สมัยเด็กๆ จำได้ว่า ทุกๆวันพระ แม่จะทำกับข้าวให้ไปใส่บาตร กัน ก็สงสัยตามประสาเด็กว่า ทำไมต้องวันพระ
ได้เห็นในเพจท่าน ได้ขยายความ ว่าแม้ทำอุทิศแล้ว ท่านผู้ล่วงลับจึงไม่ได้ทำไม ทำไม ทำไม
ได้อ่านแล้วก็เข้าใจน่าสนใจดี เลยอยากจะนำมาแบ่งปันครับ
ขอบคุณที่มา FB : Johannesburg Meditation Centre (peaceforafrica)
...................................................................................................................
เปิดตำรับตำรา ”ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว” ตามหลักวิชชาของผู้รู้ที่สมบูรณ์ในพระพุทธศาสนา (สัพพัญญูพุทธเจ้า) เริ่มจากความรู้ที่ต้องทราบเบื้องต้นดังนี้ คือ :
1.ไม่สวดอ้อนวอนให้ไปดี หรือสาปแช่งให้ผู้ตายไปไม่ดี
2. ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้
2.1 วิธีอุทิศบุญให้ถึงแก่ผู้ตาย
นอกจากนี้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถายังแสดงว่า ทักษิณา คือผลบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศให้ย่อมสำเร็จผลให้เป็นสมบัติมีอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นแก่ผู้ล่วงลับในขณะนั้นได้ ก็ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล เช่น พระภิกษุ สามเณร ผู้มีศีลบริสุทธิ์
2. ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย
3. ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย
ปัจจัย 3 ข้อที่ควรคำนึงของผู้ตาย
1.จากข้อความข้างต้นนี้ มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ว่า ถ้าผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาหรือศึกษาผิวเผิน เมื่อละโลกไปแล้ว แม้มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ตนอนุโมทนาบุญไม่เป็นก็ย่อมไม่ได้รับส่วนบุญเท่าที่ควร
2.กรณีลูกหลานทะเลาะกันเรื่องแบ่งสมบัติ ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันอยู่ทั่วไป พ่อแม่จวนตาย ลูกหลานแย่งสมบัติกัน บางทีฆ่ากันตายก่อนพ่อแม่ก็มี ตนเองก็ต้องมาทุกข์ใจก่อนตาย เพราะสมบัติของตนเป็นเหตุ เมื่อตายไป จึงไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้เลยเพราะสมัยตนเองมีชีวิตมิได้คบหากับบัณฑิตทางธรรมและไม่เคยทำแบบอย่างเช่นนี้ไว้ให้ลูกหลานได้เห็น
3.ข้อสุดท้าย แม้บุตรธิดาทำบุญอุทิศให้ แต่ทำไม่ถูกเนื้อนาบุญ [10] เช่น ทำบุญกับผู้ทุศีล มีความเห็นผิด ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม นรกสวรรค์เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะสมัยที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย ไม่เข้าหาพระภิกษุสามเณรผู้รู้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถชี้แจงโลกนี้โลกหน้าได้กระจ่างชัด เมื่อถึงคราวต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย จึงทำไม่ถูกวิธีเช่นกัน
2.2 วันและสถานที่ที่ควรทำบุญให้เป็นพิเศษ
วันสำคัญดังกล่าวได้แก่ วันพระ, วันครบรอบวันตาย 7 วัน, 50 วัน, 100 วัน, การทำบุญในสถานที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้
2.2.1. วันพระ เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก 1 วันโลกมนุษย์ สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่ ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้
ดังนั้น ญาติหรือมิตรสหายที่อยู่ในโลกนี้ จึงควรสละเวลามาทำบุญในวันพระให้กับผู้มีอุปการคุณของตนเอง เพื่อเป็นแบบแผนที่ดีงามให้กับอนุชนรุ่นหลังโดยเฉพาะบุตรธิดาของตน เพราะเมื่อถึงคราวตนเองละโลกนี้ไปแล้วบุตรธิดาก็จะได้ทำบุญอุทิศให้บ้าง หากเราไม่ทำเป็นแบบอย่างไว้ เมื่อเราล่วงลับไปแล้วก็จะไม่มีบุญให้ได้รับความสุขให้ภพหน้าและไม่มีใครอุทิศส่วนบุญให้ด้วย
2.2.2. วันครบรอบวันตาย 7 วัน ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ 7 วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ และเจ้าหน้าที่ยมโลก (กุมภัณฑ์) กำลังผลัดเปลี่ยนเวรกัน ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่ซึ่งจะพาตัวไปยมโลกนรก หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือหากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่ดี ๆ โดยไม่ต้องไปยมโลกนรก อุสสทนรก หรือ มหานรก อนึ่ง ผู้ตายที่ทำบาปกรรมไว้ เมื่อครบ 7 วันผู้ตายต้องกลับมา ณ สถานที่ตาย หากเห็นญาติมิตรทำบุญให้ก็จะอนุโมทนาบุญ และจะไปสู่สุคติได้
2.2.3. วันครบรอบวันตาย 50 วัน ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา 50 วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช
*พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้
2.2.4. วันครบรอบวันตาย 100 วัน [12] ช่วงเวลาระหว่าง 51 ถึง 100 วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์ และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร เช่น ไปเกิดในยมโลก, อุสสทนรก และมหานรก ไปเป็นมนุษย์, เทวดา, เปรต, อสุรกาย, สัตว์ดิรัจฉาน ตามกรรมที่ปรากฏเป็นภาพหน้าบัลลังก์ของพระยายมราช ช่วงนี้ถ้าญาติอุทิศบุญให้ก็ยังรับบุญได้
นี้เป็นหลักการส่วนใหญ่ มิใช่ทั้งหมด เพราะฉะนั้นญาติมิตรผู้ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์จึงควรศึกษาวิธีอุทิศส่วนกุศลให้ถูกวิธี และรีบทำบุญทุกบุญอย่างเต็มกำลังและอุทิศส่วนกุศลให้ในวันดังกล่าว
ประวัติความเป็นมาของพิธีบุพเปตพลี
พิธีบุพเปตพลี เป็นการทำบุญที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่นครั้งหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ได้กราบทุลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนิมนต์คณะสงฆ์ไปรับมหาทานที่พระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีอุทิศส่วนกุศลแก่หมู่ญาติของพระองค์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายผ้าและไทยธรรมต่างๆ และทรงอุทิศพระราชกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบันดาลให้พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารเห็นว่าหมู่ญาติที่ไปเกิดเป็นเปรตทั้งหลายมีสภาพเช่นไร หลังจากได้รับผลบุญที่อุทิศไปให้แล้ว กล่าวคือ ในขณะที่พระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกนั้น มีสระโบกขรณีที่เต็มไปด้วยดอกปทุมอันสวยงามบังเกิดขึ้นในบรรดาเปรตเหล่านั้นได้ดื่มกินน้ำและอาบชำระล้างร่างกาย เมื่อดื่มแล้วก็บรรเทาความกระหาย เมื่ออาบแล้วก็มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดุจทองเนื้องาม ร่างกายที่พิกลพิการก็กลับคืนดังคนปกติ และเมื่อได้รับอาหารคาวหวานที่เป็นทิพย์ ก็ทำให้ร่างกายที่ผ่ายผอมมีน้ำมีนวล อิ่มเอิบ
อย่างไรก็ตาม ฝูงเปรตเหล่านั้นยังมิได้มีผ้านุ่งผ้าห่ม พระเจ้าพิมพิสารจึงกราบทูลถามพระศาสดาว่าจะทำประการใด พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้ถวายผ้าสบง จีวรและผ้านิสีทนะแด่พระภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้บริวารจัดหาผ้านุ่ง ผู้ห่ม ผ้ารองนั่งมาถวายแด่คณะพระภิกษุซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงอุทิศผลบุญนั้นแก่หมู่เปรต เมื่อเปรตทั้งหลายได้รับผลบุญแล้วจึงเปล่งสาธุการ และพากันเข้าไปอยู่ในวิมาน เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้เห็นอานิสงส์ของการให้ทานและการอุทิศผลบุญแก่หมู่ญาติก็ทรงมีความรื่นเริงยินดี เลื่อมใสศรัทธาในการทำทานมากยิ่งขึ้น
ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาว่า “เมื่อบุคคลระลึกถึงความดีของบุพการีตลอดจนญาติมิตรผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้วทั้งหลาย พึงทำบุญอุทิศไปให้ เพราะบุญย่อมก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขยิ่งกว่าการร้องไห้พิไรรำพัน”
พิธีบุพเปตพลีเป็นพิธีอุทิศส่วนบุญที่ตนได้บำเพ็ญไปให้ญาติที่เสียชีวิตแล้ว เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทิตาต่อญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกด้วย
อ่านต่อที่ FB : Johannesburg Meditation Centre (peaceforafrica)
เหตุที่ญาติๆพึงทำบุญอุทิศส่วนกุศล "ในวาระครบ 7, 50, 100 วันและ วันพระ " ไปยังผู้ล่วงลับ
ได้เห็นในเพจท่าน ได้ขยายความ ว่าแม้ทำอุทิศแล้ว ท่านผู้ล่วงลับจึงไม่ได้ทำไม ทำไม ทำไม
ได้อ่านแล้วก็เข้าใจน่าสนใจดี เลยอยากจะนำมาแบ่งปันครับ
ขอบคุณที่มา FB : Johannesburg Meditation Centre (peaceforafrica)
...................................................................................................................
เปิดตำรับตำรา ”ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว” ตามหลักวิชชาของผู้รู้ที่สมบูรณ์ในพระพุทธศาสนา (สัพพัญญูพุทธเจ้า) เริ่มจากความรู้ที่ต้องทราบเบื้องต้นดังนี้ คือ :
1.ไม่สวดอ้อนวอนให้ไปดี หรือสาปแช่งให้ผู้ตายไปไม่ดี
2. ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้
2.1 วิธีอุทิศบุญให้ถึงแก่ผู้ตาย
นอกจากนี้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถายังแสดงว่า ทักษิณา คือผลบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศให้ย่อมสำเร็จผลให้เป็นสมบัติมีอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นแก่ผู้ล่วงลับในขณะนั้นได้ ก็ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล เช่น พระภิกษุ สามเณร ผู้มีศีลบริสุทธิ์
2. ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย
3. ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย
ปัจจัย 3 ข้อที่ควรคำนึงของผู้ตาย
1.จากข้อความข้างต้นนี้ มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ว่า ถ้าผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาหรือศึกษาผิวเผิน เมื่อละโลกไปแล้ว แม้มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ตนอนุโมทนาบุญไม่เป็นก็ย่อมไม่ได้รับส่วนบุญเท่าที่ควร
2.กรณีลูกหลานทะเลาะกันเรื่องแบ่งสมบัติ ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันอยู่ทั่วไป พ่อแม่จวนตาย ลูกหลานแย่งสมบัติกัน บางทีฆ่ากันตายก่อนพ่อแม่ก็มี ตนเองก็ต้องมาทุกข์ใจก่อนตาย เพราะสมบัติของตนเป็นเหตุ เมื่อตายไป จึงไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้เลยเพราะสมัยตนเองมีชีวิตมิได้คบหากับบัณฑิตทางธรรมและไม่เคยทำแบบอย่างเช่นนี้ไว้ให้ลูกหลานได้เห็น
3.ข้อสุดท้าย แม้บุตรธิดาทำบุญอุทิศให้ แต่ทำไม่ถูกเนื้อนาบุญ [10] เช่น ทำบุญกับผู้ทุศีล มีความเห็นผิด ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม นรกสวรรค์เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะสมัยที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย ไม่เข้าหาพระภิกษุสามเณรผู้รู้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถชี้แจงโลกนี้โลกหน้าได้กระจ่างชัด เมื่อถึงคราวต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย จึงทำไม่ถูกวิธีเช่นกัน
2.2 วันและสถานที่ที่ควรทำบุญให้เป็นพิเศษ
วันสำคัญดังกล่าวได้แก่ วันพระ, วันครบรอบวันตาย 7 วัน, 50 วัน, 100 วัน, การทำบุญในสถานที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้
2.2.1. วันพระ เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก 1 วันโลกมนุษย์ สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่ ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้
ดังนั้น ญาติหรือมิตรสหายที่อยู่ในโลกนี้ จึงควรสละเวลามาทำบุญในวันพระให้กับผู้มีอุปการคุณของตนเอง เพื่อเป็นแบบแผนที่ดีงามให้กับอนุชนรุ่นหลังโดยเฉพาะบุตรธิดาของตน เพราะเมื่อถึงคราวตนเองละโลกนี้ไปแล้วบุตรธิดาก็จะได้ทำบุญอุทิศให้บ้าง หากเราไม่ทำเป็นแบบอย่างไว้ เมื่อเราล่วงลับไปแล้วก็จะไม่มีบุญให้ได้รับความสุขให้ภพหน้าและไม่มีใครอุทิศส่วนบุญให้ด้วย
2.2.2. วันครบรอบวันตาย 7 วัน ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ 7 วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ และเจ้าหน้าที่ยมโลก (กุมภัณฑ์) กำลังผลัดเปลี่ยนเวรกัน ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่ซึ่งจะพาตัวไปยมโลกนรก หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือหากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่ดี ๆ โดยไม่ต้องไปยมโลกนรก อุสสทนรก หรือ มหานรก อนึ่ง ผู้ตายที่ทำบาปกรรมไว้ เมื่อครบ 7 วันผู้ตายต้องกลับมา ณ สถานที่ตาย หากเห็นญาติมิตรทำบุญให้ก็จะอนุโมทนาบุญ และจะไปสู่สุคติได้
2.2.3. วันครบรอบวันตาย 50 วัน ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา 50 วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช
*พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้
2.2.4. วันครบรอบวันตาย 100 วัน [12] ช่วงเวลาระหว่าง 51 ถึง 100 วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์ และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร เช่น ไปเกิดในยมโลก, อุสสทนรก และมหานรก ไปเป็นมนุษย์, เทวดา, เปรต, อสุรกาย, สัตว์ดิรัจฉาน ตามกรรมที่ปรากฏเป็นภาพหน้าบัลลังก์ของพระยายมราช ช่วงนี้ถ้าญาติอุทิศบุญให้ก็ยังรับบุญได้
นี้เป็นหลักการส่วนใหญ่ มิใช่ทั้งหมด เพราะฉะนั้นญาติมิตรผู้ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์จึงควรศึกษาวิธีอุทิศส่วนกุศลให้ถูกวิธี และรีบทำบุญทุกบุญอย่างเต็มกำลังและอุทิศส่วนกุศลให้ในวันดังกล่าว
ประวัติความเป็นมาของพิธีบุพเปตพลี
พิธีบุพเปตพลี เป็นการทำบุญที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่นครั้งหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ได้กราบทุลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนิมนต์คณะสงฆ์ไปรับมหาทานที่พระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีอุทิศส่วนกุศลแก่หมู่ญาติของพระองค์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายผ้าและไทยธรรมต่างๆ และทรงอุทิศพระราชกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบันดาลให้พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารเห็นว่าหมู่ญาติที่ไปเกิดเป็นเปรตทั้งหลายมีสภาพเช่นไร หลังจากได้รับผลบุญที่อุทิศไปให้แล้ว กล่าวคือ ในขณะที่พระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกนั้น มีสระโบกขรณีที่เต็มไปด้วยดอกปทุมอันสวยงามบังเกิดขึ้นในบรรดาเปรตเหล่านั้นได้ดื่มกินน้ำและอาบชำระล้างร่างกาย เมื่อดื่มแล้วก็บรรเทาความกระหาย เมื่ออาบแล้วก็มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดุจทองเนื้องาม ร่างกายที่พิกลพิการก็กลับคืนดังคนปกติ และเมื่อได้รับอาหารคาวหวานที่เป็นทิพย์ ก็ทำให้ร่างกายที่ผ่ายผอมมีน้ำมีนวล อิ่มเอิบ
อย่างไรก็ตาม ฝูงเปรตเหล่านั้นยังมิได้มีผ้านุ่งผ้าห่ม พระเจ้าพิมพิสารจึงกราบทูลถามพระศาสดาว่าจะทำประการใด พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้ถวายผ้าสบง จีวรและผ้านิสีทนะแด่พระภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้บริวารจัดหาผ้านุ่ง ผู้ห่ม ผ้ารองนั่งมาถวายแด่คณะพระภิกษุซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงอุทิศผลบุญนั้นแก่หมู่เปรต เมื่อเปรตทั้งหลายได้รับผลบุญแล้วจึงเปล่งสาธุการ และพากันเข้าไปอยู่ในวิมาน เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้เห็นอานิสงส์ของการให้ทานและการอุทิศผลบุญแก่หมู่ญาติก็ทรงมีความรื่นเริงยินดี เลื่อมใสศรัทธาในการทำทานมากยิ่งขึ้น
ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาว่า “เมื่อบุคคลระลึกถึงความดีของบุพการีตลอดจนญาติมิตรผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้วทั้งหลาย พึงทำบุญอุทิศไปให้ เพราะบุญย่อมก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขยิ่งกว่าการร้องไห้พิไรรำพัน”
พิธีบุพเปตพลีเป็นพิธีอุทิศส่วนบุญที่ตนได้บำเพ็ญไปให้ญาติที่เสียชีวิตแล้ว เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทิตาต่อญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกด้วย
อ่านต่อที่ FB : Johannesburg Meditation Centre (peaceforafrica)