หลายคนจะมองว่าประเทศเรามีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ชอบผูกขาด รายใหญ่กินรายเล็ก รายเล็กก็เจ๊งไปตายไป รายใหญ่ก็รอกินรอกอบโกยกำไรอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วการผูกขาดก็ไม่สามารถใช้ได้กับทุกกรณี ไม่ใช่จะซื้อได้ทุกเจ้า ได้เป็นบางกรณีไป
กรณีการควบรวมนี้ เปรียบกับคำพูดที่ว่า ปรบมือข้างเดียวกี่ครั้งมันก็ดังไม่ได้ มันต้องยินยอมพร้อมใจทั้ง 2 ฝ่าย คนเดียวหัวหาย 2 คนเราอยู่ รวมกันได้ ต่างฝ่ายต่างรอด ไม่ใช่มีเจตนาผูกขาดอะไร เพราะทั้ง 2 บริษัทมีผลประกอบการที่ไม่ตามคาดหวังทั้งคู่
ทั้งหมดนี้ มองว่ามาจากนโยบายภาครัฐที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนระยะยาว ที่บอกว่าประมูลคลื่นได้เงินมาหลักแสนล้าน เป็นความสำเร็จที่ผิวเผิน ไม่ใช่ความสำเร็จจริง เป็นความสำเร็จระยะสั้น แต่สร้างผลเสียระยะยาว สุดท้ายก็เสียผลประโยชน์ ไม่ได้อะไร
ถ้าจะไม่ให้เกิดการควบรวมก็ต้องเปลี่ยนนโยบายจากทางภาครัฐใหม่ ทุกวันนี้การประมูลคลื่นในไทยมีราคาแพงมากจนจะใกล้เคียงกับการจ่ายสัมปทานอยู่แล้ว ที่เปลี่ยนระบบจากการจ่ายสัมปทานมาเป็นประมูลคลื่นแทบไม่ได้มีความแตกต่างอะไร
มีแต่คนคิดว่า จะทำอย่างไรให้ภาครัฐได้เงินเยอะที่สุด โดยที่ไม่ได้ดูความเป็นจริงเรื่องฐานะการเงินของแต่ละเจ้า
ดูตัวอย่าง มาเลเซียที่เลื่อนประมูล 5G ออกไป เพราะเขาต้องการให้แต่ละบริษัทของเขาได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์การลงทุน 4G อย่างเต็มที่ก่อน รอให้เกิดยูสเคส 5G ขึ้นจริงๆก่อน เพื่อให้ผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ แต่ในประเทศไทยคิดกันแต่เงินที่เข้าภาครัฐเพียงมุมเดียว จนสุดท้ายบริษัทต่างๆที่เข้าประมูล 5G ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ผลประกอบการไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง สุดท้ายก็ต้องควบรวมบริษัทเพื่อความอยู่รอด ผลเสียก็มาตกอยู่กับประชาชนอีกที
การควบรวมบริษัทนี้มีหลายฝ่ายต่อต้าน เพราะกลัวว่าเป็นการผูกขาด แต่โดยความเห็นส่วนตัว รู้สึกเฉยๆเพราะมองว่าเป็นการเอาตัวรอดในธุรกิจของแต่ละเจ้ามากกว่า ไม่ใช่เป็นการผูกขาด
ถ้าจะไม่ให้ควบรวมก็ต้องเปลี่ยนนโยบายจากทางภาครัฐใหม่ การประมูลคลื่นที่ถูกลง หรือยืดระยะเวลาในการจ่ายคลื่นเดิมให้ยาวนานขึ้น เช่นเดิมจ่าย 10 ปี ก็เปลี่ยนเป็น 20 ปี อะไรทำนองนี้ ก็จะทำให้เกิดความเหมาะสมในการลงทุนระยะยาว
อะไรที่ทำให้ true กับ dtac มาถึงจุดที่ต้องควบรวมบริษัท ใช่การผูกขาดหรือไม่
กรณีการควบรวมนี้ เปรียบกับคำพูดที่ว่า ปรบมือข้างเดียวกี่ครั้งมันก็ดังไม่ได้ มันต้องยินยอมพร้อมใจทั้ง 2 ฝ่าย คนเดียวหัวหาย 2 คนเราอยู่ รวมกันได้ ต่างฝ่ายต่างรอด ไม่ใช่มีเจตนาผูกขาดอะไร เพราะทั้ง 2 บริษัทมีผลประกอบการที่ไม่ตามคาดหวังทั้งคู่
ทั้งหมดนี้ มองว่ามาจากนโยบายภาครัฐที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนระยะยาว ที่บอกว่าประมูลคลื่นได้เงินมาหลักแสนล้าน เป็นความสำเร็จที่ผิวเผิน ไม่ใช่ความสำเร็จจริง เป็นความสำเร็จระยะสั้น แต่สร้างผลเสียระยะยาว สุดท้ายก็เสียผลประโยชน์ ไม่ได้อะไร
ถ้าจะไม่ให้เกิดการควบรวมก็ต้องเปลี่ยนนโยบายจากทางภาครัฐใหม่ ทุกวันนี้การประมูลคลื่นในไทยมีราคาแพงมากจนจะใกล้เคียงกับการจ่ายสัมปทานอยู่แล้ว ที่เปลี่ยนระบบจากการจ่ายสัมปทานมาเป็นประมูลคลื่นแทบไม่ได้มีความแตกต่างอะไร
มีแต่คนคิดว่า จะทำอย่างไรให้ภาครัฐได้เงินเยอะที่สุด โดยที่ไม่ได้ดูความเป็นจริงเรื่องฐานะการเงินของแต่ละเจ้า
ดูตัวอย่าง มาเลเซียที่เลื่อนประมูล 5G ออกไป เพราะเขาต้องการให้แต่ละบริษัทของเขาได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์การลงทุน 4G อย่างเต็มที่ก่อน รอให้เกิดยูสเคส 5G ขึ้นจริงๆก่อน เพื่อให้ผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ แต่ในประเทศไทยคิดกันแต่เงินที่เข้าภาครัฐเพียงมุมเดียว จนสุดท้ายบริษัทต่างๆที่เข้าประมูล 5G ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ผลประกอบการไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง สุดท้ายก็ต้องควบรวมบริษัทเพื่อความอยู่รอด ผลเสียก็มาตกอยู่กับประชาชนอีกที
การควบรวมบริษัทนี้มีหลายฝ่ายต่อต้าน เพราะกลัวว่าเป็นการผูกขาด แต่โดยความเห็นส่วนตัว รู้สึกเฉยๆเพราะมองว่าเป็นการเอาตัวรอดในธุรกิจของแต่ละเจ้ามากกว่า ไม่ใช่เป็นการผูกขาด
ถ้าจะไม่ให้ควบรวมก็ต้องเปลี่ยนนโยบายจากทางภาครัฐใหม่ การประมูลคลื่นที่ถูกลง หรือยืดระยะเวลาในการจ่ายคลื่นเดิมให้ยาวนานขึ้น เช่นเดิมจ่าย 10 ปี ก็เปลี่ยนเป็น 20 ปี อะไรทำนองนี้ ก็จะทำให้เกิดความเหมาะสมในการลงทุนระยะยาว