ต้องยอมรับแหละว่าปัจจุบันโลกออนไลน์ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิตเราแบบสุด ๆ จะซื้อของ สั่งอาหารโอนเงิน เราสามารถจัดการหลายอย่างให้เสร็จภายในเวลาไม่กี่นาทีด้วยปลายนิ้ว และด้วยความสะดวกสบายนี้แหละที่โลกออนไลน์ก็กลายเป็นช่องทางให้กับเหล่ามิจฉาชีพสบโอกาสหลอกลวง ล่อหลอก ขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือที่เรียกว่า ‘โจรกรรมออนไลน์’ ตามช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น SMS, Email และ Social Media ต่าง ๆ ด้วยเหมือนกัน และกลโกงเหล่านี้ก็ได้พัฒนารูปแบบไปตามพฤติกรรมหลากหลายของคนเราซะด้วยสิ จากข่าวคราวคนที่ตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น ใช้รางวัลมาล่อหลอก เรื่องการลงทุนปันผล สถานการณ์โควิด หลอกจองวัคซีน ประกันฟรี หรือแม้แต่ความไว้เนื้อเชื่อใจจากการแชตสนทนาโดยใช้โปรไฟล์ปลอม เรียกว่าสารพัดรูปแบบที่จะหามาหลอกลวง ถ้าไม่รอบคอบถี่ถ้วนพิจารณาให้ดี ก็อาจตกไปเป็นเหยื่อโจรร้ายเหล่านี้กันได้ง่าย ๆ เลย การมี “สติ” รู้เท่าทัน ไม่หลงเชื่อกลโกงพวกนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
เราเลยขอยก 4 รูปแบบ ที่มักจะโดนมิจฉาชีพหลอกกันเยอะสุด พร้อมวิธีตรวจสอบและป้องกัน ง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อ สามารถช่วยป้องกันสตางค์ไม่ให้หายไป ดังนี้
1. มีสติ เมื่อเจอ SMS จากเบอร์แปลก ข้อความชวนให้หลงเชื่อ
ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือเหมือนเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของเราไปแล้ว โดยทุกสิ่งอย่างต่างก็ผูกกับเบอร์โทรศัพท์แทบทั้งนั้น ทั้งร้านอาหาร ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ช้อปออนไลน์ สั่งดิลิเวอรี่ จะด้วยความตั้งใจ หรือส่งแบบสุ่มของโจรก็ตาม SMS นี่แหละ ที่เป็นช่องทางที่ถึงตัวเจ้าของโทรศัพท์ง่ายมากที่สุด
ซึ่งรูปแบบของ SMS หลอกลวง ก็จะมาแนวที่ว่าคุณได้รับผลประโยชน์ รางวัล เช่น “คุณได้รับเงินกู้จำนวน xxxxx บาท”, “คุณได้รับสิทธิ์เติมเงินฟรี”, “คุณได้รับอนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” คำว่า ได้ ได้ และได้เหล่านี้ ต้องระวังให้ดี ใครเขาจะให้อะไรกันง่าย ๆ ถ้าได้รับข้อความเหล่านี้ อันดับแรกเลย ต้องมีสติ ฉุกคิด และตั้งคำถามว่า เราไปกู้เงินเมื่อไหร่? ที่ไหน? อย่างไร? ข้อความถูกส่งมาจากใคร? หลังจากนั้นก็ลองตรวจสอบดูว่าข้อความที่ได้รับนั้น มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
วิธีตรวจเช็ก SMS ปลอม/ไม่น่าเชื่อถือ
· ถ้าเป็น SMS ปลอม ข้อความหรือชื่อคนส่งมักจะสะกดผิด หรือตั้งชื่อให้มีความคลุมเครือ เช่น ส่งมาจากธนาคารไทยย ต้องฉุกคิดแล้วล่ะว่าประเทศเราไม่มีธนาคารชื่อนี้หรือทำไมชื่อธนาคารมี ย ยักษ์ 2 ตัว หรือส่งมาจาก คุณได้เงินช่วยเหลือจากรัฏบาน ซึ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เป็นทางการนั้น การใช้ภาษา ต้องใช้ภาษาที่สุภาพ เป็นทางการและสะกดถูกต้อง มีข้อมูลอ้างอิงสามารถนำไปตรวจสอบได้
· เนื้อหาที่ส่งมา ต้องไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เกินจริง หรือให้ส่งข้อมูลสำคัญผ่าน SMS เช่น ถ้าไม่กดลิงก์นี้บัญชีจะถูกอายัด หรือคุณได้รับรางวัลใหญ่ ให้ส่งเลขบัญชีและข้อมูลสำคัญกลับมา หรือให้ทำรายการตามขั้นตอน เพราะถ้าเป็นเรื่องสำคัญ มักมีการแจ้งผ่านบัญชีที่เป็นทางการของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ จะไม่ขอข้อมูลสำคัญผ่าน SMS แน่นอน
· สังเกตลิงก์ที่มาด้วยให้ดี หากเป็น URL แปลก ๆ ห้ามกดเด็ดขาด เช่น www.gooooogle.co.hh/dsdwewe34f เพราะ URL จริงมักจะใช้ชื่อหน่วยงานที่ถูกต้องเป็นทางการ ไม่มีตัวอักษรที่ไม่มีความหมายต่อท้ายยาว ๆ
2. มีสติ เมื่อเจออีเมลต้องสงสัย หัวข้อก็แปลก ผู้ส่งก็ประหลาด อย่ากด อย่ากรอกข้อมูลเด็ดขาด
นอกจากโทรศัพท์มือถือแล้ว อีเมลก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่โจรออนไลน์นิยมใช้ล่อลวงเช่นกัน ยิ่งเดี๋ยวนี้โจรรู้มาก ฉลาดเป็นกรด เห็นคนทำงานแบบ WFH กันเยอะ ทำหน้าตาเว็บไซต์หรือตั้งชื่อผู้ส่งอีเมลให้คล้ายคลึงเว็บไซต์ที่เป็นทางการด้วยซ้ำ ถ้ามองแบบเผิน ๆ หรืออ่านผ่าน ๆ ไม่ถี่ถ้วนหรือใช้ความรอบคอบมากพอ ก็อาจหลงเชื่อคิดว่าเป็นของจริง ทั้ง ๆ ที่เป็น Phishing mail มาหลอกดูดข้อมูลสำคัญ ทำให้โจรสามารถเข้ามาแฮกข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ของเราได้ เงินที่สะสมมาก็จะตกไปเป็นของโจรได้แบบหวานหมู ดังนั้นถ้าหากได้รับอีเมลที่ตั้งชื่อหัวข้อแปลก ๆ อย่างรายละเอียดโบนัสประจำปีนี้ หรือ ให้กดลิงก์เพื่ออัพเดทอัปเดตโปรแกรมก่อนใช้งานในคอมไม่ได้ หรือมีไฟล์แนบมาให้เปิดด้วย ต้องใช้ สติ! พิจารณาความน่าจะเป็นและตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสมอ
วิธีตรวจเช็ก อีเมลปลอม ถ้ามีความแปลกแค่เพียงเสี้ยวเดียว ฟันธงได้เลยว่า ปลอมชัวร์
· ชื่อผู้ส่ง ชื่อแปลก ชื่อสะกดผิด ชื่อที่ดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ เช่น www.yaahooo.com
· เนื้อหาเป็นเรื่องเร่งด่วน หลอกให้กรอกข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน รหัส OTP หรือกดลิงก์ทางอีเมล ตัวอย่างเนื้อหาที่มักหลอกลวงกัน เช่น กรอกยืนยันตัวตนก่อนบัญชีจะถูกอายัด, ลงทะเบียนเพื่อรับรางวัลใหญ่ หรือสิทธิพิเศษ
· ไฟล์เอกสารแนบ มีชื่อไฟล์น่าสงสัย และสกุลไฟล์แปลก ๆ
3. มีสติเมื่อใช้ โซเชียลมีเดีย ภัยใกล้ตัวที่เผลอไว้ใจ
คนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ข้อดีแน่ ๆ คือการย่นระยะทางในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ๆ เพิ่มช่องทางซื้อขายสินค้ากับพ่อค้า-แม่ค้า ไม่ว่าจะเป็น Direct Message, Messenger หรือ LINE ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทุกวันนี้ ล้วนเป็นช่องทางให้โจรออนไลน์เข้ามาแฝงตัวคุย ตีสนิทเราได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ยิ่งถ้าเราลงข้อมูลส่วนตัวไว้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้โจรสบโอกาสที่จะหลอกลวงเรามากเท่านั้น เช่น ใช้วิธีอ้างอิงถึงบุคคลที่เรารู้จักบ้าง อ้างอิงถึงหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อหลอกให้เราเชื่อใจ โอนเงินหรือหลอกขโมยข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นการใช้โซเชียลมีเดียจึงต้องใช้ความระมัดระวังด้วย จะโพสต์หรือแชร์ข้อมูลใด ๆ ควรคิดให้ดี ๆ ก่อน และอย่าไว้ใจให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลสำคัญผ่านทางโซเชียลมีเดียจะดีที่สุด เช่น รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรเครดิต เลข CVV หลังบัตร รหัส OTP ยืนยันตัวตน เป็นต้น
วิธีตรวจเช็กภัยจากโซเชียล
· ตรวจสอบ Profile ให้ดีว่าคนที่แชตมาเป็นคนที่รู้จักหรือเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบได้หรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการคุยกับคนที่ไม่รู้จัก หรือลองกดเข้าไปดูประวัติในโซเชียลมีเดียของเขาว่ามีตัวตน ไม่ใช่เป็นแค่รูปโปรไฟล์ ไม่กี่รูปซ้ำไปมา
· ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวสำคัญเด็ดขาด เช่น หมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน อย่าง เลขบัตรเครดิต บัตรเดบิต เลข CVV หลังบัตร เลขบัญชีธนาคาร รหัส OTP ยืนยันตัวตน เป็นต้น
· ถ้าพบความน่าสงสัย หรือไม่แน่ใจควรตรวจสอบข้อมูลจากช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์ถาม เสิร์ชข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เดี๋ยวนี้มีการแชร์ข้อมูลของมิจฉาชีพผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อเตือนภัย สามารถลองเอาชื่อ นามสกุล เบอร์โทร หรือเลขบัญชีที่ให้โอนเงินตรวจสอบผ่านอินเทอร์เน็ตดูก่อนได้
4. มีสติ เมื่อเจอแก๊ง Call Center ปลอม สุ่มโทรหาเพื่อหลอกให้ (เหยื่อ) โอนเงิน
วิธีการนี้อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน กับการสุ่มเบอร์โทรศัพท์เพื่อโทรหาเหยื่อที่รู้ไม่เท่าทัน วิธีการก็อาจจะมีปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนากลวิธี ด้วยการใช้ข้อความอัตโนมัติเพื่อสร้างความตื่นเต้น หรือตกใจให้กับเหยื่อ บางครั้งก็เหนือชั้นไป ด้วยการแอบอ้างการเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อหลอกให้เหยื่อที่ไม่รู้เท่าทัน โลภ หรือกลัวความผิด รีบไปทำรายการที่ตู้ ATM โดยอ้างว่าเพื่อเคลียร์หนี้ที่ติดค้างอยู่ หรือโอนเงินก้อนเล็กเพื่อแลกรับกับเงินก้อนใหญ่ โดยโจรมักจะให้ใช้เมนูภาษาอังกฤษ เพื่อป้องกันเหยื่อรู้ตัว ซึ่งเหตุผลที่โจรมักใช้มาหลอกล่อเหยื่อ มีดังนี้
· บัญชีเงินฝาก / บัตรเครดิตถูกอายัด / โอนเงินผิด ต้องทำธุรกรรมตามที่แก๊ง Call Center แจ้งเพื่อแก้ไข ซึ่งถ้าเป็นกรณีแบบนี้จริงแนะนำให้ไปที่สาขา หรือเช็กข้อมูลผู้ติดต่อมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
· บัญชีเงินฝากพัวพันกับการฟอกเงินหรือเรื่องผิดกฎหมาย ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญส่วนตัวทั้งหมดเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ ควรไปแจ้งความที่สถานีตำรวจจะไม่มีการให้เจ้าหน้าที่โทรติดต่อมาขอข้อมูลสำคัญโดยไม่มีหลักฐานแน่นอน
· ได้รับเงินคืนภาษี / โชคดีได้รับรางวัลใหญ่ ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อรับเงินโอนเข้าบัญชี โดยปกติหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีมักมีข้อมูลของเราอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องติดต่อมาขอข้อมูลซ้ำ หรือการได้รับรางวัล ต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มา ต้นทาง ที่น่าเชื่อถือได้จริง
ถึงเราจะพยายามระมัดระวังอย่างไร แต่โจรก็ยังเป็นโจรอยู่วันยังค่ำ พวกมิจฉาชีพเหล่านี้ยังคงต้องหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อหลอกล่อเหยื่ออยู่เสมอ ดังนั้น เราต้องมีสติคิดไว้ตลอดว่า เราก็ยังมีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพได้เหมือนกัน และถ้าใครเกิดโชคร้ายตกเป็นเหยื่อ แนะนำให้รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แจ้งไปยังหน่วยงานราชการ หรือธนาคารที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากแคมเปญสติ โดยธนาคารกสิกรไทย มาร่วมกัน #ใช้สติป้องกันสตางค์ เพื่อรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ และโจรออนไลน์หลากหลายรูปแบบในปัจจุบันกันนะ
รายละเอียดแคมเปญสติเพิ่มเติม คลิก
https://kbank.co/3DvsitI
และผ่านคลิปดี ๆ เตือนให้มีสติ กดไปดูกันเลย
[Advertorial]
[BR] ตั้งสติ ก่อนตกเป็นเหยื่อ !! โจรออนไลน์
เราเลยขอยก 4 รูปแบบ ที่มักจะโดนมิจฉาชีพหลอกกันเยอะสุด พร้อมวิธีตรวจสอบและป้องกัน ง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อ สามารถช่วยป้องกันสตางค์ไม่ให้หายไป ดังนี้
1. มีสติ เมื่อเจอ SMS จากเบอร์แปลก ข้อความชวนให้หลงเชื่อ
ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือเหมือนเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของเราไปแล้ว โดยทุกสิ่งอย่างต่างก็ผูกกับเบอร์โทรศัพท์แทบทั้งนั้น ทั้งร้านอาหาร ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ช้อปออนไลน์ สั่งดิลิเวอรี่ จะด้วยความตั้งใจ หรือส่งแบบสุ่มของโจรก็ตาม SMS นี่แหละ ที่เป็นช่องทางที่ถึงตัวเจ้าของโทรศัพท์ง่ายมากที่สุด
ซึ่งรูปแบบของ SMS หลอกลวง ก็จะมาแนวที่ว่าคุณได้รับผลประโยชน์ รางวัล เช่น “คุณได้รับเงินกู้จำนวน xxxxx บาท”, “คุณได้รับสิทธิ์เติมเงินฟรี”, “คุณได้รับอนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” คำว่า ได้ ได้ และได้เหล่านี้ ต้องระวังให้ดี ใครเขาจะให้อะไรกันง่าย ๆ ถ้าได้รับข้อความเหล่านี้ อันดับแรกเลย ต้องมีสติ ฉุกคิด และตั้งคำถามว่า เราไปกู้เงินเมื่อไหร่? ที่ไหน? อย่างไร? ข้อความถูกส่งมาจากใคร? หลังจากนั้นก็ลองตรวจสอบดูว่าข้อความที่ได้รับนั้น มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
วิธีตรวจเช็ก SMS ปลอม/ไม่น่าเชื่อถือ
· ถ้าเป็น SMS ปลอม ข้อความหรือชื่อคนส่งมักจะสะกดผิด หรือตั้งชื่อให้มีความคลุมเครือ เช่น ส่งมาจากธนาคารไทยย ต้องฉุกคิดแล้วล่ะว่าประเทศเราไม่มีธนาคารชื่อนี้หรือทำไมชื่อธนาคารมี ย ยักษ์ 2 ตัว หรือส่งมาจาก คุณได้เงินช่วยเหลือจากรัฏบาน ซึ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เป็นทางการนั้น การใช้ภาษา ต้องใช้ภาษาที่สุภาพ เป็นทางการและสะกดถูกต้อง มีข้อมูลอ้างอิงสามารถนำไปตรวจสอบได้
· เนื้อหาที่ส่งมา ต้องไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เกินจริง หรือให้ส่งข้อมูลสำคัญผ่าน SMS เช่น ถ้าไม่กดลิงก์นี้บัญชีจะถูกอายัด หรือคุณได้รับรางวัลใหญ่ ให้ส่งเลขบัญชีและข้อมูลสำคัญกลับมา หรือให้ทำรายการตามขั้นตอน เพราะถ้าเป็นเรื่องสำคัญ มักมีการแจ้งผ่านบัญชีที่เป็นทางการของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ จะไม่ขอข้อมูลสำคัญผ่าน SMS แน่นอน
· สังเกตลิงก์ที่มาด้วยให้ดี หากเป็น URL แปลก ๆ ห้ามกดเด็ดขาด เช่น www.gooooogle.co.hh/dsdwewe34f เพราะ URL จริงมักจะใช้ชื่อหน่วยงานที่ถูกต้องเป็นทางการ ไม่มีตัวอักษรที่ไม่มีความหมายต่อท้ายยาว ๆ
2. มีสติ เมื่อเจออีเมลต้องสงสัย หัวข้อก็แปลก ผู้ส่งก็ประหลาด อย่ากด อย่ากรอกข้อมูลเด็ดขาด
นอกจากโทรศัพท์มือถือแล้ว อีเมลก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่โจรออนไลน์นิยมใช้ล่อลวงเช่นกัน ยิ่งเดี๋ยวนี้โจรรู้มาก ฉลาดเป็นกรด เห็นคนทำงานแบบ WFH กันเยอะ ทำหน้าตาเว็บไซต์หรือตั้งชื่อผู้ส่งอีเมลให้คล้ายคลึงเว็บไซต์ที่เป็นทางการด้วยซ้ำ ถ้ามองแบบเผิน ๆ หรืออ่านผ่าน ๆ ไม่ถี่ถ้วนหรือใช้ความรอบคอบมากพอ ก็อาจหลงเชื่อคิดว่าเป็นของจริง ทั้ง ๆ ที่เป็น Phishing mail มาหลอกดูดข้อมูลสำคัญ ทำให้โจรสามารถเข้ามาแฮกข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ของเราได้ เงินที่สะสมมาก็จะตกไปเป็นของโจรได้แบบหวานหมู ดังนั้นถ้าหากได้รับอีเมลที่ตั้งชื่อหัวข้อแปลก ๆ อย่างรายละเอียดโบนัสประจำปีนี้ หรือ ให้กดลิงก์เพื่ออัพเดทอัปเดตโปรแกรมก่อนใช้งานในคอมไม่ได้ หรือมีไฟล์แนบมาให้เปิดด้วย ต้องใช้ สติ! พิจารณาความน่าจะเป็นและตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสมอ
วิธีตรวจเช็ก อีเมลปลอม ถ้ามีความแปลกแค่เพียงเสี้ยวเดียว ฟันธงได้เลยว่า ปลอมชัวร์
· ชื่อผู้ส่ง ชื่อแปลก ชื่อสะกดผิด ชื่อที่ดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ เช่น www.yaahooo.com
· เนื้อหาเป็นเรื่องเร่งด่วน หลอกให้กรอกข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน รหัส OTP หรือกดลิงก์ทางอีเมล ตัวอย่างเนื้อหาที่มักหลอกลวงกัน เช่น กรอกยืนยันตัวตนก่อนบัญชีจะถูกอายัด, ลงทะเบียนเพื่อรับรางวัลใหญ่ หรือสิทธิพิเศษ
· ไฟล์เอกสารแนบ มีชื่อไฟล์น่าสงสัย และสกุลไฟล์แปลก ๆ
3. มีสติเมื่อใช้ โซเชียลมีเดีย ภัยใกล้ตัวที่เผลอไว้ใจ
คนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ข้อดีแน่ ๆ คือการย่นระยะทางในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ๆ เพิ่มช่องทางซื้อขายสินค้ากับพ่อค้า-แม่ค้า ไม่ว่าจะเป็น Direct Message, Messenger หรือ LINE ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทุกวันนี้ ล้วนเป็นช่องทางให้โจรออนไลน์เข้ามาแฝงตัวคุย ตีสนิทเราได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ยิ่งถ้าเราลงข้อมูลส่วนตัวไว้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้โจรสบโอกาสที่จะหลอกลวงเรามากเท่านั้น เช่น ใช้วิธีอ้างอิงถึงบุคคลที่เรารู้จักบ้าง อ้างอิงถึงหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อหลอกให้เราเชื่อใจ โอนเงินหรือหลอกขโมยข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นการใช้โซเชียลมีเดียจึงต้องใช้ความระมัดระวังด้วย จะโพสต์หรือแชร์ข้อมูลใด ๆ ควรคิดให้ดี ๆ ก่อน และอย่าไว้ใจให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลสำคัญผ่านทางโซเชียลมีเดียจะดีที่สุด เช่น รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรเครดิต เลข CVV หลังบัตร รหัส OTP ยืนยันตัวตน เป็นต้น
วิธีตรวจเช็กภัยจากโซเชียล
· ตรวจสอบ Profile ให้ดีว่าคนที่แชตมาเป็นคนที่รู้จักหรือเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบได้หรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการคุยกับคนที่ไม่รู้จัก หรือลองกดเข้าไปดูประวัติในโซเชียลมีเดียของเขาว่ามีตัวตน ไม่ใช่เป็นแค่รูปโปรไฟล์ ไม่กี่รูปซ้ำไปมา
· ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวสำคัญเด็ดขาด เช่น หมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน อย่าง เลขบัตรเครดิต บัตรเดบิต เลข CVV หลังบัตร เลขบัญชีธนาคาร รหัส OTP ยืนยันตัวตน เป็นต้น
· ถ้าพบความน่าสงสัย หรือไม่แน่ใจควรตรวจสอบข้อมูลจากช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์ถาม เสิร์ชข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เดี๋ยวนี้มีการแชร์ข้อมูลของมิจฉาชีพผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อเตือนภัย สามารถลองเอาชื่อ นามสกุล เบอร์โทร หรือเลขบัญชีที่ให้โอนเงินตรวจสอบผ่านอินเทอร์เน็ตดูก่อนได้
4. มีสติ เมื่อเจอแก๊ง Call Center ปลอม สุ่มโทรหาเพื่อหลอกให้ (เหยื่อ) โอนเงิน
วิธีการนี้อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน กับการสุ่มเบอร์โทรศัพท์เพื่อโทรหาเหยื่อที่รู้ไม่เท่าทัน วิธีการก็อาจจะมีปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนากลวิธี ด้วยการใช้ข้อความอัตโนมัติเพื่อสร้างความตื่นเต้น หรือตกใจให้กับเหยื่อ บางครั้งก็เหนือชั้นไป ด้วยการแอบอ้างการเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อหลอกให้เหยื่อที่ไม่รู้เท่าทัน โลภ หรือกลัวความผิด รีบไปทำรายการที่ตู้ ATM โดยอ้างว่าเพื่อเคลียร์หนี้ที่ติดค้างอยู่ หรือโอนเงินก้อนเล็กเพื่อแลกรับกับเงินก้อนใหญ่ โดยโจรมักจะให้ใช้เมนูภาษาอังกฤษ เพื่อป้องกันเหยื่อรู้ตัว ซึ่งเหตุผลที่โจรมักใช้มาหลอกล่อเหยื่อ มีดังนี้
· บัญชีเงินฝาก / บัตรเครดิตถูกอายัด / โอนเงินผิด ต้องทำธุรกรรมตามที่แก๊ง Call Center แจ้งเพื่อแก้ไข ซึ่งถ้าเป็นกรณีแบบนี้จริงแนะนำให้ไปที่สาขา หรือเช็กข้อมูลผู้ติดต่อมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
· บัญชีเงินฝากพัวพันกับการฟอกเงินหรือเรื่องผิดกฎหมาย ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญส่วนตัวทั้งหมดเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ ควรไปแจ้งความที่สถานีตำรวจจะไม่มีการให้เจ้าหน้าที่โทรติดต่อมาขอข้อมูลสำคัญโดยไม่มีหลักฐานแน่นอน
· ได้รับเงินคืนภาษี / โชคดีได้รับรางวัลใหญ่ ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อรับเงินโอนเข้าบัญชี โดยปกติหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีมักมีข้อมูลของเราอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องติดต่อมาขอข้อมูลซ้ำ หรือการได้รับรางวัล ต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มา ต้นทาง ที่น่าเชื่อถือได้จริง
ถึงเราจะพยายามระมัดระวังอย่างไร แต่โจรก็ยังเป็นโจรอยู่วันยังค่ำ พวกมิจฉาชีพเหล่านี้ยังคงต้องหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อหลอกล่อเหยื่ออยู่เสมอ ดังนั้น เราต้องมีสติคิดไว้ตลอดว่า เราก็ยังมีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพได้เหมือนกัน และถ้าใครเกิดโชคร้ายตกเป็นเหยื่อ แนะนำให้รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แจ้งไปยังหน่วยงานราชการ หรือธนาคารที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากแคมเปญสติ โดยธนาคารกสิกรไทย มาร่วมกัน #ใช้สติป้องกันสตางค์ เพื่อรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ และโจรออนไลน์หลากหลายรูปแบบในปัจจุบันกันนะ
รายละเอียดแคมเปญสติเพิ่มเติม คลิก https://kbank.co/3DvsitI
และผ่านคลิปดี ๆ เตือนให้มีสติ กดไปดูกันเลย
[Advertorial]
BR - Business Review : กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวจากผู้สนับสนุน