คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
มันมีลำดับขั้นตอนครับ
พระพุทธเจ้าท่านสอนเป็นลำดับ ค่อยๆขัดกิเลส ตอนแรกๆใครๆทำอะไร ก็ต้องหวังผลทางนั้น ท่านเลยสอนอนุปุพพิกกถา 5 ก่อน สำหรับ ปุถุชน คือ
1. ทาน และอานิสงส์(ผล)ที่ได้จากการทำทาน
2. ศีล และอานิสงส์(ผล)ที่ได้จากการรักษาศีล
จะเห็นว่าท่านสอนให้หวังผลก่อนนะครับ
ถ้าเห็นว่าเข้าใจดีแล้วท่านจึงสอนต่อ
3. สัคะกถา (สวรรค์)
สองข้อแรกเป็นเรื่องของผลที่ได้ในชาตินี้ ส่วนข้อ 3 พูดถึง นรก-สวรรค์ คือผลที่ได้ในชาติหน้า
ถึงตรงนี้พวกที่มีความคิดว่าฉันฉลาด ฉันเป็นคนรุ่นใหม่เรียนมาสูง ไม่เชื่อนรก-สวรรค์ก็จะเริ่มด่า เริ่มมาม่าไม่ฟังต่อ ดูถูกว่าคนเชื่อโง่งมงาย และก็ด่าพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ต่างๆนานาครับ
สังเกตุได้ชัดว่าท่านสอนให้ทำบุญเพื่อหวังผล ทั้งในปัจจุบันและชาติหน้านะครับ อยู่ๆจะให้คนทำบุญแล้วไม่หวังผลเป็นไปไม่ได้ครับ
หลังจากสอนนรก-สวรรค์ เวียนว่ายตายเกิด ท่านก็จะสอนต่อ
4. กามาทีนะวะ (กามน่ารังเกียจ)
สอนให้เห็นว่าถึงทำบุญ ได้ขึ้นสวรรค์เมื่อหมดบุญ ก็ต้องมาเกิดอีกให้เหนื่อยเพื่อทำบุญใหม่ แต่ก็เสี่ยงที่จะทำบาป ให้ตกนรกได้อีก ตราบใดที่ยังเสพกามพอใจในกาม(หมายถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่น่าพอใจ ไม่ใช่เรื่องเพศนะครับ)
ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด สุขบ้างทุกข์บ้าง เสี่ยงกับนรกอยู่ตลอด
ตอนนี้หลายคนที่มีปัญญาก็จะเริ่มเห็นภัยอันตรายในการเวียนว่ายตายเกิด เพราะไม่รู้ว่าจะทำบาปให้ตัวเองตกนรกเมื่อไหร่
ก็จะเริ่มคิดว่างั้นทำยังไงให้เป็นอมตะ ไม่ต้องเกิดอีก หรือได้อยู่ในสวรรค์ตลอด
เมื่อท่านเห็นว่าผู้ฟังมีความคิดเช่นนี้แล้วท่านก็จะสอนต่อข้อสุดท้าย
5. เนกขัมมะ (ออกจากกาม)
คือสอนว่า ถ้ายังติดใจในรสของกามยังไงก็ไม่มีทางออกจากวงเวียนนี้ได้เหมือนคนติดยา ดังนั้นถ้าอยากออกจากวงเวียนนี้ อยากเป็นอมตะ ไม่เกิดไม่ตาย ก็ต้องเลิกยา(กาม)ให้ได้ก่อน
แต่อยู่ๆให้หักดิบเลิกเลย ก็ไม่ได้ง่ายๆครับ ท่านจึงสอนวิธี สมถะ-วิปัสสนา ใช้สมาธิกรรมฐาน ช่วยฝึกบำบัดให้เลิกยา(กาม)ได้
พอเข้าใจตรงนี้ การทำบุญของคนที่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็จะไม่หวังผลในการทำบุญ เพราะทราบว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่ตัวเองทำเป็นไปเพื่อออกจากกาม ไม่ว่าทำอะไรก็มีจุดหมายเดียวคือออกจากกาม ทำเป็นปกติ เป็นธรรมชาติครับ
เมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว มีความตั้งใจที่จะออกจากกาม ที่จะออกจากการเวียนว่ายตายเกิด มีจิตสะอาดแล้ว ไม่ติดยา ไม่กินแต่หญ้า หันมากินข้าว ท่านจึงสอน อริยสัจ ต่อไปเพื่อให้บรรลุธรรม
สรุปก็คือ การทำบุญหวังผล ก็เป็นเรื่องปกติครับ แต่ก็จะติดอยู่แค่ข้อ 3 ไปไม่จบถึงข้อ 5
พระพุทธเจ้าท่านสอนเป็นลำดับ ค่อยๆขัดกิเลส ตอนแรกๆใครๆทำอะไร ก็ต้องหวังผลทางนั้น ท่านเลยสอนอนุปุพพิกกถา 5 ก่อน สำหรับ ปุถุชน คือ
1. ทาน และอานิสงส์(ผล)ที่ได้จากการทำทาน
2. ศีล และอานิสงส์(ผล)ที่ได้จากการรักษาศีล
จะเห็นว่าท่านสอนให้หวังผลก่อนนะครับ
ถ้าเห็นว่าเข้าใจดีแล้วท่านจึงสอนต่อ
3. สัคะกถา (สวรรค์)
สองข้อแรกเป็นเรื่องของผลที่ได้ในชาตินี้ ส่วนข้อ 3 พูดถึง นรก-สวรรค์ คือผลที่ได้ในชาติหน้า
ถึงตรงนี้พวกที่มีความคิดว่าฉันฉลาด ฉันเป็นคนรุ่นใหม่เรียนมาสูง ไม่เชื่อนรก-สวรรค์ก็จะเริ่มด่า เริ่มมาม่าไม่ฟังต่อ ดูถูกว่าคนเชื่อโง่งมงาย และก็ด่าพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ต่างๆนานาครับ
สังเกตุได้ชัดว่าท่านสอนให้ทำบุญเพื่อหวังผล ทั้งในปัจจุบันและชาติหน้านะครับ อยู่ๆจะให้คนทำบุญแล้วไม่หวังผลเป็นไปไม่ได้ครับ
หลังจากสอนนรก-สวรรค์ เวียนว่ายตายเกิด ท่านก็จะสอนต่อ
4. กามาทีนะวะ (กามน่ารังเกียจ)
สอนให้เห็นว่าถึงทำบุญ ได้ขึ้นสวรรค์เมื่อหมดบุญ ก็ต้องมาเกิดอีกให้เหนื่อยเพื่อทำบุญใหม่ แต่ก็เสี่ยงที่จะทำบาป ให้ตกนรกได้อีก ตราบใดที่ยังเสพกามพอใจในกาม(หมายถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่น่าพอใจ ไม่ใช่เรื่องเพศนะครับ)
ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด สุขบ้างทุกข์บ้าง เสี่ยงกับนรกอยู่ตลอด
ตอนนี้หลายคนที่มีปัญญาก็จะเริ่มเห็นภัยอันตรายในการเวียนว่ายตายเกิด เพราะไม่รู้ว่าจะทำบาปให้ตัวเองตกนรกเมื่อไหร่
ก็จะเริ่มคิดว่างั้นทำยังไงให้เป็นอมตะ ไม่ต้องเกิดอีก หรือได้อยู่ในสวรรค์ตลอด
เมื่อท่านเห็นว่าผู้ฟังมีความคิดเช่นนี้แล้วท่านก็จะสอนต่อข้อสุดท้าย
5. เนกขัมมะ (ออกจากกาม)
คือสอนว่า ถ้ายังติดใจในรสของกามยังไงก็ไม่มีทางออกจากวงเวียนนี้ได้เหมือนคนติดยา ดังนั้นถ้าอยากออกจากวงเวียนนี้ อยากเป็นอมตะ ไม่เกิดไม่ตาย ก็ต้องเลิกยา(กาม)ให้ได้ก่อน
แต่อยู่ๆให้หักดิบเลิกเลย ก็ไม่ได้ง่ายๆครับ ท่านจึงสอนวิธี สมถะ-วิปัสสนา ใช้สมาธิกรรมฐาน ช่วยฝึกบำบัดให้เลิกยา(กาม)ได้
พอเข้าใจตรงนี้ การทำบุญของคนที่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็จะไม่หวังผลในการทำบุญ เพราะทราบว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่ตัวเองทำเป็นไปเพื่อออกจากกาม ไม่ว่าทำอะไรก็มีจุดหมายเดียวคือออกจากกาม ทำเป็นปกติ เป็นธรรมชาติครับ
เมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว มีความตั้งใจที่จะออกจากกาม ที่จะออกจากการเวียนว่ายตายเกิด มีจิตสะอาดแล้ว ไม่ติดยา ไม่กินแต่หญ้า หันมากินข้าว ท่านจึงสอน อริยสัจ ต่อไปเพื่อให้บรรลุธรรม
สรุปก็คือ การทำบุญหวังผล ก็เป็นเรื่องปกติครับ แต่ก็จะติดอยู่แค่ข้อ 3 ไปไม่จบถึงข้อ 5
แสดงความคิดเห็น
ทำบุญหวังผล จะได้บุญไหม ??
คำถามคือมันมีด้วยหรอคนที่ไม่หวังผล
อ่ะๆ ถ้าหวังในทางลบ เช่นทำบุญหวังเอาหน้าหรือทำเพื่อหวังให้ได้ เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ทำเพื่อขอให้อะไร ในทางไม่ดีพอเข้าใจนะคะ
แต่ถ้าเราหวังเหมือนกันแต่หวังในทางให้ผู้อื่น
เช่น ยกตัวอย่างเรา ทุกวันนี้เราตั้งใจไว้ไม่ว่าจะสวดมนต์ ถือศีล ภาวนา ทำทานหรืออะไรต่างๆ เราตั้งมั่นว่าจะสร้างบุญเยอะๆ เพื่อหวังจะอุทิศให้วิบากกรรมทั้งหลาย ชดใช้นี้กรรมให้จบในชาตินี้ ทั้งของเราและของแฟน (ที่นอนติดเตียง)
เราสวดบทธรรมจักรเช้าเย็นด้วย จากที่หาข้อมูลฟังจากคลิปพระเกจิหลายๆท่านบอก ว่าอนิสงส์แรง เพราะเป็นบท บลาๆ (อันนี้ เข้าใจเพราะดูหนังพระพุทธเจ้าศาสดาโลกจบไปพอดี)ไม่ใช่แค่เจ้ากรรมนายเวร วิญญานทั่วไปก็ได้ด้วย เราเลยคิดว่า ถ้าคนอื่นได้อนุโมทนาบุญด้วยก็จะเป็นกุศลเพิ่ม
ทุกครั้งที่ทำจบวันต่อวันตอนเราอุทิศ เราจะบอกเจ้ากรรมเสมอ ช่วงที่อุทิศก็พูดแค่ว่า “กุศลที่ได้ทำขออุทิศให้ท่าน โปรดอนุโมทนาบุญรับ เมื่อได้รับแล้วขอท่านโปรดอโหสิกรรมต่อกันให้เป็นอภัยทาน” เราไม่พูดมากไปกว่านี้ เพราะไม่รู้ว่าเราไปทำร้ายความรู้สึกเขาไว้ขนาดไหน เราเลยก้มหน้ายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น และตั้งใจจะสร้างกรรมดี อุทิศให้เขาไปเรื่อยๆ เท่าที่ตัวเองจะทำได้
อันไหนดีเราทำหมด นี่ว่าจะเริ่มงดทานเนื้อสัตว์ทุกวันพระอยู่ค่ะ
อ้อแล้วก็อธิษฐานขอให้แฟนแข็งแรง ให้มีสติอะไรประมาณนั้น
ประเด็นคือสิ่งที่เราทำถือว่าหวังผลมากไปรึเปล่า หรือมันจะทำให้บุญน้อยไปไหม ที่สำคัญไม่รู้ด้วยว่าได้รับหรือเปล่า เราเองก็ไม่เห็น ไม่มีสัมผัสอะไร
หมาหอนบ้าง แต่ก็นะเดือน 11 มันคงหาคู่ บางทีขนลุกมั้งแต่ก็คิดว่า คงมโนไปเองไรบ้าง
ที่แน่ๆรู้ว่าตัวเอง ตั้งแต่ทำมา ใจปลอดโปร่งดีค่ะ ไม่วอกแวก มีสมาธิดีขึ้น ใจจดจ่อมากขึ้น
ที่สำคัญอันนี้ไม่รู้เกี่ยวไหม ถูกหวยติดกัน 2 งวด จำนวนพอสมควร ถ้าเทียบจากสถิติเมื่อก่อน ถูก 3 ตัวหน้าบ้าง ตัวตรงบ้าง เลขพวกนี้ไม่ได้ ซื้อเพราะฝันนะคะ
เป็นเลข ที่เห็นจากไหนไม่รู้มาก็ซื้อตามๆเค้า
เดาเลขไม่เป็นค่ะ
ซึ่งอันนี้ก็งง หรือเค้าหายโกรธเราแล้วเลยให้โชคแทน ไม่น่าใช่มั้งคะ