ภาวะนอนไม่หลับหรือ insomnia คืออะไรกันแน่ ?

โรคนอนไม่หลับ คืออาการอย่างไรกันแน่ ? มันเกิดขึ้นจากอะไร เพราะเหตุใด มีวิธีแก้ไหม
        การที่ทุกท่านกดเข้ามาในกระทู้นี้ แปลว่าต้องมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวใช่ไหมคะ บางท่านอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ตัวเองถือว่าอยู่ในภาวะนอนไม่หลับหรือเปล่า หรือแค่คิดไปเอง แล้วท่านผู้อ่านที่กำลังประสบกับปัญหานี้จริง ๆ จะมีทางแก้โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ไหม ? วันนี้มีเราคำตอบที่ได้รวบรวมมาจากในเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยอ้างอิงมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าพร้อมแล้วสูดหายใจเข้าลึก ๆ ไม่ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ขอให้ทุกคนวิเคราะห์และมีสติในการตัดสินใจนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.paolohospital.com
https/www.nonthavej.co.th
https://www.rajavithi.go.th
https://www.praram9.com/insomnia
 
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia disorder) มักพบแพทย์ด้วยอาการ เข้านอนแล้วหลับยาก หลับแล้วตื่นบ่อย ตื่นเร็วกว่าปกติและไม่สามารถหลับต่อได้ กลางวันมีอาการง่วงเหงาหาวนอน อ่อนเพลียมาก ไม่สดชื่น ไม่มีเรี่ยวแรง และสมาธิลดลงอย่างมาก โดยอาการเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน
 
ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปนั้น เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าทุกท่านกำลังเป็นหนึ่งในภาวะนอนไม่หลับหรือไม่ ซึ่งการสังเกตอาการ มีดังนี้
       1) รู้สึกอ่อนเพลีย 
       2) ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ 
       3) จำอะไรไม่ค่อยได้ หรือความจำผิดแปลกจากเดิม
       4) อารมณ์หงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยอยู่นิ่ง
       5) ความสามารถในการทำงานลดลง
       6) ง่วงนอนเวลากลางวัน
       7) อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับเราบ่อย ๆ 
       8) กังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอน
 
 การพักผ่อนที่เพียงพอสำหรับมนุษย์ในแต่ละวัย ก็ถือเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ วัยประถม (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน วัยมัธยม (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่น (18-25 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยทำงาน (26-64 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมง 
        ใครมีอาการเหล่านี้เกิน 4 ข้อบ้างคะ ถ้าเกินต้องเริ่มพิจารณตัวเองแล้วนะ เพื่อความแน่ใจเราไปดูดีกว่าว่าปัจจัยของอาการดังกล่าว เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง
        - ปัญหาสภาพแวดล้อม เวลานอนได้เปิดไฟนอนและทำให้แสงแยงตาหรือเปล่า สถานที่คับแคบนอนไม่สบาย หรือด้านนอกมีเสียงก่อสร้างรบกวน
        - อาการเจ็บป่วย มีอาการปวดท้อง ปวดเนื้อปวดตัวตามร่างกาย
        - ความเครียด กำลังวิตกกังวล ซึมเศร้า มีเรื่องให้คิดเยอะในแต่ละคืนหรือไม่ ? 
        - การใช้สารบางอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน กาแฟ อาจส่งผลทำให้คุณนอนไม่หลับได้
        - เกิดขึ้นในภาวะนอนหลับ ฝันร้าย นอนละเมอ หรือนอนไม่หลับจนติดเป็นนิสัย
        - ปัญหาการทำงานเป็นกะ เช่น ยาม หมอ พยาบาล จนส่งผลให้นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
        - กังวลว่าจะนอนไม่หลับ ผู้ป่วยจะกังวลกับปัญหาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นซึ่งความวิตกนี้เองทำให้เกิดการตื่นตัวของร่างกายและจิตใจส่งผลจึงทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ (psychophysiological insomnia)
        - ลักษณะเวลาตื่นและหลับที่ผิดปกติ
        อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะรู้ตัวเองแล้วว่ากำลังอยู่ในภาวะนอนไม่หลับหรือโรค insomnia จริง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ปล่อยปะละเลยไม่ได้หากทุกท่านอยู่ในภาวะนี้ นอกจากจะส่งผลต่อชีวิตประจำวันหลายเท่าแล้วยังทำให้สุขภาพกายและใจเสียหายอีกด้วย เพราะฉะนั้น หากอยู่ในสถานะเหล่านี้ต้องรีบแก้ให้หายทันที เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้อ่านเองนะคะ
        
        การรักษาโดยไม่ใช้ยา สามารถทำกันเองได้ ยิ่งในช่วงโควิดอย่างนี้ไม่จำเป็นต้องออกเดินทางไปพบแพทย์
        1) เข้านอนตรงเวลาและตื่นตรงเวลาเป็นประจำในเวลาใกล้เคียงกันทุกวันทั้งวันธรรมดาและวันหยุด
        2) ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำโดยแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค สำหรับเวลาที่เหมาะสมควรเป็นช่วงเวลาเช้าและไม่ควรออกกำลังกายก่อนเวลานอน 2  ชั่วโมง
        3) สร้างบรรยากาศห้องนอนที่เหมาะสมโดยมีความเงียบสงบและไม่ร้อนไปหรือหนาวไป
        4) ควรปิดไฟขณะนอนหลับ
        5)ใช้เตียงนอนสำหรับการนอนหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้นไม่แนะนำให้ทำกิจกรรมอื่นบนเตียงเช่น ดูโทรทัศน์, อ่านหนังสือ เป็นต้น
        6)ก่อนเวลานอนซัก 1 ชั่วโมงควรผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลงสบายๆ, อ่านหนังสือ, นั่งสมาธิ, ทำกิจกรรมเบาๆ ที่ทำให้ไม่ตื่นเต้นและไม่เครียด
        7) ไม่ควรทำกิจกรรมที่ผลทำให้ตื่นเต้นก่อนนอน เช่น เล่นอินเตอร์เนต, เล่นเกมส์, ดูโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ ที่มีความตื่นเต้น
        8) ไม่ควรดื่มชา,กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการนอน
        9) ไม่ควรทานอาหารมื้อใหญ่ อย่างน้อย 4 ชม. ก่อนการนอนหลับ
       10)สามารถนอนงีบได้ในเวลากลางวันโดยงีบไม่เกิน 20 นาทีและไม่ควรงีบหลับหลังบ่ายสามโมง
       11)ระหว่างนอนหลับไม่ควรดูนาฬิกาเนื่องจากจะทำให้เกิดความกังวล
       12) ไม่ควรดื่มน้ำมากกว่า 1 แก้วก่อนนอนและแนะนำให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน
       13) หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้หลับถึงแม้ว่าจะช่วยให้หลับได้แต่ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ หากจะดื่มแนะนำให้ดื่มอย่างน้อย 4 ชม. ก่อนเข้านอน
       14)หลีกเลี่ยงเลี่ยงแสงจ้าในตอนเย็นและพยายามรับแสงในตอนเช้า เช่นเปิดหน้าต่างรับแสงในตอนเช้า      - ข้อมูลโดยตรงจากเว็บไซต์ https/www.nonthavej.co.th -
 
        การพบแพทย์ 
       บางทีภาวะนอนไม่หลับมีวิธีการแก้ที่แตกต่างกันไป การรักษาโดยไม่ใช้ยาอาจไม่ได้ช่วยมากสักเท่าไหร่นัก แพทย์อาจจะพูดถึงลักษณะการนอนที่ถูกต้องให้ผู้ป่วย ทว่าหากมีปัจจัยด้านจิตใจเข้ามาเกี่ยวด้วย นั่นแปลว่ามิแน่จะโยงไปถึงภาวะอื่นอีกเช่นกัน ในที่นี่แพทย์มักจะแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย 
เป้าหมายในการรักษาด้วยยา คือ เพื่อช่วยให้วงจรการนอนกลับสู่ภาวะปกติ การใช้ยาช่วยนอนอย่างถูกวิธีจะช่วยให้การนอนกลับสู่วงจรปกติได้ดีขึ้น และเมื่อการนอนกลับสู่ภาวะปกติการใช้ยาช่วยนอนไม่ได้มีความจำเป็นอีกต่อไปอย่างไรก็ตามการรักษาอาการนอนไม่หลับที่ดีที่สุดไม่ใช่วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้หลายวิธีควบคู่กันไปจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการนอนหลับเป็นกลไกเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งคงความสมดุลในการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นการนอนหลับจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์อยู่ในภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจ ไม่ควรปล่อยให้อาการนอนไม่หลับคงอยู่เป็นเวลานาน หากได้รับผลกระทบจากการนอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์
      แล้วยาที่ว่า มีชนิดใดบ้าง
      1. Benzodiazepine เป็นกลุ่มยาที่มักใช้บ่อยในเวชปฏิบัติกลุ่มยาดังกล่าวเป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในเวชปฏิบัติ ถ้าแบ่งคร่าวๆ จะเเบ่งเป็นกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาว สำหรับกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้น ได้แก่  lorazepan, triazolam ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่นอนหลับยากในช่วงแรก อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่มนี้ที่ออกฤทธิ์เร็วเช่น Alprazolam, Midazolam  อาจเกิดการขาดยาได้ง่ายจึงถอนยาออกได้ยาก โอกาสติดยาสูง จึงต้องระวังการใช้อย่างมาก สำหรับ กลุ่มยาที่ออกฤทธ์นานเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลับไม่สนิทระหว่างคืนหรือตื่นเร็วกว่าปกติ เช่น clonazepam, diazepam เป็นต้น 
   สำหรับผลข้างเคียงของยากลุ่มดังกล่าวได้แก่  การกดประสาททำให้บางทีมีอาการง่วงต่อเนื่องกลางวัน, กระบวนการคิดและตัดสินใจลดลง, การศูนย์เสียความจำแบบไปข้างหน้า, ภาวะสับสน, ละเมอ, เดินเซ เป็นต้น การใช้ยาในผู้สูงอายุอาจลดขนาดและต้องระวังผลข้างเคียงอย่าง สิ่งสำคัญการรับประทานยากลุ่ม นี้ต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์มีโอกาสเกิดการดื้อยา และเกิดอาการขาดยาได้เมื่อหยุดการให้ยา
      2. Non- Benzodiazepine เช่น Zolpidem เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ดูดซึมได้ดี อย่างไรก็ตามอาจต้องระวังผลข้างเคียงเช่น ง่วงซึม,มึนศีรษะ หรือ ละเมอ
      3. ยาต้านซึมเศร้า  เช่น Trazodone , Mirtazapine ซึ่งยาดังกล่าวนอกจากมีผลเรื่องการปรับอารมณ์ แล้วยังมีกลไกการออกฤทธ์ช่วยการหลับ
      4. ยากลุ่ม melatonin  เป็นสารที่สังเคราะห์ภายในร่างกายมีบทบาทช่วยให้เกิดการนอนหลับ ปัจจุบันมีการผลิตยาที่อยู่ในรูปเมลาโทนินภายนอกร่างกายใช้เพื่อช่วยการนอนหลับ           
ขอบคุณข้อมูลจากนายแพทย์สิริชัย กิตติชาญธีระแพทย์คลินิคโรคการนอนหลับ/ศูนย์ตรวจการนอนหลับ/ประสาทแพทย์ศูนย์สมองและระบบประสาท 
ข้อมูลโดยตรงจากเว็บไซต์ https://www.nonthavej.co.th/Surgery-Packages.php
 
ดังนั้นเราห้ามละเลยภาวะนี้เด็ดขาด ผลที่ตามมาร้ายแรงในชีวิตประจำวันมาก
    1.มีอาการง่วงตอนกลางวัน
    2.สมาธิลดลง
    3.ความจำลดลง
    4.ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
    5.การร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึก เช่น หงุดหงิด เบื่อหน่าย ท้อแท้ เป็นต้น ผลกระทบเหล่านี้ หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ทั้งโรคทางร่างกาย และโรคทางจิตใจ ดังนั้น หากท่านมีอาการนอนไม่หลับ และไม่สามารถกลับสู่การนอนหลับตามปกติได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่ปัญหาการนอนจะมีผลกระทบในด้านอื่น ๆ ตามมา สามารถแก้ปัญหาได้ง่าย ๆ โดยการใช้เทคนิคคลายความเครียดผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง มักมีความวิตกกังวลสูง การเรียนรู้เรื่องวิธีการผ่อนคลายจะทำให้หลับได้ดีขึ้นเทคนิคการผ่อนคลาย อาทิเช่น การผ่อนคลายด้วยฝึกการหายใจ เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
 
 
 
หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก้ผู้อ่าน ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
สุดท้ายนี้ขอให้สุขภาพแข็งแรงกันทุกคนน้า <3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่