▶️ ปฐมบทของการปฏิรูปการศึกษา 2538

กระทู้สนทนา
▶️ ปฐมบทของการปฏิรูปการศึกษา 2538
กระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมนั้น บทบาทดังกล่าวสําคัญยิ่งต่อการสร้างความหวังและอนาคตของการพัฒนาประเทศ ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพ ของคนให้พร้อมสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้ความ สามารถเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน ซึ่ง การเสริมสร้างศักยภาพของคนจะเป็นจริงได้จะต้องเริ่มต้น จากการกําหนดปรัชญาการศึกษาที่จะหล่อหลอมคนใน อนาคตให้เป็นไปตามลักษณะที่พึงประสงค์ ใน เรื่องนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดเป้าหมายความสําเร็จด้วย ปรัชญาการพัฒนาคนผ่านการปฏิรูป การศึกษาไว้ว่า การศึกษาไทยต้องเป็นเลิศในปี 2550
การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งถือว่าเป็นปฐมบทของการพัฒนาคนรุ่นใหม่ อย่าง ครอบคลุมทั้งประเทศครั้งนี้ จะต้องมีกรอบและทิศทางในการดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม มี ความชัดเจนและ สามารถนําไปปฏิบัติได้จริงในทุกพื้นที่ ซึ่งกรอบและทิศทางในการดําเนินงานให้บรรลุ เป้าหมายที่เป็นจริงได้นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดไว้ ดังนี้
▶️การศึกษาไทยเป็นเลิศในปี 2550
ปรัชญาในการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันเน้นเรื่องความเป็นเลิศทางการ ศึกษา ด้วยการกําหนดเงื่อนไขเวลาไว้อย่างเด่นชัดว่า การศึกษาไทยเป็นเลิศในปี 2550
▶️การจะดําเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายของปรัชญาการจัดการศึกษาดังกล่าวได้นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดให้คนไทยทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ จะต้องมีการศึกษาในอัตราเฉลี่ยคนละ 12 ปี
หมายความว่านับต่อแต่นี้ไปประชาชนทุกคนสามารถเรียนจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ อุดมศึกษา หรือเทียบเท่าอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม มีคุณภาพการศึกษาเป็นสากล 
ให้โอกาสเด็กและเยาวชนอายุ 3-17 ปี ได้มีโอกาสเรียนอย่างต่อเนื่อง 12 ปีในระบบโรงเรียน และ ข้อสําคัญคือ จะต้องให้ ความสําคัญและเน้นเป็นพิเศษในการนําเด็กที่มีอายุ 3-5 ปี เข้าเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 1-3 ให้ครอบคลุมพื้นที่ อย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็ก ๆ ในกลุ่มอายุ 3-5 ปีได้ มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้พร้อมสําหรับการเข้ารับการศึกษาใน ชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานสําคัญของการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของชั้นประถมศึกษา
▶️การขจัดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการให้บริการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาดังกล่าวนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดเป้าหมายตามปรัชญาการจัดการศึกษาในปี2538ว่า ในปี 2550 การศึกษา ของคน ไทยทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ โดยเฉลี่ยแล้วจะต้องได้รับการศึกษาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 12 ปี
▶️จากนโยบายการศึกษาไทยเป็นเลิศในปี 2550  คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดทํานโยบายและแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุถึง เป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดทําแผนการปฏิบัติงานไว้ 3 ลักษณะ ได้แก่ แผนระยะสั้น แผนระยะกลาง และแผนระยะยาว เริ่มดําเนินการตามแผนปฏิบัติงานมาตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งนับถึง29พฤษภาคม2540 เป็นเวลา 180 วัน
ในรอบ 180 วันที่ผ่านมา ผลการดําเนินงานต่าง ๆ ได้เริ่มปรากฏเป็นรูปธรรมเด่นชัดขึ้นมาตาม ลําดับ เมื่อถึงวันนี้สามารถจําแนกผลงานที่ได้ดําเนินการไปแล้วทั้งในลักษณะของงานนโยบายและแนว ทางใหม่ ๆ ที่จะทําให้การศึกษาไทยก้าวไปสู่เป้าหมายการศึกษาไทยเป็นเลิศในปี 2550 ด้วยการดําเนิน การสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
▶️8 พฤษภาคม 2540 เด็กไทยทุกคนต้องได้เข้าเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ มีปัญหาทําให้ไม่สามารถ จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง ไม่ได้ให้โอกาสทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทัดเทียมกัน ไม่สามารถสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
▶️การไม่เท่าเทียมกันของการให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลให้สถิติปี2538ของ สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ที่ผ่านมาเด็กอายุ 3-5 ปี กลายเป็นเด็กไร้โอกาสที่ไม่ สามารถเข้าเรียนชั้นอนุบาล 1-3 เป็นจํานวนมากกว่า 700,000 คน เด็กอายุ 6-11 ปี เป็นเด็กไร้โอกาสที่จะเข้า เรียนอีกเป็นจํานวนถึง 650,000 คน
จากสถิติการให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเด็กจํานวนมากเหล่านั้น ล้วน เป็นทรัพยากรที่สําคัญของประเทศที่ควรจะได้รับสิทธิ์ และความเสมอภาคในการได้รับการศึกษา อย่างทัดเทียมกับ เด็กคนอื่น ๆ แต่พวกเขาพลาดโอกาสสําคัญในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็น เด็กที่อยู่ในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
จากสถิติของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติอีกเช่นกัน ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าการจัดการ ศึกษา ของเด็กอายุ 12-14 ปี ที่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบ เท่า เป็นเด็กที่ไร้ โอกาสในการเข้าเรียนถึง 1,000,000 คน โดยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มี ประชากร 3,500,000 คน แต่มี โอกาสเข้าเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เพียง 2,500,000 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า อายุ 15-17 ปี มีประชากร 3,500,000 คน แต่มีโอกาสเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพียง 900,000 คน เข้าเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จํานวน 600,000 คน รวมเข้าเรียน 1,500,000 คน ที่เหลือพลาด โอกาสที่จะเข้าเรียนสูงถึง 2,000,000 คน 
▶️โดยสรุปเด็กอายุ 12-17 ปีขาดโอกาสเข้าเรียนถึง 3,000,000 คน เป็นที่ทราบกันดีว่า โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ดีที่สุดในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ มีคุณภาพ เป็นที่พึงปรารถนาของสังคม และให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ความแตกต่างของการ พัฒนาและให้ การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทุกระดับตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือปวช.สายอาชีพ จึงมีความสําคัญ และเป็นผลที่จะทําให้สังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองในอนาคตของประเทศ เป็นไปในทิศทางที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร
จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้ดําเนินการแก้ไขด้วยการรับนักเรียนที่พลาดโอกาส เหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยดําเนินการให้สถานศึกษาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการศึกษาใหม่ เพื่อให้ โอกาส นักเรียนได้เข้ารับการศึกษา 
▶️รวมถึงเด็กและเยาวชนที่อยู่ในฐานะครอบครัวล่มสลาย พ่อแม่แยกทางกัน เด็กกําพร้า เด็กชาวเขา เด็กที่อยู่ในภาวะครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการส่งเสริมการศึกษา และเด็กพิการ เหล่านี้คือ ปัญหาที่ปรากฏ อยู่ในสังคม จะจัดกองทุนเพื่อการศึกษาจ่ายคืนและปลอดดอกเบี้ย โดยให้สถานศึกษารับผิดชอบดําเนินการ ด้วยการบริหารสถานศึกษาในระบบ School Based Management หรือโรงเรียนนิติบุคคล
ส่วนเยาวชนและประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป  จะให้การศึกษานอกระบบโรงเรียน อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ทํางานใด ๆ ในโรงงาน ประกอบ อาชีพทําไร่ทํานา ตลอดจนกรมทหาร เรือนจํา และศาสนสถาน พร้อมทั้งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ตามแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538: เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่