ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน--ตอนที่ 4 : ตามพิจารณาธรรมในแบบ...โพชฌงค์7

กระทู้คำถาม
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน--ตอนที่ 1:
ตามพิจารณาธรรมในแบบนิวรณ์๕.................👉https://ppantip.com/topic/41105554
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน--ตอนที่ 2:
ตามพิจารณาธรรมในแบบ...อายตนะ 6..........👉https://ppantip.com/topic/41112515
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน--ตอนที่ 3 : 
ตามพิจารณาธรรมในแบบ...อุปาทานขันธ์๕..👉https://ppantip.com/topic/41115794




สรุป...
1. การพิจารณา...ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน....ในแบบโพชฌงค์7...นี้ 
    ต้องรู้จักว่าโพชฌงค์7  คือ,..อะไร  โพชฌงค์7...คือ...องค์ธรรม 7 ประการเพื่อการตรัสรู้ธรรม..
    ซึ่งได้แก่
    - สติสัมโพชฌงค์ 
    - ธัมมวิจยโพชฌงค์ 
    - วิริยะโพชฌงค์
    - ปีติโพชฌงค์
    - ปัสสธิโพชฌงค์
    - สมาธิโพชฌงค์
    - อุเบกขาสัมโพชฌงค์

       การปฏิบัติธรรม-เจริญสมถ-วิปัสสนา... คือการกระทำ... สติ + ธัมมวิจยะ + วิริยะ <---โพชฌงค์ 3 ประการนี้...
       แล้ว... ปีติ + ปัสสธิ + สมาธิ..ก็จะปรากฏ... และสุดท้ายที่... อุเบกขา... <---เมื่อเกิดครบ 7 ประการ..
       ก็พร้อมที่จะตรัสรู้ธรรมตลอดเวลา... นานช้าอยู่ที่..อินทรีย์๕-พละ๕..ของ " บุคคล "..นั้นๆ

2.  การพิจารณาแบบนี้  ต้องรู้ว่า...โพชฌงค์แต่ละประการ.....จะเกิดขึ้น..และ...เสื่อมไป..ได้อย่างไร?
     อันนี้ต้องอ้างอิงจาก....กายสูตร (อาหารของนิวรณ์ ๕) https://etipitaka.com/read/thai/19/92/

[๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้
แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
              ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

3. สรุป...อาหารของโพชฌงค์7...อีกที่ว่า
    - จะทำให้เกิดความบริบรูณ์ของ....สติสัมโพชฌงค์ 
       การเจริญกายคตาสติ - อานาปานสติ - สติปัฏฐาน4....
 
   -  จะทำให้เกิดความบริบรูณ์ของ....ธัมมวิจยโพชฌงค์ 
       อันนี้..ต้องมีการได้ฟังสุตตะต้องได้ฟังพระสัทธรรมที่ถูกต้อง...มาก่อนนะ...ต้องมีความรู้   
       แล้วยกข้อธรรมที่ทรงจำนั้นมาใครครวญพิจารณา...มาสังเกตุธรามที่ปรากฏในใจได้
       
    - จะทำให้เกิดความบริบรูณ์ของ....วิริยะโพชฌงค์
      ความตั้งใจ... ความบากบั้น... ความขยัน.. ในการกระทำ..สติสัมโพชฌงค์..และ..ธัมมวิจยโพชฌงค์ ...นี้หละ
 
    - จะทำให้เกิดความบริบรูณ์ของ....ปีติโพชฌงค์
      สติสัมโพชฌงค์..ธัมมวิจยโพชฌงค์...และ..วิริยะโพชฌงค์ <---ใส่ใจในธรรมเหล่านี้..จะทำให้..เกิดปีติ
 
    - จะทำให้เกิดความบริบรูณ์ของ....ปัสสธิโพชฌงค์
      การสงบแห่งกายและจิต..อันเกิดจากปีตินี้หละ...  <---ใส่ใจในธรรมเหล่านี้..จะทำให้...ทำให้เกิดปัสสธิ
 
    - จะทำให้เกิดความบริบรูณ์ของ....สมาธิโพชฌงค์
      การใส่ใจใน..นิมิต...ในใจ...จะทำให้...ทำให้เกิดสมาธิ
 
    - จะทำให้เกิดความบริบรูณ์ของ....อุเบกขาสัมโพชฌงค์
       การใส่ใจใน..สมาธิ..และ..โพชฌงค์ที่เหลือนั่นหละ...จะทำให้...ทำให้เกิดอุเบกขา

4. มาดูการเจริญขึ้นของ... โพชฌงค์7.... ที่พระศาสดาท่านได้อธิบายไว้...ใน....อานาปานสติสูตร
    https://etipitaka.com/read/thai/14/155/

 [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไรทำให้มากแล้ว อย่างไร 
จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 

ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็น กายในกาย(เวทนาในเวทนา, จิตในจิต, ธรรมในธรรม) มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ 
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ 
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว 
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ 
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ 

เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้น อยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึง ความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา 
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว 
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น 
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ 

เธอ เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วย ปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นด้วย ปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน 
ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว 
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ 

ปีติ ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว 
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว 
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติ สัมโพชฌงค์ 
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ 

ภิกษุผู้มีใจ เกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ 
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว 
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ 
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ 

ภิกษุ ผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น 
ใน สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว 
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ 
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ 

ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี 
ใน สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว 
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ 
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่