ปัตตานีวิกฤติ โควิดพุ่งสูง หมู่บ้านเดียว ดับ 40 ราย ไม่มีที่ฝังศพแล้ว
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6732180
ปัตตานีสาหัส โควิดวิกฤติ หมู่บ้านเดียวดับ 40 ราย จนสุสานไม่มีที่ฝังศพแล้ว ต้องถมดิน 3 ครั้ง สูงเท่ากำแพง เจอฝนตกถล่มเสียหาย เร่งซ่อมแซมด่วน
วันที่ 15 พ.ย.2564 ทาง
อิหม่ามอับดุลลายิ บือราเฮง อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลฮูดา เผยว่าขณะนี้ชาวบ้านหมู่ 8 บ้านยูโย ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานีเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ซึ่งรุนแรงมาก มีคนเสียชีวิตไปแล้วถึง 40 ราย ทำให้สุสานประจำหมู่บ้านไม่เพียงพอในการฝังศพ ต้องนำดินมาถมเพิ่มเป็นรอบที่ 3 จนพื้นดินของสุสานสูงเท่ากับกำแพงสุสาน แต่เมื่อเจอฝนตกลงมา ทำให้กำแพงพังลงมา สร้างความทุกข์ระทมให้กับชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก
สำหรับสุสานดังกล่าวมีพื้นที่ 2 พันตารางเมตร เมื่อเจอผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องถมดินสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีป้ายหินปักหลุมฝังศพใหม่จำนวนมาก ตอนนี้ต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซม เพราะกำแพงเสียหายแทบทั้งหมด และต้องปรับพื้นที่รับรองร่างผู้เสียชีวิตที่น่าจะเกิดจากการติดโควิดอีกเป็นจำนวนมาก
โดยขณะนี้ต้องไปขอบริจาค ชาวบ้านเพื่อซื้อดินมาถมเพิ่ม ยิ่งมีร่างผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เช้ามาเรือ่ย ๆ ก็ยิ่งต้องถมดินสูงมากขึ้น ตอนนี้ชาวบ้านในพื้นที่อยากให้เอาร่างไปฝังที่อื่น เพราะไม่อยากให้ศพที่เสียชีวิตจากโควิด-19 มาฝังที่กูโบร์แห่งนี้ แต่ทางอิหม่ามและผู้นำศาสนาไม่ยอม เพราะกูโบร์แห่งนี้มีมานานกว่า 100 ปีแล้ว ชาวบ้านทุกคนในพื้นที่ก็ต้องฝังร่างที่แห่งนี้ ดังนั้นจะต้องช่วยกันปรับปรุง ไม่ว่าใครก็ต้องฝังร่างที่นี่
สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของชาวบ้านในพื้นที่ ม.8 บ.ยูโย แห่งนี้ ยังมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 อีก 20 ราย โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมทั้งสิ้น 960 ราย ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในจ.ปัตตานี พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 261 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 43,239 ราย ทั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 412 ราย
ห้างภูธร-ขนส่ง-รถบัสอ่วม ต้นทุนพุ่ง-ผู้ผลิตเก็บสต๊อกรอขยับราคา
https://www.prachachat.net/local-economy/news-801331
ราคาน้ำมันแพงทำหลายธุรกิจภูธรป่วน ค้าปลีก-ค้าส่งชี้ราคาสินค้าขยับแน่ เหตุค่าขนส่งพุ่ง ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม พร้อมเผยไต๋เล็งโรงงานผลิตบางรายเล่นเกมไม่ขยับราคาสินค้า แต่ปรับลดปริมาณลง ขณะที่บางรายเริ่มสต๊อกสินค้ารอราคาขึ้นสูง ทำสินค้าขาดตลาด ด้านธุรกิจรถบัสอ่วม แบกต้นทุนพุ่ง 60% ผู้โดยสารน้อย ต้องลดเที่ยววิ่งลง ส่วนธุรกิจขนส่งวอนรัฐบาลยกเว้นภาษี ณ ที่จ่าย 1% จนกว่าสถานการณ์น้ำมัน-เศรษฐกิจ-โควิด-19 ดีขึ้น
นาย
สมชาย ทองคำคูณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด ผู้ให้บริการธุรกิจขนส่งรถโดยสารประจำทางสายเหนือ (กรีนบัส) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการเดินรถโดยสารของบริษัท โดยพบว่าต้นทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 60% แล้ว ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากรายได้กับรายจ่ายไม่สมดุลกัน แต่ไม่สามารถปรับราคาค่าโดยสารได้
ทั้งนี้ บริษัทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งการดำเนินกิจการขาดทุนมาโดยตลอด จำนวนผู้โดยสารเดินทางลดลง บางเส้นทาง load factor ไม่ถึง 50% โดยที่ผ่านมาได้เร่งปรับตัว อาทิ ลดเที่ยววิ่งรถโดยสารจากเดิม 120 เที่ยวต่อวัน ปัจจุบันเหลือ 30 เที่ยวต่อวัน ลดค่าจ้างพนักงานทุกระดับ โดยได้รับค่าจ้าง 30% จากอัตราค่าจ้างเดิมที่เคยได้รับ
ซึ่งผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จึงเป็นวิกฤตที่เข้ามาซ้ำเติมบริษัทอย่างมาก อย่างไรก็ตาม อยากเสนอข้อเรียกร้องจากรัฐบาลให้ผู้ประกอบการเดินรถโดยสาร สามารถเคลมภาษีคืนได้ จากกรณีที่ได้จ่ายค่าน้ำมันไปในแต่ละครั้ง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าใช้จ่าย
ค้าปลีก-ค้าส่งจ่อขยับราคา
นาย
มิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งงี่สุน ซูเปอร์สโตร์ ผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่ จ.อุดรธานี เปิดเผย
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้า ทำให้ราคาสินค้าค่อย ๆ ปรับขึ้น แม้กระทรวงพาณิชย์จะออกมาตรการมาควบคุมราคา แต่เมื่อราคาน้ำมันขึ้นจะมีกลไกการขึ้นราคาของสินค้าอยู่หลายรูปแบบ ปกติบริษัทซัพพลายเออร์นั้นเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งรวมกับค่าสินค้าที่จะส่งให้ผู้ค้า
เมื่อราคาน้ำมันขึ้นค่าขนส่งและค่าสินค้าจะเพิ่มขึ้นด้วย บางรายราคาเท่าเดิม แต่สินค้าถูกลดปริมาณลง เพราะต้นทุนวัตถุดิบราคาสูงขึ้น นอกจากนี้บางบริษัทอาจมีการสต๊อกของไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อรอราคาสูงสุดก่อนส่ง ทำให้สินค้าขาดตลาด
“ผลกระทบจากราคาน้ำมันขึ้นนั้น บริษัทซัพพลายเออร์หลายรายก็พยายามช่วยเราอยู่ แต่ถ้าสถานการณ์ราคาน้ำมันไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ ราคาสินค้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก อยากฝากถึงรัฐบาลอย่าบิดเบือนกลไกแก้ปัญหาที่ปลายทาง อย่าด้นสดอย่างเดียว ควรบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพราะตอนนี้เอกชนดิ้นสู้ด้วยตัวเองตลอดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มา 2 ปีแล้ว ตอนนี้หลายปัญหาที่เข้ามาทั้งเรื่องวัคซีน เรื่องเปิดประเทศ และเรื่องน้ำมัน ทุกคนไม่ไหว มันสิ้นหวังทั้งภาคธุรกิจ ภาคเศรษฐกิจ อยากขอให้รัฐบาลมีความชัดเจนในการแก้ปัญหาออกมาให้เร็วที่สุด”
-
ขนส่งขอเว้นภาษี ณ ที่จ่าย 1%
นาย
ปรีดา เยี่ยมสวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศิริมงคลโลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้ารายใหญ่ที่สุดในจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมา ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งสวนทางกับค่าใช้จ่ายของพนักงาน แต่บริษัทก็ไม่เคยมีการปลดพนักงาน หรือลดเงินเดือนพนักงาน ผู้บริหารยอมต้องควักกระเป๋าตัวเองเพื่อช่วยพนักงานไปก่อน
โดยปัจจุบันบริษัท ศิริมงคลฯ มีรถขนส่งสินค้าทั้งรถ 22 ล้อ รถ 18 ล้อ รถ 12 ล้อ และรถ 10 ล้ออยู่ประมาณ 200 กว่าคัน จึงอยากให้รัฐบาลช่วยยกเว้นการเก็บภาษี ณ ที่จ่าย 1% ที่ต้องส่งให้สรรพากร กรณีไม่มี VAT อยากให้ผ่อนผันไปก่อนจนกว่า สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ภาพรวมของเศรษฐกิจดีขึ้น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบริษัทมีการปรับตัวตามราคาขึ้น-ลงหน้าปั๊มน้ำมัน ปตท.ทุก ๆ วันที่ 1 ของแต่ละเดือน ซึ่งยึดน้ำมัน B7 และ B10 เป็นหลัก ยกตัวอย่าง เช่น หากน้ำมัน ราคาลิตรละ 20-25 บาท ค่าขนส่งก็อยู่ที่กิโลกรัมละ 400 บาท หากน้ำมันราคาลิตรละ 25-30 บาท ค่าขนส่งก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาท หรือถ้าน้ำมันราคาลิตรละ 30-35 บาท ค่าขนส่งสินค้าก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 600 บาท
นาย
ปรีดาตอบว่า เท่าที่ตามข่าวอธิบดีกรมพลังงานให้สัมภาษณ์ เห็นว่า มีเหตุผลชัดเจนอยู่แล้ว อีกทั้งกระทรวงพลังงานก็ไม่มีอำนาจตัดสินใจอะไรเองได้ เพราะต้องขึ้นกับมติ ครม. ดังนั้น เราควรเคารพหลักเกณฑ์นี้กันไปก่อน เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกันต่อไปได้
สิ่งที่อยากเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือในขณะนี้ก็คือ เรื่องสวัสดิการของพนักงานซึ่งรัฐบาลก็กำลังช่วยเหลือในส่วนการประกันสังคมอยู่แล้ว ส่วนเรื่องภาษีค่าขนส่งที่กำหนดว่าค่าขนส่ง 100 บาท ต้องหัก 1 บาท ส่งให้สรรพากรทันที (กรณีไม่มี VAT ถือเป็นค่าขนส่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%) อยากให้ผ่อนผันไปก่อน เมื่อโควิดคลี่คลาย ภาพรวมของเศรษฐกิจดีขึ้น ค่อยมาว่ากัน
กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์แข่งบุกทำเนียบ 18 พ.ย. จี้รัฐปลดล็อก-เยียวยาจ่ายค่าชดเชย
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3042423
กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์แข่งบุกทำเนียบ 18 พ.ย. จี้รัฐปลดล็อก-เยียวยาจ่ายค่าชดเชย ‘หมอชัย’ ชี้ ไม่ใช่แค่คนเลี้ยงเดือนร้อน แต่กระทบเป็นลูกโซ่เสียหายเป็นพันล้าน แนะต้องให้ประชาชนเป็นนักรบช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ทำการสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย น.สพ.
ชัย วัชรงค์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อการประกวดและแข่งขัน ได้มีการหารือกันถึงผลกระทบในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการแข่งขันได้
ทั้งนี้ น.สพ.
ชัย แถลงข่าวภายหลังว่า ขอเป็นตัวแทนเกษตรกรที่เกี่ยวเนื่องกับการเลี้ยงสัตว์ เรามาพร้อมพันธมิตรกับเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ ทั้งการเลี้ยงม้า วัวชน นก ปลาสวยงาม พวกเราที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์กีฬาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะการล็อกดาวน์มานาน ขาดรายได้จนแทบจะอยู่ไม่ได้แล้ว โดยสมาชิกของสมาคมเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง หากภาครัฐยังล็อกไว้ ถึงเวลาที่ต้องมาเหลียวแล ยื่นมือมาช่วยเหลือในการเยียวยาเราบ้าง การแพร่ระบาดของโควิด พวกเราเข้าใจดีว่าเป็นภัยอุบัติใหม่ ไม่มีประเทศไหนในโลกได้ประสบพบเจอมาก่อน พวกเราเข้าใจดี ว่าการที่ภาครัฐต้องล็อกดาวน์ ไม่อนุญาตแข่งขันสัตว์ก็เพื่อลดระบาดของการแพร่เชื้อ ปีที่แล้ววัคซีนเราก็ยังไม่มี ความเข้าใจโรคก็ไม่มี ระบบสาธารณสุขก็ยังไม่ลงตัว เรายอมรับว่ารัฐบาลมีเหตุผลที่ดี แต่ขณะนี้เวลาผ่านมาเป็นปี สถานการณ์เปลี่ยนไป ประเทศไทยฉีดวัคซีนได้มากกว่า 80 ล้านโด๊สแล้ว และจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มเกินครึ่งประเทศ ในแง่ของภูมิคุ้มกัน น่าจะมีกันเยอะแล้ว ความพร้อมของสาธารณสุข ถือว่าพร้อมมากๆ ทั้งอุปกรณ์ ความชำนาญ และความเข้าใจ เราฟังและทำตามมาตรการมาตลอดว่า ต้องใส่หน้ากาก ทิ้งระยะห่าง ซึ่งคนไทยทั้งประเทศเคยชินจนเป็นนิสัยแล้ว น่าจะถึงเวลาคลายล็อกได้แล้ว
น.สพ.
ชัย กล่าวอีกว่า สำหรับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว พี่น้องเกษตรกรเดือดร้อนแสนสาหัส ขาดรายได้ แม้ว่าที่ผ่านมาทางภาครัฐจะเห็นใจให้เราซ้อมได้ แต่การซ้อมก็มีแต่ค่าใช้จ่ายและเราก็ยังขาดรายได้ การเลี้ยงไก่สำหรับประกวดหรือแข่งขัน ค่าใช้จ่ายตกตัวละ 2,000 บาท แต่ละซุ้มมีค่าใช้จ่ายเดือนละตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท บางซุ้มต้องปรับตัวลดคน หรือบางซุ้มถึงขั้นต้องเลิกกิจการ สำหรับวัวชนค่าใช้จ่ายตัวละ 6,000 บาทต่อเดือน ม้าตัวละ 10,000 บาทต่อเดือน รวมๆแล้วค่าใช้จ่ายเป็น 1,000 ล้านต่อเดือน แต่รายรับเป็นศูนย์ ทั้งนี้พวกเราไม่ได้เดือดร้อนเฉพาะแค่คนเพาะเลี้ยงสัตว์เท่านั้น แต่ผู้ที่มีอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น คนทำอุปกรณ์การเลี้ยง อาหารบำรุง ยารักษาโรค ก็ขายไม่ออก ไม่มีคนซื้อ เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปหมด ซึ่งในช่วงนี้เราได้เห็นการคลายล็อก รัฐบาลเริ่มปรับนโยบายสร้างสมดุล ระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจ เพราะถึงเวลาที่เรามีความพร้อมในการรับมือโรค ดังนั้นตนคิดว่าตอนนี้สถานการณ์เราคลี่คลายมามากแล้ว พวกเราเห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยว และเราดีใจกับพี่น้องสาขาอาชีพต่างๆที่เริ่มทำงานได้ เพราะถึงเวลาต้องปล่อยให้ประชาชนเป็นนักรบทางเศรษฐกิจ ได้ทำงานเพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้
“เราเดือดร้อนมาจนถึงวันนี้ ไปต่อไม่ได้อีกแล้ว พวกเราคิดว่าอยากได้การผ่อนคลาย แต่หากรัฐยังเห็นว่าไม่พร้อม ก็ขอได้โปรดช่วยเห็นใจเราด้วย เราอดทนรอคอยจนเต็มกลืนแล้ว พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศเดิมทีเราจะรวมพลไปหน้าทำเนียบรัฐบาลในวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง แต่ทราบว่า ครม.ไปประชุมกันที่ จ.กระบี่ ดังนั้นพวกเราจึงเลื่อนไปในวันที่ 17 -18 พฤศจิกายนนี้ เพื่อยื่นหนังสือขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งจริงๆแล้วพวกเราอยากให้ผ่อนคลายทันทีมากกว่า แต่หากยังทำไม่ได้ก็ขอเงินชดเชยเยียวยาให้กับพวกเราบ้าง ซึ่งหากผ่อนคลายให้ เราก็พร้อมที่จะดูแลตัวเอง และดำเนินตามมาตรการของภาครัฐในการควบคุมโรค” น.สพ.
ชัย กล่าว
JJNY : ปัตตานี ม.เดียว40ศพ ไม่มีที่ฝังศพ│ต้นทุนพุ่ง-ผู้ผลิตเก็บสต๊อก│กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์แข่งบุกทำเนียบ18พ.ย.│11จว.ท่วม
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6732180
ปัตตานีสาหัส โควิดวิกฤติ หมู่บ้านเดียวดับ 40 ราย จนสุสานไม่มีที่ฝังศพแล้ว ต้องถมดิน 3 ครั้ง สูงเท่ากำแพง เจอฝนตกถล่มเสียหาย เร่งซ่อมแซมด่วน
วันที่ 15 พ.ย.2564 ทางอิหม่ามอับดุลลายิ บือราเฮง อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลฮูดา เผยว่าขณะนี้ชาวบ้านหมู่ 8 บ้านยูโย ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานีเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ซึ่งรุนแรงมาก มีคนเสียชีวิตไปแล้วถึง 40 ราย ทำให้สุสานประจำหมู่บ้านไม่เพียงพอในการฝังศพ ต้องนำดินมาถมเพิ่มเป็นรอบที่ 3 จนพื้นดินของสุสานสูงเท่ากับกำแพงสุสาน แต่เมื่อเจอฝนตกลงมา ทำให้กำแพงพังลงมา สร้างความทุกข์ระทมให้กับชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก
สำหรับสุสานดังกล่าวมีพื้นที่ 2 พันตารางเมตร เมื่อเจอผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องถมดินสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีป้ายหินปักหลุมฝังศพใหม่จำนวนมาก ตอนนี้ต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซม เพราะกำแพงเสียหายแทบทั้งหมด และต้องปรับพื้นที่รับรองร่างผู้เสียชีวิตที่น่าจะเกิดจากการติดโควิดอีกเป็นจำนวนมาก
โดยขณะนี้ต้องไปขอบริจาค ชาวบ้านเพื่อซื้อดินมาถมเพิ่ม ยิ่งมีร่างผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เช้ามาเรือ่ย ๆ ก็ยิ่งต้องถมดินสูงมากขึ้น ตอนนี้ชาวบ้านในพื้นที่อยากให้เอาร่างไปฝังที่อื่น เพราะไม่อยากให้ศพที่เสียชีวิตจากโควิด-19 มาฝังที่กูโบร์แห่งนี้ แต่ทางอิหม่ามและผู้นำศาสนาไม่ยอม เพราะกูโบร์แห่งนี้มีมานานกว่า 100 ปีแล้ว ชาวบ้านทุกคนในพื้นที่ก็ต้องฝังร่างที่แห่งนี้ ดังนั้นจะต้องช่วยกันปรับปรุง ไม่ว่าใครก็ต้องฝังร่างที่นี่
สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของชาวบ้านในพื้นที่ ม.8 บ.ยูโย แห่งนี้ ยังมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 อีก 20 ราย โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมทั้งสิ้น 960 ราย ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในจ.ปัตตานี พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 261 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 43,239 ราย ทั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 412 ราย
ห้างภูธร-ขนส่ง-รถบัสอ่วม ต้นทุนพุ่ง-ผู้ผลิตเก็บสต๊อกรอขยับราคา
https://www.prachachat.net/local-economy/news-801331
ราคาน้ำมันแพงทำหลายธุรกิจภูธรป่วน ค้าปลีก-ค้าส่งชี้ราคาสินค้าขยับแน่ เหตุค่าขนส่งพุ่ง ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม พร้อมเผยไต๋เล็งโรงงานผลิตบางรายเล่นเกมไม่ขยับราคาสินค้า แต่ปรับลดปริมาณลง ขณะที่บางรายเริ่มสต๊อกสินค้ารอราคาขึ้นสูง ทำสินค้าขาดตลาด ด้านธุรกิจรถบัสอ่วม แบกต้นทุนพุ่ง 60% ผู้โดยสารน้อย ต้องลดเที่ยววิ่งลง ส่วนธุรกิจขนส่งวอนรัฐบาลยกเว้นภาษี ณ ที่จ่าย 1% จนกว่าสถานการณ์น้ำมัน-เศรษฐกิจ-โควิด-19 ดีขึ้น
นายสมชาย ทองคำคูณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด ผู้ให้บริการธุรกิจขนส่งรถโดยสารประจำทางสายเหนือ (กรีนบัส) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการเดินรถโดยสารของบริษัท โดยพบว่าต้นทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 60% แล้ว ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากรายได้กับรายจ่ายไม่สมดุลกัน แต่ไม่สามารถปรับราคาค่าโดยสารได้
ทั้งนี้ บริษัทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งการดำเนินกิจการขาดทุนมาโดยตลอด จำนวนผู้โดยสารเดินทางลดลง บางเส้นทาง load factor ไม่ถึง 50% โดยที่ผ่านมาได้เร่งปรับตัว อาทิ ลดเที่ยววิ่งรถโดยสารจากเดิม 120 เที่ยวต่อวัน ปัจจุบันเหลือ 30 เที่ยวต่อวัน ลดค่าจ้างพนักงานทุกระดับ โดยได้รับค่าจ้าง 30% จากอัตราค่าจ้างเดิมที่เคยได้รับ
ซึ่งผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จึงเป็นวิกฤตที่เข้ามาซ้ำเติมบริษัทอย่างมาก อย่างไรก็ตาม อยากเสนอข้อเรียกร้องจากรัฐบาลให้ผู้ประกอบการเดินรถโดยสาร สามารถเคลมภาษีคืนได้ จากกรณีที่ได้จ่ายค่าน้ำมันไปในแต่ละครั้ง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าใช้จ่าย
ค้าปลีก-ค้าส่งจ่อขยับราคา
นายมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งงี่สุน ซูเปอร์สโตร์ ผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่ จ.อุดรธานี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้า ทำให้ราคาสินค้าค่อย ๆ ปรับขึ้น แม้กระทรวงพาณิชย์จะออกมาตรการมาควบคุมราคา แต่เมื่อราคาน้ำมันขึ้นจะมีกลไกการขึ้นราคาของสินค้าอยู่หลายรูปแบบ ปกติบริษัทซัพพลายเออร์นั้นเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งรวมกับค่าสินค้าที่จะส่งให้ผู้ค้า
เมื่อราคาน้ำมันขึ้นค่าขนส่งและค่าสินค้าจะเพิ่มขึ้นด้วย บางรายราคาเท่าเดิม แต่สินค้าถูกลดปริมาณลง เพราะต้นทุนวัตถุดิบราคาสูงขึ้น นอกจากนี้บางบริษัทอาจมีการสต๊อกของไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อรอราคาสูงสุดก่อนส่ง ทำให้สินค้าขาดตลาด
“ผลกระทบจากราคาน้ำมันขึ้นนั้น บริษัทซัพพลายเออร์หลายรายก็พยายามช่วยเราอยู่ แต่ถ้าสถานการณ์ราคาน้ำมันไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ ราคาสินค้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก อยากฝากถึงรัฐบาลอย่าบิดเบือนกลไกแก้ปัญหาที่ปลายทาง อย่าด้นสดอย่างเดียว ควรบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพราะตอนนี้เอกชนดิ้นสู้ด้วยตัวเองตลอดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มา 2 ปีแล้ว ตอนนี้หลายปัญหาที่เข้ามาทั้งเรื่องวัคซีน เรื่องเปิดประเทศ และเรื่องน้ำมัน ทุกคนไม่ไหว มันสิ้นหวังทั้งภาคธุรกิจ ภาคเศรษฐกิจ อยากขอให้รัฐบาลมีความชัดเจนในการแก้ปัญหาออกมาให้เร็วที่สุด”
- ขนส่งขอเว้นภาษี ณ ที่จ่าย 1%
นายปรีดา เยี่ยมสวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศิริมงคลโลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้ารายใหญ่ที่สุดในจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมา ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งสวนทางกับค่าใช้จ่ายของพนักงาน แต่บริษัทก็ไม่เคยมีการปลดพนักงาน หรือลดเงินเดือนพนักงาน ผู้บริหารยอมต้องควักกระเป๋าตัวเองเพื่อช่วยพนักงานไปก่อน
โดยปัจจุบันบริษัท ศิริมงคลฯ มีรถขนส่งสินค้าทั้งรถ 22 ล้อ รถ 18 ล้อ รถ 12 ล้อ และรถ 10 ล้ออยู่ประมาณ 200 กว่าคัน จึงอยากให้รัฐบาลช่วยยกเว้นการเก็บภาษี ณ ที่จ่าย 1% ที่ต้องส่งให้สรรพากร กรณีไม่มี VAT อยากให้ผ่อนผันไปก่อนจนกว่า สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ภาพรวมของเศรษฐกิจดีขึ้น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบริษัทมีการปรับตัวตามราคาขึ้น-ลงหน้าปั๊มน้ำมัน ปตท.ทุก ๆ วันที่ 1 ของแต่ละเดือน ซึ่งยึดน้ำมัน B7 และ B10 เป็นหลัก ยกตัวอย่าง เช่น หากน้ำมัน ราคาลิตรละ 20-25 บาท ค่าขนส่งก็อยู่ที่กิโลกรัมละ 400 บาท หากน้ำมันราคาลิตรละ 25-30 บาท ค่าขนส่งก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาท หรือถ้าน้ำมันราคาลิตรละ 30-35 บาท ค่าขนส่งสินค้าก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 600 บาท
นายปรีดาตอบว่า เท่าที่ตามข่าวอธิบดีกรมพลังงานให้สัมภาษณ์ เห็นว่า มีเหตุผลชัดเจนอยู่แล้ว อีกทั้งกระทรวงพลังงานก็ไม่มีอำนาจตัดสินใจอะไรเองได้ เพราะต้องขึ้นกับมติ ครม. ดังนั้น เราควรเคารพหลักเกณฑ์นี้กันไปก่อน เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกันต่อไปได้
สิ่งที่อยากเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือในขณะนี้ก็คือ เรื่องสวัสดิการของพนักงานซึ่งรัฐบาลก็กำลังช่วยเหลือในส่วนการประกันสังคมอยู่แล้ว ส่วนเรื่องภาษีค่าขนส่งที่กำหนดว่าค่าขนส่ง 100 บาท ต้องหัก 1 บาท ส่งให้สรรพากรทันที (กรณีไม่มี VAT ถือเป็นค่าขนส่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%) อยากให้ผ่อนผันไปก่อน เมื่อโควิดคลี่คลาย ภาพรวมของเศรษฐกิจดีขึ้น ค่อยมาว่ากัน
กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์แข่งบุกทำเนียบ 18 พ.ย. จี้รัฐปลดล็อก-เยียวยาจ่ายค่าชดเชย
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3042423
กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์แข่งบุกทำเนียบ 18 พ.ย. จี้รัฐปลดล็อก-เยียวยาจ่ายค่าชดเชย ‘หมอชัย’ ชี้ ไม่ใช่แค่คนเลี้ยงเดือนร้อน แต่กระทบเป็นลูกโซ่เสียหายเป็นพันล้าน แนะต้องให้ประชาชนเป็นนักรบช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ทำการสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย น.สพ.ชัย วัชรงค์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อการประกวดและแข่งขัน ได้มีการหารือกันถึงผลกระทบในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการแข่งขันได้
ทั้งนี้ น.สพ.ชัย แถลงข่าวภายหลังว่า ขอเป็นตัวแทนเกษตรกรที่เกี่ยวเนื่องกับการเลี้ยงสัตว์ เรามาพร้อมพันธมิตรกับเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ ทั้งการเลี้ยงม้า วัวชน นก ปลาสวยงาม พวกเราที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์กีฬาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะการล็อกดาวน์มานาน ขาดรายได้จนแทบจะอยู่ไม่ได้แล้ว โดยสมาชิกของสมาคมเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง หากภาครัฐยังล็อกไว้ ถึงเวลาที่ต้องมาเหลียวแล ยื่นมือมาช่วยเหลือในการเยียวยาเราบ้าง การแพร่ระบาดของโควิด พวกเราเข้าใจดีว่าเป็นภัยอุบัติใหม่ ไม่มีประเทศไหนในโลกได้ประสบพบเจอมาก่อน พวกเราเข้าใจดี ว่าการที่ภาครัฐต้องล็อกดาวน์ ไม่อนุญาตแข่งขันสัตว์ก็เพื่อลดระบาดของการแพร่เชื้อ ปีที่แล้ววัคซีนเราก็ยังไม่มี ความเข้าใจโรคก็ไม่มี ระบบสาธารณสุขก็ยังไม่ลงตัว เรายอมรับว่ารัฐบาลมีเหตุผลที่ดี แต่ขณะนี้เวลาผ่านมาเป็นปี สถานการณ์เปลี่ยนไป ประเทศไทยฉีดวัคซีนได้มากกว่า 80 ล้านโด๊สแล้ว และจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มเกินครึ่งประเทศ ในแง่ของภูมิคุ้มกัน น่าจะมีกันเยอะแล้ว ความพร้อมของสาธารณสุข ถือว่าพร้อมมากๆ ทั้งอุปกรณ์ ความชำนาญ และความเข้าใจ เราฟังและทำตามมาตรการมาตลอดว่า ต้องใส่หน้ากาก ทิ้งระยะห่าง ซึ่งคนไทยทั้งประเทศเคยชินจนเป็นนิสัยแล้ว น่าจะถึงเวลาคลายล็อกได้แล้ว
น.สพ.ชัย กล่าวอีกว่า สำหรับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว พี่น้องเกษตรกรเดือดร้อนแสนสาหัส ขาดรายได้ แม้ว่าที่ผ่านมาทางภาครัฐจะเห็นใจให้เราซ้อมได้ แต่การซ้อมก็มีแต่ค่าใช้จ่ายและเราก็ยังขาดรายได้ การเลี้ยงไก่สำหรับประกวดหรือแข่งขัน ค่าใช้จ่ายตกตัวละ 2,000 บาท แต่ละซุ้มมีค่าใช้จ่ายเดือนละตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท บางซุ้มต้องปรับตัวลดคน หรือบางซุ้มถึงขั้นต้องเลิกกิจการ สำหรับวัวชนค่าใช้จ่ายตัวละ 6,000 บาทต่อเดือน ม้าตัวละ 10,000 บาทต่อเดือน รวมๆแล้วค่าใช้จ่ายเป็น 1,000 ล้านต่อเดือน แต่รายรับเป็นศูนย์ ทั้งนี้พวกเราไม่ได้เดือดร้อนเฉพาะแค่คนเพาะเลี้ยงสัตว์เท่านั้น แต่ผู้ที่มีอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น คนทำอุปกรณ์การเลี้ยง อาหารบำรุง ยารักษาโรค ก็ขายไม่ออก ไม่มีคนซื้อ เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปหมด ซึ่งในช่วงนี้เราได้เห็นการคลายล็อก รัฐบาลเริ่มปรับนโยบายสร้างสมดุล ระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจ เพราะถึงเวลาที่เรามีความพร้อมในการรับมือโรค ดังนั้นตนคิดว่าตอนนี้สถานการณ์เราคลี่คลายมามากแล้ว พวกเราเห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยว และเราดีใจกับพี่น้องสาขาอาชีพต่างๆที่เริ่มทำงานได้ เพราะถึงเวลาต้องปล่อยให้ประชาชนเป็นนักรบทางเศรษฐกิจ ได้ทำงานเพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้
“เราเดือดร้อนมาจนถึงวันนี้ ไปต่อไม่ได้อีกแล้ว พวกเราคิดว่าอยากได้การผ่อนคลาย แต่หากรัฐยังเห็นว่าไม่พร้อม ก็ขอได้โปรดช่วยเห็นใจเราด้วย เราอดทนรอคอยจนเต็มกลืนแล้ว พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศเดิมทีเราจะรวมพลไปหน้าทำเนียบรัฐบาลในวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง แต่ทราบว่า ครม.ไปประชุมกันที่ จ.กระบี่ ดังนั้นพวกเราจึงเลื่อนไปในวันที่ 17 -18 พฤศจิกายนนี้ เพื่อยื่นหนังสือขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งจริงๆแล้วพวกเราอยากให้ผ่อนคลายทันทีมากกว่า แต่หากยังทำไม่ได้ก็ขอเงินชดเชยเยียวยาให้กับพวกเราบ้าง ซึ่งหากผ่อนคลายให้ เราก็พร้อมที่จะดูแลตัวเอง และดำเนินตามมาตรการของภาครัฐในการควบคุมโรค” น.สพ.ชัย กล่าว