ช่วงนี้ท่านผู้อ่านหลายท่านดูข่าวน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทยคงรู้สึกเหมือนเห็นภาพฉายซ้ำ โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยแทบทุกปี
แม้มีการพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ในทางต่างๆ แต่ปัญหาก็ไม่หมดไป อาจเพราะต้นสายปลายเหตุมาจากปัญหาโลกร้อนยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จนมีความกังวลว่ากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองใหญ่สุดของประเทศไทยอาจจมอยู่ใต้บาดาลในที่สุด
เรื่องนี้เป็นจริงเท็จประการใด? น้ำท่วมในไทยเป็น “เรื่องปกติ” ที่เลี่ยงไม่ได้ใช่หรือไม่? บทความนี้จะลองรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านช่วยตัดสินครับ
*** ภาพรวมน้ำท่วมไทย ***
สถิติอุทกภัยในประเทศไทยช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พบว่าโดยเฉลี่ยจะมีเหตุการณ์น้ำท่วมปีละ 9 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ 63 จังหวัด (83% ของจังหวัดทั้งหมด) 17,867 หมู่บ้าน (24% ของหมู่บ้านทั้งหมด) กระทบกับประชาชนเฉลี่ยปีละ 4.5 ล้านคน โดยมีข้อมูลว่าน้ำท่วมใหญ่จะเกิดขึ้นทุกๆ 15-20 ปี
ภาพแนบ: พื้นที่ที่น้ำท่วมบ่อยในประเทศไทย ภาพจากเว็บ mitrearth
ด้านความเสียหายทางทรัพย์สินพบว่ามีบ้านเสียหายประมาณ 45,482 หลังต่อปี พื้นที่การเกษตรอีก 7.56 ล้านไร่ โดยตีเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งหมดปีละ 5,361 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานอยู่เรื่อยๆ
ในช่วง 10 ปีหลังสุด พบว่าความถี่ของอุทกภัยต่อปีลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง เหลือปีละ 5 ครั้ง แต่พื้นที่และจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบกลับเพิ่มขึ้น ...สะท้อนให้เห็นแผนการรับมืออุทกภัยที่ยังไม่เป็นผลสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา
ภาพแนบ: น้ำท่วมกรุงเทพเมื่อปี 1942 (2485)
*** เหตุน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ***
100 ปีที่ผ่านมา มีเหตุน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ หลายครั้ง
ในปี 1942 (2485) น้ำเข้าท่วมพระนครเป็นเวลาถึง 2 เดือน โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรง และต่อมาจึงได้นำไปสู่การสร้างเขื่อนกั้นตั้งแต่ต้นน้ำ
ภาพแนบ: น้ำท่วมปี 1983 (2526) จากเพจรอบรั้วรามฯ
ในปี 1983 (2526) ประเทศไทยได้รับผลจากพายุ 2 ลูก ทำให้ฝนตกหนักเหนือน้ำ และเมื่อน้ำเหนือไหลลงมารวมกับน้ำทะเลหนุน จึงทำให้น้ำเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ในปีนั้นฝนตกปริมาณมาก วัดปริมาณทั้งปีได้กว่า 2100 มิลลิเมตร
ปี 1994 (2537) เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพฯ และปริมณฑล เฉลี่ยทั่วกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกกันว่า "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่
ภาพแนบ: น้ำท่วมปี 1995 (2538)
ปี 1995 (2538) ฝนตกเหนือน้ำอย่างหนักจนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูง วัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) นับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ (เท่าน้ำท่วมปี 1942) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำสูงถึง 50-100 ซม. นาน 2 เดือน
ภาพแนบ: น้ำท่วมสนามบินดอนเมืองเมื่อปี 2011 (2554)
ล่วงถึงปี 2011 (2554) ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน 5 ลูกในช่วงมรสุม ทำให้ปริมาณน้ำฝนขึ้นสูงมากที่สุดในรอบ 61 ปี
ในปีนั้นพายุนกเต็นได้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในภาคเหนือและอีสานมากถึง 11 จังหวัด ตามมาด้วยปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ภาพแนบ: แบร์ริเออร์กั้นน้ำท่วมเมื่อปี 2011 (2554)
ส่วนทางการได้คาดการณ์ผิดจึงไม่ได้เตรียมระบายน้ำล่วงหน้า เมื่อเห็นท่าว่าน้ำจะล้นเขื่อนจึงได้รีบปล่อยน้ำลงมาเพิ่มทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าเดิม
นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐยังทำให้พื้นที่บางแห่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจากส่วนกลาง และมีการเปลี่ยนเส้นทางน้ำแบบขาดการประสานงาน
ภาพแนบ: สถานการณ์น้ำท่วมปี 2011 (2554)
ในเหตุอุทกภัยปีนั้น มีสิ่งที่ได้สร้างความเจ็บปวดเพิ่มเติมให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบคือ "การกั้นบางพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วม"
เรื่องนี้ทำให้เกิดเป็นประเด็นละเอียดอ่อนในการบังคับให้ประชาชนบางพื้นที่ต้อง “เสียสละ”
ภาพแนบ: ภาคกลางของประเทศไม่มีภูเขาเลย
*** ภูมิศาสตร์กรุงเทพ: เมืองน้ำผ่าน ***
ที่ตั้งภูมิประเทศของกรุงเทพมหานครนั้นตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมถึง อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่รับน้ำก่อนไหลงลงทะเล
และเมื่อพิจารณาในแนวราบ พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอยุธยาลงมาถึงกรุงเทพมหานครจัดเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชัดต่ำ น้ำจะไหลเอื่อยๆ และควบคุมทิศทางไม่ได้ รวมทั้งกว่าน้ำจะระบายหมดยังต้องใช้เวลานานมากอีกด้วย
กรุงเทพมหานครนั้นแต่เดิมอยู่ใต้บาดาลมาก่อน ต่อมาค่อยงอกเป็นพื้นที่เมืองขึ้นได้จากการทับถมของดิน จนปัจจุบันทั้งเมืองยังมีระดับสูงสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียงไม่เกิน 1.5 เมตรเท่านั้น
ข้อดีคือ พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเช่นนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุจากการทับถมของดินและโคลนตะกอน ทำให้เอื้อต่อการเพาะปลูกมาก
แม้เมืองลักษณะนี้เป็นเมืองที่เอื้อต่อการเติบโตของประชากร แต่ขณะเดียวกัน ถ้ามีน้ำหลากจากต้นน้ำลงมา แล้วมาเจอกับมรสุมหนัก ก็จะเกิดน้ำท่วมได้ง่าย ทำให้กรุงเทพฯ เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมเสมอ
...กล่าวได้ว่าถ้าน้ำไม่ท่วมสิแปลก…
ภาพแนบ: บันทึกของแชร์แวส
...แต่ว่าทำไมคนสมัยก่อนถึงไม่ย้ายหนีน้ำท่วมล่ะ ถ้ามันจะท่วมบ่อยขนาดนี้?
คำตอบคือคนไทยสมัยก่อนต่างมีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำ สังเกตได้จากบันทึกของ นิโกลาส์ แชร์แวส นักเดินทางชาวฝรั่งเศส เมื่อปี 1685 (ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา) ว่า:
“น้ำท่วมใหญ่ซึ่งดูเป็นที่น่ารำคาญและทำความเสียหายให้มากนี้ กลับนำประโยชน์และความชื่นชอบมาสู่คนสยามเป็นอันมาก เพราะมันเหมือนกับแม่น้ำไนล์ คือให้พื้นดินอุดมและนำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศ…"
ภาพแนบ: การแข่งเรือสมัยอยุธยา ภาพจากละคร "บุพเพสันนิวาส" ช่อง 3
"...สิ่งที่ให้ประโยชน์อีกประการหนึ่งในกรณีที่มีน้ำท่วม ก็คือมีปลาเป็นอันมากและมากเสียจนกระทั่งว่า แม้จะไม่ต้องลงจากเรือน คนๆ หนึ่งจะตกปลาได้ภายในหนึ่งชั่วโมงพอใช้บริโภคไปได้หลายวันทีเดียว
อนึ่งตลอดเวลาที่น้ำท่วม จะมีการเล่นสนุกสนานบนน้ำและการแข่งยานทางน้ำ ซึ่งคนสยามเรียกว่า เรือ (rua) และคนโปรตุเกสเรียกว่า บาล็อง (balon) ดูสนุกมาก ใครพายไปถึงหลักชัยซึ่งมีของรางวัลรอยู่ก่อน ก็จะได้รับการต้อนรับด้วยเสียงเครื่องมโหรีประโคมให้เกียรติในความแข็งขันและสามารถ”
ภาพแนบ: เรือนไทยยกถุนสูงแบบภาคกลาง
วิถีชีวิตของคนไทยภาคกลางสมัยก่อนยังสร้างเรือนไทยแบบยกใต้ถุนสูง รวมทั้งมีการใช้บ้านแพ การทำนาโคลนตม การทำสวนยกร่อง การสัญจรด้วยเรือเป็นหลัก จนถึงกับมีการขุดคลองสลับซับซ้อนแทนถนน
...เรียกว่าพร้อมรับน้ำท่วม ...อาศัยอยู่กับน้ำท่วมจนเป็นวัฒนธรรม...
ถ้าเรายึดหลักเรียกคนตามสิ่งที่ใกล้ชิดเขา เช่นเรียกคนที่อยู่บนเขาว่าชาวเขา เรียกคนที่ทำสวนว่าชาวสวน ...จะเรียกคนกรุงเทพว่าชาวน้ำท่วมก็ไม่แปลก
ภาพแนบ: กรุงเทพมหานครสมัยนี้เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง แทบไม่เหลือเค้า “เวนิสตะวันออก” แบบสมัยก่อน
นับตั้งแต่ปี 1961 (2504) มีการออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเน้นการสัญจรด้วยถนน ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองที่ “ฝืน” ลักษณะพื้นที่ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ เพราะมีการถมคลอง การสร้างอาคารกีดขวางทางน้ำ
จนถึงปัจจุบันเมืองก็ยังคงพัฒนาไปในแนวทางนี้อยู่ (หลายจังหวัดเองมีการระบุว่าการพัฒนาแบบไม่มีผังเมืองเป็นสาเหตุที่ทำให้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่ได้เช่นเดียวกัน)
ภาพแนบ: เหตุน้ำท่วม จากเว็บไซต์สารคดี
ข้อมูลย้อนหลังปี 2005 ถึง 2016 พบว่า มีปีที่กรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่ 5 ปี
มีช่วงที่น้ำท่วมติดต่อกันคือในปี 2010 ถึง 2013 และครั้งใหญ่ที่สุดคือปี 2011 ซึ่งกรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมเกินครึ่งเมือง!
*** การรับมือน้ำท่วมเป็นเรื่องการเมือง? ***
จากผลงานที่ผ่านมาพบว่าทางการไม่ว่าสมัยใดก็ยังรับมือน้ำท่วมวงกว้างได้ไม่ดี นอกจากนั้นยังดูไม่ค่อยตื่นตัวต่อภัยอื่นที่มากับน้ำด้วย เช่น ภัยโรคระบาด, ภัยสารเคมี หรือปัญหาจากการจัดการของเสีย
อีกทั้งความพยายามวางแผนรับมือภัยพิบัติระยะยาวได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้ขาดตอนด้วย
ภาพแนบ: ชาวบ้านบางพื้นที่ขึ้นไปอยู่บนหลังคา
เท่าที่เห็นกรมอุตุนิยมวิทยาทำได้เพียงประกาศเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้พยายามระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเท่านั้น
ในระดับชุมชนชาวบ้านเอาตัวรอดกันเองก่อน มักต้องหนีขึ้นไปบนหลังคา และใช้ทรัพยากรช่วยเหลือกันเอง เช่น ช่วยกันก่ออิฐบล็อกกั้นน้ำ, ใช้รถแทรกเตอร์เข้าไปช่วยเหลือกัน เมื่อน้ำท่วมลดลงทางการจึงจะทำการสำรวจความเสียหาย ซ่อมแซม และทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** น้ำท่วมไทย: หรือกรุงเทพฯ จะจมน้ำในที่สุด? ***
แม้มีการพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ในทางต่างๆ แต่ปัญหาก็ไม่หมดไป อาจเพราะต้นสายปลายเหตุมาจากปัญหาโลกร้อนยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จนมีความกังวลว่ากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองใหญ่สุดของประเทศไทยอาจจมอยู่ใต้บาดาลในที่สุด
เรื่องนี้เป็นจริงเท็จประการใด? น้ำท่วมในไทยเป็น “เรื่องปกติ” ที่เลี่ยงไม่ได้ใช่หรือไม่? บทความนี้จะลองรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านช่วยตัดสินครับ
*** ภาพรวมน้ำท่วมไทย ***
สถิติอุทกภัยในประเทศไทยช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พบว่าโดยเฉลี่ยจะมีเหตุการณ์น้ำท่วมปีละ 9 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ 63 จังหวัด (83% ของจังหวัดทั้งหมด) 17,867 หมู่บ้าน (24% ของหมู่บ้านทั้งหมด) กระทบกับประชาชนเฉลี่ยปีละ 4.5 ล้านคน โดยมีข้อมูลว่าน้ำท่วมใหญ่จะเกิดขึ้นทุกๆ 15-20 ปี
ภาพแนบ: พื้นที่ที่น้ำท่วมบ่อยในประเทศไทย ภาพจากเว็บ mitrearth
ด้านความเสียหายทางทรัพย์สินพบว่ามีบ้านเสียหายประมาณ 45,482 หลังต่อปี พื้นที่การเกษตรอีก 7.56 ล้านไร่ โดยตีเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งหมดปีละ 5,361 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานอยู่เรื่อยๆ
ในช่วง 10 ปีหลังสุด พบว่าความถี่ของอุทกภัยต่อปีลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง เหลือปีละ 5 ครั้ง แต่พื้นที่และจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบกลับเพิ่มขึ้น ...สะท้อนให้เห็นแผนการรับมืออุทกภัยที่ยังไม่เป็นผลสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา
ภาพแนบ: น้ำท่วมกรุงเทพเมื่อปี 1942 (2485)
*** เหตุน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ***
100 ปีที่ผ่านมา มีเหตุน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ หลายครั้ง
ในปี 1942 (2485) น้ำเข้าท่วมพระนครเป็นเวลาถึง 2 เดือน โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรง และต่อมาจึงได้นำไปสู่การสร้างเขื่อนกั้นตั้งแต่ต้นน้ำ
ภาพแนบ: น้ำท่วมปี 1983 (2526) จากเพจรอบรั้วรามฯ
ในปี 1983 (2526) ประเทศไทยได้รับผลจากพายุ 2 ลูก ทำให้ฝนตกหนักเหนือน้ำ และเมื่อน้ำเหนือไหลลงมารวมกับน้ำทะเลหนุน จึงทำให้น้ำเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ในปีนั้นฝนตกปริมาณมาก วัดปริมาณทั้งปีได้กว่า 2100 มิลลิเมตร
ปี 1994 (2537) เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพฯ และปริมณฑล เฉลี่ยทั่วกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกกันว่า "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่
ภาพแนบ: น้ำท่วมปี 1995 (2538)
ปี 1995 (2538) ฝนตกเหนือน้ำอย่างหนักจนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูง วัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) นับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ (เท่าน้ำท่วมปี 1942) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำสูงถึง 50-100 ซม. นาน 2 เดือน
ภาพแนบ: น้ำท่วมสนามบินดอนเมืองเมื่อปี 2011 (2554)
ล่วงถึงปี 2011 (2554) ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน 5 ลูกในช่วงมรสุม ทำให้ปริมาณน้ำฝนขึ้นสูงมากที่สุดในรอบ 61 ปี
ในปีนั้นพายุนกเต็นได้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในภาคเหนือและอีสานมากถึง 11 จังหวัด ตามมาด้วยปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ภาพแนบ: แบร์ริเออร์กั้นน้ำท่วมเมื่อปี 2011 (2554)
ส่วนทางการได้คาดการณ์ผิดจึงไม่ได้เตรียมระบายน้ำล่วงหน้า เมื่อเห็นท่าว่าน้ำจะล้นเขื่อนจึงได้รีบปล่อยน้ำลงมาเพิ่มทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าเดิม
นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐยังทำให้พื้นที่บางแห่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจากส่วนกลาง และมีการเปลี่ยนเส้นทางน้ำแบบขาดการประสานงาน
ภาพแนบ: สถานการณ์น้ำท่วมปี 2011 (2554)
ในเหตุอุทกภัยปีนั้น มีสิ่งที่ได้สร้างความเจ็บปวดเพิ่มเติมให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบคือ "การกั้นบางพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วม"
เรื่องนี้ทำให้เกิดเป็นประเด็นละเอียดอ่อนในการบังคับให้ประชาชนบางพื้นที่ต้อง “เสียสละ”
ภาพแนบ: ภาคกลางของประเทศไม่มีภูเขาเลย
*** ภูมิศาสตร์กรุงเทพ: เมืองน้ำผ่าน ***
ที่ตั้งภูมิประเทศของกรุงเทพมหานครนั้นตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมถึง อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่รับน้ำก่อนไหลงลงทะเล
และเมื่อพิจารณาในแนวราบ พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอยุธยาลงมาถึงกรุงเทพมหานครจัดเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชัดต่ำ น้ำจะไหลเอื่อยๆ และควบคุมทิศทางไม่ได้ รวมทั้งกว่าน้ำจะระบายหมดยังต้องใช้เวลานานมากอีกด้วย
กรุงเทพมหานครนั้นแต่เดิมอยู่ใต้บาดาลมาก่อน ต่อมาค่อยงอกเป็นพื้นที่เมืองขึ้นได้จากการทับถมของดิน จนปัจจุบันทั้งเมืองยังมีระดับสูงสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียงไม่เกิน 1.5 เมตรเท่านั้น
ข้อดีคือ พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเช่นนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุจากการทับถมของดินและโคลนตะกอน ทำให้เอื้อต่อการเพาะปลูกมาก
แม้เมืองลักษณะนี้เป็นเมืองที่เอื้อต่อการเติบโตของประชากร แต่ขณะเดียวกัน ถ้ามีน้ำหลากจากต้นน้ำลงมา แล้วมาเจอกับมรสุมหนัก ก็จะเกิดน้ำท่วมได้ง่าย ทำให้กรุงเทพฯ เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมเสมอ
...กล่าวได้ว่าถ้าน้ำไม่ท่วมสิแปลก…
ภาพแนบ: บันทึกของแชร์แวส
...แต่ว่าทำไมคนสมัยก่อนถึงไม่ย้ายหนีน้ำท่วมล่ะ ถ้ามันจะท่วมบ่อยขนาดนี้?
คำตอบคือคนไทยสมัยก่อนต่างมีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำ สังเกตได้จากบันทึกของ นิโกลาส์ แชร์แวส นักเดินทางชาวฝรั่งเศส เมื่อปี 1685 (ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา) ว่า:
“น้ำท่วมใหญ่ซึ่งดูเป็นที่น่ารำคาญและทำความเสียหายให้มากนี้ กลับนำประโยชน์และความชื่นชอบมาสู่คนสยามเป็นอันมาก เพราะมันเหมือนกับแม่น้ำไนล์ คือให้พื้นดินอุดมและนำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศ…"
ภาพแนบ: การแข่งเรือสมัยอยุธยา ภาพจากละคร "บุพเพสันนิวาส" ช่อง 3
"...สิ่งที่ให้ประโยชน์อีกประการหนึ่งในกรณีที่มีน้ำท่วม ก็คือมีปลาเป็นอันมากและมากเสียจนกระทั่งว่า แม้จะไม่ต้องลงจากเรือน คนๆ หนึ่งจะตกปลาได้ภายในหนึ่งชั่วโมงพอใช้บริโภคไปได้หลายวันทีเดียว
อนึ่งตลอดเวลาที่น้ำท่วม จะมีการเล่นสนุกสนานบนน้ำและการแข่งยานทางน้ำ ซึ่งคนสยามเรียกว่า เรือ (rua) และคนโปรตุเกสเรียกว่า บาล็อง (balon) ดูสนุกมาก ใครพายไปถึงหลักชัยซึ่งมีของรางวัลรอยู่ก่อน ก็จะได้รับการต้อนรับด้วยเสียงเครื่องมโหรีประโคมให้เกียรติในความแข็งขันและสามารถ”
ภาพแนบ: เรือนไทยยกถุนสูงแบบภาคกลาง
วิถีชีวิตของคนไทยภาคกลางสมัยก่อนยังสร้างเรือนไทยแบบยกใต้ถุนสูง รวมทั้งมีการใช้บ้านแพ การทำนาโคลนตม การทำสวนยกร่อง การสัญจรด้วยเรือเป็นหลัก จนถึงกับมีการขุดคลองสลับซับซ้อนแทนถนน
...เรียกว่าพร้อมรับน้ำท่วม ...อาศัยอยู่กับน้ำท่วมจนเป็นวัฒนธรรม...
ถ้าเรายึดหลักเรียกคนตามสิ่งที่ใกล้ชิดเขา เช่นเรียกคนที่อยู่บนเขาว่าชาวเขา เรียกคนที่ทำสวนว่าชาวสวน ...จะเรียกคนกรุงเทพว่าชาวน้ำท่วมก็ไม่แปลก
ภาพแนบ: กรุงเทพมหานครสมัยนี้เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง แทบไม่เหลือเค้า “เวนิสตะวันออก” แบบสมัยก่อน
นับตั้งแต่ปี 1961 (2504) มีการออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเน้นการสัญจรด้วยถนน ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองที่ “ฝืน” ลักษณะพื้นที่ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ เพราะมีการถมคลอง การสร้างอาคารกีดขวางทางน้ำ
จนถึงปัจจุบันเมืองก็ยังคงพัฒนาไปในแนวทางนี้อยู่ (หลายจังหวัดเองมีการระบุว่าการพัฒนาแบบไม่มีผังเมืองเป็นสาเหตุที่ทำให้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่ได้เช่นเดียวกัน)
ภาพแนบ: เหตุน้ำท่วม จากเว็บไซต์สารคดี
ข้อมูลย้อนหลังปี 2005 ถึง 2016 พบว่า มีปีที่กรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่ 5 ปี
มีช่วงที่น้ำท่วมติดต่อกันคือในปี 2010 ถึง 2013 และครั้งใหญ่ที่สุดคือปี 2011 ซึ่งกรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมเกินครึ่งเมือง!
*** การรับมือน้ำท่วมเป็นเรื่องการเมือง? ***
จากผลงานที่ผ่านมาพบว่าทางการไม่ว่าสมัยใดก็ยังรับมือน้ำท่วมวงกว้างได้ไม่ดี นอกจากนั้นยังดูไม่ค่อยตื่นตัวต่อภัยอื่นที่มากับน้ำด้วย เช่น ภัยโรคระบาด, ภัยสารเคมี หรือปัญหาจากการจัดการของเสีย
อีกทั้งความพยายามวางแผนรับมือภัยพิบัติระยะยาวได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้ขาดตอนด้วย
ภาพแนบ: ชาวบ้านบางพื้นที่ขึ้นไปอยู่บนหลังคา
เท่าที่เห็นกรมอุตุนิยมวิทยาทำได้เพียงประกาศเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้พยายามระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเท่านั้น
ในระดับชุมชนชาวบ้านเอาตัวรอดกันเองก่อน มักต้องหนีขึ้นไปบนหลังคา และใช้ทรัพยากรช่วยเหลือกันเอง เช่น ช่วยกันก่ออิฐบล็อกกั้นน้ำ, ใช้รถแทรกเตอร์เข้าไปช่วยเหลือกัน เมื่อน้ำท่วมลดลงทางการจึงจะทำการสำรวจความเสียหาย ซ่อมแซม และทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***