6 ธ.ค. 2564 14:11 น.
“หมอโอภาส” อัปเดต “โควิดสายพันธุ์โอมิครอน” แพร่ระบาดเร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า อาการคล้ายไข้หวัด ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ขอประชาชนยังเข้มมาตรการสาธารณสุข
วันที่ 6 ธ.ค. 2564 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน หรือ โอไมครอน (Omicron หรือ B.1.1.529) ในประเทศไทย ซึ่งรายนี้เป็นชายไทย สัญชาติอเมริกัน เดินทางมาจากสเปน โดยเข้าไทยตามระบบ Test & Go โดยผู้ป่วยรายนี้มีเพียงผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งยังคงต้องติดตามจนครบระยะฟักตัวของโรค
สำหรับเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์โอมิครอน มีข้อสรุปอัปเดตดังนี้
สายพันธุ์โอมิครอน แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า
ผู้ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย คล้ายโรคไข้หวัด แยกได้ยากจากสายพันธุ์อื่นๆ โดยผู้ติดเชื้อที่รายงานในต่างประเทศ
ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโอมิครอนเสียชีวิต
มาตรการป้องกันที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐอเมริกา แนะนำ คือ ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวด เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และ VUCA
ยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยง
ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัย ไปตรวจหาสายพันธุ์โอมิครอนที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
อย่างไรก็ตาม มาตรการใดมาตรการหนึ่งคงไม่สามารถควบคุมโรคโควิด-19 ในการระบาดทั่วโลกได้ โดยยังต้องคงมาตรการป้องกันส่วนบุคคล อย่างการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ การเว้นระยะห่าง ยังเป็นมาตรการสำคัญ รวมถึงมาตรการองค์กร และการตรวจหาเชื้อโควิดแบบ ATK จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนดำเนินการต่อไป
“ขอเน้นย้ำให้พี่น้องประชาชนได้มั่นใจว่า กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายความมั่นคง การเดินทางเข้าประเทศ เรามีมาตรการที่สามารถรองรับกับสายพันธุ์โอมิครอนได้ ประการต่อไปคือ สายพันธุ์โอมิครอนในข้อมูลขณะนี้ทั่วโลกเห็นตรงกันว่าความรุนแรงของโรคค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่ข้อมูลข่าวสารของเรื่องไวรัสโคโรนา 2019 มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การรับฟังข้อมูลต่างๆ ก็คงจะต้องมีการวิเคราะห์ไตร่ตรองเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่ตามมามากมาย”
นพ.โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในเดือน ธ.ค. 2564 - ม.ค. 2564 ทางกระทรวงสาธารณสุข จะเร่งฉีดเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ให้กับประชาชนให้มากที่สุด โดยขอให้รอประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ขอความร่วมมือประชาชน เพราะการฉัดวัคซีนโควิด-19 ยังเป็นมาตรการสำคัญที่จะลดความรุนแรงของโรค และทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนปกติที่สุด.
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2258902
นพ.โอภาสอัปเดต “โอมิครอน”อาการคล้ายไข้หวัด ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
“หมอโอภาส” อัปเดต “โควิดสายพันธุ์โอมิครอน” แพร่ระบาดเร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า อาการคล้ายไข้หวัด ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ขอประชาชนยังเข้มมาตรการสาธารณสุข
วันที่ 6 ธ.ค. 2564 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน หรือ โอไมครอน (Omicron หรือ B.1.1.529) ในประเทศไทย ซึ่งรายนี้เป็นชายไทย สัญชาติอเมริกัน เดินทางมาจากสเปน โดยเข้าไทยตามระบบ Test & Go โดยผู้ป่วยรายนี้มีเพียงผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งยังคงต้องติดตามจนครบระยะฟักตัวของโรค
สำหรับเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์โอมิครอน มีข้อสรุปอัปเดตดังนี้
สายพันธุ์โอมิครอน แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า
ผู้ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย คล้ายโรคไข้หวัด แยกได้ยากจากสายพันธุ์อื่นๆ โดยผู้ติดเชื้อที่รายงานในต่างประเทศ
ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโอมิครอนเสียชีวิต
มาตรการป้องกันที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐอเมริกา แนะนำ คือ ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวด เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และ VUCA
ยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยง
ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัย ไปตรวจหาสายพันธุ์โอมิครอนที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
อย่างไรก็ตาม มาตรการใดมาตรการหนึ่งคงไม่สามารถควบคุมโรคโควิด-19 ในการระบาดทั่วโลกได้ โดยยังต้องคงมาตรการป้องกันส่วนบุคคล อย่างการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ การเว้นระยะห่าง ยังเป็นมาตรการสำคัญ รวมถึงมาตรการองค์กร และการตรวจหาเชื้อโควิดแบบ ATK จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนดำเนินการต่อไป
“ขอเน้นย้ำให้พี่น้องประชาชนได้มั่นใจว่า กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายความมั่นคง การเดินทางเข้าประเทศ เรามีมาตรการที่สามารถรองรับกับสายพันธุ์โอมิครอนได้ ประการต่อไปคือ สายพันธุ์โอมิครอนในข้อมูลขณะนี้ทั่วโลกเห็นตรงกันว่าความรุนแรงของโรคค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่ข้อมูลข่าวสารของเรื่องไวรัสโคโรนา 2019 มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การรับฟังข้อมูลต่างๆ ก็คงจะต้องมีการวิเคราะห์ไตร่ตรองเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่ตามมามากมาย”
นพ.โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในเดือน ธ.ค. 2564 - ม.ค. 2564 ทางกระทรวงสาธารณสุข จะเร่งฉีดเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ให้กับประชาชนให้มากที่สุด โดยขอให้รอประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ขอความร่วมมือประชาชน เพราะการฉัดวัคซีนโควิด-19 ยังเป็นมาตรการสำคัญที่จะลดความรุนแรงของโรค และทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนปกติที่สุด.
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2258902