรคอีโบลา (EBOLA)
เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2519 ใกล้กับแม่น้ำอีโบลา ประเทศคองโก โดยมีค้างคาวและลิงเป็นพาหะ ระยะฟักตัวของเชื้ออีโบลาจะอยู่ที่ประมาณ 2-21 วัน ส่วนการแพร่กระจายของเชื้อนั้นมีหลายวิธี ทั้งการสัมผัสโดยตรง หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงทางเลือดและสารคัดหลั่ง ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถอยู่ในอสุจิได้นานถึง 82 วัน!!
อาการของผู้ที่ติดเชื้ออีโบลาส่วนใหญ่จะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก คือ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ส่วนในระยะที่สอง ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน อาเจียน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับและไตมีอาการผิดปกติเล็กน้อย รวมถึงอาจมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งในกรณีนี้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ เนื่องจากอวัยวะภายในล้มเหลว
ปัจจุบันโรคอีโบลาสามารถป้องกันได้โดยวัคซีนที่มีชื่อว่า ‘Ervebo’ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2562 แล้ว ว่าปลอดภัย แต่ก็ใช้ป้องกันได้เฉพาะสายพันธุ์ Zaire ebolavirus เท่านั้น ส่วนวิธีการรักษาก็คือ รักษาแบบประคับประคองและใช้ยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
โรคซาร์ส - ทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS)
ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยเกิดจากเชื้อ SARS-CoV ซึ่งถ่ายทอดจากชะมดไปสู่คน ส่วนระยะฟักตัวของโรคนี้คือประมาณ 2-10 วัน
โดยทั่วไป โรคซาร์สจะแพร่กระจายเชื้อผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (droplet) และฝอยละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ที่เรียกว่า aerosol เช่น ถ้าอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1-2 เมตร ก็จะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดใหญ่และฝอยละอองขนาดเล็กเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ หรือจากการไอจามรดกันโดยตรง และถึงแม้จะอยู่ห่างจากผู้ป่วยในระยะ 2 เมตรขึ้นไป ก็ยังสามารถติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดเล็กเข้าไปได้เช่นกัน ส่วนการสัมผัส เช่น การจับมือกันหรือจับของใช้สาธารณะร่วมกัน แล้วมาแคะจมูกหรือเช็ดตาตนเองแล้วติดเชื้อนั้นสามารถพบได้ แต่มีโอกาสน้อยมากที่จะติดเชื้อ
อาการของผู้ที่เป็นโรคซาร์สส่วนใหญ่จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ วิงเวียน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ตัวสั่น และอาจมีอาการไอแห้งในระยะแรก หายใจถี่และท้องเสียในสัปดาห์แรกหรือสัปดาห์ที่สอง และเนื่องจากโรคซาร์สยังไม่มีอาการที่บ่งบอกชัดเจนในการวินิจฉัยโรค แพทย์จึงใช้วิธีรักษาตามอาการของผู้ป่วย ส่วนวัคซีนนั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและทดลอง
โรคH1N1 หรือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1/2009
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1 ที่มีที่มาจากการผสมผสานของเชื้อไวรัสที่อยู่ในคน หมู และนก ซึ่งพบรายงานการระบาดครั้งแรกในปีพ.ศ. 2552 ที่ประเทศเม็กซิโก โดยโรคนี้จะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 1-4 วัน
การแพร่กระจายเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการไอหรือจามรดกันในระยะประชิด หรือจากมือที่ไปสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้ เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกและตาได้ด้วยการแคะจมูกหรือขยี้ตา ส่วนการสัมผัสหมูหรือรับประทานเนื้อหมูนั้นไม่ทำให้ติดเชื้อแต่อย่างใด
โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ไข้สูงประมาณ 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ และโรคเรื้อรังต่างๆ เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม หัวใจวาย และเสียชีวิตได้
แต่ข่าวดีก็คือ นอกจากเราจะมียาต้านไวรัสที่ชื่อว่า ‘โอเซลตามิเวียร์’ ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้แล้ว (แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็นและอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น) เราก็ยังมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 4 สายพันธุ์ ซึ่งพี่หมอแนะนำให้ฉีดเป็นประจำทุกปีนะครับ
โรคเมอร์ส- ทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome : MERS)
เกิดจากเชื้อ MERS-CoV ซึ่งพบการรายงานการระบาดของโรคครั้งแรกในประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยเป็นเชื้อที่ติดต่อจากอูฐสู่คน และมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 2-14 วัน
โรคเมอร์สสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้ แต่พบไม่บ่อยนัก มักพบในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง หรือผู้ที่มีการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น ให้การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน
อาการเริ่มต้นของโรคเมอร์ส คือ มีไข้ ไอ หายใจถี่ ปอดบวม นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการในระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็อาจมีอาการไม่เหมือนกัน เช่น บางคนก็ไม่มีอาการเลย หรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง จนถึงระดับที่อาการของโรคปรากฏออกมาอย่างเฉียบพลันและรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิต
การรักษาและวัคซีนของโรคเมอร์สก็เหมือนกับโรคซาร์สคือ แพทย์จะรักษาตามอาการของผู้ป่วย ส่วนวัคซีนนั้นก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและทดลองเช่นเดียวกัน
โรคโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ถูกพบครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประเทศจีน ซึ่งชื่อของโรคนั้นมีที่มาจากคำว่า Corona (โคโรนา) Virus (ไวรัส) และ Disease (เชื้อโรค) รวมเข้ากับปีที่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นซึ่งก็คือปี ค.ศ. 2019 นั่นเอง
โรคโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า SARS-CoV-2 ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมในระยะแรกพบว่าเชื้อชนิดนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว และมีระยะฟักตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14 วัน โดยผู้ป่วยทั่วไปจะมีระยะฟักตัว 3 วัน ส่วนผู้ป่วยหนักจะมีระยะฟักตัวเพียง 2 วันเท่านั้น
โดยเชื้อชนิดนี้จะแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (droplet) เช่น ถ้าผู้ติดเชื้อไอหรือจามออกมา แล้วเราบังเอิญไปอยู่ใกล้ๆ ในระยะ 6 ฟุตหรือเกือบๆ 2 เมตร เชื้อก็มีโอกาสที่จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราได้
อาการของโรคที่พบก็มีตั้งแต่คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย แต่ข้อดีก็คือ อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่เป็นโรคนี้ยังไม่สูงมากนัก ยกเว้นในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ที่หากได้รับเชื้อเข้าไปก็อาจมีอาการที่รุนแรงได้
การรักษา แพทย์ก็จะรักษาตามอาการของผู้ป่วยเช่นเดียวกับโรคเมอร์สและโรคซาร์ส เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน ส่วนวัคซีน แน่นอนว่ายังไม่สามารถผลิตออกมาได้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและทดลอง ซึ่งก็หวังว่าจะประสบความสำเร็จในเร็วๆ นี้ เพื่อที่เราจะได้กลับมาใกล้ชิดกันเหมือนเดิมซะที
ดังนั้น ในระหว่างที่กำลังรอวัคซีน พี่หมอก็อยากจะให้พวกเราปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้าน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆ รวมถึงเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อให้ทุกคนและประเทศไทยปลอดภัยจากโควิด-19 รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ด้วยนะครับ ❤ ❤ ❤
5 โรคระบาด ที่โลกต้องบันทึกไว้
อย่างที่ทราบกันดีนะครับว่า โควิด-19 ไม่ใช่โรคระบาดโรคแรกที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ เพราะในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ผ่านมา เราก็เคยเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว เรียกได้ว่ายิ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากเท่าไหร่ เชื้อโรคก็พัฒนาตัวเองมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ระยะหลังๆ มานี้มักจะมีโรคใหม่ๆ แปลกๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ
แต่ไม่ว่าจะมีโรคอะไรหรือร้ายแรงซักแค่ไหน พี่หมอก็เชื่อว่า สุดท้ายแล้วเราก็จะสามารถหาวิธีรับมือ รวมถึงคิดค้นยาและวัคซีนเพื่อเอามารักษาและป้องกันได้อย่างแน่นอน เหมือนกับที่เราเคยเอาชนะโรคร้ายๆ ทั้งหลายมาแล้วในอดีตนั่นเอง
แล้วมนุษย์เราเคยเจอกับโรคระบาดอะไรมาบ้าง แต่ละโรคมีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้พี่หมอจะมาเล่าให้ฟังครับ
โรคอีโบลา (EBOLA)
เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2519 ใกล้กับแม่น้ำอีโบลา ประเทศคองโก โดยมีค้างคาวและลิงเป็นพาหะ ระยะฟักตัวของเชื้ออีโบลาจะอยู่ที่ประมาณ 2-21 วัน ส่วนการแพร่กระจายของเชื้อนั้นมีหลายวิธี ทั้งการสัมผัสโดยตรง หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงทางเลือดและสารคัดหลั่ง ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถอยู่ในอสุจิได้นานถึง 82 วัน!!
อาการของผู้ที่ติดเชื้ออีโบลาส่วนใหญ่จะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก คือ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ส่วนในระยะที่สอง ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน อาเจียน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับและไตมีอาการผิดปกติเล็กน้อย รวมถึงอาจมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งในกรณีนี้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ เนื่องจากอวัยวะภายในล้มเหลว
ปัจจุบันโรคอีโบลาสามารถป้องกันได้โดยวัคซีนที่มีชื่อว่า ‘Ervebo’ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2562 แล้ว ว่าปลอดภัย แต่ก็ใช้ป้องกันได้เฉพาะสายพันธุ์ Zaire ebolavirus เท่านั้น ส่วนวิธีการรักษาก็คือ รักษาแบบประคับประคองและใช้ยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
โรคซาร์ส - ทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS)
ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยเกิดจากเชื้อ SARS-CoV ซึ่งถ่ายทอดจากชะมดไปสู่คน ส่วนระยะฟักตัวของโรคนี้คือประมาณ 2-10 วัน
โดยทั่วไป โรคซาร์สจะแพร่กระจายเชื้อผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (droplet) และฝอยละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ที่เรียกว่า aerosol เช่น ถ้าอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1-2 เมตร ก็จะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดใหญ่และฝอยละอองขนาดเล็กเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ หรือจากการไอจามรดกันโดยตรง และถึงแม้จะอยู่ห่างจากผู้ป่วยในระยะ 2 เมตรขึ้นไป ก็ยังสามารถติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดเล็กเข้าไปได้เช่นกัน ส่วนการสัมผัส เช่น การจับมือกันหรือจับของใช้สาธารณะร่วมกัน แล้วมาแคะจมูกหรือเช็ดตาตนเองแล้วติดเชื้อนั้นสามารถพบได้ แต่มีโอกาสน้อยมากที่จะติดเชื้อ
อาการของผู้ที่เป็นโรคซาร์สส่วนใหญ่จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ วิงเวียน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ตัวสั่น และอาจมีอาการไอแห้งในระยะแรก หายใจถี่และท้องเสียในสัปดาห์แรกหรือสัปดาห์ที่สอง และเนื่องจากโรคซาร์สยังไม่มีอาการที่บ่งบอกชัดเจนในการวินิจฉัยโรค แพทย์จึงใช้วิธีรักษาตามอาการของผู้ป่วย ส่วนวัคซีนนั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและทดลอง
โรคH1N1 หรือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1/2009
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1 ที่มีที่มาจากการผสมผสานของเชื้อไวรัสที่อยู่ในคน หมู และนก ซึ่งพบรายงานการระบาดครั้งแรกในปีพ.ศ. 2552 ที่ประเทศเม็กซิโก โดยโรคนี้จะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 1-4 วัน
การแพร่กระจายเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการไอหรือจามรดกันในระยะประชิด หรือจากมือที่ไปสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้ เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกและตาได้ด้วยการแคะจมูกหรือขยี้ตา ส่วนการสัมผัสหมูหรือรับประทานเนื้อหมูนั้นไม่ทำให้ติดเชื้อแต่อย่างใด
โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ไข้สูงประมาณ 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ และโรคเรื้อรังต่างๆ เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม หัวใจวาย และเสียชีวิตได้
แต่ข่าวดีก็คือ นอกจากเราจะมียาต้านไวรัสที่ชื่อว่า ‘โอเซลตามิเวียร์’ ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้แล้ว (แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็นและอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น) เราก็ยังมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 4 สายพันธุ์ ซึ่งพี่หมอแนะนำให้ฉีดเป็นประจำทุกปีนะครับ
โรคเมอร์ส- ทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome : MERS)
เกิดจากเชื้อ MERS-CoV ซึ่งพบการรายงานการระบาดของโรคครั้งแรกในประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยเป็นเชื้อที่ติดต่อจากอูฐสู่คน และมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 2-14 วัน
โรคเมอร์สสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้ แต่พบไม่บ่อยนัก มักพบในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง หรือผู้ที่มีการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น ให้การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน
อาการเริ่มต้นของโรคเมอร์ส คือ มีไข้ ไอ หายใจถี่ ปอดบวม นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการในระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็อาจมีอาการไม่เหมือนกัน เช่น บางคนก็ไม่มีอาการเลย หรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง จนถึงระดับที่อาการของโรคปรากฏออกมาอย่างเฉียบพลันและรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิต
การรักษาและวัคซีนของโรคเมอร์สก็เหมือนกับโรคซาร์สคือ แพทย์จะรักษาตามอาการของผู้ป่วย ส่วนวัคซีนนั้นก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและทดลองเช่นเดียวกัน
โรคโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ถูกพบครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประเทศจีน ซึ่งชื่อของโรคนั้นมีที่มาจากคำว่า Corona (โคโรนา) Virus (ไวรัส) และ Disease (เชื้อโรค) รวมเข้ากับปีที่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นซึ่งก็คือปี ค.ศ. 2019 นั่นเอง
โรคโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า SARS-CoV-2 ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมในระยะแรกพบว่าเชื้อชนิดนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว และมีระยะฟักตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14 วัน โดยผู้ป่วยทั่วไปจะมีระยะฟักตัว 3 วัน ส่วนผู้ป่วยหนักจะมีระยะฟักตัวเพียง 2 วันเท่านั้น
โดยเชื้อชนิดนี้จะแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (droplet) เช่น ถ้าผู้ติดเชื้อไอหรือจามออกมา แล้วเราบังเอิญไปอยู่ใกล้ๆ ในระยะ 6 ฟุตหรือเกือบๆ 2 เมตร เชื้อก็มีโอกาสที่จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราได้
อาการของโรคที่พบก็มีตั้งแต่คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย แต่ข้อดีก็คือ อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่เป็นโรคนี้ยังไม่สูงมากนัก ยกเว้นในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ที่หากได้รับเชื้อเข้าไปก็อาจมีอาการที่รุนแรงได้
การรักษา แพทย์ก็จะรักษาตามอาการของผู้ป่วยเช่นเดียวกับโรคเมอร์สและโรคซาร์ส เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน ส่วนวัคซีน แน่นอนว่ายังไม่สามารถผลิตออกมาได้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและทดลอง ซึ่งก็หวังว่าจะประสบความสำเร็จในเร็วๆ นี้ เพื่อที่เราจะได้กลับมาใกล้ชิดกันเหมือนเดิมซะที
ดังนั้น ในระหว่างที่กำลังรอวัคซีน พี่หมอก็อยากจะให้พวกเราปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้าน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆ รวมถึงเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อให้ทุกคนและประเทศไทยปลอดภัยจากโควิด-19 รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ด้วยนะครับ ❤ ❤ ❤