JJNY : กินเจปีนี้กร่อยหนัก│ส.SMEs แนะ ไม่แค่อุดหนุน 3พัน 3ด.│ใต้ติดเชื้อ 17% ของประเทศ│สระบุรีแจ้งด่วน! แนวกั้นน้ำพัง

คาดน้ำท่วม เสียหาย 1.5 หมื่นล้าน ชี้กินเจปีนี้กร่อยหนัก จากพิษโควิด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6652342
  
 
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ม.หอการค้าชี้น้ำท่วมทำเสียหาย 1.5 หมื่นล้าน ด้านกินเจกร่อยสุดรอบ 14 ปีจากโควิด ชี้ศก.ไทยลุ้นทะยานจากการอัดฉีดไตรมาสนี้ อาจโต 1%
 
วันที่ 1 ต.ค.2564 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวถึงการสำรวจสถานการณ์น้ำท่วมจากประธานหอการค้า รองประธานหอการค้า ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม 36 จังหวัดพบว่า ประชาชนได้รับผลกระทบ 227,470 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายไปแล้ว 13 จังหวัด
  
โดยน้ำท่วมได้ส่งผลกระต่อบ้านเรือน ถนนหนทางและอื่นๆ กระทบด้านการเกษตร พืช ปศุสัตว์ การค้า โดยผลกระทบเหล่านี้ความเสียหายน่าจะมีมูลค่ากว่า 15,036 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.1-0.2 % ของจีดีพี
 
อย่างไรก็ดีสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ยังไม่รุนแรงเท่ากับน้ำท่วมในปี 2554 ที่กระทบต่อภาคเศรษฐกิจทั้งโรงงาน อุตสาหกรรม ระบบขนส่ง และคาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้ในเร็วๆ นี้
 
นอกจากนี้ทางศูนย์ได้สำรวจผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจ ระหว่างวันที่ 4-13 ต.ค. จากตัวอย่างทั้งสิ้น 1,208  ตัวอย่างทั่วประเทศว่า ว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 เศรษฐกิจโดยรวมมีปัญหา ทำให้เทศกาลกินเจในปีนี้ไม่คึกคัก
 
โดยให้มียอดการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลเจอยู่ที่ 40,147 ล้านบาท ขยายตัวติดลบ 14.5 % เมื่อเทียบกับเทศกาลกินเจในปี 2563 ที่มีมูลค่า 46,967 ล้านบาท ถือว่าเทศกาลกินเจในปีนี้ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 ที่มีการสำรวจมา จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในหลายๆด้านอยู่ในขณะนี้
 
สำหรับแหล่งที่มาของเงินที่นำมาใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ 81.9 % มาจากรายได้ประจำ รองลงมาจากเงินช่วยเหลือของภาครัฐ 7.7 % เงินออม 4.5 % ขณะที่รายได้พิเศษ 3.4 % ลดลงมากเมื่อเทียบกับปี63 ที่อยู่7.2 %
 
ทั้งนี้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังได้สำรวจทัศนะทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและจะฟื้นตัวได้อย่างปกติในครึ่งหลังปี 2565 ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและรายได้ที่ลดลง แต่หนี้สินเพิ่มขึ้น
 
อย่างไรก็ตามก็เชื่อว่า สถานการณ์จะดีขึ้นจากรัฐบาลคลายล็อกดาวน์ทำให้เศรษฐกิจเริ่มคึกคัก ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นแต่ยังคงมีความเป็นห่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ยังไม่กล้าที่จะเดินทางท่องเที่ยวแบบทั้งไป-กลับ และแบบค้างคืน รวมทั้งการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านน้อย
 
ส่วนการเปิดประเทศนั้นอยากให้เปิดประเทศเพราะจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นแต่ก็กลัวว่าจะมีการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่
 
สำหรับสิ่งที่ที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการหลังจากนี้ คือ เร่งการฉีดวัคซีนประชาชนที่เหลือให้มากขึ้น พร้อมเร่งหามาตรการช่วยเหลือภาคประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆอย่างต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการต้องการเงินเยียวยาต่ออีกและกระจายผู้ที่ได้รับมากขึ้น หาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ กระตุ้นการลงทุน แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ
 
โดยในช่วงไตรมาสที่ 4 ยังคงมีความจำเป็นเพื่อที่จะให้มีเม็ดเงินเข้าไปประคับประคองเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน ทั้งนี้ศูนย์ฯมองว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโต 1 %
 

 
สมาพันธ์เอสเอ็มอี แนะรัฐประคองรายย่อยให้อยู่ได้จริง ต้องเติมทุน-ดึงตกงานมีอาชีพ ไม่แค่อุดหนุน 3 พัน 3 เดือน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2967730
 
สมาพันธ์เอสเอ็มอี แนะรัฐประคองรายย่อยให้อยู่ได้จริง ต้องเติมทุน-ดึงตกงานมีอาชีพ ไม่แค่อุดหนุน 3 พัน 3 เดือน
 
วันที่ 1 ตุลาคม นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยกับมติชนว่า โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน SME ของกระทรวงแรงงาน อุดหนุนผู้ประกอบการ 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คน โดยให้กับผู้ประกอบการที่มีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน และให้ความช่วยเหลือ 3 เดือน ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2564 ถึง มกราคม 2565 นับเป็นการช่วยเหลือบรรเทาเยียวยาลดภาระผู้ประกอบการ กว่า 480,000 ราย และส่งเสริมให้เกิดการรักษาระดับการจ้างงาน SME กว่า 5,000,000 คน ในระบบประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อย่างเป็นรูปธรรม ต้องขอขอบคุณกระทรวงแรงงาน และท่านนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญ และออกมาตรการช่วยเหลือกับผู้ประกอบการ SME ที่เผชิญปัญหาธุรกิจจากการแพร่ระบาด COVID-19 มาเกือบ 2 ปี
 
“ซึ่ง SME อยากเน้นย้ำถึงมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดไปพร้อมกับการขยายการเปิดภาคธุรกิจในแต่ละคลัสเตอร์ให้มีความพร้อมไม่เกิดการแพร่ระบาดกลับมารุนแรงอีก จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ GDP ถดถอยติดลบได้ แต่หากมาตรการเศรษฐกิจควบคู่สุขภาพที่ปลอดภัยของประชาชนดำเนินการไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จะสามารถเพิ่มการเติบโตเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้ง 4 เครื่องได้”
 
นายแสงชัย กล่าวว่า สมาพันธ์ มีข้อเสนอแนะที่สำคัญเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้ภายหลัง COVID-19 เกิดการขยายความเหลื่อมล้ำมากขึ้น คือ 
 
1.แหล่งทุน การเข้าถึงแหล่งทุนที่ต้องเป็นทางเลือก SME ที่มี Success rate การอนุมัติสินเชื่อสูง กับกองทุนสินเชื่อของประกันสังคม 30,000 ล้านบาท สนับสนุน SME ที่มีความต้องการสินเขื่อให้ SME ในระบบประกันสังคมได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น ควรปรับปรุงเกณฑ์พิจารณารูปแบบการให้สินเชื่อ และพัฒนารูปแบบในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทั้งผู้ประกอบการ และแรงงานว่างงาน (มาตรา 33 39 และ 40) อย่างเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนการเพิ่มสภาพคล่อง และช่วยผู้ประกอบการ SME ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนารูปแบบธุรกิจให้สอดคล้อง และรองรับสถานการณ์ New normal รวมทั้งสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าอย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
2 .ทุนมนุษย์ กลไกการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ควบคู่กับการพัฒนาฝีมือแรงงาน SME รวมทั้งแรงงานว่างงานที่ต้องการงานใหม่ อาชีพใหม่ หรือ เป็นผู้ประกอบการใหม่ให้ตอบสนองความต้องการเชิงพื้นที่ ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจ SME ด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งเชื่อมโยงส่งต่อความต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างบูรณาการร่วมกับภาครัฐ สสว สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ สถาบันคุณวุฒิวิชาขีพ DEPA NIA สวทช อุทยานวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเครือข่ายภาคเอกชน เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพรปช) และคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพประจำจังหวัด (กพรปจ) ร่วมกับ กรอ.จังหวัด หรือ คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัดร่วมกัน
 
3. ทุนโอกาส สนับสนุนงบประมาณ มาตรการกระจายโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการให้แต้มต่อสิทธิประโยชน์ให้ SME ปรับปรุงระบบราชการจัดให้เกิดระบบ SME One Stop Services ในการขออนุญาตต่างๆให้สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ต้นทุนต่ำ

อาทิ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)มาตรการส่งเสริมการค้า การลงทุน SME ที่เข้าถึงได้ง่าย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ส่งเสริมเขื่อมโยงงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ การสร้างนวัตกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ยกระดับขีดความสามารถธุรกิจ SME กระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผ่านเซลแมนทูตพาณิชย์ในประเทศต่างๆ และจัด Virtual SME Exporter และจับคู่ธุรกิจ แลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าให้สินค้าและบริการ SME เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมทั้งสร้างกลไก SME Trader ช่วยเหลือ SME ที่มีสินค้าคุณภาพส่งออกแต่ขีดความสามารถทางภาษา การค้ายังไม่เพียงพอ ให้สามารถเติบโตผ่านกลไก SME Trader ที่สนับสนุนผู้ประกอบการ กระทรวงการคลัง มาตรการส่งเสริม จูงใจ SME เข้าระบบ ปรับลดเพดานภาษี SME มาตรการช่วยเหลือสิทธิประโยชน์ทางภาษี กระทรวงอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มผลผลิต มาตรการลดการนำเข้าเครื่องจักรต่างประเทศ ประสานถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ SME ผลิตใช้ได้เองภายในประเทศ อาทิ เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพร เครื่องสำอาง การแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น กระทรวงดีอีเอสกับการส่งเสริมการพัฒนา Smart SME ด้วย Digital IOT มาตรการส่งเสริม Start up จับคู่เสริมแกร่งธุรกิจกับ SME ที่มีความพร้อมต่อยอดธุรกิจให้เติบโต กระทรวงพลังงาน ที่ต้องมุ่งส่งเสริมพลังงานทางเลือก ในการลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ SME เช่น การสนับสนุนส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของ SME การพัฒนาระบบการประหยัดพลังงานให้ SME เป็นต้น
 
“สิ่งที่สมาพันธ์ SME อยากฝากถึงรัฐบาล คือ 3 ทุนข้างต้น และให้มีมาตรการเพิ่มขีดความสามารถ SME ขยายการเติบโตของสัดส่วน GDP SME ของประเทศให้มากกว่า 50% และเพิ่มสัดส่วนการส่งออกของ SME ให้มีมากกว่า 30% โดยพัฒนาผู้ประกอบการ SME ให้มีความพร้อมในการส่งออกเพิ่มมากขึ้นกว่า 100,000 ราย ในปี 2565 “
 
นายแสงชัย กล่าวว่า นอกจากนั้นต้องมีกระบวนการต่อเนื่องในการนำ SME ที่ประสบปัญหาเอ็นพีแอล จากสถานการณ์ COVID-19 ให้พัฒนาฟื้นฟูกลับมาประกอบธุรกิจใหม่ รวมทั้งการพัฒนา ปฏิรูปกฎหมายที่เป็นอุปสรรค SME และส่งเสริมให้ SME มีเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็งจะสามารถช่วยผลักดันให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกับภาครัฐไปได้อย่างก้าวกระโดด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่