ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน--ตอนที่ 2: ตามพิจารณาธรรมในแบบ...อายตนะ 6

กระทู้คำถาม
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน--ตอนที่ 1: ตามพิจารณาธรรมในแบบนิวรณ์๕👉https://ppantip.com/profile/5447057#topics


https://etipitaka.com/read/thai/10/216/
 ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒) 
[๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ 
ชื่อว่า กัมมา สทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า 
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า 
พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า 
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์....ของเหล่าสัตว์ 👈
เพื่อล่วงความโศกและ ปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส 
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
.....
...
....



สรุป....

1. ท่านทั้งหลายสังเกตุดูให้ดี...  ไม่มีการกำหนดลมหายใจ.... ไม่มีการบริกรรม...
     (จะกำหนดลมหายใจก็ได้...แต่จะเป็นอาปานสติแทน..ซึ่งก็ซ้อนๆกันอยู่  แต่ที่แน่ๆ...อย่าไปบริกรรม)
 
    การปฏิบัติ....สติปัฏฐานแบบพิจารณาธรรม.... ก็คือเป็นความรู้ที่ได้เรียนพระสัทธรรมที่ถูกต้องมาพิจารณา
    ย้ำว่าต้องถูกต้อง.. ไปเอาสัทธรรมปฏิรูปมาพิจารณาก็เสียของไปอาจจะได้สมถะ..แต่จะไม่ได้วิปัสสนา
 
     การปฏิบัติ..ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน...สามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันเลย.. ไม่จำเป็นจะต้องนั่งคู้บัลลัง..
     ให้ส้งเกตุ  " ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏต่อใจของเรา "..เลย   แล้วพิจารณา   
 
    ในตอนที่ 2 นี้ให้ตามเห็น...ธรรมที่ปรากฏ..และเสื่อมไป  ที่  ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ....ตอนที่มันไปกระทบกับ...
    อายตนะภายนออก...คือ...รูป - เสียง - กลิ่น - รส - กายสัมผัส - ธรรม(เวทนา - สัญญา - สังขาร)

2.  คำว่า " สังโยชน์ "....อันเกิดขึ้น..เพราะอาศ้ยอายตนะภายใน..กับ...อายตนะภายนอก..
     ตัว " สังโยชน์นี้,...คือ...ฉันทราคะ ".... หรือ...อุปาทาน...นั่นเอง..
     👇
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
     ต้องดูจากพระสูตรนี้...
                               👇
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=2294&Z=2369
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=2786&Z=2797
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

3. ต้องมีสติรู้ซึ่ง  " ฉันทราคะ "...ที่ปรากฏมีขึ้น... ในทุกๆผัสสะ  หรือกล่าวว่า..
    ฉันทราคะ...ที่เกิดจาก...รูป  + {ตา, หู, จมูก, ลิ้น" กาย}
    ฉันทราคะ...ที่เกิดจาก...{เวทนา, สัญญา, สังขาร} + ใจ 

     การที่มีฉันทราคะเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทบกันของอายตนะ... ก็เพราะว่า... เราไม่รูโทษของขันธ์๕...นั่นเอง
     ดูจากตารางก่อน.... จาเห็นว่า " ความไม่เที่ยง...ความแปรปรวน " ..คือ...อทีนวะ-โทษ...ของ...อายตนะทั้งภายในภายนอก

     เมื่อเรารู้โทษของมันแล้วเอามาพิจารณา... ฉันทราคะก็จะไม่ปรากฏ... ที่ปรากฏก็จะดับไป
      

4. การที่เฝ้าสังเกตุเห็น...  ฉันทราคะปรากฏ...และ...ดับไป  หรือไม่เห็นฉันทราคะในจิต... 
    ก็เท่ากับเจริญสติแล้ว... และ..ความสามารถการเห็น..เกิด-ดับ..นั้น<--เรียกว่า " ปัญญา "...

5.  เราเฝ้าดู....ภายในจิตของเรา  โดยสอดส่องไปในอายตนะทั้6... 
    พบ...ฉัทราคะ... ก็ให้ทำลายมัน..ต้องถ่ายถอน..ต้องบันเทา  ไม่ใช่ไปปล่อยให้มันดับเอง.... 
   
  
6. ฉันทราคะ...คือ...อุปาทาน   เมื่อเราปฏิบัติละอุปาทานอยู่อย่างนี้...  อนุสัยจะถูกละไป
    ภพใหม่ก็จะไม่มี...(หมายถึง..ขันธ์แตกทำลายไปแล้ว..แล้วไปได้ภพทหม่)....
    เพราะว่า...วิญญาณไม่มีที่ตั้งอาศัย..วิญาณจะไม่มีการหยั่งลง
    นามรูปก็ไม่หยั้งลงเพราะไม่มีวิญาณจะไม่มีการหยั่งลง...
   การเกิดชาติในภพใหม่จึงไม่มี.. จึงหลุดพ้น.. ไม่ขาดสูญนะ..

   เมื่อเราทำได้อย่างนี้...
   " เรานะไม่ใช่ขาดสูญเมื่อตาย..  มันตายเฉพาะสรีระกับชีวะ.. 
      หากไม่มีอุปาทานเพราะอวิชชาดับหมดไม่เหลือเศษ...เราก็คือนิพพานธาตุ  เป็นอมตะ "

 เอ้า....ถล่มได้ตามอัธยาศัย...ครับ 😁😁
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่