ในปี 1971 โคลท์ ออกรุ่น “ซีรีส์ 70” (Series 70) ที่ใช้บูชครอบลำกล้องแบบผ่าด้านในสี่แฉกเป็นสปริงบีบลำกล้อง จุดประสงค์เพื่อให้ลำกล้องกับลำเลื่อนจับกันแน่น
ปืนพกประจำกายของกองทัพบกสหรัฐ รหัส M1911 ออกแบบโดย John M. Browning ขณะทำงานให้บริษัทโคลท์ จดสิทธิบัตรในปี ค.ศ.1908 เข้าประจำการในปี 1911 ผ่านสงครามโลกทั้งสองครั้ง สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ปลดประจำการในปี ค.ศ. 1985 แต่ทหารอเมริกันบางหน่วยยังใช้อยู่ ทั้งในอิรัก และอัฟกานิสถาน ต่อมาในปี 2012 หน่วยนาวิกโยธินเลือกปืนตามแบบ M1911 นี้กลับเข้าประจำการอีกครั้ง โดยมีการปรับแบบในรายละเอียดบางจุด เช่น เพิ่มรางรับอุปกรณ์, ห้ามไกซ้ายขวา เป็นต้น ยิ่งช่วยยืนยันความเป็นอมตะของปืนกระบอกนี้ ผ่านมาหนึ่งศตวรรษยังเป็นปืนพกที่ทหารในแนวรบไว้ใจมากที่สุด
ในตลาดเอกชน โคลท์ผลิตปืนแบบเดียวกับปืนนี้ออกขายตั้งแต่ ค.ศ. 1912 เรียกชื่อรุ่นว่า “กัฟเวิร์นเมนท์” (Government) ต่อมาในปี 1951 เริ่มทำ “คอมมานเดอร์” (Commander) ลำกล้อง 4.25 นิ้ว โครงอัลลอยด์ และเพิ่ม “คอมแบ็ตคอมมานเดอร์” (Combat Commander) โครงเหล็กในปี 1970 ตามด้วย “ออฟฟิซเซอร์” (Officer) ลำกล้อง 3.5 นิ้ว ปี 1985 และสั้นสุด “ดีเฟนเดอร์” (Defender) ลำกล้อง 3 นิ้ว ในปี 1998 ซึ่งเป็นความยาวลำกล้องสั้นที่สุดสำหรับปืนระบบ 1911 ยังไม่มีรายไหนทำสั้นกว่านี้ออกมาขาย
โคลท์ ปรับแบบปืน กัฟเวิร์นเมนท์ ครั้งแรกในปี 1924 ตามแบบปืนทหารที่พัฒนาจาก M1911 เป็น M1911A1 โดยเปลี่ยนศูนย์ให้ใหญ่ขึ้น ปาดเนื้อเหล็กที่โครงปืนข้างตัวไกด้านหลังออก ช่วยให้เหนี่ยวไกได้ถนัดขึ้น และเปลี่ยนเรือนสปริงนกสับซึ่งเป็นส่วนล่างของด้ามด้านหลัง จากของเดิมแบบตรงให้โค้งออกหนุนฝ่ามือมากขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า รุ่นที่แต่งสำหรับยิงเป้าคือ โกลด์คัพ (Gold Cup) ใช้แบบตรงเหมือนเดิม และปืนรุ่นใหม่ที่มีทำออกมาหลายยี่ห้อ ส่วนใหญ่ก็ใช้แบบหลังตรง ไม่ว่าจะเป็นปืนแข่งหรือปืนใช้งาน
ในปี 1971 โคลท์ ออกรุ่น “ซีรีส์ 70” (Series 70) ที่ใช้บูชครอบลำกล้องแบบผ่าด้านในสี่แฉกเป็นสปริงบีบลำกล้อง จุดประสงค์เพื่อให้ลำกล้องกับลำเลื่อนจับกันแน่น เพิ่มความแม่นยำโดยไม่ต้องอาศัยช่างค่อย ๆ แต่งทีละชิ้น ซึ่งแม้ว่าบูชแฉกจะทำงานได้ผลตามต้องการ แต่ก็เพิ่มปัญหาเพราะหักชำรุดง่ายกว่าแบบทึบของเดิม โคลท์ใช้บูชแบบนี้อยู่สิบกว่าปีก็เลิกไป โดยปืนซีรีส์ 70 สามารถเปลี่ยนใช้บูชแบบเดิมได้
ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ 1980 โคลท์ เพิ่มระบบความปลอดภัยให้ปืนกัฟเวิร์นเมนท์ คือตัวล็อกเข็มแทงชนวนที่ทำงานสัมพันธ์กับไก ถ้าไม่เหนี่ยวไกเข็มจะเดินหน้าไม่ได้แม้ว่านกจะสับลงมาถูกท้ายเข็ม เพิ่มชื่อต่อท้ายรุ่นให้แตกต่างว่า “ซีรีส์ 80” (Series 80) และแก้แบบร่องรับนกตก (half-cock notch) จากเดิมเป็นตะขอจับปลายเซียร์ มาเป็นแบบสันเปิด ของเดิมล็อกเซียร์ เหนี่ยวไกไม่ได้ ของใหม่เหนี่ยวไกให้นกสับลงได้ แต่โรงงานเลื่อนตำแหน่งนกหยุดเข้ามาเกือบชิดโครง ทำให้นกที่สับลงจากตำ แหน่งนี้ไม่มีแรงพอจุดชนวนได้
กัฟเวิร์นเมนท์ ใหม่ล่าสุดในภาพนี้ กล่าวได้ว่าเป็น M1911A1 ที่วัสดุเป็นเหล็กสเตนเลส, ใส่ชุดลั่นไกแบบ ซีรีส์ 80, ติดศูนย์เล็งแบบแต้มจุดขาวสามจุด และเปลี่ยนหลังด้ามกลับไปเป็นแบบตรงเหมือนของ 1911 ดั้งเดิม จุดขายของปืนโคลท์ คือความขลังของยี่ห้อดั้งเดิม และความทนทาน ทำงานไว้ใจได้.
..............................................................................
ข้อมูลสรุป Colt Government Stainless
ขนาดกระสุน .45 ACP
ซองกระสุน 7 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 210x138x32
มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 127 มม. (5 นิ้ว)
น้ำหนัก 995 กรัม
แรงเหนี่ยวไก 2,720 กรัม (6 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กสเตนเลส
อื่น ๆ มีระบบล็อกเข็มแทงชนวน (ซีรีส์ 80)
ลักษณะใช้งาน จนท. พกซองนอก,เฝ้าบ้าน
ตัวเลือกอื่น ปืนตามแบบ 1911 รุ่นมาตรฐาน
https://www.dailynews.co.th/article/251565/
..................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1062 โคลท์ กัฟเวิร์นเมนท์ สเตนเลส จากต้นตำรับ สิบเอ็ด มม.
ปืนพกประจำกายของกองทัพบกสหรัฐ รหัส M1911 ออกแบบโดย John M. Browning ขณะทำงานให้บริษัทโคลท์ จดสิทธิบัตรในปี ค.ศ.1908 เข้าประจำการในปี 1911 ผ่านสงครามโลกทั้งสองครั้ง สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ปลดประจำการในปี ค.ศ. 1985 แต่ทหารอเมริกันบางหน่วยยังใช้อยู่ ทั้งในอิรัก และอัฟกานิสถาน ต่อมาในปี 2012 หน่วยนาวิกโยธินเลือกปืนตามแบบ M1911 นี้กลับเข้าประจำการอีกครั้ง โดยมีการปรับแบบในรายละเอียดบางจุด เช่น เพิ่มรางรับอุปกรณ์, ห้ามไกซ้ายขวา เป็นต้น ยิ่งช่วยยืนยันความเป็นอมตะของปืนกระบอกนี้ ผ่านมาหนึ่งศตวรรษยังเป็นปืนพกที่ทหารในแนวรบไว้ใจมากที่สุด
ในตลาดเอกชน โคลท์ผลิตปืนแบบเดียวกับปืนนี้ออกขายตั้งแต่ ค.ศ. 1912 เรียกชื่อรุ่นว่า “กัฟเวิร์นเมนท์” (Government) ต่อมาในปี 1951 เริ่มทำ “คอมมานเดอร์” (Commander) ลำกล้อง 4.25 นิ้ว โครงอัลลอยด์ และเพิ่ม “คอมแบ็ตคอมมานเดอร์” (Combat Commander) โครงเหล็กในปี 1970 ตามด้วย “ออฟฟิซเซอร์” (Officer) ลำกล้อง 3.5 นิ้ว ปี 1985 และสั้นสุด “ดีเฟนเดอร์” (Defender) ลำกล้อง 3 นิ้ว ในปี 1998 ซึ่งเป็นความยาวลำกล้องสั้นที่สุดสำหรับปืนระบบ 1911 ยังไม่มีรายไหนทำสั้นกว่านี้ออกมาขาย
โคลท์ ปรับแบบปืน กัฟเวิร์นเมนท์ ครั้งแรกในปี 1924 ตามแบบปืนทหารที่พัฒนาจาก M1911 เป็น M1911A1 โดยเปลี่ยนศูนย์ให้ใหญ่ขึ้น ปาดเนื้อเหล็กที่โครงปืนข้างตัวไกด้านหลังออก ช่วยให้เหนี่ยวไกได้ถนัดขึ้น และเปลี่ยนเรือนสปริงนกสับซึ่งเป็นส่วนล่างของด้ามด้านหลัง จากของเดิมแบบตรงให้โค้งออกหนุนฝ่ามือมากขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า รุ่นที่แต่งสำหรับยิงเป้าคือ โกลด์คัพ (Gold Cup) ใช้แบบตรงเหมือนเดิม และปืนรุ่นใหม่ที่มีทำออกมาหลายยี่ห้อ ส่วนใหญ่ก็ใช้แบบหลังตรง ไม่ว่าจะเป็นปืนแข่งหรือปืนใช้งาน
ในปี 1971 โคลท์ ออกรุ่น “ซีรีส์ 70” (Series 70) ที่ใช้บูชครอบลำกล้องแบบผ่าด้านในสี่แฉกเป็นสปริงบีบลำกล้อง จุดประสงค์เพื่อให้ลำกล้องกับลำเลื่อนจับกันแน่น เพิ่มความแม่นยำโดยไม่ต้องอาศัยช่างค่อย ๆ แต่งทีละชิ้น ซึ่งแม้ว่าบูชแฉกจะทำงานได้ผลตามต้องการ แต่ก็เพิ่มปัญหาเพราะหักชำรุดง่ายกว่าแบบทึบของเดิม โคลท์ใช้บูชแบบนี้อยู่สิบกว่าปีก็เลิกไป โดยปืนซีรีส์ 70 สามารถเปลี่ยนใช้บูชแบบเดิมได้
ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ 1980 โคลท์ เพิ่มระบบความปลอดภัยให้ปืนกัฟเวิร์นเมนท์ คือตัวล็อกเข็มแทงชนวนที่ทำงานสัมพันธ์กับไก ถ้าไม่เหนี่ยวไกเข็มจะเดินหน้าไม่ได้แม้ว่านกจะสับลงมาถูกท้ายเข็ม เพิ่มชื่อต่อท้ายรุ่นให้แตกต่างว่า “ซีรีส์ 80” (Series 80) และแก้แบบร่องรับนกตก (half-cock notch) จากเดิมเป็นตะขอจับปลายเซียร์ มาเป็นแบบสันเปิด ของเดิมล็อกเซียร์ เหนี่ยวไกไม่ได้ ของใหม่เหนี่ยวไกให้นกสับลงได้ แต่โรงงานเลื่อนตำแหน่งนกหยุดเข้ามาเกือบชิดโครง ทำให้นกที่สับลงจากตำ แหน่งนี้ไม่มีแรงพอจุดชนวนได้
กัฟเวิร์นเมนท์ ใหม่ล่าสุดในภาพนี้ กล่าวได้ว่าเป็น M1911A1 ที่วัสดุเป็นเหล็กสเตนเลส, ใส่ชุดลั่นไกแบบ ซีรีส์ 80, ติดศูนย์เล็งแบบแต้มจุดขาวสามจุด และเปลี่ยนหลังด้ามกลับไปเป็นแบบตรงเหมือนของ 1911 ดั้งเดิม จุดขายของปืนโคลท์ คือความขลังของยี่ห้อดั้งเดิม และความทนทาน ทำงานไว้ใจได้.
..............................................................................
ข้อมูลสรุป Colt Government Stainless
ขนาดกระสุน .45 ACP
ซองกระสุน 7 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 210x138x32
มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 127 มม. (5 นิ้ว)
น้ำหนัก 995 กรัม
แรงเหนี่ยวไก 2,720 กรัม (6 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กสเตนเลส
อื่น ๆ มีระบบล็อกเข็มแทงชนวน (ซีรีส์ 80)
ลักษณะใช้งาน จนท. พกซองนอก,เฝ้าบ้าน
ตัวเลือกอื่น ปืนตามแบบ 1911 รุ่นมาตรฐาน
https://www.dailynews.co.th/article/251565/
..................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช