ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็น โคลท์ กัฟเวิร์นเมนท์ เริ่มออกขายในปี 2016 โดยจัดอยู่ในกลุ่ม “Competition” หมายถึงปืนแข่งในระบบรณยุทธ์ แต่งเฉพาะจุดสำคัญ คือลำกล้องระดับยิงเป้า National Match
แซม โคลท์ ก่อตั้งบริษัทในปี ค.ศ. 1855 เป็นจุดเริ่มต้นของปืนลูกโม่ ที่โคลท์ เป็นเจ้าของสิทธิบัตร แม้ต่อมาเมื่อหมดอายุคุ้มครอง โคลท์ยังหากินกับปืนลูกโม่ได้ต่อเนื่องกว่าร้อยปี จนเข้าศตวรรษที่ยี่สิบ จึงเริ่มเปลี่ยนแนวมาเป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติ เริ่มด้วย M1900 ใช้กระสุน .38 ACP ที่แรงระดับเดียวกับ .38 สเปเชียลของปืนลูกโม่ ทั้งปืนและกระสุนเป็นผลงานของ จอห์น เบรานิงก์ ซึ่งขณะนั้นทำงานให้โคลท์ ต่อมาเมื่อกองทัพสหรัฐต้องการปืนพกที่มีอำนาจหยุดยั้งเหนือกว่า .38, เบรานิงก์จึงออกแบบกระสุนหน้าตัดใหญ่ คือ .45 ACP และปรับแบบปืน M1900 ให้ใช้ชิ้นส่วนน้อยลงลดความซับซ้อนในการผลิต พร้อมทั้งเพิ่มความแข็งแรงให้รับกระสุนขนาดใหม่ได้ ปืนใหม่นี้ผ่านการทดสอบของกองทัพอย่างงดงาม เข้าประจำการด้วยชื่อ “Model of 1911” ที่กลายเป็นปืนอมตะนิยมใช้กันมาจนปัจจุบัน
ในด้านของกระสุน .38 ACP นั้น หลังจากพัฒนาตัวปืน M1900 เป็น M1911 ที่แข็งแรงขึ้นมากแล้ว เบรานิงก์เพิ่มดินขับในปลอกกระสุนเดิม ให้แรงดันสูงขึ้น ความเร็วหัวกระสุน 130 เกรนเคยทำได้ 1,050 ฟุต/วินาที เร่งขึ้นเป็น 1,215 ฟุต/วินาที พลังงานจาก 117 เพิ่มขึ้นเป็น 425 ฟุต-ปอนด์ เรียกชื่อให้แตกต่างจากของเดิมว่า .38 Super ใช้ในปืน M1911 ที่โคลท์เรียกชื่อในตลาดเอกชนว่า “กัฟเวิร์นเมนท์” ขายความแรงมุ่งลูกค้ากลุ่มตำรวจโดยคุยว่าสามารถยิงทะลุตัวถังรถได้เป็นกระสุนปืนพกแรงที่สุดของยุคนั้น จนกระทั่งมีกระสุนลูกโม่ .357 แม็กนั่มที่แรงกว่า ออกมาข่มในปี 1934
ตามบันทึกของโคลท์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโคลท์ผลิตปืนรุ่นนี้เฉพาะขนาด .45 ถึง 425,500 กระบอก ขายให้กองทัพสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมียอดผลิต 629,000 กระบอก และเป็นสินค้าตัวทำเงินหลักให้โคลท์อย่างต่อเนื่อง จนถึงช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ ในขณะที่วงการปืนพกตื่นกระแส “เก้าลูกดก” โคลท์ประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการอย่างหนัก ทั้งคนงานผละงาน และผู้บริโภคต่อต้านนโยบายที่สนับสนุนการควบคุมปืนด้วยเทคโนโลยี บริษัทเกือบถึงขั้นล้มละลาย ต้องปรับโครงสร้าง และเปลี่ยนทั้งเจ้าของและผู้บริหารหลายครั้ง มาตั้งตัวได้อีกครั้งในปี 2002 โดยเน้นคุณภาพสินค้า ไม่เน้นความหลากหลาย ปืนกึ่งอัตโนมัติมีเฉพาะแบบไกซิงเกิล คือกลุ่ม 1911 กับ “มัสแตง” ตัวเล็ก และปืนลูกโม่มีเพียง “ซิงเกิลแอ๊คชั่น อาร์มี” กับ “คอบร้า” ที่เพิ่งออกใหม่
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็น โคลท์ กัฟเวิร์นเมนท์ ขนาด .38 ซูเปอร์ วัสดุสเตนเลสล้วน เริ่มออกขายในปี 2016 โดยจัดอยู่ในกลุ่ม “Competition” หมายถึงปืนแข่งในระบบรณยุทธ์ แต่งเฉพาะจุดสำคัญ คือลำกล้องระดับยิงเป้า National Match, สปริงลำเลื่อนสองชั้น ช่วยลดรีคอยล์, หลังอ่อนหางยาว เพิ่มสันกดอุ้งมือ, เรือนสปริงนกสับตรง, ปาดโครงด้ามใต้โกร่งไกให้จับสูง คุมปืนได้ดี, ไกแบบยิงเป้ามีสกรูหยุด, นกสับโปร่งจุดชนวนได้เร็ว และระบบไกเหมือน ซีรีส์ 70 เดิม ไม่มีสมอล็อกเข็ม ติดศูนย์ต่อสู้ของ Novak ศูนย์หลังปรับได้ ศูนย์หน้าฝังเส้นรวมแสงแดง ด้าม G10 สีฟ้าสลับดำ เป็นปืนที่พร้อมลงแข่งในรุ่นคลาสสิก และใช้เป็นปืนเฝ้าบ้านหรือพกซองนอกได้อย่างดี.
https://www.dailynews.co.th/article/634000
...................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 624 โคลท์ ซูเปอร์ คอมเพติชัน ปืนแข่งรถยุทธ์อเนกประสงค์
แซม โคลท์ ก่อตั้งบริษัทในปี ค.ศ. 1855 เป็นจุดเริ่มต้นของปืนลูกโม่ ที่โคลท์ เป็นเจ้าของสิทธิบัตร แม้ต่อมาเมื่อหมดอายุคุ้มครอง โคลท์ยังหากินกับปืนลูกโม่ได้ต่อเนื่องกว่าร้อยปี จนเข้าศตวรรษที่ยี่สิบ จึงเริ่มเปลี่ยนแนวมาเป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติ เริ่มด้วย M1900 ใช้กระสุน .38 ACP ที่แรงระดับเดียวกับ .38 สเปเชียลของปืนลูกโม่ ทั้งปืนและกระสุนเป็นผลงานของ จอห์น เบรานิงก์ ซึ่งขณะนั้นทำงานให้โคลท์ ต่อมาเมื่อกองทัพสหรัฐต้องการปืนพกที่มีอำนาจหยุดยั้งเหนือกว่า .38, เบรานิงก์จึงออกแบบกระสุนหน้าตัดใหญ่ คือ .45 ACP และปรับแบบปืน M1900 ให้ใช้ชิ้นส่วนน้อยลงลดความซับซ้อนในการผลิต พร้อมทั้งเพิ่มความแข็งแรงให้รับกระสุนขนาดใหม่ได้ ปืนใหม่นี้ผ่านการทดสอบของกองทัพอย่างงดงาม เข้าประจำการด้วยชื่อ “Model of 1911” ที่กลายเป็นปืนอมตะนิยมใช้กันมาจนปัจจุบัน
ในด้านของกระสุน .38 ACP นั้น หลังจากพัฒนาตัวปืน M1900 เป็น M1911 ที่แข็งแรงขึ้นมากแล้ว เบรานิงก์เพิ่มดินขับในปลอกกระสุนเดิม ให้แรงดันสูงขึ้น ความเร็วหัวกระสุน 130 เกรนเคยทำได้ 1,050 ฟุต/วินาที เร่งขึ้นเป็น 1,215 ฟุต/วินาที พลังงานจาก 117 เพิ่มขึ้นเป็น 425 ฟุต-ปอนด์ เรียกชื่อให้แตกต่างจากของเดิมว่า .38 Super ใช้ในปืน M1911 ที่โคลท์เรียกชื่อในตลาดเอกชนว่า “กัฟเวิร์นเมนท์” ขายความแรงมุ่งลูกค้ากลุ่มตำรวจโดยคุยว่าสามารถยิงทะลุตัวถังรถได้เป็นกระสุนปืนพกแรงที่สุดของยุคนั้น จนกระทั่งมีกระสุนลูกโม่ .357 แม็กนั่มที่แรงกว่า ออกมาข่มในปี 1934
ตามบันทึกของโคลท์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโคลท์ผลิตปืนรุ่นนี้เฉพาะขนาด .45 ถึง 425,500 กระบอก ขายให้กองทัพสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมียอดผลิต 629,000 กระบอก และเป็นสินค้าตัวทำเงินหลักให้โคลท์อย่างต่อเนื่อง จนถึงช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ ในขณะที่วงการปืนพกตื่นกระแส “เก้าลูกดก” โคลท์ประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการอย่างหนัก ทั้งคนงานผละงาน และผู้บริโภคต่อต้านนโยบายที่สนับสนุนการควบคุมปืนด้วยเทคโนโลยี บริษัทเกือบถึงขั้นล้มละลาย ต้องปรับโครงสร้าง และเปลี่ยนทั้งเจ้าของและผู้บริหารหลายครั้ง มาตั้งตัวได้อีกครั้งในปี 2002 โดยเน้นคุณภาพสินค้า ไม่เน้นความหลากหลาย ปืนกึ่งอัตโนมัติมีเฉพาะแบบไกซิงเกิล คือกลุ่ม 1911 กับ “มัสแตง” ตัวเล็ก และปืนลูกโม่มีเพียง “ซิงเกิลแอ๊คชั่น อาร์มี” กับ “คอบร้า” ที่เพิ่งออกใหม่
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็น โคลท์ กัฟเวิร์นเมนท์ ขนาด .38 ซูเปอร์ วัสดุสเตนเลสล้วน เริ่มออกขายในปี 2016 โดยจัดอยู่ในกลุ่ม “Competition” หมายถึงปืนแข่งในระบบรณยุทธ์ แต่งเฉพาะจุดสำคัญ คือลำกล้องระดับยิงเป้า National Match, สปริงลำเลื่อนสองชั้น ช่วยลดรีคอยล์, หลังอ่อนหางยาว เพิ่มสันกดอุ้งมือ, เรือนสปริงนกสับตรง, ปาดโครงด้ามใต้โกร่งไกให้จับสูง คุมปืนได้ดี, ไกแบบยิงเป้ามีสกรูหยุด, นกสับโปร่งจุดชนวนได้เร็ว และระบบไกเหมือน ซีรีส์ 70 เดิม ไม่มีสมอล็อกเข็ม ติดศูนย์ต่อสู้ของ Novak ศูนย์หลังปรับได้ ศูนย์หน้าฝังเส้นรวมแสงแดง ด้าม G10 สีฟ้าสลับดำ เป็นปืนที่พร้อมลงแข่งในรุ่นคลาสสิก และใช้เป็นปืนเฝ้าบ้านหรือพกซองนอกได้อย่างดี.
https://www.dailynews.co.th/article/634000
...................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช