เสาร์ส่งท้ายปี พ.ศ. 2556 ขอแนะนำปืนลูกโม่รุ่นพิเศษจาก รูเกอร์ ที่ทำขึ้นในโอกาสครบ 50 ปีของปืน “เหยี่ยวดำ” แบล็คฮอว์ค (Blackhawk) เป็นชุดสองกระบอกคู่ในขนาดกระสุน .44 แม็กนั่ม และ .357 แม็กนั่ม มาพร้อมกล่องบุกำมะหยี่ ปิดฝากระจกสำหรับตั้งแสดง
รูเกอร์ แบล็คฮอว์ค เริ่มผลิตในปี ค.ศ. 1955 ใช้กระสุน .357 แม็กนั่ม และหนึ่งปีต่อมาเพิ่มขนาด .44 แม็กนั่ม ออกขายตัดหน้า สมิธฯ ที่เป็นผู้ร่วมออกแบบกระสุนลูกโม่แรงสูงหน้าตัดใหญ่นี้ ระบบการทำงานเป็นลูกโม่ “ซิงเกิลแอ๊คชั่น” (Single Action) แบบปืนโคบาล ต้องง้างนกก่อนยิงแต่ละนัด แตกต่างจากลูกโม่แบบที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “ดับเบิลแอ๊คชั่น” (Double Action) ไกทำงานสองหน้าที่คือทั้งง้างนก และปล่อยนกสับลงจุดชนวนท้ายกระสุน เหนี่ยวไกยิงได้โดยไม่ต้องง้างนกขึ้นก่อน หรือจะง้างนกค้างไว้ก่อนแล้วค่อยเหนี่ยวไกยิงแบบปืนซิงเกิลฯ ก็ได้ ซึ่งจะทำให้ไกเบาลง เล็งยิงได้ประณีตขึ้น
แบล็คฮอว์ค เป็นปืนชนวนกลางกระบอกแรกของบริษัทรูเกอร์ ซึ่งเพิ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ก่อนเริ่มผลิต แบล็คฮอว์ค รูเกอร์มีเพียงปืนสั้นลูกกรดสองแบบ คือกึ่งอัตโนมัติ “สแตน ดาร์ด” ที่เป็นผลงานชิ้นแรกของบริษัท กับลูกโม่ “ซิงเกิล ซิก” (Single Six) ที่ออกขายในปี ค.ศ. 1953 ในช่วงนั้น รูเกอร์ยังเป็นน้องใหม่ในวงการ เลือกผลิตปืนลูกโม่แบบซิงเกิลฯ เพราะเห็นว่ามีความต้องการในตลาดเอกชน แต่ไม่มีผู้ผลิตรายอื่นสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โคลท์ ที่ได้สัญญาสั่งซื้อปืนทหารช่วงสงคราม หยุดผลิตรุ่นคลาสสิก “ซิงเกิล แอ๊คชั่น อาร์มี” (Colt Single Action Army : SAA) ไปกว่าสิบปี
ลูกโม่โคลท์ซิงเกิลดั้งเดิม เช่นโคลท์ SAA และ แบล็คฮอว์ค รุ่นแรก สามารถง้างนกสับได้สามตำแหน่ง คือจากลดนกชิดโครง ง้างมาคลิกแรกเป็นตำแหน่งสำหรับพกพา จุดประสงค์เพื่อความปลอดภัย คือไม่ให้เข็มแทงชนวนจ่อชิดจอกชนวนท้ายกระสุน ง้างต่อมาตำแหน่งที่สองสำหรับบรรจุกระสุน โม่จะหมุนมาครึ่งทาง ช่องโม่ตรงกับก้านกระทุ้งปลอกใต้ลำกล้อง เปิดชิ้นบานพับปิดหลังโม่ ด้านขวาแล้วคัดปลอกบรรจุใหม่ทีละนัด บรรจุเสร็จปิดบานพับ ง้างนกต่อจนสุดคือตำแหน่งพร้อมยิง โม่จะหมุนมาให้ช่องบนสุดตรงกับลำกล้องพอดี
ข้อด้อยของระบบนี้ คือเมื่อบรรจุเต็มหกนัดมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุปืนลั่น โดยผู้ใช้อาจลืมง้างนกออกมาตำแหน่งพกพา หรือแง่ที่จับตำแหน่งนี้อาจบิ่นหรือสึกหรอไป หากปืนหล่นกระแทกพื้นเข็มจะเข้าถึงท้ายกระสุนทำให้ปืนลั่นได้ จึงมักบรรจุกระสุนเพียงห้านัด เว้นช่องโม่ที่ตรงกับนกสับให้ว่างไว้เพื่อความปลอดภัยเต็มที่
ในปี ค.ศ. 1973 รูเกอร์พัฒนาระบบการทำงานแบบใหม่ เพิ่มแท่งส่งผ่านแรงกระแทก (Transfer bar) ใช้กับนกสับที่มีสันส่วนบนยื่นชนโครงปืน ส่วนล่างที่ตรงกับท้ายเข็มแทงชนวนคว้านเว้นช่องว่างไว้ นกสับไม่มีโอกาสเข้าถึงท้ายเข็มแทงชนวนโดยตรง ต้องอาศัยแท่งส่งผ่านแรงช่วยต่อเชื่อมจากหน้านกสับถึงท้ายเข็ม โดยแท่งนี้จะยุบตัวอยู่ด้านล่าง ต้องง้างนกสุดพร้อมยิงจึงจะขยับตัวขึ้นมาบังท้ายเข็ม สามารถบรรจุกระสุนเต็มหกนัดได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ ระบบใหม่ของรูเกอร์ยังลดความยุ่งยากในขั้นตอนการบรรจุกระสุน คือในตำแหน่งลดนกชิดโครง สามารถง้างชิ้นปิดท้ายโม่ออก ขยับช่องโม่ คัดปลอก บรรจุกระสุนนัดใหม่ได้ไม่ต้องง้างนกครึ่งทาง และต้องพับเก็บตัวปิดท้ายโม่เข้าที่ก่อนจึงจะง้างนกยิงได้ ตำแหน่งนกสับเหลือเพียงลดนกชิดโครง กับง้างนกสุดทางพร้อมยิงเท่านั้น ซึ่งรูเกอร์ที่ระลึกสองกระบอกใช้ระบบใหม่นี้
โดยสรุป แบล็คฮอว์ค ที่ระลึกคู่นี้ เป็นปืนระดับสะสม รูปทรงเป็นปืนโคบาลตะวันตกแต่ใช้ระบบการทำงานสมัยใหม่ วัสดุเหล็กล้วน แข็งแรงเป็นพิเศษ แตกต่างจากปืนรุ่นเดียวกันในสายผลิตปกติที่โครงด้ามเป็นอะลูมิเนียม ฝีมือผลิตเรียบร้อยสวยงาม อาจซื้อเก็บลักษณะลงทุน หรือใช้ยิงเป้าซ้อมเป็นครั้งคราวได้ กระบอก .357 สามารถใช้กระสุน .38 สเปเชียลได้ทุกแบบ ยิงนิ่มนวลมากจากน้ำหนักตัวปืน ส่วน .44 ถ้าไม่ต้องการความแรงของแม็กนั่มสามารถใช้ .44 สเปเชียลได้ ความแรงระดับเดียวกับ .45 ออโตฯ ทั้งสองกระบอกใช้เป็นปืนเฝ้าบ้านได้ดี.
ข้อมูลสรุป Ruger 50th Anniversary Blackhawk
ลักษณะตัวปืน ลูกโม่ซิงเกลแอ๊คชั่น ระบบไกแบบใหม่
ขนาดกระสุน .357 แม็กนั่ม กับ .44 แม็กนั่ม โม่จุ 6 นัด
ความยาว 10.5 นิ้ว (.357), 12.4 นิ้ว (.44)
ลำกล้องยาว 4.6 นิ้ว (.357), 6.5 นิ้ว (.44)
น้ำหนัก 42 ออนซ์ (.357), 45 ออนซ์ (.44)
แรงเหนี่ยวไก 2,300 กรัม (5 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ, ด้ามยางแข็ง
อื่น ๆ ศูนย์ปรับได้, มาพร้อมกล้องตั้งแสดง
ลักษณะใช้งาน ปืนสะสม ใช้ยิงได้จริง แข็งแรงกว่าปืนใช้งานทั่วไป
https://www.dailynews.co.th/article/204774/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 919 รูเกอร์ แบล็คฮอว์ค Ruger Blackhawk ลูกโม่ซิงเกิล ที่ระลึกห้าสิบปี
รูเกอร์ แบล็คฮอว์ค เริ่มผลิตในปี ค.ศ. 1955 ใช้กระสุน .357 แม็กนั่ม และหนึ่งปีต่อมาเพิ่มขนาด .44 แม็กนั่ม ออกขายตัดหน้า สมิธฯ ที่เป็นผู้ร่วมออกแบบกระสุนลูกโม่แรงสูงหน้าตัดใหญ่นี้ ระบบการทำงานเป็นลูกโม่ “ซิงเกิลแอ๊คชั่น” (Single Action) แบบปืนโคบาล ต้องง้างนกก่อนยิงแต่ละนัด แตกต่างจากลูกโม่แบบที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “ดับเบิลแอ๊คชั่น” (Double Action) ไกทำงานสองหน้าที่คือทั้งง้างนก และปล่อยนกสับลงจุดชนวนท้ายกระสุน เหนี่ยวไกยิงได้โดยไม่ต้องง้างนกขึ้นก่อน หรือจะง้างนกค้างไว้ก่อนแล้วค่อยเหนี่ยวไกยิงแบบปืนซิงเกิลฯ ก็ได้ ซึ่งจะทำให้ไกเบาลง เล็งยิงได้ประณีตขึ้น
แบล็คฮอว์ค เป็นปืนชนวนกลางกระบอกแรกของบริษัทรูเกอร์ ซึ่งเพิ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ก่อนเริ่มผลิต แบล็คฮอว์ค รูเกอร์มีเพียงปืนสั้นลูกกรดสองแบบ คือกึ่งอัตโนมัติ “สแตน ดาร์ด” ที่เป็นผลงานชิ้นแรกของบริษัท กับลูกโม่ “ซิงเกิล ซิก” (Single Six) ที่ออกขายในปี ค.ศ. 1953 ในช่วงนั้น รูเกอร์ยังเป็นน้องใหม่ในวงการ เลือกผลิตปืนลูกโม่แบบซิงเกิลฯ เพราะเห็นว่ามีความต้องการในตลาดเอกชน แต่ไม่มีผู้ผลิตรายอื่นสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โคลท์ ที่ได้สัญญาสั่งซื้อปืนทหารช่วงสงคราม หยุดผลิตรุ่นคลาสสิก “ซิงเกิล แอ๊คชั่น อาร์มี” (Colt Single Action Army : SAA) ไปกว่าสิบปี
ลูกโม่โคลท์ซิงเกิลดั้งเดิม เช่นโคลท์ SAA และ แบล็คฮอว์ค รุ่นแรก สามารถง้างนกสับได้สามตำแหน่ง คือจากลดนกชิดโครง ง้างมาคลิกแรกเป็นตำแหน่งสำหรับพกพา จุดประสงค์เพื่อความปลอดภัย คือไม่ให้เข็มแทงชนวนจ่อชิดจอกชนวนท้ายกระสุน ง้างต่อมาตำแหน่งที่สองสำหรับบรรจุกระสุน โม่จะหมุนมาครึ่งทาง ช่องโม่ตรงกับก้านกระทุ้งปลอกใต้ลำกล้อง เปิดชิ้นบานพับปิดหลังโม่ ด้านขวาแล้วคัดปลอกบรรจุใหม่ทีละนัด บรรจุเสร็จปิดบานพับ ง้างนกต่อจนสุดคือตำแหน่งพร้อมยิง โม่จะหมุนมาให้ช่องบนสุดตรงกับลำกล้องพอดี
ข้อด้อยของระบบนี้ คือเมื่อบรรจุเต็มหกนัดมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุปืนลั่น โดยผู้ใช้อาจลืมง้างนกออกมาตำแหน่งพกพา หรือแง่ที่จับตำแหน่งนี้อาจบิ่นหรือสึกหรอไป หากปืนหล่นกระแทกพื้นเข็มจะเข้าถึงท้ายกระสุนทำให้ปืนลั่นได้ จึงมักบรรจุกระสุนเพียงห้านัด เว้นช่องโม่ที่ตรงกับนกสับให้ว่างไว้เพื่อความปลอดภัยเต็มที่
ในปี ค.ศ. 1973 รูเกอร์พัฒนาระบบการทำงานแบบใหม่ เพิ่มแท่งส่งผ่านแรงกระแทก (Transfer bar) ใช้กับนกสับที่มีสันส่วนบนยื่นชนโครงปืน ส่วนล่างที่ตรงกับท้ายเข็มแทงชนวนคว้านเว้นช่องว่างไว้ นกสับไม่มีโอกาสเข้าถึงท้ายเข็มแทงชนวนโดยตรง ต้องอาศัยแท่งส่งผ่านแรงช่วยต่อเชื่อมจากหน้านกสับถึงท้ายเข็ม โดยแท่งนี้จะยุบตัวอยู่ด้านล่าง ต้องง้างนกสุดพร้อมยิงจึงจะขยับตัวขึ้นมาบังท้ายเข็ม สามารถบรรจุกระสุนเต็มหกนัดได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ ระบบใหม่ของรูเกอร์ยังลดความยุ่งยากในขั้นตอนการบรรจุกระสุน คือในตำแหน่งลดนกชิดโครง สามารถง้างชิ้นปิดท้ายโม่ออก ขยับช่องโม่ คัดปลอก บรรจุกระสุนนัดใหม่ได้ไม่ต้องง้างนกครึ่งทาง และต้องพับเก็บตัวปิดท้ายโม่เข้าที่ก่อนจึงจะง้างนกยิงได้ ตำแหน่งนกสับเหลือเพียงลดนกชิดโครง กับง้างนกสุดทางพร้อมยิงเท่านั้น ซึ่งรูเกอร์ที่ระลึกสองกระบอกใช้ระบบใหม่นี้
โดยสรุป แบล็คฮอว์ค ที่ระลึกคู่นี้ เป็นปืนระดับสะสม รูปทรงเป็นปืนโคบาลตะวันตกแต่ใช้ระบบการทำงานสมัยใหม่ วัสดุเหล็กล้วน แข็งแรงเป็นพิเศษ แตกต่างจากปืนรุ่นเดียวกันในสายผลิตปกติที่โครงด้ามเป็นอะลูมิเนียม ฝีมือผลิตเรียบร้อยสวยงาม อาจซื้อเก็บลักษณะลงทุน หรือใช้ยิงเป้าซ้อมเป็นครั้งคราวได้ กระบอก .357 สามารถใช้กระสุน .38 สเปเชียลได้ทุกแบบ ยิงนิ่มนวลมากจากน้ำหนักตัวปืน ส่วน .44 ถ้าไม่ต้องการความแรงของแม็กนั่มสามารถใช้ .44 สเปเชียลได้ ความแรงระดับเดียวกับ .45 ออโตฯ ทั้งสองกระบอกใช้เป็นปืนเฝ้าบ้านได้ดี.
ข้อมูลสรุป Ruger 50th Anniversary Blackhawk
ลักษณะตัวปืน ลูกโม่ซิงเกลแอ๊คชั่น ระบบไกแบบใหม่
ขนาดกระสุน .357 แม็กนั่ม กับ .44 แม็กนั่ม โม่จุ 6 นัด
ความยาว 10.5 นิ้ว (.357), 12.4 นิ้ว (.44)
ลำกล้องยาว 4.6 นิ้ว (.357), 6.5 นิ้ว (.44)
น้ำหนัก 42 ออนซ์ (.357), 45 ออนซ์ (.44)
แรงเหนี่ยวไก 2,300 กรัม (5 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ, ด้ามยางแข็ง
อื่น ๆ ศูนย์ปรับได้, มาพร้อมกล้องตั้งแสดง
ลักษณะใช้งาน ปืนสะสม ใช้ยิงได้จริง แข็งแรงกว่าปืนใช้งานทั่วไป
https://www.dailynews.co.th/article/204774/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช