ช่วงนี้มีกระทู้ถามน่าสนใจหลายๆกระทู้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวงการพระพุทธศาสนาที่ดูจะมีความเคลือบแคลงสงสัยอยู่หลายประการ จนมีส.ส.ฝ่ายค้านอย่างน้อย ๒ คนตั้งกระทู้ถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้ก็มีกระทู้ถามของนายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย และนายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ ล่าสุดมีกระทู้ถามที่ ๒ จาก นายเพชรวรรต มีรายละเอียดของกระทู้ถามฉบับนี้ระบุว่า ตามที่มหาเถรสมาคมได้มีมติครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ มติที่ ๒๓๖/๒๕๖๔ เมื่อคราวประชุมวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ โดยมติดังกล่าวนี้ ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาจากการนำเสนอข้อมูลของเลขาธิการมหาเถรสมาคมที่ไม่เป็นความจริง กล่าวคือ
๑) มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ มติที่ ๒๓๖/๒๕๖๔ เมื่อคราวประชุมวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นมติที่ผิดหลง เนื่องจากเลขาธิการมหาเถรสมาคมได้รายงานให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมในคราวประชุมครั้งนี้ มีข้อความที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งสิ้นโดยระบุในลักษณะกล่าวหาอย่างมีอคติว่า “พระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป ได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้ว ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่บัญญัติไว้ว่า เมื่อจะต้องจำคุก กักขัง หรือขังพระภิกษุรูปใดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น” ซึ่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมได้ตีความมาตรา ๓๐ บิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยเหมารวมเอาเองว่า พระเถระทั้ง ๕ รูป ได้ถูกเจ้าพนักงานดำเนินการให้สละสมณเพศก่อนเข้าเรือนจำ ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้วตามกฎหมายดังกล่าว โดยมิต้องกล่าวคำลาสิกขา ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การจะตีความบทบัญญัติในมาตรา ๓๐ นี้ ต้องเป็นการตีความโดยเคร่งครัดในทุกถ้อยคำของกฎหมาย เพราะหากตีความโดยไม่เคร่งครัด ก็จะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม แต่มาตรา ๓๐ กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ข้อ ๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ต้องนำพระภิกษุที่ถูกกล่าวหาไปให้เจ้าอาวาสที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดอยู่ หรือเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป หรือพระเถระผู้ใหญ่ ดำเนินการให้สละสมณเพศ เปล่งวาจาลาสิกขาให้พ้นจากความเป็นพระภิกษุ ข้อ ๒ เมื่อจัดดำเนินการตามข้อ ๑ ครบถ้วนตามขั้นตอนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องรายงานให้ศาลทราบถึงการดำเนินการตามข้อ ๑ ด้วย แต่ข้อเท็จจริงของพระเถระทั้ง ๕ รูปไม่เป็นไปตามที่ถูกกล่าวหาเพราะปรากฏความจริงที่ยืนยันได้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในวันดังกล่าว ไม่ได้จัดดำเนินการให้มีเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป หรือพระเถระผู้ใหญ่ มาจัดดำเนินการให้พระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป สละสมณเพศและเปล่งวาจาลาสิกขาให้พ้นจากความเป็นพระภิกษุ อีกทั้ง ไม่ได้มีการรายงานให้ศาลทราบ ตามมาตรา ๓๐ แต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังปรากฏเอกสารยืนยันของนายฐิติพันธุ์ มนูจันทรัถ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายควบคุมผู้ต้องขังประจำศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ ในวันดังกล่าว ได้ออกหนังสือรับรองในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานว่า มิได้ดำเนินการให้สละสมณเพศ ปรากฏข้อความว่า “ในระหว่างรับตัว ได้กราบขอให้ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขโข), พระเมธีสุทธิกร (สังคม สังฆะพัฒน์), พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด วงศ์ชะอุ่ม), พระศรีคุณาภรณ์ (บุญทวี คำมา) และพระครูสิริวิหารการ (สมจิตร จันทร์ศรี) เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดปฏิบัติธรรมสีขาว โดยมิได้กล่าวคำลาสิกขา และได้ประพฤติตนตามพระธรรมวินัยเช่นพระสงฆ์ปกติ ตามหลักพระพุทธศาสนาโดยเคร่งครัด” เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ มิได้รายงานให้ศาลทราบว่า พระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป ได้สละสมณเพศพ้นจากความเป็นพระภิกษุไปแล้ว จึงเป็นเหตุให้ศาลได้บันทึกสถานภาพของพระเถระทั้ง ๕ รูป ว่า ครองสมณเพศ(อยู่ระหว่างการพิจารณา)
อนึ่ง มีข้อความในมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งสิ้น ความว่า “ซึ่งจำเลยทั้ง ๔ ได้ถูกเจ้าพนักงานดำเนินการให้สละสมณเพศก่อนเข้าเรือนจำ ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้วตามกฎหมายดังกล่าว โดยมิต้องกล่าวคำลาสิกขา” ซึ่งข้อเท็จจริง การจะพ้นจากความเป็นพระภิกษุตามกฎหมายดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ต้องนำพระภิกษุที่ถูกกล่าวหาไปให้เจ้าอาวาสที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดอยู่ หรือเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป หรือพระเถระผู้ใหญ่ ดำเนินการให้สละสมณเพศ อีกทั้ง ต้องให้เปล่งวาจาลาสิกขาต่อหน้าผู้รู้ความ จึงจะพ้นจากความเป็นพระภิกษุครบถ้วนทั้งตามกฎหมายและพระธรรมวินัย ปรากฏตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๙๘/๒๕๔๒ และปรากฏตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ และจากหมายเหตุประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ ยังได้อ้างถึงกรณีหลวงพ่ออาสภะหรืออดีตพระพิมลธรรมนั้น คือ พระเถระชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ถูกกล่าวหาและถูกจับกุมในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ อยู่ในคุกสันติบาล๕ ปี โดยที่มิได้กล่าวคำลาสิกขาเพียงเปลี่ยนเป็นชุดปฏิบัติธรรมสีขาว เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๐๙ จึงมีคำพิพากษายกฟ้อง ภายหลังออกจากที่คุมขัง ท่านจึงกลับมาอธิษฐานใจนุ่งห่มผ้าไตรจีวร และประกอบพิธีรับเข้าหมู่สงฆ์ท่ามกลางพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
๒) มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ มติที่ ๒๓๖/๒๕๖๔ เมื่อคราวประชุมวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นมติที่ผิดหลง เนื่องจากเลขาธิการมหาเถรสมาคมได้รายงานให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมในคราวประชุมครั้งนี้ มีข้อความที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งสิ้นโดยระบุ ในลักษณะกล่าวหาอย่างมีอคติว่า “จำเลยทั้ง ๔ ได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้ว ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่บัญญัติไว้ว่า เมื่อจะต้องจำคุก กักขัง หรือขังพระภิกษุรูปใด ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น ซึ่งการบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เป็นเพียงการบันทึกข้อมูลความประสงค์ของจำเลยเท่านั้น มิได้มีการพิจารณาหรือตัดสินว่าจำเลยทั้ง ๔ ยังคงเป็นพระภิกษุที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ประกอบกับการไปศาลของจำเลยทั้ง ๔ ก่อนหน้าและหลังจากนั้น ก็มิได้มีการนุ่งห่มจีวรอีกเลย”
การที่เลขาธิการมหาเถรสมาคมได้เขียนข้อความเป็นข้อมูลให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมที่กล่าวอ้างว่า รายงานกระบวนพิจารณาของศาลเป็นเพียงการบันทึกข้อมูล ความประสงค์ของจำเลยเท่านั้น ความเห็นลักษณะเช่นนี้ แสดงว่า ไม่เข้าใจกระบวนการพิจารณาของศาลจึงได้แสดงความไม่ประสีประสาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปในทำนองที่อาจเข้าข่ายการหมิ่นศาลเพราะรายงานกระบวนพิจารณาของศาล เป็นการเขียนรายงานของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนในองค์คณะเท่านั้น โจทก์หรือจำเลยจะก้าวล่วงอำนาจของศาลมิได้ การไม่ประสีประสาเช่นนี้ยังเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหมด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดที่มติมหาเถรสมาคมในระยะหลัง ๆ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ไม่มีสภาพบังคับ
ปรากฏหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ว่า นับตั้งแต่ถูกตั้งข้อกล่าวหาจากพนักงานสอบสวน พระเถระทั้ง ๕ รูป ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในชั้นสอบสวน โดยพระเถระทั้ง ๕ รูป ก็นุ่งห่มจีวรจวบจนเมื่อพนักงานสอบสวนนำส่งศาล และศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เจ้าพนักงานราชทัณฑ์จึงขอร้องให้พระเถระทั้ง ๕ รูป เปลี่ยนการนุ่งห่มจีวรเป็นชุดปฏิบัติธรรม สีขาว ซึ่งชุดขาวดังกล่าวเจ้าพนักงานฯ ก็เป็นผู้จัดเตรียมเอาไว้ พระเถระทั้ง ๕ รูป ต้องจำยอมทำตามคำขอร้องของเจ้าพนักงานฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ โดยที่มิได้เปล่งวาจาลาสิกขาในทุกขั้นตอน ซึ่งในเวลาต่อมาเจ้าพนักงานฯ ผู้ปฏิบัติงานในวันดังกล่าว ได้มีหนังสือรับรองว่า พระเถระทั้ง ๕ รูป มิได้เปล่งวาจาลาสิกขาแต่อย่างใดทั้งสิ้น อีกทั้ง ขณะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา ๔๕๐ วัน พระเถระทั้ง ๕ รูป ก็ยังอธิษฐานใจอย่างมั่นคง ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศตลอดระยะเวลาที่ถูกคุมขัง จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไม่ต้องคุมขังอยู่ในเรือนจำอีกต่อไปแล้ว จึงได้นุ่งห่มจีวรครองสมณเพศ แล้วเดินทางไปศาลตามตารางการนัดพิจารณาของศาลเป็นปกติ
แต่ปรากฏข้อเท็จจริงในเวลาต่อมาว่า หลังจากการกลับมานุ่งห่มจีวรแล้ว เดินทางไปศาลเพียงไม่กี่วัน ก็ได้มีกลุ่มพนักงานสอบสวนมาร้องขอความร่วมมือขอให้ละเว้น การนุ่งห่มจีวรในช่วงการสืบพยานของศาล พระเถระทั้ง ๕ รูป จึงได้แถลงต่อศาลว่า เพื่อมิให้ เป็นประเด็นข้อขัดแย้งใด ๆ จึงแถลงต่อศาลที่จะขอนุ่งห่มเป็นชุดปฏิบัติธรรมสีขาวในระหว่าง การพิจารณาคดีของศาล ซึ่งพระเถระทั้ง ๕ รูป ก็ยังคงปฏิญาณตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาตลอดมา
ตามประเด็นข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ จะเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า มติมหาเถรสมาคมดังกล่าวข้างต้น เป็นมติที่ผิดหลงไม่มีสภาพบังคับและเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙ วรรคสอง จึงไม่มีสภาพบังคับตามมาตรา ๕ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นายเพชรวรรตจึงตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีว่า
๑) นายกรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม ได้นำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม ในคราวประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ ที่อ้างถึงข้างต้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อพระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป อย่างไรหรือไม่ และในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยตรง หากไม่ทราบ เพราะเหตุใด ทำไมจึงไม่ทราบ ขอทราบรายละเอียดประกอบคำชี้แจงเหตุผล
๒) การที่มหาเถรสมาคมมีมติไปแล้วตามข้อ ๑) นายกรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า มติดังกล่าวนี้ ไม่มีสภาพบังคับตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา ๕ วรรคแรก เหตุเพราะ มติดังกล่าวเป็นมติที่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๙ วรรคสอง เมื่อประเด็นข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายปรากฏดังนี้ นายกรัฐมนตรี จะแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วยวิธีใด และจะดำเนินการแจ้ง ให้เลขาธิการมหาเถรสมาคมนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม พิจารณายกเลิก เพิกถอน ได้เมื่อใด ขอให้ชี้แจงเพื่อทราบโดยละเอียด
๓) จากกรณีที่ตั้งกระทู้ถามนี้ จึงเป็นที่แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ในมาตรา ๓๐ ที่กล่าวถึงนี้ มีปัญหาทางปฏิบัติในถ้อยคำที่มีลักษณะคลุมเครือ ทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมายเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตีความบทบัญญัติ มาตรา ๓๐ นี้ ไปตามอคติของตน ส่งผลกระทบต่อวงการพระพุทธศาสนาให้เกิดความเสียหาย ในวงกว้าง นายกรัฐมนตรีมีนโยบายอย่างไรหรือไม่ ที่จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับ หากไม่มีนโยบาย เพราะเหตุใด ขอทราบเหตุผล และชี้แจงรายละเอียดให้กระจ่างชัดด้วย
ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษาตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๒ ข้อ ๑๖๒ ข้อ ๑๖๓ วรรคสอง และ ข้อ ๑๖๕
มติมหาเถรสมาคมที่ผิดหลง
๑) มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ มติที่ ๒๓๖/๒๕๖๔ เมื่อคราวประชุมวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นมติที่ผิดหลง เนื่องจากเลขาธิการมหาเถรสมาคมได้รายงานให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมในคราวประชุมครั้งนี้ มีข้อความที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งสิ้นโดยระบุในลักษณะกล่าวหาอย่างมีอคติว่า “พระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป ได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้ว ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่บัญญัติไว้ว่า เมื่อจะต้องจำคุก กักขัง หรือขังพระภิกษุรูปใดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น” ซึ่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมได้ตีความมาตรา ๓๐ บิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยเหมารวมเอาเองว่า พระเถระทั้ง ๕ รูป ได้ถูกเจ้าพนักงานดำเนินการให้สละสมณเพศก่อนเข้าเรือนจำ ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้วตามกฎหมายดังกล่าว โดยมิต้องกล่าวคำลาสิกขา ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การจะตีความบทบัญญัติในมาตรา ๓๐ นี้ ต้องเป็นการตีความโดยเคร่งครัดในทุกถ้อยคำของกฎหมาย เพราะหากตีความโดยไม่เคร่งครัด ก็จะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม แต่มาตรา ๓๐ กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ข้อ ๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ต้องนำพระภิกษุที่ถูกกล่าวหาไปให้เจ้าอาวาสที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดอยู่ หรือเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป หรือพระเถระผู้ใหญ่ ดำเนินการให้สละสมณเพศ เปล่งวาจาลาสิกขาให้พ้นจากความเป็นพระภิกษุ ข้อ ๒ เมื่อจัดดำเนินการตามข้อ ๑ ครบถ้วนตามขั้นตอนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องรายงานให้ศาลทราบถึงการดำเนินการตามข้อ ๑ ด้วย แต่ข้อเท็จจริงของพระเถระทั้ง ๕ รูปไม่เป็นไปตามที่ถูกกล่าวหาเพราะปรากฏความจริงที่ยืนยันได้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในวันดังกล่าว ไม่ได้จัดดำเนินการให้มีเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป หรือพระเถระผู้ใหญ่ มาจัดดำเนินการให้พระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป สละสมณเพศและเปล่งวาจาลาสิกขาให้พ้นจากความเป็นพระภิกษุ อีกทั้ง ไม่ได้มีการรายงานให้ศาลทราบ ตามมาตรา ๓๐ แต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังปรากฏเอกสารยืนยันของนายฐิติพันธุ์ มนูจันทรัถ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายควบคุมผู้ต้องขังประจำศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ ในวันดังกล่าว ได้ออกหนังสือรับรองในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานว่า มิได้ดำเนินการให้สละสมณเพศ ปรากฏข้อความว่า “ในระหว่างรับตัว ได้กราบขอให้ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขโข), พระเมธีสุทธิกร (สังคม สังฆะพัฒน์), พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด วงศ์ชะอุ่ม), พระศรีคุณาภรณ์ (บุญทวี คำมา) และพระครูสิริวิหารการ (สมจิตร จันทร์ศรี) เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดปฏิบัติธรรมสีขาว โดยมิได้กล่าวคำลาสิกขา และได้ประพฤติตนตามพระธรรมวินัยเช่นพระสงฆ์ปกติ ตามหลักพระพุทธศาสนาโดยเคร่งครัด” เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ มิได้รายงานให้ศาลทราบว่า พระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป ได้สละสมณเพศพ้นจากความเป็นพระภิกษุไปแล้ว จึงเป็นเหตุให้ศาลได้บันทึกสถานภาพของพระเถระทั้ง ๕ รูป ว่า ครองสมณเพศ(อยู่ระหว่างการพิจารณา)
อนึ่ง มีข้อความในมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งสิ้น ความว่า “ซึ่งจำเลยทั้ง ๔ ได้ถูกเจ้าพนักงานดำเนินการให้สละสมณเพศก่อนเข้าเรือนจำ ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้วตามกฎหมายดังกล่าว โดยมิต้องกล่าวคำลาสิกขา” ซึ่งข้อเท็จจริง การจะพ้นจากความเป็นพระภิกษุตามกฎหมายดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ต้องนำพระภิกษุที่ถูกกล่าวหาไปให้เจ้าอาวาสที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดอยู่ หรือเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป หรือพระเถระผู้ใหญ่ ดำเนินการให้สละสมณเพศ อีกทั้ง ต้องให้เปล่งวาจาลาสิกขาต่อหน้าผู้รู้ความ จึงจะพ้นจากความเป็นพระภิกษุครบถ้วนทั้งตามกฎหมายและพระธรรมวินัย ปรากฏตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๙๘/๒๕๔๒ และปรากฏตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ และจากหมายเหตุประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ ยังได้อ้างถึงกรณีหลวงพ่ออาสภะหรืออดีตพระพิมลธรรมนั้น คือ พระเถระชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ถูกกล่าวหาและถูกจับกุมในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ อยู่ในคุกสันติบาล๕ ปี โดยที่มิได้กล่าวคำลาสิกขาเพียงเปลี่ยนเป็นชุดปฏิบัติธรรมสีขาว เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๐๙ จึงมีคำพิพากษายกฟ้อง ภายหลังออกจากที่คุมขัง ท่านจึงกลับมาอธิษฐานใจนุ่งห่มผ้าไตรจีวร และประกอบพิธีรับเข้าหมู่สงฆ์ท่ามกลางพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
๒) มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ มติที่ ๒๓๖/๒๕๖๔ เมื่อคราวประชุมวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นมติที่ผิดหลง เนื่องจากเลขาธิการมหาเถรสมาคมได้รายงานให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมในคราวประชุมครั้งนี้ มีข้อความที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งสิ้นโดยระบุ ในลักษณะกล่าวหาอย่างมีอคติว่า “จำเลยทั้ง ๔ ได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้ว ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่บัญญัติไว้ว่า เมื่อจะต้องจำคุก กักขัง หรือขังพระภิกษุรูปใด ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น ซึ่งการบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เป็นเพียงการบันทึกข้อมูลความประสงค์ของจำเลยเท่านั้น มิได้มีการพิจารณาหรือตัดสินว่าจำเลยทั้ง ๔ ยังคงเป็นพระภิกษุที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ประกอบกับการไปศาลของจำเลยทั้ง ๔ ก่อนหน้าและหลังจากนั้น ก็มิได้มีการนุ่งห่มจีวรอีกเลย”
การที่เลขาธิการมหาเถรสมาคมได้เขียนข้อความเป็นข้อมูลให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมที่กล่าวอ้างว่า รายงานกระบวนพิจารณาของศาลเป็นเพียงการบันทึกข้อมูล ความประสงค์ของจำเลยเท่านั้น ความเห็นลักษณะเช่นนี้ แสดงว่า ไม่เข้าใจกระบวนการพิจารณาของศาลจึงได้แสดงความไม่ประสีประสาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปในทำนองที่อาจเข้าข่ายการหมิ่นศาลเพราะรายงานกระบวนพิจารณาของศาล เป็นการเขียนรายงานของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนในองค์คณะเท่านั้น โจทก์หรือจำเลยจะก้าวล่วงอำนาจของศาลมิได้ การไม่ประสีประสาเช่นนี้ยังเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหมด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดที่มติมหาเถรสมาคมในระยะหลัง ๆ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ไม่มีสภาพบังคับ
ปรากฏหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ว่า นับตั้งแต่ถูกตั้งข้อกล่าวหาจากพนักงานสอบสวน พระเถระทั้ง ๕ รูป ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในชั้นสอบสวน โดยพระเถระทั้ง ๕ รูป ก็นุ่งห่มจีวรจวบจนเมื่อพนักงานสอบสวนนำส่งศาล และศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เจ้าพนักงานราชทัณฑ์จึงขอร้องให้พระเถระทั้ง ๕ รูป เปลี่ยนการนุ่งห่มจีวรเป็นชุดปฏิบัติธรรม สีขาว ซึ่งชุดขาวดังกล่าวเจ้าพนักงานฯ ก็เป็นผู้จัดเตรียมเอาไว้ พระเถระทั้ง ๕ รูป ต้องจำยอมทำตามคำขอร้องของเจ้าพนักงานฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ โดยที่มิได้เปล่งวาจาลาสิกขาในทุกขั้นตอน ซึ่งในเวลาต่อมาเจ้าพนักงานฯ ผู้ปฏิบัติงานในวันดังกล่าว ได้มีหนังสือรับรองว่า พระเถระทั้ง ๕ รูป มิได้เปล่งวาจาลาสิกขาแต่อย่างใดทั้งสิ้น อีกทั้ง ขณะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา ๔๕๐ วัน พระเถระทั้ง ๕ รูป ก็ยังอธิษฐานใจอย่างมั่นคง ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศตลอดระยะเวลาที่ถูกคุมขัง จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไม่ต้องคุมขังอยู่ในเรือนจำอีกต่อไปแล้ว จึงได้นุ่งห่มจีวรครองสมณเพศ แล้วเดินทางไปศาลตามตารางการนัดพิจารณาของศาลเป็นปกติ
แต่ปรากฏข้อเท็จจริงในเวลาต่อมาว่า หลังจากการกลับมานุ่งห่มจีวรแล้ว เดินทางไปศาลเพียงไม่กี่วัน ก็ได้มีกลุ่มพนักงานสอบสวนมาร้องขอความร่วมมือขอให้ละเว้น การนุ่งห่มจีวรในช่วงการสืบพยานของศาล พระเถระทั้ง ๕ รูป จึงได้แถลงต่อศาลว่า เพื่อมิให้ เป็นประเด็นข้อขัดแย้งใด ๆ จึงแถลงต่อศาลที่จะขอนุ่งห่มเป็นชุดปฏิบัติธรรมสีขาวในระหว่าง การพิจารณาคดีของศาล ซึ่งพระเถระทั้ง ๕ รูป ก็ยังคงปฏิญาณตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาตลอดมา
ตามประเด็นข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ จะเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า มติมหาเถรสมาคมดังกล่าวข้างต้น เป็นมติที่ผิดหลงไม่มีสภาพบังคับและเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙ วรรคสอง จึงไม่มีสภาพบังคับตามมาตรา ๕ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นายเพชรวรรตจึงตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีว่า
๑) นายกรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม ได้นำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม ในคราวประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ ที่อ้างถึงข้างต้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อพระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารทั้ง ๕ รูป อย่างไรหรือไม่ และในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยตรง หากไม่ทราบ เพราะเหตุใด ทำไมจึงไม่ทราบ ขอทราบรายละเอียดประกอบคำชี้แจงเหตุผล
๒) การที่มหาเถรสมาคมมีมติไปแล้วตามข้อ ๑) นายกรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า มติดังกล่าวนี้ ไม่มีสภาพบังคับตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา ๕ วรรคแรก เหตุเพราะ มติดังกล่าวเป็นมติที่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๙ วรรคสอง เมื่อประเด็นข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายปรากฏดังนี้ นายกรัฐมนตรี จะแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วยวิธีใด และจะดำเนินการแจ้ง ให้เลขาธิการมหาเถรสมาคมนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม พิจารณายกเลิก เพิกถอน ได้เมื่อใด ขอให้ชี้แจงเพื่อทราบโดยละเอียด
๓) จากกรณีที่ตั้งกระทู้ถามนี้ จึงเป็นที่แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ในมาตรา ๓๐ ที่กล่าวถึงนี้ มีปัญหาทางปฏิบัติในถ้อยคำที่มีลักษณะคลุมเครือ ทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมายเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตีความบทบัญญัติ มาตรา ๓๐ นี้ ไปตามอคติของตน ส่งผลกระทบต่อวงการพระพุทธศาสนาให้เกิดความเสียหาย ในวงกว้าง นายกรัฐมนตรีมีนโยบายอย่างไรหรือไม่ ที่จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับ หากไม่มีนโยบาย เพราะเหตุใด ขอทราบเหตุผล และชี้แจงรายละเอียดให้กระจ่างชัดด้วย
ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษาตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๒ ข้อ ๑๖๒ ข้อ ๑๖๓ วรรคสอง และ ข้อ ๑๖๕