การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 2538-2539 โรงเรียนและสถานศึกษาได้ปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการบริหาร และการ จัดการ
ให้โรงเรียนทันสมัยและได้มาตรฐานไม่แจ่มชัดนัก โรงเรียนและสถานศึกษาหลายแห่งมีสภาพ ทรุดโทรม ขาดความ
เป็นผู้นําในด้านวิชาการ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่าขาดการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาในหลายพื้นที่ของประเทศ
เพื่อให้สถานศึกษาทุกระดับเป็นผู้นําทางด้านวิชาการ สามารถทํางานได้เต็มศักยภาพสอดคล้อง กับจํานวนเด็กและ
เยาวชนที่จะเข้าศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการบริหาร การจัดการโรงเรียนและ
สถานศึกษาใหม่ โดยจัดลําดับความรับผิดชอบของสถานศึกษา ดังนี้
1. โรงเรียนประถมศึกษาระดับหมู่บ้าน ให้เน้นการสอนนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 แต่ไม่ห้ามหากจะสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถ้าจําเป็นและเหมาะสม
2. โรงเรียนประถมศึกษาระดับตําบล ให้เน้นการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 แต่ไม่ห้ามหากจะสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถ้าจําเป็นและ เหมาะสม
3. โรงเรียนมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษา ให้เน้นการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
มากกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งโรงเรียนสามัญศึกษาส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในอําเภอ หรือจังหวัด หรือเมืองใหญ่ ๆ
4. วิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษา ให้เน้นการสอนวิชาชีพเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนที่เรียน
จบแล้วสามารถทํางานในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระได้อย่างมีคุณภาพ และสอดคล้องกับความ
ต้องการของสังคม ส่วนการเรียนที่ส่งเสริมการศึกษาต่อที่สูงขึ้น ให้สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคลทุกแห่งรับนักศึกษา
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยมุ่งให้การศึกษาเพื่อการพัฒนา วิชาช่างตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จนถึงระดับ ปริญญาตรี
จากแนวทางดังกล่าว ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา พฤษจิกายน 2539 - พฤษภาคม 2540 กระทรวงศึกษาธิการได้ดําเนินการจนมีผลงาน
ปรากฏเป็นรูปธรรม ดังนี้
1. โรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงเรียนในหมู่บ้าน จํานวนมากกว่า 25,000 โรง รับนักเรียนอายุ 3-5 ปี
เข้าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ สําหรับเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับประถมศึกษา ต่อไป
2. โรงเรียนขยายโอกาสซึ่งเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เดิมมีอยู่จํานวน 5,500 โรง
เพิ่มเป็น 8,000 โรง ทั้งนี้ เพื่อให้การขยายโอกาสทางการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ทุกตําบลทั่วประเทศ
3. เพื่อให้เยาวชนได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
มากขึ้น โรงเรียนมัธยมศึกษาจึงขยายปริมาณการรับนักเรียนแบบไม่จํากัดจํานวน ทั้งนี้ รวมทั้ง
วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้สนับสนุนให้โรงเรียนอาชีวศึกษาของเอกชนรับนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งในส่วนนี้ หากจําเป็นต้องใช้งบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการได้สนับสนุนเงินกองทุนกู้ยืมหรือกอง
ทุนเพื่อการศึกษาจ่ายคืนให้มากขึ้น ส่วนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทุกแห่งดําเนินการตามโครงการ
เกษตรเพื่อชีวิต เพื่อเน้นการปฏิบัติทางการเกษตร และเรียนวิชาชีพด้านเทคนิคและด้านบริการ
สําหรับเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไป เช่น งานช่า ง บัญชี เลขานุการ คหกรรม และการ
ท่องเที่ยว เป็นต้น
ด้านวิทยาลัยพลศึกษา ได้มีนโยบายที่จะรับนักเรียนที่มีศักยภาพ และต้องการเป็นนักกีฬาใน
อนาคต ตลอดจนพัฒนาและเพิ่มผลผลิตบุคลากรพลศึกษา เพื่อส่งเสริมการออกกําลังกายของ
ประชาชนให้มีพลานามัยที่แข็งแรง กรมพลศึกษามีเป้าหมายในการเพิ่ มการรับนักเรียนจากเดิมที่มี
นักเรียนเพียงประมาณ 10,000 คน ปัจจุบันมีกว่า 35,000 คน และมีเป้าหมายจะขยายถึง 50,000 คน
ในระยะเวลา 3 ปี และสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนจากครอบครัวด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจได้
เข้าเรียนด้วย
เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย และปลูกฝังสุนทรียภาพในอารมณ์และจิตใจของคนในชาติ วิทยาลัย
นาฏศิลป์ได้ขยายหลักสูตรเพื่อเพิ่มศักยภาพการสอนวิชาดนตรีสากล วิชาการแสดง ตลอดจน วิชาการจัดรายการ
และการตกแต่งสถานที่ นอกเหนือจากการสอนวิชานาฏศิลป์และดนตรีไทย
ส่วนวิทยาลัยช่างศิลป์ ได้ขยายสถานศึกษาและเพิ่มจํานวนนักเรียน เพื่อสืบสานและถ่ายทอด มรดก
ไทยในด้านช่างและศิลปวัฒนธรรมไทย
4. เปิดโอกาสให้เยาวชนพิการและด้อยโอกาสได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษ และ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์มากขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้นักเรียนพิการได้เรียนร่วมกับนักเรียนปกติมากยิ่งขึ้น
5. ในระดับอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งเป็นสถาบันผลิตช่างวิชาชีพด้าน เทคโนโลยี
ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และ ปริญญาตรี เปิดโอกาสให้ผู้ที่
มุ่งศึกษาต่อจากระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่งได้โดยอิสระนั้น มีนโยบายการ รับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้นเข้า
เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้มากกว่าเดิมถึง 3 เท่า
และให้พัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้อม ๆ กัน ส่วนสถาบันราชภัฏรับนักศึกษามากขึ้นกว่าเดิมอีกถึง 3 เท่า พร้อมกันนี้ สนับสนุนให้ทั้ง สองสถาบัน
รับนักศึกษาเพิ่มขึ้นให้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ ในการขยายจํานวนวิทยาเขตของสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล
จํานวนสถาบันราชภัฏและการขยายวิทยาเขตของราชภัฏนั้น ได้กําหนดวิธีการให้ ดําเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้ว
เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ทันการรับนักศึกษาใหม่ในปี 2540 ได้สร้าง อาคารกึ่งถาวรเพื่อรับนักศึกษาไว้ก่อน แล้วจึง
กําหนดการก่อสร้างเป็นอาคารถาวรภายหลัง ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะเข้ารับการศึกษาได้มีโอกาสศึกษาตาม
ความปรารถนาของตน
คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล มีนโยบายที่ต้องการให้สถาบันราชภัฏและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเป็นสถานศึกษา
ขั้นอุดมศึกษาที่จะบริการชุมชนในระดับจังหวัด และเมื่อบัณฑิตสําเร็จการศึกษาจะได้ทํางานและให้
บริการในท้องถิ่น ประกอบอาชีพอิสระตามความถนัดของแต่ละบุคคล ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องดิ้นรน
เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เป็นภาระของผู้ปกครอง
เพราะเป็นมหาวิทยาลัยสําหรับคนกําลังทํางาน และเปิดชั่วโมงเรียนน้อย หากเป็นนักศึกษาที่ไม่ได้
ทํางานจะมีเวลาว่างมาก การควบคุมความประพฤติทําได้ยาก เพราะสิ่งยั่วยุทางสังคมมีมาก
ทําให้เกิดปัญหาสังคม หากเยาวชนเหล่านี้เข้าศึกษาในสถาบันราชภัฏและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ จะ
ลดการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และเป็นการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ
ในภูมิภาคอีกทางหนึ่ง
6. การทําโรงเรียนหรือสถานศึกษาให้เป็นปัจจุบัน หมายถึงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนให้น่าอยู่
น่าเรียน มีอุปกรณ์ครบ เช่น
6.1 โรงเรียนจํานวน 30,000 โรงทั่วประเทศได้รับงบประมาณเป็นของตนเองเพื่อการ
ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนและบริเวณโรงเรียนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดการศึกษาของประเทศไทย
โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จํานวน 3,000 ล้านบาท ในการนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง
ชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น ร่วมพัฒนาโรงเรียนของตนให้เป็นปัจจุบัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 เท่าที่
รัฐได้จัดสรรงบประมาณให้
การที่ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยจิตสํานึกแสดงความเป็นเจ้าของสถานศึกษาดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจและมั่นใจในคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาน
ศึกษาในท้องถิ่น จึงนําบุตรหลานมาเข้า เรียน และให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดีกว่าที่ผ่านมาในอดีต
6.2 โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาประมาณ 20,000 โรง ได้รับการจัดสรร
งบประมาณให้มีห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อเน้นการสอน
วิชาพื้นฐานสําคัญให้แก่นักเรียน ห้องปฏิบัติการดังกล่าวนี้นับเป็นสิ่งจําเป็นยิ่งสําหรับการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งนักเรียนจะต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนทักษะและศักยภาพตามเป้าหมายของการอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538
6.3 โรงเรียนทุกโรงจัดให้มีน้ําดื่มน้ําใช้ที่สะอาดตลอดปี ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ บริเวณ
โรงเรียนมีความร่มรื่นสวยงาม เป็นแบบอย่างของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่นักเรียน ประชาชนใน
ชุมชนมีจิตสํานึกในการรักษาสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผ่านการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม
6.4 จัดให้มีศูนย์กีฬาระดับจังหวัดในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกจังหวัด รวมทั้งจัดอุปกรณ์การ
กีฬา จัดและปรับปรุงสนามกีฬาโรงเรียนให้เหมาะสมและเพียงพอ
6.5 พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้มีวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร และเทคโนโลยีที่เหมาะสมทันสมัย
ต่อการพัฒนาการเรียนของนักเรียน
การปฏิรูปสถานศึกษา (ปรับปรุง2540)หนังสือ 180 วันในกระทรวงศึกษาธิการ ของ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 2538-2539 โรงเรียนและสถานศึกษาได้ปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการบริหาร และการ จัดการ
ให้โรงเรียนทันสมัยและได้มาตรฐานไม่แจ่มชัดนัก โรงเรียนและสถานศึกษาหลายแห่งมีสภาพ ทรุดโทรม ขาดความ
เป็นผู้นําในด้านวิชาการ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่าขาดการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาในหลายพื้นที่ของประเทศ
เพื่อให้สถานศึกษาทุกระดับเป็นผู้นําทางด้านวิชาการ สามารถทํางานได้เต็มศักยภาพสอดคล้อง กับจํานวนเด็กและ
เยาวชนที่จะเข้าศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการบริหาร การจัดการโรงเรียนและ
สถานศึกษาใหม่ โดยจัดลําดับความรับผิดชอบของสถานศึกษา ดังนี้
1. โรงเรียนประถมศึกษาระดับหมู่บ้าน ให้เน้นการสอนนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 แต่ไม่ห้ามหากจะสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถ้าจําเป็นและเหมาะสม
2. โรงเรียนประถมศึกษาระดับตําบล ให้เน้นการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 แต่ไม่ห้ามหากจะสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถ้าจําเป็นและ เหมาะสม
3. โรงเรียนมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษา ให้เน้นการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
มากกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งโรงเรียนสามัญศึกษาส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในอําเภอ หรือจังหวัด หรือเมืองใหญ่ ๆ
4. วิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษา ให้เน้นการสอนวิชาชีพเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนที่เรียน
จบแล้วสามารถทํางานในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระได้อย่างมีคุณภาพ และสอดคล้องกับความ
ต้องการของสังคม ส่วนการเรียนที่ส่งเสริมการศึกษาต่อที่สูงขึ้น ให้สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคลทุกแห่งรับนักศึกษา
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยมุ่งให้การศึกษาเพื่อการพัฒนา วิชาช่างตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จนถึงระดับ ปริญญาตรี
จากแนวทางดังกล่าว ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา พฤษจิกายน 2539 - พฤษภาคม 2540 กระทรวงศึกษาธิการได้ดําเนินการจนมีผลงาน
ปรากฏเป็นรูปธรรม ดังนี้
1. โรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงเรียนในหมู่บ้าน จํานวนมากกว่า 25,000 โรง รับนักเรียนอายุ 3-5 ปี
เข้าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ สําหรับเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับประถมศึกษา ต่อไป
2. โรงเรียนขยายโอกาสซึ่งเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เดิมมีอยู่จํานวน 5,500 โรง
เพิ่มเป็น 8,000 โรง ทั้งนี้ เพื่อให้การขยายโอกาสทางการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ทุกตําบลทั่วประเทศ
3. เพื่อให้เยาวชนได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
มากขึ้น โรงเรียนมัธยมศึกษาจึงขยายปริมาณการรับนักเรียนแบบไม่จํากัดจํานวน ทั้งนี้ รวมทั้ง
วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้สนับสนุนให้โรงเรียนอาชีวศึกษาของเอกชนรับนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งในส่วนนี้ หากจําเป็นต้องใช้งบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการได้สนับสนุนเงินกองทุนกู้ยืมหรือกอง
ทุนเพื่อการศึกษาจ่ายคืนให้มากขึ้น ส่วนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทุกแห่งดําเนินการตามโครงการ
เกษตรเพื่อชีวิต เพื่อเน้นการปฏิบัติทางการเกษตร และเรียนวิชาชีพด้านเทคนิคและด้านบริการ
สําหรับเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไป เช่น งานช่า ง บัญชี เลขานุการ คหกรรม และการ
ท่องเที่ยว เป็นต้น
ด้านวิทยาลัยพลศึกษา ได้มีนโยบายที่จะรับนักเรียนที่มีศักยภาพ และต้องการเป็นนักกีฬาใน
อนาคต ตลอดจนพัฒนาและเพิ่มผลผลิตบุคลากรพลศึกษา เพื่อส่งเสริมการออกกําลังกายของ
ประชาชนให้มีพลานามัยที่แข็งแรง กรมพลศึกษามีเป้าหมายในการเพิ่ มการรับนักเรียนจากเดิมที่มี
นักเรียนเพียงประมาณ 10,000 คน ปัจจุบันมีกว่า 35,000 คน และมีเป้าหมายจะขยายถึง 50,000 คน
ในระยะเวลา 3 ปี และสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนจากครอบครัวด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจได้
เข้าเรียนด้วย
เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย และปลูกฝังสุนทรียภาพในอารมณ์และจิตใจของคนในชาติ วิทยาลัย
นาฏศิลป์ได้ขยายหลักสูตรเพื่อเพิ่มศักยภาพการสอนวิชาดนตรีสากล วิชาการแสดง ตลอดจน วิชาการจัดรายการ
และการตกแต่งสถานที่ นอกเหนือจากการสอนวิชานาฏศิลป์และดนตรีไทย
ส่วนวิทยาลัยช่างศิลป์ ได้ขยายสถานศึกษาและเพิ่มจํานวนนักเรียน เพื่อสืบสานและถ่ายทอด มรดก
ไทยในด้านช่างและศิลปวัฒนธรรมไทย
4. เปิดโอกาสให้เยาวชนพิการและด้อยโอกาสได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษ และ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์มากขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้นักเรียนพิการได้เรียนร่วมกับนักเรียนปกติมากยิ่งขึ้น
5. ในระดับอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งเป็นสถาบันผลิตช่างวิชาชีพด้าน เทคโนโลยี
ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และ ปริญญาตรี เปิดโอกาสให้ผู้ที่
มุ่งศึกษาต่อจากระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่งได้โดยอิสระนั้น มีนโยบายการ รับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้นเข้า
เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้มากกว่าเดิมถึง 3 เท่า
และให้พัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้อม ๆ กัน ส่วนสถาบันราชภัฏรับนักศึกษามากขึ้นกว่าเดิมอีกถึง 3 เท่า พร้อมกันนี้ สนับสนุนให้ทั้ง สองสถาบัน
รับนักศึกษาเพิ่มขึ้นให้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ ในการขยายจํานวนวิทยาเขตของสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล
จํานวนสถาบันราชภัฏและการขยายวิทยาเขตของราชภัฏนั้น ได้กําหนดวิธีการให้ ดําเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้ว
เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ทันการรับนักศึกษาใหม่ในปี 2540 ได้สร้าง อาคารกึ่งถาวรเพื่อรับนักศึกษาไว้ก่อน แล้วจึง
กําหนดการก่อสร้างเป็นอาคารถาวรภายหลัง ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะเข้ารับการศึกษาได้มีโอกาสศึกษาตาม
ความปรารถนาของตน
คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล มีนโยบายที่ต้องการให้สถาบันราชภัฏและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเป็นสถานศึกษา
ขั้นอุดมศึกษาที่จะบริการชุมชนในระดับจังหวัด และเมื่อบัณฑิตสําเร็จการศึกษาจะได้ทํางานและให้
บริการในท้องถิ่น ประกอบอาชีพอิสระตามความถนัดของแต่ละบุคคล ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องดิ้นรน
เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เป็นภาระของผู้ปกครอง
เพราะเป็นมหาวิทยาลัยสําหรับคนกําลังทํางาน และเปิดชั่วโมงเรียนน้อย หากเป็นนักศึกษาที่ไม่ได้
ทํางานจะมีเวลาว่างมาก การควบคุมความประพฤติทําได้ยาก เพราะสิ่งยั่วยุทางสังคมมีมาก
ทําให้เกิดปัญหาสังคม หากเยาวชนเหล่านี้เข้าศึกษาในสถาบันราชภัฏและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ จะ
ลดการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และเป็นการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ
ในภูมิภาคอีกทางหนึ่ง
6. การทําโรงเรียนหรือสถานศึกษาให้เป็นปัจจุบัน หมายถึงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนให้น่าอยู่
น่าเรียน มีอุปกรณ์ครบ เช่น
6.1 โรงเรียนจํานวน 30,000 โรงทั่วประเทศได้รับงบประมาณเป็นของตนเองเพื่อการ
ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนและบริเวณโรงเรียนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดการศึกษาของประเทศไทย
โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จํานวน 3,000 ล้านบาท ในการนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง
ชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น ร่วมพัฒนาโรงเรียนของตนให้เป็นปัจจุบัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 เท่าที่
รัฐได้จัดสรรงบประมาณให้
การที่ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยจิตสํานึกแสดงความเป็นเจ้าของสถานศึกษาดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจและมั่นใจในคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาน
ศึกษาในท้องถิ่น จึงนําบุตรหลานมาเข้า เรียน และให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดีกว่าที่ผ่านมาในอดีต
6.2 โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาประมาณ 20,000 โรง ได้รับการจัดสรร
งบประมาณให้มีห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อเน้นการสอน
วิชาพื้นฐานสําคัญให้แก่นักเรียน ห้องปฏิบัติการดังกล่าวนี้นับเป็นสิ่งจําเป็นยิ่งสําหรับการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งนักเรียนจะต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนทักษะและศักยภาพตามเป้าหมายของการอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538
6.3 โรงเรียนทุกโรงจัดให้มีน้ําดื่มน้ําใช้ที่สะอาดตลอดปี ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ บริเวณ
โรงเรียนมีความร่มรื่นสวยงาม เป็นแบบอย่างของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่นักเรียน ประชาชนใน
ชุมชนมีจิตสํานึกในการรักษาสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผ่านการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม
6.4 จัดให้มีศูนย์กีฬาระดับจังหวัดในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกจังหวัด รวมทั้งจัดอุปกรณ์การ
กีฬา จัดและปรับปรุงสนามกีฬาโรงเรียนให้เหมาะสมและเพียงพอ
6.5 พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้มีวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร และเทคโนโลยีที่เหมาะสมทันสมัย
ต่อการพัฒนาการเรียนของนักเรียน