"earthgrazer" หนึ่งในกิจกรรมอวกาศที่หายาก




(นี่ไม่ใช่อุกกาบาตธรรมดา มันเป็นลูกไฟที่สว่างไสวซึ่งดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมาก)


แสงวาบบนท้องฟ้าที่เราเห็นเรียกว่า " ดาวตก " (meteors) เกิดจากเศษหิน น้ำแข็ง หรือฝุ่นชิ้นเล็ก ๆ ที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วสูงและถูกเผาไหม้จนหมด เนื่องจากความร้อนจากการเสียดสีจากการชนกันของชิ้นส่วนกับอะตอมและโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ แต่ "อุกกาบาต" (meteoroids) ไม่ได้เผาไหม้จนหมด มันลอยผ่านช่องว่างระหว่างดาวเคราะห์จนทำให้เกิดเป็นเส้นแสงในชั้นบรรยากาศของโลก โดยเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเป็นเส้นโค้งตามการเดินทางของโลกรอบดวงอาทิตย์

อุกกาบาตส่วนใหญ่จะพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศในมุมที่มันจะกลายเป็นจุดสิ้นสุดของการเดินทาง ชิ้นส่วนที่เล็กกว่าจะทำแสงวาบชั่วครู่และเผาไหม้จนหมด ส่วนชิ้นส่วนขนาดใหญ่หากไม่ได้รับความร้อนจากการเสียดสี ในที่สุดก็ตกลงสู่พื้นให้เราพบในภายหลัง

ในบางกรณีซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ที่ช่วงเวลาของการเผชิญหน้าของอุกกาบาตกับโลกนั้นพอเหมาะพอดี แค่มันเคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศที่สูงที่สุดและบางที่สุดของชั้นบรรยากาศเท่านั้น แม้ว่ามันยังสามารถอัดโมเลกุลของอากาศได้มากพอที่จะปล่อยแสงวาบแบบดาวตก แต่อากาศที่บางเกินไปทำให้แสงที่ปล่อยออกมาช้าลงอย่างเห็นได้ชัด แทนที่จะเผาไหม้หรือตกลงบนพื้นโลก มันกลับเด้งออกจากชั้นบรรยากาศและเดินทางต่อไปในอวกาศ สิ่งนี้คืออุกกาบาตลูกไฟ  " Earthgrazers "


ภาพ Earthgrazer ที่ NASA แบ่งปัน 


Eartgrazers นั้นรู้จักกันในชื่ออุกกาบาตที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกแล้วออกมาอีกครั้ง ถือเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หายากที่สุด สถานการณ์นี้เห็นครั้งสุดท้ายในปี 2017 และถูกจำลองภาพใหม่โดยบังเอิญเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2021 ที่ผ่านมานี้เอง โดยนักดูท้องฟ้าเห็นดาวตกที่เดินทาง 180 ไมล์ (ประมาณ 300 กิโลเมตร) ใน 3 รัฐ (Tennessee, Georgia และ Alabama)
 
ตามที่ NASA Meteor Watch อธิบายไว้ ลูกไฟนั้นสว่างมากจนผู้สังเกตการณ์บางคนสามารถแยกแยะได้แม้ในสภาพอากาศที่มีเมฆมาก ความเอียงและ
วิถีของวัตถุถูกกำหนดโดยภาพที่ถ่ายโดยกล้องดาวตกสามตัวที่แยกจากกันของ NASA ในภูมิภาคนี้  โดย Earthgrazer เข้าสู่ชั้นบรรยากาศในมุม 5 องศาจากแนวนอนและเดินทางอยู่เป็นเวลานาน  NASA Meteor Watch ยังได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับความยาวของเส้นทางของมันว่า วิถีของดาวตกนั้นยาวเกินไปสำหรับซอฟต์แวร์อัตโนมัติในการประมวลผลข้อมูลทั้งหมด และทีมงานได้รันโค้ดซอฟต์แวร์ไว้อีกชิ้นหนึ่งในวันรุ่งขึ้น

เมื่อทำการคำนวณวิถีลูกไฟ ตอนแรกซอฟต์แวร์คำนวณเส้นทางนี้เป็นระยะทาง 91 ไมล์ (147 กม.) แต่หลังจากรันซอฟต์แวร์ตัวที่สองแล้ว พวกเขาพบว่าระยะทางจริง ๆ แล้วคือ 180 ไมล์ (ประมาณ 300 กม.) ตามรายงาน จุดสิ้นสุดของการเดินทางอยู่ไปที่เมือง Lufts ทางตอนใต้ของรัฐ Tennessee และเนื่องจากสภาพอากาศที่มีเมฆมาก จึงไม่สามารถประมาณขนาดของดาวตกได้ 

แม้ว่าการเดินทางของลูกไฟ Earthgrazer ในครั้งนี้จะยาวนานอย่างน่าประหลาดใจ แต่นักดูท้องฟ้าใน South Carolina บอกว่า Earthgrazer ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2014 สามารถเดินทางได้ไกลกว่าถึง 290 ไมล์ (ประมาณ 467 กม.) ผ่านชั้นบรรยากาศก่อนที่จะเผาไหม้ นอกจากนั้น ยังมี Earthgrazer อีกหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดที่เรียกว่า Great Daylight Fireball ของปี 1972 ซึ่งทำให้ท้องฟ้าในตอนกลางวันสว่างไสว ในขณะที่มันเด้งออกจากชั้นบรรยากาศของโลก


ภาพประกอบของฝูงดาวตก Taurid ทั้งหมด / Cr. Western University
ตอนนั้น ผู้คนจาก Utah ในสหรัฐอเมริกาไปจนถึง Alberta ในแคนาดา ได้เห็นสิ่งที่หายากอย่างไม่น่าเชื่อ พวกเขาเชื่อว่ามันอาจมีขนาดเท่ารถบรรทุกขนาดเล็ก และถ้ามันพุ่งชนชั้นบรรยากาศของโลกโดยตรง อาจทำให้เกิดการระเบิดทางอากาศที่น่าประทับใจมาก แต่ขนาดที่เป็นไปได้ของอุกกาบาตลูกไฟครั้งนี้ ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็นใดๆ

Dr. Denis Vida นักฟิสิกส์อุกกาบาตแห่ง Western University ผู้ประสานงานเครือข่ายดาวตกโลก ให้ความเห็นว่า อุกกาบาตอาจเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ของดาวหางที่ไม่รู้จัก ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการกระจัดกระจายของพวกมันขณะเดินทางข้ามท้องฟ้า ตลอดจนวงโคจรที่ตามรอยพวกมันกลับมา อย่างไรก็ตาม การประเมินขนาดของ Earthgrazer นั้นยากมาก เนื่องจากมีมวลเพียงบางส่วนเท่านั้นที่จะถูกแปลงเป็นแสง และข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการสังเกตและศึกษาลูกไฟนี้คือ มีท้องฟ้ายามค่ำคืนที่น้อยนิดของโลก ที่ถูกจับภาพด้วยกล้องได้

NASA กล่าวว่า การพบเห็นดาวตกจะเพิ่มขึ้นทุกปีระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน และผู้ที่ชอบดูท้องฟ้ายามค่ำคืนสำหรับสิ่งที่เรียกว่า "ดาวตก" จะโชคดีในช่วงเวลานี้ของปี นอกจาก Earthgrazer ที่พิเศษแล้วยังมี ฝนดาวตก Taurid ที่สร้างขึ้นจากการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของเศษซากที่ดาวหาง Encke ทิ้งไว้ โดยเศษซากเหล่านี้เดินทางกระทบชั้นบรรยากาศของโลกด้วยเร็ว 65,000 ไมล์ต่อชั่วโมง รวมทั้งฝนดาวตก Leonids ที่ส่องสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืนในช่วงที่เหลือของเดือนด้วย


ฝนดาวตก Leonids ปี 2021 จะมีช่วงเวลากิจกรรมตั้งแต่วันที่ 6 - 30 พ.ย. และจะสูงสุดในคืนวันที่ 16-17 พ.ย.
โดยรัศมีของมันจะตั้งอยู่ตรงกลางของแผนที่ดาวนี้ ในกลุ่มดาวสิงห์( Cr.ภาพ: © Dominic Ford/ In-The-Sky.org )



กล้องเครือข่าย All-Sky Fireball จนถึงตอนนี้ มีเพียงสามตัว
โดยกล้องตัวหนึ่งอยู่ใน Huntsville, Ala. อีกตัวอยู่ใน Chickamauga, Ga. และตัวที่สามอยู่ใน Tullahoma, Tenn. 
ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนใต้ของสหรัฐฯ  แต่นักดาราศาสตร์หวังว่าจะเพิ่มอีกสิบกว่าตัวในโรงเรียนและศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ




(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่