ปัจจุบัน
เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินงานของธุรกิจ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบการออกแบบชิ้นงาน ทดสอบการใช้งานของชิ้นงาน และช่วยลดระยะเวลาการผลิต ทำให้ธุรกิจสามารถนำเสนอสินค้าเข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ชิ้นงานต้นแบบ 3 มิติ นั้นมีประโยชน์สำหรับการสื่อสารให้ผู้ถือหุ้นเข้าใจในไอเดียหรือคอนเซ็ปต์ของชิ้นงานได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีประโยชน์ต่อการพิมพ์ซ้ำได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพสูง ซึ่งแม้ว่าการพิมพ์สามมิติจะมีประโยชน์ต่อธุรกิจหลายอย่าง แต่ธุรกิจจำนวนมากเลือกที่ใช้บริการจ้าง Outsource ในการพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติ โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนขั้นสุดท้าย
ทำไมหลายธุรกิจจึงเลือกใช้ Outsource ในการพิมพ์งาน 3 มิติ
การ Outsource หมายถึงการที่ธุรกิจไม่จำเป็นต้องลงทุนในการซื้อ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เอง และไม่มีต้นทุนการฝึกอบรมการใช้งานเครื่อง ซึ่งจะช่วยขจัดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการผลิตชิ้นงานเอง นอกจากนี้สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือ SMEs ที่ไม่ได้มีงบประมาณมากพอในการลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติเอง การใช้ Outsource จึงถือเป็นตัวเลือกดีที่สุดในการเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ของธุรกิจขนาดเล็ก หรือแม้แต่ในสถานประกอบการขนาดใหญ่เอง ทีมวิศวกรก็อาจจะไม่ได้การจัดสรรงบประมาณในการลงทุนกับซื้อเครื่องมือและฝึกอบรมราคาแพงเสมอไป จึงไม่แปลกที่จะเลือกจ้าง Outsource แทน
การพิมพ์งาน 3 มิติ แบบ Outsource ถือเป็นทางเลือกให้กับธุรกิจ
โมเดลและชิ้นงานต้นแบบนั้นมีความสำคัญอย่างมากในขั้นตอนการออกแบบ และธุรกิจเองก็ต้องการความรวดเร็วและวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในการพัฒนาคอนเซ็ปต์ของผลิตภัณฑ์ การใช้ Outsource ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนจำนวนมากในการซื้อเครื่อง แต่สามารถประหยัดเวลาในการผลิตชิ้นงานได้
นอกจากการใช้ Outsource ในการพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติแล้ว เครื่องปริ้น 3 มิติ แบบตั้งโต๊ะก็ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจของธุรกิจ เนื่องจากเป็นเครื่องประเภทที่มีราคาไม่แพง แต่ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ แถมยังมีประโยชน์ต่อธุรกิจอีกหลายอย่าง ทั้งการมีต้นทุนต่ำ ปริ้นชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถปรับแต่งชิ้นงานตามความต้องการของลูกค้าได้ โดยเครื่องปริ้น 3 มิติแบบตั้งโต๊ะนี้จะสามารถใช้งานได้ง่าย มีสมรรถภาพสูง จึงส่งผลในปัจจุบันมีทีมผู้ผลิตและแผนกต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้งานกันเพิ่มมากขึ้น ในหลากหลายอุตสาหกรรม
ธุรกิจควรเลือกใช้การพิมพ์ 3 มิติแบบ Outsource หรือซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติเองดี
การเลือกว่าจะใช้ การพิมพ์ 3 มิติแบบ Outsource หรือซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติเอง จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ โดยปัจจุบันธุรกิจจะมีอยู่ 3 ตัวเลือกหลักๆ ในการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติ ซึ่งแต่ละตัวเลือกก็จะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
1. การใช้ Outsource พิมพ์งาน 3 มิติ จากบริษัทภายนอก (Outsourcing to third parties)
การพิมพ์ 3 มิติแบบ Outsource นั้นถือเป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับธุรกิจที่ต้องการผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพดี ในปริมาณน้อย และต้องการชิ้นงานที่มีความซับซ้อน การใช้ Outsource ถือว่าตอบโจทย์มากๆ ซึ่งหากธุรกิจต้องการผลิตชิ้นส่วนหรือชิ้นงานประมาณ 5 ชิ้นต่อเดือนหรือน้อยกว่า โดยเฉพาะหากเป็นชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นชิ้นงานที่ไม่ได้ใช้วัสดุมาตรฐาน รวมถึงวิธีนี้ก็ยังมีประโยชน์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนขั้นสุดท้าย ที่ต้องใช้วัสดุที่แตกต่างจากเดิมหรือถูกนำไปใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ
แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องระวังในการเลือกใช้งาน เนื่องจากวิธีการพิมพ์ 3 มิติโดยใช้ Outsource นั้นเป็นวิธีที่ใช้เวลานานที่สุด และมีราคาแพงที่สุดอีกด้วย โดยแม้ว่าธุรกิจจะได้รับการปฏิบัติงานจากผู้เชี่ยวชาญ และไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงระยะยาวในการซื้อเครื่อง แต่ต้องแลกมากับการมีชั่วโมงการทำงาน และมีต้นทุนการพิมพ์ชิ้นงานที่สูงกว่าการจ้างพนักงาน แถมยังธุรกิจยังต้องใช้เวลารอนานกว่าชิ้นงานจะพิมพ์เสร็จ
ข้อดี :
- มีหลากหลายเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติให้เลือกใช้งาน ทั้งเทคโนโลยีแบบ SLA, FFF, และ SLS
- มีวัสดุการพิมพ์ให้เลือกมากกว่าการซื้อเครื่องเอง
- ได้รับบริการพิมพ์ชิ้นงานจากผู้เชี่ยวชาญ
- ไม่มีข้อผูกมัดในระยะยาว
- ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเอง
ข้อเสีย :
- มีต้นทุนสูงที่สูงกว่าการปริ้นชิ้นงานเอง
- ใช้เวลาในการพิมพ์งานช้า อาจจะเป็นสัปดาห์เลย
- มีเอกสารและมีขั้นตอนในการปริ้นชิ้นงานที่มากกว่าการปริ้นเอง เริ่มตั้งแต่การหาและทำสัญญากับ Suppliers พิจารณาข้อเสนอ ยื่นใบเสนอราคา ผ่านข้อกำหนดของธุรกิจ พัฒนาไอเดีย ประเมินฟังก์ชั่นการใช้งาน ฯลฯ
- มีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขชิ้นงานที่สูง
- การทำซ้ำหลายครั้งต้องใช้เวลานานในการปริ้น
- ธุรกิจสามารถใช้ได้เฉพาะซอฟต์แวร์ ส่วนเสริม และเส้นที่ Outsource มีเท่านั้น
- มีการใช้ประโยชน์ทางโครงสร้างน้อย
- ธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการพิมพ์ชิ้นงานได้เอง จำเป็นต้องมีผู้ปฏิบัติงาน วิศวกรไม่สามารถใช้งานได้โดยตรง และไม่สามารถทำการบำรุงรักษาได้เอง
- ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้
2. การซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม (In-house industrial 3D printers)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม ถือเป็นตัวเลือกในอุดมคติ ของธุรกิจที่ต้องการพิมพ์ชิ้นส่วนหรือชิ้นงานเป็นจำนวนมาก โดยจะต้องธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติอยู่เป็นประจำ และมีงบประมาณที่เพียงพอในการลงทุนซื้อเครื่องและฝึกอบรมการใช้งาน
ข้อดี :
- สามารถเลือกใช้งานวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงได้หากหลาย
- พิมพ์ชิ้นงานได้รวดเร็วกว่าการใช้บริษัท Outsource
- ช่วยประหยัดต้นุทนการผลิต เมื่อมีทำการพิมพ์ชิ้นงานจำนวนมาก
ข้อเสีย :
- ใช้เงินลงทุนสูง โดยอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องประมาณ 250,000 – 1 ล้านดอลลาร์ สำหรับระบบการผลิตแบบครบวงจร
- ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องมาก
- เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนทั้งหมด หากใช้พิมพ์ชิ้นงานเพียงครั้งเดียว จะมีต้นทุนที่สูงกว่าการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ
- ไม่เหมาะสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานในปริมาณน้อย เพราะจะทำให้มีต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น
3. การซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ (In-house desktop 3D printers)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ นั้นเหมาะสมมากๆ สำหรับการสร้างชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว ถ้าธุรกิจมีความต้องการพิมพ์ชิ้นงานจำนวนมาก การลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะหลายๆ เครื่อง ก็ยังถือเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนถูกกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม รวมถึงยังมีความง่ายในการเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าอีกด้วย นอกจากนี้การมีเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง ก็ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและการควบคุมในการพิมพ์ชิ้นงาน เช่น การพิมพ์ชิ้นส่วนหนึ่งชิ้น ต่อหนึ่งเครื่อง ฯลฯ
ข้อดี :
- มีต้นทุนต่ำ
- ประหยัดเวลาในการพิมพ์ชิ้นงาน
- มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับการออกแบบชิ้นงานได้ด้วยต้นทุนต่ำ
- ข้อมูลการออกแบบชิ้นงานเป็นความลับภายในองค์กร ไม่ถูกเปิดเผย
- สามารถควบคุมการออกแบบและการพิมพ์ชิ้นงานได้เองทุกขั้นตอน
- ใช้พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องน้อย
- ราคาไม่แพงและสามารถปรับเพิ่มขนาดได้
ข้อเสีย :
- มีข้อจำกัดทางเทคนิคในการพิมพ์วัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง
- ไม่เหมาะสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่
- ไม่เหมาะสำหรับการปรับแต่งชิ้นงานจำนวนมาก
- จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมพนักงานในการใช้เครื่อง (แต่มีความเข้มข้นและความซับซ้อนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม)
ในการตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ Outsource สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ หรือเลือกลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติมาใช้งานเองนั้น ไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาถึงความต้องการในปัจจุบันของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงเป้าหมายที่ธุรกิจต้องการบรรลุในอนาคตด้วย โดยธุรกิจควรให้ความสำคัญกับต้นทุนและการนำไปใช้งานจริงเป็นอันดับแรก และก็ยังควรให้ความสำคัญความสามารถในการปรับขนาดและศักยภาพในการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยเช่นกัน
อ้างอิงจาก :
www.septillion.co.th
ข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างการพิมพ์งาน 3 มิติ ด้วยการจ้าง Outsource และการซื้อเครื่องเอง
ทำไมหลายธุรกิจจึงเลือกใช้ Outsource ในการพิมพ์งาน 3 มิติ
การ Outsource หมายถึงการที่ธุรกิจไม่จำเป็นต้องลงทุนในการซื้อ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เอง และไม่มีต้นทุนการฝึกอบรมการใช้งานเครื่อง ซึ่งจะช่วยขจัดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการผลิตชิ้นงานเอง นอกจากนี้สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือ SMEs ที่ไม่ได้มีงบประมาณมากพอในการลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติเอง การใช้ Outsource จึงถือเป็นตัวเลือกดีที่สุดในการเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ของธุรกิจขนาดเล็ก หรือแม้แต่ในสถานประกอบการขนาดใหญ่เอง ทีมวิศวกรก็อาจจะไม่ได้การจัดสรรงบประมาณในการลงทุนกับซื้อเครื่องมือและฝึกอบรมราคาแพงเสมอไป จึงไม่แปลกที่จะเลือกจ้าง Outsource แทน
การพิมพ์งาน 3 มิติ แบบ Outsource ถือเป็นทางเลือกให้กับธุรกิจ
โมเดลและชิ้นงานต้นแบบนั้นมีความสำคัญอย่างมากในขั้นตอนการออกแบบ และธุรกิจเองก็ต้องการความรวดเร็วและวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในการพัฒนาคอนเซ็ปต์ของผลิตภัณฑ์ การใช้ Outsource ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนจำนวนมากในการซื้อเครื่อง แต่สามารถประหยัดเวลาในการผลิตชิ้นงานได้
นอกจากการใช้ Outsource ในการพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติแล้ว เครื่องปริ้น 3 มิติ แบบตั้งโต๊ะก็ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจของธุรกิจ เนื่องจากเป็นเครื่องประเภทที่มีราคาไม่แพง แต่ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ แถมยังมีประโยชน์ต่อธุรกิจอีกหลายอย่าง ทั้งการมีต้นทุนต่ำ ปริ้นชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถปรับแต่งชิ้นงานตามความต้องการของลูกค้าได้ โดยเครื่องปริ้น 3 มิติแบบตั้งโต๊ะนี้จะสามารถใช้งานได้ง่าย มีสมรรถภาพสูง จึงส่งผลในปัจจุบันมีทีมผู้ผลิตและแผนกต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้งานกันเพิ่มมากขึ้น ในหลากหลายอุตสาหกรรม
ธุรกิจควรเลือกใช้การพิมพ์ 3 มิติแบบ Outsource หรือซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติเองดี
การเลือกว่าจะใช้ การพิมพ์ 3 มิติแบบ Outsource หรือซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติเอง จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ โดยปัจจุบันธุรกิจจะมีอยู่ 3 ตัวเลือกหลักๆ ในการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติ ซึ่งแต่ละตัวเลือกก็จะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
1. การใช้ Outsource พิมพ์งาน 3 มิติ จากบริษัทภายนอก (Outsourcing to third parties)
การพิมพ์ 3 มิติแบบ Outsource นั้นถือเป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับธุรกิจที่ต้องการผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพดี ในปริมาณน้อย และต้องการชิ้นงานที่มีความซับซ้อน การใช้ Outsource ถือว่าตอบโจทย์มากๆ ซึ่งหากธุรกิจต้องการผลิตชิ้นส่วนหรือชิ้นงานประมาณ 5 ชิ้นต่อเดือนหรือน้อยกว่า โดยเฉพาะหากเป็นชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นชิ้นงานที่ไม่ได้ใช้วัสดุมาตรฐาน รวมถึงวิธีนี้ก็ยังมีประโยชน์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนขั้นสุดท้าย ที่ต้องใช้วัสดุที่แตกต่างจากเดิมหรือถูกนำไปใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ
แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องระวังในการเลือกใช้งาน เนื่องจากวิธีการพิมพ์ 3 มิติโดยใช้ Outsource นั้นเป็นวิธีที่ใช้เวลานานที่สุด และมีราคาแพงที่สุดอีกด้วย โดยแม้ว่าธุรกิจจะได้รับการปฏิบัติงานจากผู้เชี่ยวชาญ และไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงระยะยาวในการซื้อเครื่อง แต่ต้องแลกมากับการมีชั่วโมงการทำงาน และมีต้นทุนการพิมพ์ชิ้นงานที่สูงกว่าการจ้างพนักงาน แถมยังธุรกิจยังต้องใช้เวลารอนานกว่าชิ้นงานจะพิมพ์เสร็จ
ข้อดี :
- มีหลากหลายเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติให้เลือกใช้งาน ทั้งเทคโนโลยีแบบ SLA, FFF, และ SLS
- มีวัสดุการพิมพ์ให้เลือกมากกว่าการซื้อเครื่องเอง
- ได้รับบริการพิมพ์ชิ้นงานจากผู้เชี่ยวชาญ
- ไม่มีข้อผูกมัดในระยะยาว
- ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเอง
ข้อเสีย :
- มีต้นทุนสูงที่สูงกว่าการปริ้นชิ้นงานเอง
- ใช้เวลาในการพิมพ์งานช้า อาจจะเป็นสัปดาห์เลย
- มีเอกสารและมีขั้นตอนในการปริ้นชิ้นงานที่มากกว่าการปริ้นเอง เริ่มตั้งแต่การหาและทำสัญญากับ Suppliers พิจารณาข้อเสนอ ยื่นใบเสนอราคา ผ่านข้อกำหนดของธุรกิจ พัฒนาไอเดีย ประเมินฟังก์ชั่นการใช้งาน ฯลฯ
- มีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขชิ้นงานที่สูง
- การทำซ้ำหลายครั้งต้องใช้เวลานานในการปริ้น
- ธุรกิจสามารถใช้ได้เฉพาะซอฟต์แวร์ ส่วนเสริม และเส้นที่ Outsource มีเท่านั้น
- มีการใช้ประโยชน์ทางโครงสร้างน้อย
- ธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการพิมพ์ชิ้นงานได้เอง จำเป็นต้องมีผู้ปฏิบัติงาน วิศวกรไม่สามารถใช้งานได้โดยตรง และไม่สามารถทำการบำรุงรักษาได้เอง
- ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้
2. การซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม (In-house industrial 3D printers)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม ถือเป็นตัวเลือกในอุดมคติ ของธุรกิจที่ต้องการพิมพ์ชิ้นส่วนหรือชิ้นงานเป็นจำนวนมาก โดยจะต้องธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติอยู่เป็นประจำ และมีงบประมาณที่เพียงพอในการลงทุนซื้อเครื่องและฝึกอบรมการใช้งาน
ข้อดี :
- สามารถเลือกใช้งานวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงได้หากหลาย
- พิมพ์ชิ้นงานได้รวดเร็วกว่าการใช้บริษัท Outsource
- ช่วยประหยัดต้นุทนการผลิต เมื่อมีทำการพิมพ์ชิ้นงานจำนวนมาก
ข้อเสีย :
- ใช้เงินลงทุนสูง โดยอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องประมาณ 250,000 – 1 ล้านดอลลาร์ สำหรับระบบการผลิตแบบครบวงจร
- ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องมาก
- เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนทั้งหมด หากใช้พิมพ์ชิ้นงานเพียงครั้งเดียว จะมีต้นทุนที่สูงกว่าการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ
- ไม่เหมาะสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานในปริมาณน้อย เพราะจะทำให้มีต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น
3. การซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ (In-house desktop 3D printers)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ นั้นเหมาะสมมากๆ สำหรับการสร้างชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว ถ้าธุรกิจมีความต้องการพิมพ์ชิ้นงานจำนวนมาก การลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะหลายๆ เครื่อง ก็ยังถือเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนถูกกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม รวมถึงยังมีความง่ายในการเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าอีกด้วย นอกจากนี้การมีเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง ก็ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและการควบคุมในการพิมพ์ชิ้นงาน เช่น การพิมพ์ชิ้นส่วนหนึ่งชิ้น ต่อหนึ่งเครื่อง ฯลฯ
ข้อดี :
- มีต้นทุนต่ำ
- ประหยัดเวลาในการพิมพ์ชิ้นงาน
- มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับการออกแบบชิ้นงานได้ด้วยต้นทุนต่ำ
- ข้อมูลการออกแบบชิ้นงานเป็นความลับภายในองค์กร ไม่ถูกเปิดเผย
- สามารถควบคุมการออกแบบและการพิมพ์ชิ้นงานได้เองทุกขั้นตอน
- ใช้พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องน้อย
- ราคาไม่แพงและสามารถปรับเพิ่มขนาดได้
ข้อเสีย :
- มีข้อจำกัดทางเทคนิคในการพิมพ์วัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง
- ไม่เหมาะสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่
- ไม่เหมาะสำหรับการปรับแต่งชิ้นงานจำนวนมาก
- จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมพนักงานในการใช้เครื่อง (แต่มีความเข้มข้นและความซับซ้อนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรม)
ในการตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ Outsource สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ หรือเลือกลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติมาใช้งานเองนั้น ไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาถึงความต้องการในปัจจุบันของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงเป้าหมายที่ธุรกิจต้องการบรรลุในอนาคตด้วย โดยธุรกิจควรให้ความสำคัญกับต้นทุนและการนำไปใช้งานจริงเป็นอันดับแรก และก็ยังควรให้ความสำคัญความสามารถในการปรับขนาดและศักยภาพในการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยเช่นกัน
อ้างอิงจาก : www.septillion.co.th