เทศกาลกินเจเดือนเก้าประจำปี 2021 ได้เวียนมาถึงแล้ว โดยปีนี้ตรงกับวันที่ 6 - 14 ตุลาคมนี้ ซึ่งบางคนที่เคร่งครัดก็เริ่มกินตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไปเพื่อล้างท้อง… แต่หากมองไปทางประเทศจีนในช่วงนี้ จะไม่พบว่ามีการกินเจเดือนเก้าเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ ต่างกับเทศกาลอื่นๆ ที่คนจีนโพ้นทะเลและจีนแผ่นดินใหญ่มีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ตรุษจีน, สารทจีน, ไหว้พระจันทร์ ฯลฯ
สิ่งที่เห็นเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า หรือคนจีนจะไม่กินเจกัน? แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมคนไทยเชื้อสายจีนจึงกินกันอย่างจริงจังเป็นเทศกาล จนสำนักข่าวบางแห่งพาดหัวว่า “วาระแห่งชาติ”? ที่จริงแล้วการกินเจเริ่มมาจากไหน? เราจะไปดูด้วยกันนะครับ
*** ความหมายของ “เจ” ***
หากเปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานเพื่อหาความหมายของ “เจ” จะได้รับคำอธิบายว่า “อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี แจ ก็ว่า” ซึ่งต่างกับ “มังสวิรัติ” ที่เป็นเพียง “อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชผัก” เท่านั้น
แม้ในภาษาจีน โดยทั่วไปแล้วจะเรียกอาหารเจและมังสวิรัติรวมกันว่า “ซู่ฉือ” (素食) หรือ “อาหารบริสุทธิ์” แต่เมื่อสืบลึกลงไปแล้ว จะพบการเรียกอาหารเจว่า “เฉียนซู่” (全素) อันมีความหมายว่า “บริสุทธิ์สมบูรณ์” แสดงให้เห็นความเคร่งครัดกว่ามังสวิรัติอีก เพราะไม่ทานผักที่คิดว่าร้อนแรงบางชนิดด้วย
อีกเหตุผลหนึ่งของการกินเจ ถือเป็นการรักษาศีล เวลากินเจต้องปฏิบัติตนสำรวม ถือศีล ชำระกายใจให้สะอาดอยู่เสมอ ขณะที่การกินมังสวิรัติ ไม่ได้มีข้อกำหนดตรงนี้
*** ประวัติของเทศกาลกินเจ ***
แม้ประเทศจีนไม่มีเทศกาลกินเจเดือนเก้ายิ่งใหญ่เหมือนไทย จนทำให้หลายคนพูดกันว่า “ในจีนไม่มีกินเจ” ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ถูกต้อง เพราะต้นกำเนิดของการกินเจในไทย ก็ย่อมมาจากประเทศจีนนั่นเอง
อนึ่งการลดหรืองดเนื้อสัตว์ในวัฒนธรรมจีนนั้นมีหลายสายแตกย่อยมากๆ ตั้งแต่สมัยความเชื่อดั้งเดิม ไปจนถึงยุคศาสนาเต๋าและพุทธก็มีคำสอนให้งดเว้นเนื้อสัตว์ทั้งคู่
ภาพแนบ: คัมภีร์หลี่จี้ ฉบับพิมพ์ใหม่
คัมภีร์หลี่จี้ (禮記) ซึ่งบันทึกแบบแผนขนบจารีตพิธีกรรมต่างๆ ของจีน ระบุไว้ว่า เวลามีเหตุหรือพิธีสำคัญที่ต้องติดต่อเทพเจ้า ประมุข (โอรสสวรรค์) ก็ต้องทำตัวให้บริสุทธิ์ทั้งกายใจ โดยหนึ่งในข้อปฏิบัติคือการถือศีลกินแต่ผักนั่นเอง
ภาพแนบ: การจุดประทัดใส่ขบวนเกี้ยวถวายองค์กิ้วอ๋องไต่เต่ที่พังงา ภาพจากเว็บไซต์ Andaman365
ความเชื่อดั้งเดิมของศาสนาเต๋า มีการกินเจเดือนเก้าเพื่อบูชาและขอขมา “กิ้วอ๋องไต่เต่” (九皇大帝) หรือเทพราชาธิราช 9 องค์ ประจำกลุ่มดาวกระบวย (หรือกลุ่มดาวที่ชี้ไปดาวเหนือ คนไทยเรียกว่า กลุ่มดาวจระเข้)
จะสังเกตว่า จริงๆ กลุ่มดาวนี้มีแค่ 7 ดวง คนจีนสมัยก่อนให้เหตุว่าจริงๆ มันมี 9 ดวง แต่ 2 ดวงแสงน้อยจนเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (บางตำราไปนำดาวใกล้ๆ มาถือเป็นบริวาร 2 ดวง)
ภาพแนบ: กลุ่มดาวกระบวยบนท้องฟ้า
คนจีนโบราณยึดกลุ่มดาวนี้เป็นตัวแทนของดวงชะตา และพอเวลาเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติ หากมองๆ ไปแล้ว กลุ่มดาวนี้เหมือนอยู่ใกล้พื้นดิน (เส้นขอบฟ้า) มาก คนโบราณเลยเชื่อกันว่า นี่เป็นช่วงที่เทพประจำดาวเสด็จลงมาโปรดมนุษย์ จึงปฏิบัติตัวถือศีลกินเจช่วงเดือน 9 เรื่อยมานั่นเอง
ภาพแนบ: พระทิเบตเป็นนิกายวัชรยาน แม้ทานเนื้อได้ แต่มีกระแสไม่กินเนื้อมาบ้างเหมือนกัน หลักๆ เพราะไม่อยากเบียดเบียนสัตว์
เมื่อพุทธศาสนามหายานเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน ได้มีการผสานความเชื่อดั้งเดิมในการกินเจ เข้ากับหลักไม่เบียดเบียนสัตว์เพื่อการปฏิบัติธรรม ทำให้พระจีนบางคณะทานเจไปโดยปริยาย
ทั้งนี้มีการอธิบายว่า การกินเจเป็นไปเพื่อความสะดวกในฤดูหนาว พระต้องทำอาหารฉันเองด้วย
นอกจากนี้ พุทธศาสนาในจีนยังมีการการกินเจในเดือนเก้าเช่นกัน โดยแทนสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า 7 องค์ และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ รวมเป็น 9 องค์ เรียกว่า “กิ้วอ้วงฮุกโจ้ว “ (九皇佛祖) โดยกระทำตามจุดมุ่งหมายดังนี้:
1) เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน
2) เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดของตน
3) เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเนื้อของตน
นอกจากนั้นยังมีเรื่องเล่าว่า การกินเจเริ่มต้นมาตั้งแต่ราว 400 ปีก่อน เมื่อพวกแมนจูเข้ามาปกครองประเทศจีน แล้วบังคับให้ชาวจีนฮั่นต้องทำตามวัฒนธรรมของตน แน่นอนว่าคนจีนแต่เดิมไม่พอใจ เลยรวมตัวกันต่อต้านหลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นคือกลุ่ม “หงี่หั่วท้วง” ซึ่งนุ่งขาวห่มขาว ยึดหลักธรรมเป็นสรณะ และไม่กินเนื้อ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ตัวเองแข็งแกร่ง
พวกเขารบกับแมนจูเดือน 9 แม้ผลสุดท้ายหงี่หั่วท้วงจะไม่ชนะ แต่ผู้คนก็ให้ความนับถือ และงดทานเนื้อสัตว์เป็นการรำลึกถึงวีรกรรมครั้งนั้น
...จากข้อมูลทั้งหมด สรุปได้ว่า คนจีนก็กินเจ...
แต่เหตุที่มิได้มีการจัดงานเป็นเทศกาลใหญ่เช่นตรุษจีนหรือไหว้พระจันทร์นั้น เป็นเพราะการปฏิบัติเช่นนี้มิได้ทำกันทุกภาค โดยทำกันมากในจีนทางใต้
หลายกรณีการกินเจยังไม่ใช่สาระหลัก เพียงแต่เป็นข้อปฏิบัติหนึ่งในการทำกายให้บริสุทธิ์เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเวลาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ก็มีการกินเจชำระร่างกายเหมือนกัน ไม่ได้ทำกันเฉพาะตอนบูชา กิ้วอ๋องไต่เต่ หรือ กิ้วอ้วงฮุกโจ้ว เท่านั้น
ภาพแนบ: คนที่ยังนับถือธรรมเนียมเดิมๆ ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมจะโดนประจาน
เมื่อจีนแผ่นดินใหญ่ผ่านการปฏิวัติวัฒนธรรมปี 1966 - 1976 ประเพณีพวกนี้ก็เสื่อมลงไปมาก (เป็นที่มาของความเข้าใจที่ว่า “คนจีนไม่กินเจ”)
แล้วเหตุใดการกินเจถึงกลายเป็นอีเวนต์ใหญ่ของชาวไทยไปได้ล่ะ?
ภาพแนบ: มณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยน
*** จุดเริ่มต้นการกินเจในไทย ***
ตามที่เกริ่นไป การกินเจในจีนนั้นไม่ได้ทำกันทุกภาคก็จริง แต่เผอิญคนจีนที่อพยพมาไทยนั้น มาจากมณฑลกวางตุ้ง และฮกเกี้ยนกันมาก ซึ่งตรงนั้นมีการกินเจกันแพร่หลาย เมื่อพวกเขาอพยพเข้าไทย ก็พาวัฒนธรรมของตัวเองมาด้วย
ภาพแนบ: อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
มีเรื่องเล่าว่า ประเพณีกินเจ หรือ “เจี๊ยฉ่าย” (แปลตรงตัวคือ “กินผัก”) นั้น เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยที่หมู่บ้านในทู (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอกะทู้) จังหวัดภูเก็ต แถวนั้นมีแร่ดีบุกมาก แรงงานจีนฮกเกี้ยนเลยมักมาทำเหมืองกันตั้งแต่ปี 1824 (2367)
แม้บริเวณนั้นเป็นป่า มีภัยจากทั้งสัตว์ร้ายและโรคต่างๆ แต่คนก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเจริญขึ้นกระทั่งมีงิ้วเข้ามาเล่นได้ในปี 1850 (2392)
คณะงิ้วเล่นไปสักพักก็เกิดมีคนป่วย ทำให้พวกเขาระลึกว่า ควร “เจี๊ยฉ่าย” แบบตอนอยู่เมืองจีน เพื่อเป็นการขอขมาเทพ
...ปรากฏว่านอกจากชาวงิ้วหายป่วยแล้ว ชาวบ้านทั้งหลายที่เคยเจ็บออดแอดก็อาการดีขึ้นไปด้วย พวกเขาจึงถามเคล็ดลับกับคณะงิ้ว และได้ความว่า ต้องทำพิธีกินผักนั่นเอง
ภาพแนบ: เทศกาลกินเจที่ภูเก็ต ภาพจาก Phuket Thai Cuisine Restaurant
ดังนั้นแล้ว คณะงิ้วจึงสอนชาวบ้านว่า นอกจากการเคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษอย่างที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ควรจะถือศีลกินผักไปด้วย
พอชาวบ้านทำตาม ก็หมดโรคไปอย่างน่าอัศจรรย์ เลยมีคนไทยเชื้อสายจีนปฏิบัติตามด้วยความศรัทธาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และแพร่ไปทั่วกลุ่มคนจีนอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยที่ภูเก็ตเป็นงานใหญ่สุดนั่นเอง
...ด้วยเหตุนี้การกินเจถึงเป็นธรรมเนียมสำคัญของคนไทยเชื้อสายจีน...
ภาพแนบ: เบคอนเจ จากเว็บโยตาอาหารเจ
*** การกินเจที่ไทยในปัจจุบัน ***
จากพลวัตรที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม การกินเจที่เมืองไทยในปัจจุบันดูเหมือนแฟชั่นมากกว่าทำบุญตามธรรมเนียมเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา
มีการผลิตสิ่งเทียมเนื้อต่างๆ ออกมาหลายแบบเพื่อตอบสนองตลาด จนคนเคร่งๆ บางคนอดติไม่ได้ว่าเป็นการยึดติดกับรูปรส มิได้ทำเพื่อละเลิกเนื้อสัตว์จริงๆ แต่ขณะเดียวกันก็มีกระแสอีกด้านหนึ่งว่า เมนูเจเหล่านี้ถือเป็นความสร้างสรรค์ที่ในการสืบทอดวัฒนธรรมเดิมให้คงอยู่ในรูปแบบใหม่
ในปัจจุบัน ยังมีกระแสการกินมังสวิรัต, วีแกน, และ Plant-based Diet แม้ว่าแต่ละสายจะมีระเบียบแยกย่อยไปมาก แต่ล้วนทำเพื่อลดการกินเนื้อสัตว์ เพราะมีผลพิสูจน์ว่าการงดกินเนื้อช่วยรักษาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นลดไขมันทรานส์, ลดสารตกค้าง, ช่วยให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนัก, ลดความเสี่ยงมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์อีกด้วย
...แม้การลดการกินเนื้อตามแนวคิดสมัยใหม่จะไม่เท่ากับการกินเจ เพราะไม่มีการถือศีลมาเกี่ยวข้อง แต่ก็ถือว่าทั้งสองแนวทางเกื้อกูลกัน ต่างช่วยส่งเสริมให้มีเมนูที่อร่อยและแปลกใหม่มากินร่วมกันหลายจาน
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** คนจีนกินเจกันไหม? + ประวัติศาสตร์การกินเจในไทย ***
สิ่งที่เห็นเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า หรือคนจีนจะไม่กินเจกัน? แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมคนไทยเชื้อสายจีนจึงกินกันอย่างจริงจังเป็นเทศกาล จนสำนักข่าวบางแห่งพาดหัวว่า “วาระแห่งชาติ”? ที่จริงแล้วการกินเจเริ่มมาจากไหน? เราจะไปดูด้วยกันนะครับ
*** ความหมายของ “เจ” ***
หากเปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานเพื่อหาความหมายของ “เจ” จะได้รับคำอธิบายว่า “อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี แจ ก็ว่า” ซึ่งต่างกับ “มังสวิรัติ” ที่เป็นเพียง “อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชผัก” เท่านั้น
แม้ในภาษาจีน โดยทั่วไปแล้วจะเรียกอาหารเจและมังสวิรัติรวมกันว่า “ซู่ฉือ” (素食) หรือ “อาหารบริสุทธิ์” แต่เมื่อสืบลึกลงไปแล้ว จะพบการเรียกอาหารเจว่า “เฉียนซู่” (全素) อันมีความหมายว่า “บริสุทธิ์สมบูรณ์” แสดงให้เห็นความเคร่งครัดกว่ามังสวิรัติอีก เพราะไม่ทานผักที่คิดว่าร้อนแรงบางชนิดด้วย
อีกเหตุผลหนึ่งของการกินเจ ถือเป็นการรักษาศีล เวลากินเจต้องปฏิบัติตนสำรวม ถือศีล ชำระกายใจให้สะอาดอยู่เสมอ ขณะที่การกินมังสวิรัติ ไม่ได้มีข้อกำหนดตรงนี้
*** ประวัติของเทศกาลกินเจ ***
แม้ประเทศจีนไม่มีเทศกาลกินเจเดือนเก้ายิ่งใหญ่เหมือนไทย จนทำให้หลายคนพูดกันว่า “ในจีนไม่มีกินเจ” ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ถูกต้อง เพราะต้นกำเนิดของการกินเจในไทย ก็ย่อมมาจากประเทศจีนนั่นเอง
อนึ่งการลดหรืองดเนื้อสัตว์ในวัฒนธรรมจีนนั้นมีหลายสายแตกย่อยมากๆ ตั้งแต่สมัยความเชื่อดั้งเดิม ไปจนถึงยุคศาสนาเต๋าและพุทธก็มีคำสอนให้งดเว้นเนื้อสัตว์ทั้งคู่
ภาพแนบ: คัมภีร์หลี่จี้ ฉบับพิมพ์ใหม่
คัมภีร์หลี่จี้ (禮記) ซึ่งบันทึกแบบแผนขนบจารีตพิธีกรรมต่างๆ ของจีน ระบุไว้ว่า เวลามีเหตุหรือพิธีสำคัญที่ต้องติดต่อเทพเจ้า ประมุข (โอรสสวรรค์) ก็ต้องทำตัวให้บริสุทธิ์ทั้งกายใจ โดยหนึ่งในข้อปฏิบัติคือการถือศีลกินแต่ผักนั่นเอง
ภาพแนบ: การจุดประทัดใส่ขบวนเกี้ยวถวายองค์กิ้วอ๋องไต่เต่ที่พังงา ภาพจากเว็บไซต์ Andaman365
ความเชื่อดั้งเดิมของศาสนาเต๋า มีการกินเจเดือนเก้าเพื่อบูชาและขอขมา “กิ้วอ๋องไต่เต่” (九皇大帝) หรือเทพราชาธิราช 9 องค์ ประจำกลุ่มดาวกระบวย (หรือกลุ่มดาวที่ชี้ไปดาวเหนือ คนไทยเรียกว่า กลุ่มดาวจระเข้)
จะสังเกตว่า จริงๆ กลุ่มดาวนี้มีแค่ 7 ดวง คนจีนสมัยก่อนให้เหตุว่าจริงๆ มันมี 9 ดวง แต่ 2 ดวงแสงน้อยจนเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (บางตำราไปนำดาวใกล้ๆ มาถือเป็นบริวาร 2 ดวง)
ภาพแนบ: กลุ่มดาวกระบวยบนท้องฟ้า
คนจีนโบราณยึดกลุ่มดาวนี้เป็นตัวแทนของดวงชะตา และพอเวลาเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติ หากมองๆ ไปแล้ว กลุ่มดาวนี้เหมือนอยู่ใกล้พื้นดิน (เส้นขอบฟ้า) มาก คนโบราณเลยเชื่อกันว่า นี่เป็นช่วงที่เทพประจำดาวเสด็จลงมาโปรดมนุษย์ จึงปฏิบัติตัวถือศีลกินเจช่วงเดือน 9 เรื่อยมานั่นเอง
ภาพแนบ: พระทิเบตเป็นนิกายวัชรยาน แม้ทานเนื้อได้ แต่มีกระแสไม่กินเนื้อมาบ้างเหมือนกัน หลักๆ เพราะไม่อยากเบียดเบียนสัตว์
เมื่อพุทธศาสนามหายานเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน ได้มีการผสานความเชื่อดั้งเดิมในการกินเจ เข้ากับหลักไม่เบียดเบียนสัตว์เพื่อการปฏิบัติธรรม ทำให้พระจีนบางคณะทานเจไปโดยปริยาย
ทั้งนี้มีการอธิบายว่า การกินเจเป็นไปเพื่อความสะดวกในฤดูหนาว พระต้องทำอาหารฉันเองด้วย
นอกจากนี้ พุทธศาสนาในจีนยังมีการการกินเจในเดือนเก้าเช่นกัน โดยแทนสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า 7 องค์ และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ รวมเป็น 9 องค์ เรียกว่า “กิ้วอ้วงฮุกโจ้ว “ (九皇佛祖) โดยกระทำตามจุดมุ่งหมายดังนี้:
1) เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน
2) เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดของตน
3) เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเนื้อของตน
นอกจากนั้นยังมีเรื่องเล่าว่า การกินเจเริ่มต้นมาตั้งแต่ราว 400 ปีก่อน เมื่อพวกแมนจูเข้ามาปกครองประเทศจีน แล้วบังคับให้ชาวจีนฮั่นต้องทำตามวัฒนธรรมของตน แน่นอนว่าคนจีนแต่เดิมไม่พอใจ เลยรวมตัวกันต่อต้านหลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นคือกลุ่ม “หงี่หั่วท้วง” ซึ่งนุ่งขาวห่มขาว ยึดหลักธรรมเป็นสรณะ และไม่กินเนื้อ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ตัวเองแข็งแกร่ง
พวกเขารบกับแมนจูเดือน 9 แม้ผลสุดท้ายหงี่หั่วท้วงจะไม่ชนะ แต่ผู้คนก็ให้ความนับถือ และงดทานเนื้อสัตว์เป็นการรำลึกถึงวีรกรรมครั้งนั้น
...จากข้อมูลทั้งหมด สรุปได้ว่า คนจีนก็กินเจ...
แต่เหตุที่มิได้มีการจัดงานเป็นเทศกาลใหญ่เช่นตรุษจีนหรือไหว้พระจันทร์นั้น เป็นเพราะการปฏิบัติเช่นนี้มิได้ทำกันทุกภาค โดยทำกันมากในจีนทางใต้
หลายกรณีการกินเจยังไม่ใช่สาระหลัก เพียงแต่เป็นข้อปฏิบัติหนึ่งในการทำกายให้บริสุทธิ์เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเวลาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ก็มีการกินเจชำระร่างกายเหมือนกัน ไม่ได้ทำกันเฉพาะตอนบูชา กิ้วอ๋องไต่เต่ หรือ กิ้วอ้วงฮุกโจ้ว เท่านั้น
ภาพแนบ: คนที่ยังนับถือธรรมเนียมเดิมๆ ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมจะโดนประจาน
เมื่อจีนแผ่นดินใหญ่ผ่านการปฏิวัติวัฒนธรรมปี 1966 - 1976 ประเพณีพวกนี้ก็เสื่อมลงไปมาก (เป็นที่มาของความเข้าใจที่ว่า “คนจีนไม่กินเจ”)
แล้วเหตุใดการกินเจถึงกลายเป็นอีเวนต์ใหญ่ของชาวไทยไปได้ล่ะ?
ภาพแนบ: มณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยน
*** จุดเริ่มต้นการกินเจในไทย ***
ตามที่เกริ่นไป การกินเจในจีนนั้นไม่ได้ทำกันทุกภาคก็จริง แต่เผอิญคนจีนที่อพยพมาไทยนั้น มาจากมณฑลกวางตุ้ง และฮกเกี้ยนกันมาก ซึ่งตรงนั้นมีการกินเจกันแพร่หลาย เมื่อพวกเขาอพยพเข้าไทย ก็พาวัฒนธรรมของตัวเองมาด้วย
ภาพแนบ: อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
มีเรื่องเล่าว่า ประเพณีกินเจ หรือ “เจี๊ยฉ่าย” (แปลตรงตัวคือ “กินผัก”) นั้น เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยที่หมู่บ้านในทู (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอกะทู้) จังหวัดภูเก็ต แถวนั้นมีแร่ดีบุกมาก แรงงานจีนฮกเกี้ยนเลยมักมาทำเหมืองกันตั้งแต่ปี 1824 (2367)
แม้บริเวณนั้นเป็นป่า มีภัยจากทั้งสัตว์ร้ายและโรคต่างๆ แต่คนก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเจริญขึ้นกระทั่งมีงิ้วเข้ามาเล่นได้ในปี 1850 (2392)
คณะงิ้วเล่นไปสักพักก็เกิดมีคนป่วย ทำให้พวกเขาระลึกว่า ควร “เจี๊ยฉ่าย” แบบตอนอยู่เมืองจีน เพื่อเป็นการขอขมาเทพ
...ปรากฏว่านอกจากชาวงิ้วหายป่วยแล้ว ชาวบ้านทั้งหลายที่เคยเจ็บออดแอดก็อาการดีขึ้นไปด้วย พวกเขาจึงถามเคล็ดลับกับคณะงิ้ว และได้ความว่า ต้องทำพิธีกินผักนั่นเอง
ภาพแนบ: เทศกาลกินเจที่ภูเก็ต ภาพจาก Phuket Thai Cuisine Restaurant
ดังนั้นแล้ว คณะงิ้วจึงสอนชาวบ้านว่า นอกจากการเคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษอย่างที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ควรจะถือศีลกินผักไปด้วย
พอชาวบ้านทำตาม ก็หมดโรคไปอย่างน่าอัศจรรย์ เลยมีคนไทยเชื้อสายจีนปฏิบัติตามด้วยความศรัทธาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และแพร่ไปทั่วกลุ่มคนจีนอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยที่ภูเก็ตเป็นงานใหญ่สุดนั่นเอง
...ด้วยเหตุนี้การกินเจถึงเป็นธรรมเนียมสำคัญของคนไทยเชื้อสายจีน...
ภาพแนบ: เบคอนเจ จากเว็บโยตาอาหารเจ
*** การกินเจที่ไทยในปัจจุบัน ***
จากพลวัตรที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม การกินเจที่เมืองไทยในปัจจุบันดูเหมือนแฟชั่นมากกว่าทำบุญตามธรรมเนียมเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา
มีการผลิตสิ่งเทียมเนื้อต่างๆ ออกมาหลายแบบเพื่อตอบสนองตลาด จนคนเคร่งๆ บางคนอดติไม่ได้ว่าเป็นการยึดติดกับรูปรส มิได้ทำเพื่อละเลิกเนื้อสัตว์จริงๆ แต่ขณะเดียวกันก็มีกระแสอีกด้านหนึ่งว่า เมนูเจเหล่านี้ถือเป็นความสร้างสรรค์ที่ในการสืบทอดวัฒนธรรมเดิมให้คงอยู่ในรูปแบบใหม่
ในปัจจุบัน ยังมีกระแสการกินมังสวิรัต, วีแกน, และ Plant-based Diet แม้ว่าแต่ละสายจะมีระเบียบแยกย่อยไปมาก แต่ล้วนทำเพื่อลดการกินเนื้อสัตว์ เพราะมีผลพิสูจน์ว่าการงดกินเนื้อช่วยรักษาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นลดไขมันทรานส์, ลดสารตกค้าง, ช่วยให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนัก, ลดความเสี่ยงมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์อีกด้วย
...แม้การลดการกินเนื้อตามแนวคิดสมัยใหม่จะไม่เท่ากับการกินเจ เพราะไม่มีการถือศีลมาเกี่ยวข้อง แต่ก็ถือว่าทั้งสองแนวทางเกื้อกูลกัน ต่างช่วยส่งเสริมให้มีเมนูที่อร่อยและแปลกใหม่มากินร่วมกันหลายจาน
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***