เพลงนี้ ... ใครแปลออกบ้าง ?????

https://youtu.be/vkQBxifvc6A

เพลงนี้ เป็นการสื่อวัฒนธรรม ของ วาเกียว /วาหยุ่ย ในเมืองไทย
สังคมคนจีนในยุค 40-50 ปีก่อนโน้น ความชัดเจนในความเป็น ลูกหลานจีนมีมาก

แต่ วาเกียว/วาหยุ่ย ถึงจะเป็นจีนโพ้นทะเล / ลูกหลานของจีนโพ้นทะเล ...ด้วยกัน
แต่ก็มีความต่างกันในรายละเอียดของชาติพันธุ์
ความแตกต่าง ขนบ ธรรมเนียม อาหารการกิน วิธีคิด การทำมาหากิน และ...
...โดยเฉพาะ เรื่องของภาษา ...

แม้จะมีความรักของหนุ่มสาวที่ต่างภาษา แม้จะป็นจีนด้วยกัน
ผู้ใหญ่ก็ยังเชื่อว่า ให้ลูกหลานตัวแต่งงานกันเองในชาติพันธุ์มากกว่า
นี่..คือ....การกีดกันความรัก...ด้วยปริบทของความคิด
ที่เป็นมากคือ ระหว่าง ไฮ้หน่ำ กับ แต้จิ๋ว

เพลงนี้ สะท้อนสิ่งที่ว่าไว้ข้างบน ...จึงใช้ 2 ภาษา ปนกัน
..ตอนแต่งเพลงนี้ ตินเต (ครู) ที่สอนภาษาให้เรา พอได้ฟัง...ยังติงว่า เราเป็นไฮ้หน่ำ
ก็ควรใช้คำศัพท์ของไฮ้หน่ำเรา ....

============================
ก็ขอถามว่า ใครที่เข้ามาฟังเพลงนี้ จับความได้ไหม ว่า
แต่ละคำ แปลว่าอย่างไร ??
============================

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
“บ่อเซียงกัง เซี่ยงโก ไฮ้หน่ำหนั่ง”
------------------------------------

不相干 บ่อเซียงกัง  = ไม่เป็นไร / คำนี้เป็นภาษาของคนเสี่ยวจิว (คนไฮ้หน่ำเรียกคนแต้จิ๋ว ออกสำเนียงว่า เสี่ยวจิว)

เซี่ยงโก = รูปหล่อ / คำนี้เป็นภาษาไฮ้หน่ำ

ไฮ้หน่ำหนั่ง = คนไฮ้หน่ำ
คนไทยและคนทั่วไปในไทย เรียกพวกเราแบบผิดๆ มาเป็นร้อยกว่าปี-หรือนานมากกว่า
ที่เมืองจีน ที่เกาะไฮ่หน่ำ ไปเรียกคำว่า ไหหลำ เขาฟังไม่รู้เรื่อง .... เพราะคำนี้ไม่มีในภาษาไฮ้หน่ำ
ไม่รู้ว่า ใครเป็นคนทำให้คำนี้เพี้ยนไปไกลอย่างนี้

ดังนั้น ลูกหลานไฮ้หน่ำ ก็มารณรงค์เรียกชื่อเผ่าเราให้ถูกต้อง
“ไฮ้หน่ำ”..... ไม่ใช่ ...... “ไหหลำ”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่