เห็นข่าวที่เกิดการยื่นเรื่องคัดค้านการควบรวม เพราะจะทำให้การแข่งขันกระจุกตัว
รู้สึกว่าคำกล่าวนี้ไม่ถูกต้องเท่าไร การที่มีผู้แข่งขันน้อยลง ไม่ได้การันตีว่า จะทำให้การแข่งขันน้อยลงเสมอไป
มันอยู่ที่คุณภาพผู้แข่งขันในแต่ละเจ้าด้วยที่จะตัดสินว่า จะทำให้การแข่งขันกระจุกตัวหรือไม่
ทุกวันนี้มีอยู่ 3 เจ้า คุณภาพของเจ้าแรกทิ้งห่างเจ้าที่ 2 และ 3 เยอะอยู่ ลูกค้าก็ไปกระจุกตัวอยู่กับเจ้าแรก
แต่ถ้าเจ้าที่ 2 และ 3 ควบรวมกันเหลือ 2 เจ้าก็จริง แต่คุณภาพเจ้าใหม่จากการควบรวมสู้กับเจ้าแรกได้อย่างเทียบเคียงกันมากขึ้น การแข่งขันก็จะสูสีกันด้วยคุณภาพ เป็นการแข่งขันกันด้วยเชิงคุณภาพแม้ผู้เล่นในตลาดน้อย แต่ที่ผ่านมาเป็นการแข่งขันที่มีผู้เล่นในตลาดเยอะ แต่ด้านคุณภาพมีน้อย ค่อนข้างห่างไกลกันอยู่ทั้งเงินลงทุนและศักยภาพโครงข่าย
การแข่งขันต่อไปก็จะหากำไรได้ยากขึ้น เพราะการลงทุนโครงข่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ บริษัทหลายแห่งในหลายประเทศทั่วโลกก็ทำการควบรวมกันมากขึ้น
ส่องเทรนด์ควบรวมธุรกิจ ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจบีบกิจการทั่วโลก
https://www.prachachat.net/finance/news-871706
ถ้าไม่ควบรวม การขายกิจการให้กับบริษัทคู่แข่งในประเทศก็จะคุ้มกว่า ได้เงินก้อนใหญ่มาสบายใจกว่า
จะให้ขายกิจการให้กับบริษัทจากต่างชาติ เพื่อให้เหลือ 3 เจ้าเหมือนเดิม ก็คงเป็นเรื่องยากที่ใครจะมาซื้อต่อ ด้วยสภาพการแข่งขันของตลาดที่ค่อนข้างอิ่มตัวและนโยบายการลงทุนประมูลคลื่นที่ไม่ได้ดูสภาพผู้ประกอบการ
คนส่วนมากมองว่า สาเหตุที่ควบรวมเพราะมีเจ้าสัวบางรายต้องการผูกขาด แต่นี่กลับมองว่า เป็นความผิดพลาดเรื่องนโยบายการประมูลคลื่นความถี่เป็นหลัก
ประเทศเราเข้าสู่ 3G ช้ามาก ประมูล 3G ปี 55 แล้วก็ประมูล 4G ปี 58 พอมาปี 61 ก็ต้องเสียเงินประมูลเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง ปี 63 ก็มต้องมาประมูล 5G เพิ่มอีก ประมูล 5G เสร็จก็เจอวิกฤตโควิด ทำให้การเติบโตทางรายได้ของแต่ละเจ้าไม่เป็นดั่งหวัง นี่ก็จะมาประมูลคลื่น 3500 อีกแล้ว
สรุปว่าในช่วงราวๆ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ละเจ้าเสียเงินค่าประมูลคลื่นและลงทุนโครงข่ายกันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่การประมูล 5G สามารถเลื่อนได้
นโยบายลักษณะนี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกแบบนี้ คงไม่ใครต่างชาติที่ไหนมาซื้อบริษัทในไทยลงทุนทำกิจการต่อจากเจ้าเดิม นอกจากบริษัทในประเทศซื้อขายกันเอง
ถ้าจะอยากให้มี 3 เจ้าเหมือนเดิม ประเด็นอยู่ตรงคลื่น 3500 mhz ถ้าคลื่น 3500 ดูแล้วลงทุนสูง จ่ายค่าประมูลคลื่นเยอะ ใช้เงินลงทุนโครงข่ายมาก ก็หาทางควบรวมหรือขายกิจการให้บริษัทอื่นดีกว่า
ซึ่งในความเป็นจริง ถ้ามีอยู่ 3 เจ้าตามเดิมก็น่าจะตั้งราคาคลื่นสูงอยู่ เพราะยังมีค่ายที่ไม่มี mid band 5G ขณะที่อีก 2 ค่ายมีคลื่น 2600 แล้ว แถมเบอร์ 1 ก็ยังถามถึงคลื่น 3500 อยู่ ราคาคลื่น 3500 ก็น่าจะใกล้เคียง 2600 mhz ก็คงไม่เหมาะที่เจ้าที่ 3 จะประมูลมาลงทุนโครงข่าย 5G
ในกรณีที่เหลือ 2 เจ้า ไม่ว่าจะเกิดจากควบรวมหรือการขายกิจการ คลื่น 3500 ก็น่าจะมีราคาถูกอยู่ เพราะว่า 2 เจ้ามีคลื่น 2600 mhz อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเอาคลื่น 3500 มาเสริมก็ได้ สามารถใช้คลื่น 2600 เพียงคลื่นเดียวทำ 5G ไปยาวๆได้
ถ้ากสทช.ตัดสินใจเรื่องคลื่น 3500 ได้เร็ว เกิดการประมูลเร็วและคลื่นมีราคาถูก ง่ายต่อการลงทุน ทำให้เจ้าที่ยังไม่มีทั้งคลื่น 2600 และ 3500 ไม่เสียเปรียบการแข่งขัน 5G นานเกินไปและสามารถลงทุน 5G mid band ได้สะดวกและอาจแถมด้วยนโยบายยืดการชำระประมูลคลื่นความเดิมที่มีอยู่ ก็อาจจะทำให้ไม่ต้องควบรวมหรือขายกิจการในไทยก็ได้
การควบรวมทำให้การแข่งขันกระจุกตัวมั้ย ถ้าไม่ควบรวม การขายกิจการจะคุ้มกว่ามั้ย
รู้สึกว่าคำกล่าวนี้ไม่ถูกต้องเท่าไร การที่มีผู้แข่งขันน้อยลง ไม่ได้การันตีว่า จะทำให้การแข่งขันน้อยลงเสมอไป
มันอยู่ที่คุณภาพผู้แข่งขันในแต่ละเจ้าด้วยที่จะตัดสินว่า จะทำให้การแข่งขันกระจุกตัวหรือไม่
ทุกวันนี้มีอยู่ 3 เจ้า คุณภาพของเจ้าแรกทิ้งห่างเจ้าที่ 2 และ 3 เยอะอยู่ ลูกค้าก็ไปกระจุกตัวอยู่กับเจ้าแรก
แต่ถ้าเจ้าที่ 2 และ 3 ควบรวมกันเหลือ 2 เจ้าก็จริง แต่คุณภาพเจ้าใหม่จากการควบรวมสู้กับเจ้าแรกได้อย่างเทียบเคียงกันมากขึ้น การแข่งขันก็จะสูสีกันด้วยคุณภาพ เป็นการแข่งขันกันด้วยเชิงคุณภาพแม้ผู้เล่นในตลาดน้อย แต่ที่ผ่านมาเป็นการแข่งขันที่มีผู้เล่นในตลาดเยอะ แต่ด้านคุณภาพมีน้อย ค่อนข้างห่างไกลกันอยู่ทั้งเงินลงทุนและศักยภาพโครงข่าย
การแข่งขันต่อไปก็จะหากำไรได้ยากขึ้น เพราะการลงทุนโครงข่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ บริษัทหลายแห่งในหลายประเทศทั่วโลกก็ทำการควบรวมกันมากขึ้น
ส่องเทรนด์ควบรวมธุรกิจ ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจบีบกิจการทั่วโลก
https://www.prachachat.net/finance/news-871706
ถ้าไม่ควบรวม การขายกิจการให้กับบริษัทคู่แข่งในประเทศก็จะคุ้มกว่า ได้เงินก้อนใหญ่มาสบายใจกว่า
จะให้ขายกิจการให้กับบริษัทจากต่างชาติ เพื่อให้เหลือ 3 เจ้าเหมือนเดิม ก็คงเป็นเรื่องยากที่ใครจะมาซื้อต่อ ด้วยสภาพการแข่งขันของตลาดที่ค่อนข้างอิ่มตัวและนโยบายการลงทุนประมูลคลื่นที่ไม่ได้ดูสภาพผู้ประกอบการ
คนส่วนมากมองว่า สาเหตุที่ควบรวมเพราะมีเจ้าสัวบางรายต้องการผูกขาด แต่นี่กลับมองว่า เป็นความผิดพลาดเรื่องนโยบายการประมูลคลื่นความถี่เป็นหลัก
ประเทศเราเข้าสู่ 3G ช้ามาก ประมูล 3G ปี 55 แล้วก็ประมูล 4G ปี 58 พอมาปี 61 ก็ต้องเสียเงินประมูลเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง ปี 63 ก็มต้องมาประมูล 5G เพิ่มอีก ประมูล 5G เสร็จก็เจอวิกฤตโควิด ทำให้การเติบโตทางรายได้ของแต่ละเจ้าไม่เป็นดั่งหวัง นี่ก็จะมาประมูลคลื่น 3500 อีกแล้ว
สรุปว่าในช่วงราวๆ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ละเจ้าเสียเงินค่าประมูลคลื่นและลงทุนโครงข่ายกันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่การประมูล 5G สามารถเลื่อนได้
นโยบายลักษณะนี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกแบบนี้ คงไม่ใครต่างชาติที่ไหนมาซื้อบริษัทในไทยลงทุนทำกิจการต่อจากเจ้าเดิม นอกจากบริษัทในประเทศซื้อขายกันเอง
ถ้าจะอยากให้มี 3 เจ้าเหมือนเดิม ประเด็นอยู่ตรงคลื่น 3500 mhz ถ้าคลื่น 3500 ดูแล้วลงทุนสูง จ่ายค่าประมูลคลื่นเยอะ ใช้เงินลงทุนโครงข่ายมาก ก็หาทางควบรวมหรือขายกิจการให้บริษัทอื่นดีกว่า
ซึ่งในความเป็นจริง ถ้ามีอยู่ 3 เจ้าตามเดิมก็น่าจะตั้งราคาคลื่นสูงอยู่ เพราะยังมีค่ายที่ไม่มี mid band 5G ขณะที่อีก 2 ค่ายมีคลื่น 2600 แล้ว แถมเบอร์ 1 ก็ยังถามถึงคลื่น 3500 อยู่ ราคาคลื่น 3500 ก็น่าจะใกล้เคียง 2600 mhz ก็คงไม่เหมาะที่เจ้าที่ 3 จะประมูลมาลงทุนโครงข่าย 5G
ในกรณีที่เหลือ 2 เจ้า ไม่ว่าจะเกิดจากควบรวมหรือการขายกิจการ คลื่น 3500 ก็น่าจะมีราคาถูกอยู่ เพราะว่า 2 เจ้ามีคลื่น 2600 mhz อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเอาคลื่น 3500 มาเสริมก็ได้ สามารถใช้คลื่น 2600 เพียงคลื่นเดียวทำ 5G ไปยาวๆได้
ถ้ากสทช.ตัดสินใจเรื่องคลื่น 3500 ได้เร็ว เกิดการประมูลเร็วและคลื่นมีราคาถูก ง่ายต่อการลงทุน ทำให้เจ้าที่ยังไม่มีทั้งคลื่น 2600 และ 3500 ไม่เสียเปรียบการแข่งขัน 5G นานเกินไปและสามารถลงทุน 5G mid band ได้สะดวกและอาจแถมด้วยนโยบายยืดการชำระประมูลคลื่นความเดิมที่มีอยู่ ก็อาจจะทำให้ไม่ต้องควบรวมหรือขายกิจการในไทยก็ได้