รวมภาพจากหนังเรื่องร่างทรง The medium (2021)

ร่างทรงดำเนินเรื่องแบบ Mocumentary 
หรือจำลองสารคดี เราชอบน้องมิ้ง กับป้านิ่มมากเลยค่ะ 
ก็เลยรวบรวมภาพต่างๆในหนังเรื่องนี้นะคะ 
.
.
.
เริ่มจากโปสเตอร์หนัง 


.
.
.
โต้ง บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ ร่างทรง เผยว่า ก่อนที่จะเริ่มสร้าง ร่างทรง 
ได้ทำการลงพื้นที่หาข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อของร่างทรง ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน มีหลากหลายรูปแบบ
มี เต๋อ ฉันทวิชช์ หนึ่งในทีมเขียนบท ลงพื้นที่ศึกษารวบรวมข้อมูลร่างทรงกว่า 30 คนทั่วประเทศมาตลอด 1 ปีเต็ม 
อยากเล่าเรื่องการสืบทอดของร่างทรง จากรุ่นสู่รุ่น และพัฒนาให้เรื่องราวไปไกลกว่านั้น เพราะอยากได้ร่างทรงที่มีรูปเคารพด้วย
จึงค้นพบว่า ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการสร้างสิ่งที่เคารพบูชาเป็นรูปปั้นของผีบรรพบุรุษ เช่น ศาลปู่ตา จึงกลายเป็นที่มาในการสร้างเทพบาหยัน
เป็นเทพที่เป็นการคุ้มครองหมู่บ้านและมีความลึกลับมากๆ ไม่มีใครรู้ว่าหมู่บ้านนี้เริ่มบูชาเทพบูชา มาตั้งแต่ตอนไหน?

ตำนาน ย่าบาหยัน   “บาหยัน” หมายถึงผู้ดูแล “เทพบาหยัน” หรือ “ย่าบาหยัน” คือผีบรรพบุรุษ 
แม้ว่าชาวบ้านจะไม่รู้ถึงที่มาที่ไปของเทพบาหยัน แต่ทุกคนเชื่อว่า เทพบาหยันคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
ที่คอยคุ้มภัยพวกเขาจากเหตุอาเพศต่าง ๆ คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านต่างเคารพนับถือ 
มีการทำพิธีไหว้เทพบาหยันเป็นประจำทุกปี เพื่อคอยปกปักรักษาหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข โ
ดยมีร่างทรงเป็นสื่อกลาง ระหว่างเทพบาหยันและชาวบ้าน
.
.
.
ผู้หญิงร่างทรงประจำหมู่บ้าน จะถูกเทพบาหยันเลือกเมื่อถึงเวลา และมักจะเป็นลูกหลานผู้หญิงในตระกูล 
การสืบทอดร่างทรงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อร่างทรงคนปัจจุบันเสียชีวิต หรือไม่ก็เกิดขึ้นตามที่เทพบาหยันเลือก 
ซึ่งเมื่อรับหน้าที่เป็นร่างทรงเทพบาหยันแล้ว จะไม่สามารถมีครอบครัวได้

ร่างทรงสามารถอัญเชิญเทพบาหยันมาเข้าทรงด้วยการสวดมนต์ ภาวนา และถวายขันธ์ 5 
หลังจากนั้นเทพบาหยันจะลงมาประทับร่าง บางครั้งร่างทรงคนนั้นก็จะมีท่าทางคันบริเวณคอ 
ซึ่งหมายถึงเทพบาหยันได้มาเข้าทรงแล้ว การแต่งกายเวลาที่เข้าทร จะมีเพียงผ้าขาวม้าพาดไหล่

พิธีกรรมร่ายรำบูชาย่าบาหยัน เป็นพิธีประจำปีของหมู่บ้าน 
จะมีทั้งการแก้บนของคนที่เคยขอให้เทพบาหยันช่วย รวมไปถึงการดูดวงประจำปีของหมู่บ้าน
 การปัดเป่ารักษาโรคที่เกิดจากภูติผีปีศาจผีไร่ผีนาต่าง ๆ ทุกปีชาวบ้านจะต้องเดินทางขึ้นเขา
เพื่อไปทำพิธีบูชาเทพบาหยัน และร่วมกันสวดเพลงย่าบาหยัน พร้อมร่ายรำไปด้วย
 
.
.
การปักธูปกลับหัวเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งทางไสยศาสตร์ ถือเป็นการทำร้ายวิญญาณ
หรือเป็นการทำให้วิญญาณไม่ได้ไปอย่างสงบสุข ซึ่งขัดกับหลักของพระพุทธศาสนา ค
วามหมายของการปักธูปกลับหัวมีอยู่ 3 ความหมาย คือ เป็นการทำให้ศพฟื้นคืนชีพ,
เป็นการอัญเชิญวิญญาณเร่ร่อน และ เป็นการสะกดวิญญาณไม่ให้มาทำร้ายผู้ปักธูปกลับหัว
.
.
ใครเรียก ห้ามขานรับ โบราณกล่าวว่า เวลากลางคืนได้ยินเสียงเรียกทัก ห้ามขานรับเด็ดขาด
เพราะเชื่อว่าเป็นเสียงเรียกของดวงวิญญาณที่อาจจะมาหลอกมาหลอน หากเราขานรับ
จะถือเป็นการอนุญาตให้วิญญาณเข้ามา ของจะเข้าตัว
หรือเป็นการเชิญวิญญาณเข้าบ้าน จากตัวอย่างหนัง จะเห็นฉากที่ มิ้ง
ขานรับเสียงที่ทักเธอตอนกลางคืน หลังจากนั้นเธอก็ถูกสิง
.
.
ใช้ไข่ถอนคุณไสย เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งของชาวเขมร
หรือที่เรียกในภาษาเขมรว่า “เลียกดอก” ซึ่งแปลว่า ลากถอน เป็นวิธีรักษาอาการของคนถูกคุณไสย
โดยการนำไข่ลากถูไปมาตามร่างกายของคนที่ถูกคุณไสย จากนั้นจึงนำไข่ไปวางในกระทงกาบแก้ว
ไข่ที่โดนคุณไสย เมื่อตอกออกมาจะมีสีดำ กลิ่นเหม็นเน่า เลือด หรือ สิ่งของที่ถูกทำใส่ เช่น เส้นผม ตะปู เข็ม
.
.
ประเพณีเลี้ยงดง ฉากที่หมอผีและลูกศิษย์กำลังจูงควายเข้าไปยังสถานที่หนึ่ง
ฉากหมอผีที่จับเขาควายที่ถูกชำแหละแล้ว คาดว่าผู้เขียนบทน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเชื่อทางภาคเหนือ
อย่าง ประเพณีเลี้ยงดง ซึ่งจัดก่อนฤดูทำนาทุกปี โดยอาศัยร่างทรงอัญเชิญวิญญาณ ปู่แสะ ย่าแสะ มารับเครื่องเซ่นสังเวย
ซึ่งในอดีตปู่แสะ ย่าแสะ เป็นยักษ์ที่จับมนุษย์และสัตว์ป่ามากินเป็นอาหาร แต่หลังจากได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้า
จึงละเว้นจากการกินเนื้อ แต่มันผิดวิสัยยักษ์ จึงไม่สามารถทำได้ เลยขอต่อพระพุทธเจ้าว่า
ขอให้ตนได้กินเนื้อสัตว์ปีละตัวแลกกับการดูแลบ้านเมืองให้มีความสงบสุขร่มเย็น
ชาวบ้านจึงสังเวยควายหนุ่มสดๆ ให้กับปู่แสะ ย่าแสะทุกปี 
.
.
น้ำมนต์ ถือเป็นน้ำอาคม ที่ถูกเสกคาถาไว้ นำมาใช้เพื่อชำระร่างกาย ขับไล่มนต์ดำ คุณไสย 
สิ่งสกปรกชั่วร้ายให้ออกไปจากร่างกาย โดยผู้ที่ทำพิธีขับไล่คุณไสย คือ ร่างทรง หรือ หมอผี 
.
.
.
พิธีรับขันธ์ ไม่ว่าจะเป็น ขันธ์ 5 , ขันธ์ 7 , ขันธ์ 9 หรือ ขันธ์ ใดๆ ก็แล้วแต่
นั่นก็คือพิธีไหว้ครูฝากตัวเป็นศิษย์รูปแบบหนึ่ง โดยจะเป็นการถวายภาชนะ (พาน หรือ ขันเงิน ขันทอง)
พร้อมจัดวางด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ห่อด้วยใบตอง หรือไม่ห่อ ตามที่ครูบาอาจารย์แต่ละสำนักกำหนด

โดยพานและเครื่องบูชาเหล่านี้เสมือนกับเป็นขันธ์ 5 ของเรา เมื่อเราถวายแก่ใคร
ก็ประหนึ่งว่า เราได้มอบกายถวายชีวิต ให้กับคนผู้นั้นแล้ว โดยทั่วไปครูบาอาจารย์ที่รับขันธ์ 5
ที่ลูกศิษย์มาถวายฝากตัวศิษย์ ก็มีหน้าที่จะต้องดูแลลูกศิษย์ บอกข้อห้าม ข้อกำหนด ของแต่ละสำนัก และสั่งสอนสรรพวิชาให้

" The medium is the message. " 

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่