ปืนลูกโม่เมื่อเทียบกับปืนกึ่งอัตโนมัติ มีจุดเด่นที่ใช้งานง่าย โอกาสขัดข้องน้อย กระสุนที่ใช้จะเก่าไปบ้าง เสื่อมสภาพบ้าง ก็ยังใช้กับปืนลูกโม่ได้ ไม่เป็นปัญหาเหมือนเมื่อใช้กับปืนระบบกึ่งอัตโนมัติ ทางด้านจุดด้อยคือจุกระสุนได้จำกัด ง้างนกยิงซ้ำแบบซิงเกิลไม่สะดวก ถ้ายิงแบบดับเบิลไม่ง้างนกไกก็จะหนัก แต่ถ้าเทียบกันด้านความแม่นยำ ต้องพิจารณารายละเอียดอีกหลายจุดกว่าจะสรุปได้ว่าระบบไหนยิงได้แม่นกว่า
ในระบบการแข่งขันของสมาพันธ์กีฬายิงปืนนานาชาติ (ISSF : International Shooting Sport Federation) มีประเภทการแข่งขันที่อาจกล่าวได้ว่า ข้อกำหนดในกติกาเอื้อต่อการทำงานของปืนลูกโม่โดยเฉพาะ คือ “ปืนสั้นชนวนกลาง” ระยะ 25 เมตร กล่าวคือ ภาคยิงช้า 30 นัด แบ่งเป็นชุดละ 5 นัด 6 ชุด ให้เวลาชุดละ 5 นาที ภาคยิงเร็ว 30 นัด แบ่งเป็นชุดละ 5 นัด 6 ชุด โดยแต่ละชุดยิงแบบ “3 พัก 7” คือเป้าหันมาให้ยิง 3 วินาที แล้วหันข้างห้ามยิง 7 วินาที (เป้าอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ใช้สัญญาณไฟเขียวไฟแดงแทนการพลิกเป้า) สลับกันจนครบแต่ละชุด ซึ่งสำหรับปืนลูกโม่ก็ใช้ช่วง 7 วินาที่นั้นง้างนกได้สบาย ซึ่งปืนยอดนิยมสำหรับประเภทปืนสั้นชนวนกลางช่วงยี่สิบปีแรกที่แข่งขันกัน (ทศวรรษ 1960 – 1980) คือปืนลูกโม่ครับ ทางค่ายเสรีนิยมมี สมิธฯ โมเดล 14 ส่วนทางค่ายคอมมูนิสต์ มี ตอซ 49 ที่พัฒนาจากลูกโม่ นากัง
สมิธฯ โมเดล 14 เป็นหนึ่งในชุด “มาสเตอร์พีซ” (Masterpiece : งานชิ้นเอก) ของสมิธฯ ใช้โครงขนาดกลางรหัส K ทำออกมาสี่รุ่น คือโมเดล 14, 15, 16 และ 17 โดยทั้งหมดออกแบบเป็นปืนยิงเป้าลำกล้องหกนิ้ว ยกเว้น โมเดล 15 ที่ทำลำกล้องสี่นิ้ว ติดศูนย์หน้าแบบต่อสู้ เรียกว่า “คอมแบ็ต มาสเตอร์พีซ” ใช้กระสุน .38 สเปเชียล เป็นปืนยอดนิยมของตำรวจติดต่อกันหลายสิบปี โมเดล 14 ใช้กระสุนขนาด .38 เท่าโมเดล15, โมเดล 16 เป็นขนาด .32 S&W Long, และโมเดล 17 เป็นขนาด .22 ลูกกรด ซึ่งก่อนที่จะใช้เลขรหัสรุ่นเหล่านี้ ปืนในชุด “มาสเตอร์พีซ” มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า K-38, K-32 และ K-22 ตามขนาดกระสุน
ปืนนายแบบที่ถ่ายภาพมานี้ เป็นโมเดล 14 ที่ช่างไทยแต่งพิเศษเล็กน้อย คือเสริมศูนย์หน้าให้สูงและหนาขึ้น แผ่นศูนย์หลังใหญ่ เพิ่มสกรูหยุดไกแบบปรับได้จากภายนอก ต้วเลขรุ่น 14-6 ที่ใต้บานพับโม่ บ่งว่าเป็นรุ่นสุดท้ายที่ทำเข็มแทงชนวนติดกับนกสับ รุ่นหลังจากนี้จะเป็นแบบแยกเข็มแทงชนวนฝังไว้ที่โครงปืน รูปแบบดั้งเดิม ไม่มีฝักหุ้มก้านคัดปลอก สมิธฯ มาเพิ่มฝักหุ้มให้ยาวตลอดถึงปลายลำกล้อง เป็น “ฟูลลัก” (Full lug) ให้เหมือนกับรุ่น 686 ยอดนิยม แต่รุ่นล่าสุดกลับไปใช้ลำกล้องรูปแบบเดิมอีกครั้ง น้ำหนักรวมของตัวปืนต่างกันอยู่ประมาณ 150 กรัม
อาจมีข้อสงสัยว่า ปัจจุบันในการยิงเป้าแข่งขัน “สั้นชนวนกลาง” นักกีฬาหันไปใช้ปืนกึ่งอัตโนมัติกันหมด จะถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าความแม่นยำของปืนลูกโม่ด้อยกว่าได้หรือไม่ ในความเป็นจริงเมื่อใช้ยิงจากเครื่องจับ ลูกโม่ชั้นดีอย่างสมิธฯ โมเดล 14 นี้ ทำกลุ่มกระสุนได้ไม่แพ้ปืนแข่งกึ่งออโตฯ ที่ราคาอาจจะแพงกว่าเป็นเท่าตัว แต่สาเหตุที่นักกีฬาเลิกใช้ปืนลูกโม่เป็นเพราะปืนกึ่งออโตฯ สำหรับแข่งระยะ 25 เมตรสมัยใหม่ ทำลำเลื่อนสองชุด ขนาด .22 และ .32 สามารถใช้ด้ามเดียวโครงเดียว ไกชุดเดียว เพียงเปลี่ยนชุดลำเลื่อนก็ใช้แข่งได้สองประเภท คือ .22 สำหรับปืนสั้นมาตรฐาน และ .32 สำหรับปืนสั้นชนวนกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ปืนกึ่งอัตโนมัติ “ยิงง่ายกว่า” คือคนยิงทำผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ กระสุนยังแตกกลุ่มไม่ไกล ถ้าเป็นปืนลูกโม่จะหลุดไปไกลกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะปืนลูกโม่นั้น ตัวปืนจะรีคอยล์คือกระดกขึ้นเล็กน้อยทันทีที่หัวกระสุนขยับตัวจากปลอก ยังไม่พ้นลำกล้อง การจับปืนแน่นหรือไม่แน่นมีผลต่อตำแหน่งกระสุนที่เป้า แต่สำหรับปืนกึ่งออโตฯ ตัวปืนจะกระดกขึ้นเมื่อลำเลื่อนถอยหลังสุดมาชนโครงปืน ซึ่งหัวกระสุนจะพ้นปลายลำกล้องไปแล้ว ตัวแปรในการกำด้ามแทบไม่มีผล
โดยรวม สมิธฯ โมเดล 14 เป็นปืนลูกโม่ที่ให้ความแม่นยำสูง นอกจากใช้ยิงเป้าแข่งขันแล้ว ยังเป็นปืนเฝ้าบ้านชั้นดี ใช้กระสุน .38 สเปเชียล ได้ทั้งแบบปกติและลูกแรงสูง +P บ้านเรามีการแข่งขัน “ปืนสั้นชาวบ้าน” ที่มักแยกประเภทปืนลูกโม่กับปืนกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งในประเภทลูกโม่ สมิธฯ รุ่นนี้เป็นพระเอกตลอดกาล
.......................................................
ข้อมูลสรุป Smith & Wesson Model 14
ขนาดกระสุน .38 สเปเชียล จุ 6 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 292x130x36x มิลลิเมตร
น้ำหนัก 1,140 กรัม (รุ่น “คลาสสิก” 990 กรัม)
แรงเหนี่ยวไก ดับเบิล 5,450 กรัม (12 ปอนด์) ซิงเกิล 1,360 กรัม (3 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ
อื่นๆ มีรุ่นพิเศษ ไกซิงเกิลอย่างเดียว
ลักษณะใช้งาน ปืนยิงเป้า (สั้นชนวนกลางระบบสากล), เฝ้าบ้าน
ตัวเลือกอื่น Smith & Wesson Model 16 (ขนาด .32)
https://www.dailynews.co.th/article/102529/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 964 ปืนลูกโม่ยิงเป้า K-38 สมิธ แอนด์ เวสสัน โมเดล 14
ในระบบการแข่งขันของสมาพันธ์กีฬายิงปืนนานาชาติ (ISSF : International Shooting Sport Federation) มีประเภทการแข่งขันที่อาจกล่าวได้ว่า ข้อกำหนดในกติกาเอื้อต่อการทำงานของปืนลูกโม่โดยเฉพาะ คือ “ปืนสั้นชนวนกลาง” ระยะ 25 เมตร กล่าวคือ ภาคยิงช้า 30 นัด แบ่งเป็นชุดละ 5 นัด 6 ชุด ให้เวลาชุดละ 5 นาที ภาคยิงเร็ว 30 นัด แบ่งเป็นชุดละ 5 นัด 6 ชุด โดยแต่ละชุดยิงแบบ “3 พัก 7” คือเป้าหันมาให้ยิง 3 วินาที แล้วหันข้างห้ามยิง 7 วินาที (เป้าอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ใช้สัญญาณไฟเขียวไฟแดงแทนการพลิกเป้า) สลับกันจนครบแต่ละชุด ซึ่งสำหรับปืนลูกโม่ก็ใช้ช่วง 7 วินาที่นั้นง้างนกได้สบาย ซึ่งปืนยอดนิยมสำหรับประเภทปืนสั้นชนวนกลางช่วงยี่สิบปีแรกที่แข่งขันกัน (ทศวรรษ 1960 – 1980) คือปืนลูกโม่ครับ ทางค่ายเสรีนิยมมี สมิธฯ โมเดล 14 ส่วนทางค่ายคอมมูนิสต์ มี ตอซ 49 ที่พัฒนาจากลูกโม่ นากัง
สมิธฯ โมเดล 14 เป็นหนึ่งในชุด “มาสเตอร์พีซ” (Masterpiece : งานชิ้นเอก) ของสมิธฯ ใช้โครงขนาดกลางรหัส K ทำออกมาสี่รุ่น คือโมเดล 14, 15, 16 และ 17 โดยทั้งหมดออกแบบเป็นปืนยิงเป้าลำกล้องหกนิ้ว ยกเว้น โมเดล 15 ที่ทำลำกล้องสี่นิ้ว ติดศูนย์หน้าแบบต่อสู้ เรียกว่า “คอมแบ็ต มาสเตอร์พีซ” ใช้กระสุน .38 สเปเชียล เป็นปืนยอดนิยมของตำรวจติดต่อกันหลายสิบปี โมเดล 14 ใช้กระสุนขนาด .38 เท่าโมเดล15, โมเดล 16 เป็นขนาด .32 S&W Long, และโมเดล 17 เป็นขนาด .22 ลูกกรด ซึ่งก่อนที่จะใช้เลขรหัสรุ่นเหล่านี้ ปืนในชุด “มาสเตอร์พีซ” มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า K-38, K-32 และ K-22 ตามขนาดกระสุน
ปืนนายแบบที่ถ่ายภาพมานี้ เป็นโมเดล 14 ที่ช่างไทยแต่งพิเศษเล็กน้อย คือเสริมศูนย์หน้าให้สูงและหนาขึ้น แผ่นศูนย์หลังใหญ่ เพิ่มสกรูหยุดไกแบบปรับได้จากภายนอก ต้วเลขรุ่น 14-6 ที่ใต้บานพับโม่ บ่งว่าเป็นรุ่นสุดท้ายที่ทำเข็มแทงชนวนติดกับนกสับ รุ่นหลังจากนี้จะเป็นแบบแยกเข็มแทงชนวนฝังไว้ที่โครงปืน รูปแบบดั้งเดิม ไม่มีฝักหุ้มก้านคัดปลอก สมิธฯ มาเพิ่มฝักหุ้มให้ยาวตลอดถึงปลายลำกล้อง เป็น “ฟูลลัก” (Full lug) ให้เหมือนกับรุ่น 686 ยอดนิยม แต่รุ่นล่าสุดกลับไปใช้ลำกล้องรูปแบบเดิมอีกครั้ง น้ำหนักรวมของตัวปืนต่างกันอยู่ประมาณ 150 กรัม
อาจมีข้อสงสัยว่า ปัจจุบันในการยิงเป้าแข่งขัน “สั้นชนวนกลาง” นักกีฬาหันไปใช้ปืนกึ่งอัตโนมัติกันหมด จะถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าความแม่นยำของปืนลูกโม่ด้อยกว่าได้หรือไม่ ในความเป็นจริงเมื่อใช้ยิงจากเครื่องจับ ลูกโม่ชั้นดีอย่างสมิธฯ โมเดล 14 นี้ ทำกลุ่มกระสุนได้ไม่แพ้ปืนแข่งกึ่งออโตฯ ที่ราคาอาจจะแพงกว่าเป็นเท่าตัว แต่สาเหตุที่นักกีฬาเลิกใช้ปืนลูกโม่เป็นเพราะปืนกึ่งออโตฯ สำหรับแข่งระยะ 25 เมตรสมัยใหม่ ทำลำเลื่อนสองชุด ขนาด .22 และ .32 สามารถใช้ด้ามเดียวโครงเดียว ไกชุดเดียว เพียงเปลี่ยนชุดลำเลื่อนก็ใช้แข่งได้สองประเภท คือ .22 สำหรับปืนสั้นมาตรฐาน และ .32 สำหรับปืนสั้นชนวนกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ปืนกึ่งอัตโนมัติ “ยิงง่ายกว่า” คือคนยิงทำผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ กระสุนยังแตกกลุ่มไม่ไกล ถ้าเป็นปืนลูกโม่จะหลุดไปไกลกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะปืนลูกโม่นั้น ตัวปืนจะรีคอยล์คือกระดกขึ้นเล็กน้อยทันทีที่หัวกระสุนขยับตัวจากปลอก ยังไม่พ้นลำกล้อง การจับปืนแน่นหรือไม่แน่นมีผลต่อตำแหน่งกระสุนที่เป้า แต่สำหรับปืนกึ่งออโตฯ ตัวปืนจะกระดกขึ้นเมื่อลำเลื่อนถอยหลังสุดมาชนโครงปืน ซึ่งหัวกระสุนจะพ้นปลายลำกล้องไปแล้ว ตัวแปรในการกำด้ามแทบไม่มีผล
โดยรวม สมิธฯ โมเดล 14 เป็นปืนลูกโม่ที่ให้ความแม่นยำสูง นอกจากใช้ยิงเป้าแข่งขันแล้ว ยังเป็นปืนเฝ้าบ้านชั้นดี ใช้กระสุน .38 สเปเชียล ได้ทั้งแบบปกติและลูกแรงสูง +P บ้านเรามีการแข่งขัน “ปืนสั้นชาวบ้าน” ที่มักแยกประเภทปืนลูกโม่กับปืนกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งในประเภทลูกโม่ สมิธฯ รุ่นนี้เป็นพระเอกตลอดกาล
.......................................................
ข้อมูลสรุป Smith & Wesson Model 14
ขนาดกระสุน .38 สเปเชียล จุ 6 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 292x130x36x มิลลิเมตร
น้ำหนัก 1,140 กรัม (รุ่น “คลาสสิก” 990 กรัม)
แรงเหนี่ยวไก ดับเบิล 5,450 กรัม (12 ปอนด์) ซิงเกิล 1,360 กรัม (3 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ
อื่นๆ มีรุ่นพิเศษ ไกซิงเกิลอย่างเดียว
ลักษณะใช้งาน ปืนยิงเป้า (สั้นชนวนกลางระบบสากล), เฝ้าบ้าน
ตัวเลือกอื่น Smith & Wesson Model 16 (ขนาด .32)
https://www.dailynews.co.th/article/102529/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช