หลายต่อหลายครั้งที่พาญาติไปรักษาที่โรงพยาบาล หมอหรือพยาบาลแทบจะไม่เปิดโอกาสอะไรให้ญาติหรือผู้ป่วยซักถามเลย แต่ท่านรู้ไหมถ้าถ้าถามเราสักนิดท่านอาจจะเหนื่อยน้อยลงมากๆ จะยกเคสที่เคยเจอให้ฟัง เช่น
เคสที่ 1. ผู้ป่วยจิตเวช คุยไม่ค่อยรู้เรื่อง ใช้ชีวิตประจำวันอยู่แต่ในบ้าน ประสบอุบัติเหตุกระเบื้องบาดเท้า เส้นเอ็นขาด (ทราบจากหมอภายหลังว่า ผลลัพธ์แค่อาจจะเดินกะเผลกนิดหน่อย แต่ยังเดินได้อยู่) จริงๆแล้วตัวผู้ป่วยเองและญาติรับได้หากเดินกะเผลกเล็กน้อย (ไม่อยากนอน รพ.) หมอรักษาอย่างเดียวเลย จะกลับบ้านก็ไม่ให้กลับ และหมอไม่คุยกับญาติเลย (คุยกับผู้ป่วยก็รู้ว่ามีอาการจิตเวช คุยไม่ค่อยได้ความ) ญาติมีแค่คุยกับพยาบาลแต่ พยาบาลก็ตัดสินใจอะไรไม่ได้ (สุดท้ายก็ต้องจำใจนอน รพ. ทั้งๆที่ไม่ต้องการ) || ถ้าหมอได้คุยกับญาติด้วยตอนตรวจอาการ รับรองว่าหมอไม่ต้องลงมือผ่าตัด เย็บเอ็นให้เหนื่อย ไม่ต้องไปนอนเพิ่มภาระให้โรงพยาบาล || จริงๆแล้วพามาที่ รพ. แค่ต้องการให้เลือดหยุดไหล และแผลไม่ติดเชื้อเท่านั้น
เคสที่ 2. ผู้ป่วยมีแบคกราวน์ด้านโภชนาการเป็นอย่างดี (จบ ป.เอก human nutrition จากประเทศที่พัฒนาแล้ว) หมอสั่งยาและแนะนำให้คุมอาหาร หมอบรรยายอยู่เป็นภาษาชาวบ้านอยู่นาน ตั้งแต่เนื้อหาโภชนาการเบื้องต้นเลย คุยไปคุยมาได้รู้ว่าผู้ป่วยมีความรู้ด้านโภชนาการลึกกว่าหมออีก || ถ้าถามว่าไปหาหมอทำไม ผู้ป่วยไม่สามารถออกใบสั่งยาเองได้ อีกทั้งทักษะการวินิจฉัยโรคก็สู้หมอไม่ได้
เคสที่ 3. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหมอส่งไปให้คีโม ญาติถามอะไรหมอพูดแค่ว่า "พูดไปคุณก็ไม่รู้เรื่องหรอก" พูดมาแบบนี้ใครจะกล้าถามต่อเนอะ แต่ยังดียังได้ผลการตรวจเบื้องต้นเป็นเอกสารมาอ่าน ปรากฎว่าญาติเข้าใจ พอไปหาหมอครั้งต่อไป ยิงคำถามให้หมอเป็นชุด หมอทำหน้าเอ๋อๆแล้วถามว่ารู้จักจักตัวนี้ด้วยเหรอ หลังจากนั้นหมอก็อธิบายตลอด || คือสงสัยว่าทำไมหมอต้อง assume ว่าเขาไม่เข้าใจ ไม่รู้จักเรื่องนั้น หมอควรจะถามแบคกราวน์ญาติก่อนไหมถึงจะพูดประโยค "พูดไปคุณก็ไม่รู้เรื่องหรอก" ออกมา หรือไม่ก็อธิบายแค่ถ้าไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ารักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร แล้วให้ผู้ป่วยกับญาติตกลงกันก่อนก็ได้ว่าจะรักษาตามที่หมอบอกไหม
เรื่องที่ 3 นี้จริงๆ เข้าข่ายจริยธรรมทางการแพทย์ด้วย หากผู้ป่วยรักษาตามที่หมอ "บังคับ" แล้วเกิดอะไรขึ้นมาในส่วนข้อเสีย มันก็จะเป็นเรื่องวุ่นวายกันไปอีก ถึงรู้แหละว่าหมอเจตนาดี แต่ถ้าเป็นเรื่องขึ้นมาหมอเองไม่ใช่หรือที่ต้องชี้แจงกันวุ่นวายอีก
แต่จริงๆไม่ใช่ว่าไม่เคยเจอหมอที่ถามนะ ความประทับใจครั้งหนึ่ง หมอถามแบคกราวด์ว่าญาติที่คุยกับหมอมีความรู้แค่ไหน ประมาณไหน (เราเองจบ ป.เอก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์) ยอมรับเลยว่าครั้งนั้นคุยกับหมอสนุกมาก (แม้กำลังเครียดอยู่กับปัญหาของผู้ป่วยที่กำลังนอนอยู่ icu ก็ตาม)
ถ้าหมอถามเราสักนิด หรือเปิดโอกาสสักหน่อยหมออาจจะเหนื่อยน้อยลง
เคสที่ 1. ผู้ป่วยจิตเวช คุยไม่ค่อยรู้เรื่อง ใช้ชีวิตประจำวันอยู่แต่ในบ้าน ประสบอุบัติเหตุกระเบื้องบาดเท้า เส้นเอ็นขาด (ทราบจากหมอภายหลังว่า ผลลัพธ์แค่อาจจะเดินกะเผลกนิดหน่อย แต่ยังเดินได้อยู่) จริงๆแล้วตัวผู้ป่วยเองและญาติรับได้หากเดินกะเผลกเล็กน้อย (ไม่อยากนอน รพ.) หมอรักษาอย่างเดียวเลย จะกลับบ้านก็ไม่ให้กลับ และหมอไม่คุยกับญาติเลย (คุยกับผู้ป่วยก็รู้ว่ามีอาการจิตเวช คุยไม่ค่อยได้ความ) ญาติมีแค่คุยกับพยาบาลแต่ พยาบาลก็ตัดสินใจอะไรไม่ได้ (สุดท้ายก็ต้องจำใจนอน รพ. ทั้งๆที่ไม่ต้องการ) || ถ้าหมอได้คุยกับญาติด้วยตอนตรวจอาการ รับรองว่าหมอไม่ต้องลงมือผ่าตัด เย็บเอ็นให้เหนื่อย ไม่ต้องไปนอนเพิ่มภาระให้โรงพยาบาล || จริงๆแล้วพามาที่ รพ. แค่ต้องการให้เลือดหยุดไหล และแผลไม่ติดเชื้อเท่านั้น
เคสที่ 2. ผู้ป่วยมีแบคกราวน์ด้านโภชนาการเป็นอย่างดี (จบ ป.เอก human nutrition จากประเทศที่พัฒนาแล้ว) หมอสั่งยาและแนะนำให้คุมอาหาร หมอบรรยายอยู่เป็นภาษาชาวบ้านอยู่นาน ตั้งแต่เนื้อหาโภชนาการเบื้องต้นเลย คุยไปคุยมาได้รู้ว่าผู้ป่วยมีความรู้ด้านโภชนาการลึกกว่าหมออีก || ถ้าถามว่าไปหาหมอทำไม ผู้ป่วยไม่สามารถออกใบสั่งยาเองได้ อีกทั้งทักษะการวินิจฉัยโรคก็สู้หมอไม่ได้
เคสที่ 3. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหมอส่งไปให้คีโม ญาติถามอะไรหมอพูดแค่ว่า "พูดไปคุณก็ไม่รู้เรื่องหรอก" พูดมาแบบนี้ใครจะกล้าถามต่อเนอะ แต่ยังดียังได้ผลการตรวจเบื้องต้นเป็นเอกสารมาอ่าน ปรากฎว่าญาติเข้าใจ พอไปหาหมอครั้งต่อไป ยิงคำถามให้หมอเป็นชุด หมอทำหน้าเอ๋อๆแล้วถามว่ารู้จักจักตัวนี้ด้วยเหรอ หลังจากนั้นหมอก็อธิบายตลอด || คือสงสัยว่าทำไมหมอต้อง assume ว่าเขาไม่เข้าใจ ไม่รู้จักเรื่องนั้น หมอควรจะถามแบคกราวน์ญาติก่อนไหมถึงจะพูดประโยค "พูดไปคุณก็ไม่รู้เรื่องหรอก" ออกมา หรือไม่ก็อธิบายแค่ถ้าไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ารักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร แล้วให้ผู้ป่วยกับญาติตกลงกันก่อนก็ได้ว่าจะรักษาตามที่หมอบอกไหม
เรื่องที่ 3 นี้จริงๆ เข้าข่ายจริยธรรมทางการแพทย์ด้วย หากผู้ป่วยรักษาตามที่หมอ "บังคับ" แล้วเกิดอะไรขึ้นมาในส่วนข้อเสีย มันก็จะเป็นเรื่องวุ่นวายกันไปอีก ถึงรู้แหละว่าหมอเจตนาดี แต่ถ้าเป็นเรื่องขึ้นมาหมอเองไม่ใช่หรือที่ต้องชี้แจงกันวุ่นวายอีก
แต่จริงๆไม่ใช่ว่าไม่เคยเจอหมอที่ถามนะ ความประทับใจครั้งหนึ่ง หมอถามแบคกราวด์ว่าญาติที่คุยกับหมอมีความรู้แค่ไหน ประมาณไหน (เราเองจบ ป.เอก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์) ยอมรับเลยว่าครั้งนั้นคุยกับหมอสนุกมาก (แม้กำลังเครียดอยู่กับปัญหาของผู้ป่วยที่กำลังนอนอยู่ icu ก็ตาม)