ในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติ... คำว่า "ของเก่า" หมายถึงอะไรครับ

เวลาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือทำสมาธิ เรามักจะเคยได้ยินคำว่า ของเก่า อยู่บ้าง

คำว่า ของเก่า ในที่นี้หมายถึงอะไรได้บ้างครับและเริ่มขึ้นมายังไง

แล้วเราจะได้รู้ได้ยังไงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นที่เราพบเจอนั้นเป็น ของเก่า ที่มาจากอดีตชาติ หรือเป็น ของใหม่ ที่มาจากภพชาติปัจจุบัน

ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ขออนุญาตเสนอความเห็นนะครับ

เห็นด้วยกับทุกๆ คห ของเพื่อนๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเลยครับ

สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราปฏิบัติมา จะทำให้เกิดร่องเกิดรอยค้างอยู่ในจิตเสมอ
   สังเกตจาก ขณะฝึกวิปัสสนา พอเข้าสู่ช่วง จิตในจิต
   จะปรากฏภาพต่างๆ แวบไปแวบมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับเรื่องทั่วไป เรื่องที่เราหมกมุ่น หรือฝึกจนเชี่ยวชาญ ก็อาจจะเป็นร่องฝังลึก ข้ามภพ ข้ามชาติ
   ทำให้เราอาจเรียนรู้ทักษะบางด้าน เร็วกว่าคนอื่นๆ
   (แต่ถ้าพ่อแม่ เป็นคนเก่งด้านใด และเราเก่งด้านนั้นตาม ผมว่าเป็นผลจากการหล่อหลอมของครอบครัวมากกว่านะครับ)

สำหรับเรื่องการปฏิบัติธรรม ที่เป็นการฝึกจิตโดยตรง
   เป็นการฝากร่องรอยลงในจิต ในระดับจิตใต้สำนึก
   ร่องอันนี้ น่าจะติดตามข้ามภพข้ามชาติ มาได้ง่ายกว่าทักษะอื่นๆ

   เมื่อเกิดชาติภพใหม่ และมีโอกาสมาพบพระพุทธศาสนา หรือ พบการทำสมาธิ
   ก็เป็นไปได้ว่าจะก้าวหน้าเร็วกว่าคนอื่นๆ มีผลการฝึกที่จับต้องได้
   หรือฝึกแบบปกติ แต่กลับได้อภิญญาบางอย่าง เป็นของแถม มาอย่างง่ายๆ เป็นต้น
   
เคยอ่านบางบทความว่า
    หากชาติที่แล้ว ใครที่ปฏิบัติธรรมมามาก เคยฝึกในแนวทางใด
    ชาตินี้ ในระหว่างที่รอครูบาอาจารย์ที่เหมาะสม  ก็จะไม่ไปฝึกอาจารย์ท่านอื่น
   
ทุกอย่าง ทุกประการ ต้องมีจุดเริ่มต้นเสมอ
   เคยอ่านหนังสือบางเล่ม
     ที่ไปสัมภาษณ์ Talent ในสาขาต่างๆ พบว่า
         Talent ไม่จำเป็นต้องเกิดมามีพรสวรรค์เสมอไป
         Talent ส่วนใหญ่ เกิดจากการฝึกฝน อย่างถูกวิธี
              ขอเพียง มีความมานะ หมกมุ่น และพยายามมากเพียงพอ
   ถึงแม้เราอาจจะไม่มีของเก่า
      เราก็ทำให้มีของเก่าในชาตินี้ได้

ความเห็นประมาณนี้ครับผม หากมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใด ก็ต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่