ปุจฉา :
http://www.komchadluek.net/news/scoop/264491
วิสัชนา : เป็นคำถามและคำอธิบายจากใครไม่รู้ ที่นำเสนอทางหนังสือพิมพ์ "คมชัดลึก" แต่เชื่อว่า น่าจะเป็น "ผู้รู้ทางสงฆ์" องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งคงอยากจะอธิบาย "แทน" มหาเถรสมาคม ในกรณีที่ใช้ ม.21 สั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไปดำเนินการกับพระธัมมชโย และอ้างว่า "มส. ไม่มีอำนาจสึกพระ"
ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ผิดอย่างสิ้นเชิง !
ผิดทั้งการใช้กฎหมาย ผิดทั้งการตีความกฎหมาย หมายถึง ผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย มาตรา 21 ต้องบอกก่อนเลยว่า มาตรา 21 เป็นบทบัญญัติพิเศษ ที่ให้อำนาจแก่มหาเถรสมาคม ในการ
"สั่งสึกพระ" ที่เรียกว่า "กลางอากาศ" โดยไม่ต้องไต่สวนทวนความ หรือแม้แต่การให้โอกาสแก่ "จำเลย" ในการให้การ แถมยังสามารถ "ประหาร" ลับหลังได้ เทียบกับ ม.44 แล้ว ม.21 มีอำนาจมากกว่าเสียอีก มากกว่าทั้งการดำเนินคดีอาญาของศาลอาญา ที่ระบุว่า "ต้องได้ตัวจำเลยมาฟ้องศาล เพื่อสอบสวน จึงจะสามารถพิพากษาได้" คำถามแรกก็คือว่า ถ้าอ้างว่า ถ้ามหาเถรสมาคมใช้ ม.21 สั่งสึกพระกลางอากาศ ก็จะขัดกับ ม.11 ซึ่งจะต้องมีขบวนการนิคหกรรมก่อน นั่นหมายถึงว่า การสั่งสึกพระนั้น จะต้องไปนับหนึ่งที่ ม.11 มิใช่ ม.21 ตรงนี้ อธิบายขั้นตอนของกฎหมาย "ถูก" แต่มองเจตนารมณ์ของกฎหมาย "ผิด" โดยผู้เขียนขอแสดงความเห็นแย้ง ดังต่อไปนี้
มาตรา 3 ข้างต้นนี้
ให้อำนาจแก่เจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะผู้ปกครองท้องถิ่น สามารถจับพระภิกษุรูปนั้น สึกได้ โดยไม่ต้องใช้อำนาจมหาเถรสมาคม และไม่ต้องผ่านการพิจารณาในศาลสงฆ์ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 ที่เรียกว่า กฎนิคหกรรม
มาตรา 4 ข้างต้นนี้
ให้อำนาจแก่ "มหาเถรสมาคม" สามารถ "สั่งสึก" พระภิกษุที่กำลังถูกดำเนินคดีอยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกฎนิคหกรรม (ม.11) ไม่ว่าจะเป็นชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา คดียังไม่สิ้นสุด แต่มีเหตุการณ์บานปลาย เช่น มีการใช้มวลชนกดดันศาลสงฆ์ หรือมีการขัดขวางเจ้าหน้าที่ของทางการบ้านเมือง เป็นเรื่องเร่งด่วน
ทั้งนี้ วิธีการพิจารณาของมหาเถรสมาคมก็ไวที่สุด คือ สั่งให้ตัวแทนศาลสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา ซึ่งคดีนั้นกำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้น
"รายงานตรง" ต่อมหาเถรสมาคม แล้วให้มหาเถรสมาคม "ลงมติ" สั่งให้พระภิกษุรูปนั้น "สละสมณเพศ" ได้ทันที ไม่มีการสืบสวนสอบสวน เพียงแค่รับรายงาน "ด้านเดียว" จากศาลสงฆ์ เท่านั้น
ในท้ายของมาตรานี้ระบุไว้ว่า "ทั้งนี้ ไม่กระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าในชั้นใดๆ" นั่นหมายถึงว่า มาตราที่ 4 แห่ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21 นี้ มีอำนาจเหนือศาลสงฆ์ทุกศาล ไม่ว่าจะเป็นชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฏีกา ม.21 สามารถ "พิพากษาตัดหน้า" ศาลสงฆ์ ในทุกกรณี นี่ไงที่เรียกว่า "ครอบจักรวาล" เทียบเนื้อหาระหว่าง มาตรา 3 กับมาตรา 4 ทีนี้ เมื่อนำเอาเนื้อหาระหว่าง มาตรา 3 กับ มาตรา 4 มาพิจารณาดู ก็ทำให้รู้ว่า
มาตรา 3 ให้อำนาจเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะตำบล หรือเจ้าคณะอำเภอ มีอำนาจสั่งให้พระภิกษุรูปนั้น "สึกได้" โดยไม่ต้องพึ่งพามหาเถรสมาคม
มาตรา 4 เริ่มต้นด้วยการลงนิคหกรรมพระภิกษุที่ถูกโจทย์ฟ้อง ซึ่งคดีความอาจจะเดินอยู่ในศาลชั้นต้น ชั้นกลาง หรือชั้นสูง ก็ตามแต่ แต่มาตรานี้ "ให้อำนาจแก่มหาเถรสมาคม" ในการวินิจฉัยให้พระภิกษุที่ต้องอธิกรณ์นั้นสึกได้ทันที
ตรงนี้เห็นได้ชัดว่า มาตรา 3 ไม่เกี่ยวกับมาตรา 4 เพราะมิได้บอกว่า
"ถ้าหากพระเจ้าอาวาสหรือพระผู้ปกครองสั่งให้พระภิกษุผู้ประพฤติผิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ หรือผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนั้นสึก แต่ภิกษุรูปนั้นไม่ยอมสึก ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจสั่งให้พระภิกษุรูปนั้นลาสิกขาได้" ดังนี้เลย
ก็เลยเห็นว่า มาตรา 3 กับมาตรา 4 มิได้เกี่ยวข้องกัน คือต่างเป็นเอกเทศแก่กันและกัน เพราะมิได้มี "เนื้อหา" เกี่ยวโยงกันดังกล่าว กล่าวถึง มาตรา 4 ที่เริ่มต้นด้วยกระบวนการพิจารณาทางศาลสงฆ์ (นิคหกรรม) แล้วให้มหาเถรสมาคม "มีอำนาจ" สั่งให้พระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ทางสงฆ์นั้นลาสิกขาได้ ทันที ทีเรียกว่า สึกกลางอากาศ นั่นแสดงว่า มาตรา 4 ใน ม.21 นั้น เกี่ยวโยงกับ "กฎนิคหกรรมฉบับที่ 11" แต่ไม่เกี่ยวกับ มาตราที่ 3 ใน ม.21 แต่อย่างใด งงไหมล่ะ ?
ที่อยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดูก็คือว่า ในเมื่อมาตรา 3 มิได้บอกให้มหาเถรสมาคมสั่งให้เจ้าอาวาสหรือพระสังฆาธิการในเขตปกครองไปจัดการให้พระภิกษุผู้ถูกสอบสวนนั้นต้องสึก แต่อำนาจของมหาเถรสมาคมกลับไปอยู่ใน "มาตรา 4" แทน มันก็เลยผิดฝาผิดตัว แบบว่า ที่สั่งก็ไม่มีอำนาจ ที่มีอำนาจก็ไม่สั่ง คำสั่งของมหาเถรสมาคม ที่เรียกว่า มติ มส. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมานั้น ระบุว่า มหาเถรสมาคมมีมติให้เจ้าคณะใหญ่หนกลาง สั่งการไปยังเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ดำเนินการให้พระธัมมชโยลาสิกขา ถามว่า ทำได้หรือไม่ ถ้าตอบตามเนื้อหาของข่าวในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ที่ระบุว่า
"มส.ไม่มีสิทธิ์สึกพระธัมมชโย" ตรงนี้ก็จะมีคำถามต่อไปว่า "ถ้าหากว่า มส. ไม่มีสิทธิ์สึกพระธัมมชโย แล้วเจ้าคณะใหญ่หนกลาง มีสิทธิ์อะไรไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายดำเนินการสึกพระธัมมชโย ตามมติ มส."
แปลกใจไหม เอาช้าๆ ชัดๆ เคลียร์ๆ นะท่านนะ
1. บอกว่า มส. ไม่มีสิทธิ์สึกพระธัมมชโย
2. แต่ มส. กลับออกมติให้เจ้าคณะใหญ่ ไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จับพระธัมมชโยสึก
คำถามสุดท้ายจึงไปลงตรงที่
"เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมีอำนาจอะไรไปสั่งให้พระธัมมชโยสึก" ในเมื่อระดับ มส. ก็ยังไม่มีอำนาจ ตรงนี้เป็น "กับดัก" ทางกฎหมาย ไม่รู้ว่าใครวางยา ผอ.สำนักพุทธฯ คนใหม่ ที่ทำหนังสือแบบหน่อมแน้ม ขอให้ มส. ใช้ ม.21 (ทั้งฉบับ) จับพระธัมมชโยสึก ครั้นเข้าสู่ที่ประชุม มส. ก็ออกลาย เลือกใช้ "มาตราที่ 3" คือโยนเรื่องกลับไปให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสั่งสึก ผ่านเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ทั้งๆ ที่ถ้าจะใช้อำนาจสั่งสึกแล้ว มส. ต้องใช้อำนาจในข้อที่ 4 มิใช่ข้อที่ 3 เด็กวัดพระธรรมกายเป็นแล้วหัวร่อ ยิ่งกว่าตลกหกฉาก กับดักที่ว่านั้นยังมีอีกหลายชั้น ได้แก่
1. เมื่อ มส. มิได้มีอำนาจในการสั่งให้เจ้าคณะใหญ่ไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายจับพระธัมมชโยสึก
2. เมื่อเจ้าคณะใหญ่หนกลางก็ไม่มีอำนาจไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายจับพระธัมมชโยสึก
3. เมื่อเจ้าอาวาสไม่มีอำนาจในการรับคำสั่งจากเจ้าคณะใหญ่หนกลางในการสั่งให้พระธัมมชโยสึก
เมื่อ 3 เหตุเหล่านี้ มาพ้องต้องกัน แบบว่า
"ผิดทุกขั้นตอน" มันก็เลยย้อนไปถาม มหาเถรสมาคมว่า วินิจฉัยข้อกฎหมายในลักษณะนี้ได้อย่างไร เพราะธัมมชโยอ่านข้อกฎหมายเหล่านี้แล้วก็นั่งอมยิ้ม อยากให้รางวัลผู้นำพุทธโลกแก่กรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูป ใช่แต่เท่านั้น ยังมีคำถามต่อไปอีกว่า ในเวลานี้ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเป็นใคร ? เพราะตามข้อมูลที่ทราบนั้น ปัจจุบันยังไม่มีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีแต่รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งก็ผลัดเปลี่ยนกันจนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ถ้ารักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จะเล่นกลกับกฎหมาย ไม่ยอมสั่งให้พระธัมมชโยสึก โดยอาจจะแค่ "ภาคทัณฑ์" ตามที่มาตรา 3 แห่ง ม.21 ให้อำนาจไว้ แบบนี้ก็เรียบร้อยโรงเรียนธัมมชโย คือมหาเถรสมาคม "เตะลูก" เข้าซองธัมมชโยหมด
ตรงนี้ชัดเจนนะฮะ ว่าเจ้าอาวาสหรือรักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย "มีอำนาจ" ในการที่จะ แนะนำ ชี้แจง ตักเตือน ให้พระธัมมชโย ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการวินิจฉัยว่าพระธัมมชโยปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือไม่ ก็อยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายอีก
ทีนี้ ถ้าเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย "เล่นแง่" ไม่ยอมจับพระธัมมชโยสึก แถมยังให้โอกาสกลับตัวอยู่ในผ้าเหลืองต่อไป ถามว่า มหาเถรสมาคมจะสั่งให้พระธัมมชโยสึกได้ไหม ? คำตอบก็คือ ไม่ได้ เพราะการใช้อำนาจของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้น เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่ง ม.21 มิใช่บทบัญญัติในกฎนิคหกรรมแต่อย่างใด ถ้าหากมีการตั้งศาลสงฆ์สอบสวนอธิกรณ์พระธัมมชโย ตามกฎนิคหกรรม ตรงนี้ มหาเถรสมาคม มีอำนาจในการใช้ มาตราที่ 4 แห่ง ม.21 สั่งสึกพระธัมมชโยกลางอากาศได้
แต่ในเมื่อเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมิได้ใช้กฎนิคหกรรม แล้วถามว่า มหาเถรสมาคมก็ดี เจ้าคณะใหญ่ก็ดี มีอำนาจอะไรไปบังคับให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสั่งสึกพระธัมมชโย อ่านดูในมาตรา 3 กับมาตรา 4 ให้ดีนะครับท่าน เมื่อมันไม่มีบทบัญญัติ ก็แสดงว่า "ไม่มีอำนาจ" เมื่อไม่มีอำนาจก็ทำไม่ได้ ใครทำก็ทำผิดกฎหมายเสียเอง ไม่ว่ามหาเถรสมาคม หรือเจ้าคณะใหญ่หนกลาง !
ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า "กฎมหาเถรสมาคมมิได้ให้อำนาจไว้" เมื่อไม่ให้ ก็ไม่มี แค่นั้น แต่ถามว่า ในเมื่อมหาเถรสมาคม มีอำนาจในการตรากฎมหาเถรสมาคม คือออกกฎหมาย ม.21 ได้ด้วยตัวเอง และเมื่อกฎหมายนั้นมันไม่เวิร์ค แล้วทำไมไม่แก้ไข กลับทำไขสือ อ้างว่าต้องทำตามกฎมหาเถรสมาคม ถ้าไม่ทำก็แสดงว่าทำผิดกฎหมายเสียเอง ซึ่งก็ถูก แต่ถูกแบบเด็กๆ ตรงนี้มีข้อเปรียบเทียบ อันได้แก่ การแก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ มาตรา 7 ว่าด้วยการเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งแต่เดิมนั้น มาตรา 7 กำหนดให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจในการส่งรายนามเป็นเบื้องต้น และกำหนดให้สมเด็จพระราชาคณะ "ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์" เป็นผู้มีสิทธิ์เป็นเบื้องแรก แต่ครั้นรัฐบาลไม่ยอมนำมติมหาเถรสมาคมขึ้นทูลเกล้า สนช. จึงได้ทำการแก้ไข มาตรา 7 เสียใหม่ ให้เป็นพระบรมราชโองการโดยสมบูรณ์ ซึ่งความจริงแล้วก็ต้องเริ่มต้นที่ "นายกรัฐมนตรี" นำความขึ้นกราบบังคมทูล ก่อนจะทรงมีพระบรมราชโองการลงมา พูดง่ายๆ ว่า ยึดอำนาจการเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช จากมหาเถรสมาคมไปให้แก่นายกรัฐมนตรี เพียงแต่ไม่ได้เขียนไว้ในบัญญัติ แต่โดยพฤตินัยแล้วเป็นเช่นนั้น
นั่นแสดงให้เห็นว่า
ในเมื่อมหาเถรสมาคมมีอำนาจ "ทั้งออกกฎหมาย" "ทั้งแก้ไขกฎหมาย" แต่กลับบอกว่า "ต้องทำตามกฎหมายที่ออกแล้วโดยไม่มีข้อแม้" ใครแปลกฎหมายแบบนี้ก็ปัญญาอ่อน อีกอย่าง การอ้างว่า ถ้าใช้ ม.21 เพียวๆ จะผิดกฎนิคหกรรม แบบนี้ก็ถือว่า ไม่รู้จักเหรียญห้าเหรียญบาท คือไม่รู้ว่ากฎหมายไหนเป็นกฎหมายแม่ กฎหมายไหนเป็นกฎหมายลูก ก็ในเมื่อ ม.21 เอง ระบุว่า "ให้อำนาจมหาเถรสมาคมในการวินิจฉัยสูงกว่าศาลสงฆ์" นั่นก็ชัดเจนแล้วว่า การใช้ ม.21 จะถือว่าเป็นการผิดกฎนิคหกรรมไม่ได้หรอก ถ้าผิดก็ผิดตั้งแต่ออก ม.21 มาบังคับใช้แล้ว แต่เมื่อออกมาใช้ได้ก็แสดงว่าไม่ผิด
สุดท้าย ที่บอกว่า
"เหตุนี้ ในพระลิขิตของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโย เมื่อปี 2542 มหาเถรสมาคมก็ทำอะไรไม่ได้ เช่นเดียวกับ พ.ศ. นี้ ที่แม้จะมีพระบัญชาจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมภโร) ออกมาให้กรรมการมหาเถรสมาคมดำเนินการในเรื่องนี้ก็ตาม แต่กรรมการมหาเถรสมาคมก็ไม่สามารถตัดสินได้ เพราะถ้าตัดสิน ก็ผิดกฎนิคหกรรม ! หรือละเมิดกฎนิคหกรรม
จริงหรือ มส. ไม่มีสิทธิ์สึกพระ !!!!
วิสัชนา : เป็นคำถามและคำอธิบายจากใครไม่รู้ ที่นำเสนอทางหนังสือพิมพ์ "คมชัดลึก" แต่เชื่อว่า น่าจะเป็น "ผู้รู้ทางสงฆ์" องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งคงอยากจะอธิบาย "แทน" มหาเถรสมาคม ในกรณีที่ใช้ ม.21 สั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไปดำเนินการกับพระธัมมชโย และอ้างว่า "มส. ไม่มีอำนาจสึกพระ"
ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ผิดอย่างสิ้นเชิง !
ผิดทั้งการใช้กฎหมาย ผิดทั้งการตีความกฎหมาย หมายถึง ผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย มาตรา 21 ต้องบอกก่อนเลยว่า มาตรา 21 เป็นบทบัญญัติพิเศษ ที่ให้อำนาจแก่มหาเถรสมาคม ในการ "สั่งสึกพระ" ที่เรียกว่า "กลางอากาศ" โดยไม่ต้องไต่สวนทวนความ หรือแม้แต่การให้โอกาสแก่ "จำเลย" ในการให้การ แถมยังสามารถ "ประหาร" ลับหลังได้ เทียบกับ ม.44 แล้ว ม.21 มีอำนาจมากกว่าเสียอีก มากกว่าทั้งการดำเนินคดีอาญาของศาลอาญา ที่ระบุว่า "ต้องได้ตัวจำเลยมาฟ้องศาล เพื่อสอบสวน จึงจะสามารถพิพากษาได้" คำถามแรกก็คือว่า ถ้าอ้างว่า ถ้ามหาเถรสมาคมใช้ ม.21 สั่งสึกพระกลางอากาศ ก็จะขัดกับ ม.11 ซึ่งจะต้องมีขบวนการนิคหกรรมก่อน นั่นหมายถึงว่า การสั่งสึกพระนั้น จะต้องไปนับหนึ่งที่ ม.11 มิใช่ ม.21 ตรงนี้ อธิบายขั้นตอนของกฎหมาย "ถูก" แต่มองเจตนารมณ์ของกฎหมาย "ผิด" โดยผู้เขียนขอแสดงความเห็นแย้ง ดังต่อไปนี้
มาตรา 3 ข้างต้นนี้ ให้อำนาจแก่เจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะผู้ปกครองท้องถิ่น สามารถจับพระภิกษุรูปนั้น สึกได้ โดยไม่ต้องใช้อำนาจมหาเถรสมาคม และไม่ต้องผ่านการพิจารณาในศาลสงฆ์ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 ที่เรียกว่า กฎนิคหกรรม
มาตรา 4 ข้างต้นนี้ ให้อำนาจแก่ "มหาเถรสมาคม" สามารถ "สั่งสึก" พระภิกษุที่กำลังถูกดำเนินคดีอยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกฎนิคหกรรม (ม.11) ไม่ว่าจะเป็นชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา คดียังไม่สิ้นสุด แต่มีเหตุการณ์บานปลาย เช่น มีการใช้มวลชนกดดันศาลสงฆ์ หรือมีการขัดขวางเจ้าหน้าที่ของทางการบ้านเมือง เป็นเรื่องเร่งด่วน
ทั้งนี้ วิธีการพิจารณาของมหาเถรสมาคมก็ไวที่สุด คือ สั่งให้ตัวแทนศาลสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา ซึ่งคดีนั้นกำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้น "รายงานตรง" ต่อมหาเถรสมาคม แล้วให้มหาเถรสมาคม "ลงมติ" สั่งให้พระภิกษุรูปนั้น "สละสมณเพศ" ได้ทันที ไม่มีการสืบสวนสอบสวน เพียงแค่รับรายงาน "ด้านเดียว" จากศาลสงฆ์ เท่านั้น
ในท้ายของมาตรานี้ระบุไว้ว่า "ทั้งนี้ ไม่กระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าในชั้นใดๆ" นั่นหมายถึงว่า มาตราที่ 4 แห่ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21 นี้ มีอำนาจเหนือศาลสงฆ์ทุกศาล ไม่ว่าจะเป็นชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฏีกา ม.21 สามารถ "พิพากษาตัดหน้า" ศาลสงฆ์ ในทุกกรณี นี่ไงที่เรียกว่า "ครอบจักรวาล" เทียบเนื้อหาระหว่าง มาตรา 3 กับมาตรา 4 ทีนี้ เมื่อนำเอาเนื้อหาระหว่าง มาตรา 3 กับ มาตรา 4 มาพิจารณาดู ก็ทำให้รู้ว่า
มาตรา 3 ให้อำนาจเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะตำบล หรือเจ้าคณะอำเภอ มีอำนาจสั่งให้พระภิกษุรูปนั้น "สึกได้" โดยไม่ต้องพึ่งพามหาเถรสมาคม
มาตรา 4 เริ่มต้นด้วยการลงนิคหกรรมพระภิกษุที่ถูกโจทย์ฟ้อง ซึ่งคดีความอาจจะเดินอยู่ในศาลชั้นต้น ชั้นกลาง หรือชั้นสูง ก็ตามแต่ แต่มาตรานี้ "ให้อำนาจแก่มหาเถรสมาคม" ในการวินิจฉัยให้พระภิกษุที่ต้องอธิกรณ์นั้นสึกได้ทันที
ตรงนี้เห็นได้ชัดว่า มาตรา 3 ไม่เกี่ยวกับมาตรา 4 เพราะมิได้บอกว่า "ถ้าหากพระเจ้าอาวาสหรือพระผู้ปกครองสั่งให้พระภิกษุผู้ประพฤติผิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ หรือผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนั้นสึก แต่ภิกษุรูปนั้นไม่ยอมสึก ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจสั่งให้พระภิกษุรูปนั้นลาสิกขาได้" ดังนี้เลย
ก็เลยเห็นว่า มาตรา 3 กับมาตรา 4 มิได้เกี่ยวข้องกัน คือต่างเป็นเอกเทศแก่กันและกัน เพราะมิได้มี "เนื้อหา" เกี่ยวโยงกันดังกล่าว กล่าวถึง มาตรา 4 ที่เริ่มต้นด้วยกระบวนการพิจารณาทางศาลสงฆ์ (นิคหกรรม) แล้วให้มหาเถรสมาคม "มีอำนาจ" สั่งให้พระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ทางสงฆ์นั้นลาสิกขาได้ ทันที ทีเรียกว่า สึกกลางอากาศ นั่นแสดงว่า มาตรา 4 ใน ม.21 นั้น เกี่ยวโยงกับ "กฎนิคหกรรมฉบับที่ 11" แต่ไม่เกี่ยวกับ มาตราที่ 3 ใน ม.21 แต่อย่างใด งงไหมล่ะ ?
ที่อยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดูก็คือว่า ในเมื่อมาตรา 3 มิได้บอกให้มหาเถรสมาคมสั่งให้เจ้าอาวาสหรือพระสังฆาธิการในเขตปกครองไปจัดการให้พระภิกษุผู้ถูกสอบสวนนั้นต้องสึก แต่อำนาจของมหาเถรสมาคมกลับไปอยู่ใน "มาตรา 4" แทน มันก็เลยผิดฝาผิดตัว แบบว่า ที่สั่งก็ไม่มีอำนาจ ที่มีอำนาจก็ไม่สั่ง คำสั่งของมหาเถรสมาคม ที่เรียกว่า มติ มส. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมานั้น ระบุว่า มหาเถรสมาคมมีมติให้เจ้าคณะใหญ่หนกลาง สั่งการไปยังเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ดำเนินการให้พระธัมมชโยลาสิกขา ถามว่า ทำได้หรือไม่ ถ้าตอบตามเนื้อหาของข่าวในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ที่ระบุว่า "มส.ไม่มีสิทธิ์สึกพระธัมมชโย" ตรงนี้ก็จะมีคำถามต่อไปว่า "ถ้าหากว่า มส. ไม่มีสิทธิ์สึกพระธัมมชโย แล้วเจ้าคณะใหญ่หนกลาง มีสิทธิ์อะไรไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายดำเนินการสึกพระธัมมชโย ตามมติ มส." แปลกใจไหม เอาช้าๆ ชัดๆ เคลียร์ๆ นะท่านนะ
1. บอกว่า มส. ไม่มีสิทธิ์สึกพระธัมมชโย
2. แต่ มส. กลับออกมติให้เจ้าคณะใหญ่ ไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จับพระธัมมชโยสึก
คำถามสุดท้ายจึงไปลงตรงที่ "เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมีอำนาจอะไรไปสั่งให้พระธัมมชโยสึก" ในเมื่อระดับ มส. ก็ยังไม่มีอำนาจ ตรงนี้เป็น "กับดัก" ทางกฎหมาย ไม่รู้ว่าใครวางยา ผอ.สำนักพุทธฯ คนใหม่ ที่ทำหนังสือแบบหน่อมแน้ม ขอให้ มส. ใช้ ม.21 (ทั้งฉบับ) จับพระธัมมชโยสึก ครั้นเข้าสู่ที่ประชุม มส. ก็ออกลาย เลือกใช้ "มาตราที่ 3" คือโยนเรื่องกลับไปให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสั่งสึก ผ่านเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ทั้งๆ ที่ถ้าจะใช้อำนาจสั่งสึกแล้ว มส. ต้องใช้อำนาจในข้อที่ 4 มิใช่ข้อที่ 3 เด็กวัดพระธรรมกายเป็นแล้วหัวร่อ ยิ่งกว่าตลกหกฉาก กับดักที่ว่านั้นยังมีอีกหลายชั้น ได้แก่
1. เมื่อ มส. มิได้มีอำนาจในการสั่งให้เจ้าคณะใหญ่ไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายจับพระธัมมชโยสึก
2. เมื่อเจ้าคณะใหญ่หนกลางก็ไม่มีอำนาจไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายจับพระธัมมชโยสึก
3. เมื่อเจ้าอาวาสไม่มีอำนาจในการรับคำสั่งจากเจ้าคณะใหญ่หนกลางในการสั่งให้พระธัมมชโยสึก
เมื่อ 3 เหตุเหล่านี้ มาพ้องต้องกัน แบบว่า "ผิดทุกขั้นตอน" มันก็เลยย้อนไปถาม มหาเถรสมาคมว่า วินิจฉัยข้อกฎหมายในลักษณะนี้ได้อย่างไร เพราะธัมมชโยอ่านข้อกฎหมายเหล่านี้แล้วก็นั่งอมยิ้ม อยากให้รางวัลผู้นำพุทธโลกแก่กรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูป ใช่แต่เท่านั้น ยังมีคำถามต่อไปอีกว่า ในเวลานี้ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเป็นใคร ? เพราะตามข้อมูลที่ทราบนั้น ปัจจุบันยังไม่มีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีแต่รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งก็ผลัดเปลี่ยนกันจนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ถ้ารักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จะเล่นกลกับกฎหมาย ไม่ยอมสั่งให้พระธัมมชโยสึก โดยอาจจะแค่ "ภาคทัณฑ์" ตามที่มาตรา 3 แห่ง ม.21 ให้อำนาจไว้ แบบนี้ก็เรียบร้อยโรงเรียนธัมมชโย คือมหาเถรสมาคม "เตะลูก" เข้าซองธัมมชโยหมด
ตรงนี้ชัดเจนนะฮะ ว่าเจ้าอาวาสหรือรักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย "มีอำนาจ" ในการที่จะ แนะนำ ชี้แจง ตักเตือน ให้พระธัมมชโย ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการวินิจฉัยว่าพระธัมมชโยปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือไม่ ก็อยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายอีก ทีนี้ ถ้าเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย "เล่นแง่" ไม่ยอมจับพระธัมมชโยสึก แถมยังให้โอกาสกลับตัวอยู่ในผ้าเหลืองต่อไป ถามว่า มหาเถรสมาคมจะสั่งให้พระธัมมชโยสึกได้ไหม ? คำตอบก็คือ ไม่ได้ เพราะการใช้อำนาจของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้น เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่ง ม.21 มิใช่บทบัญญัติในกฎนิคหกรรมแต่อย่างใด ถ้าหากมีการตั้งศาลสงฆ์สอบสวนอธิกรณ์พระธัมมชโย ตามกฎนิคหกรรม ตรงนี้ มหาเถรสมาคม มีอำนาจในการใช้ มาตราที่ 4 แห่ง ม.21 สั่งสึกพระธัมมชโยกลางอากาศได้ แต่ในเมื่อเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมิได้ใช้กฎนิคหกรรม แล้วถามว่า มหาเถรสมาคมก็ดี เจ้าคณะใหญ่ก็ดี มีอำนาจอะไรไปบังคับให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสั่งสึกพระธัมมชโย อ่านดูในมาตรา 3 กับมาตรา 4 ให้ดีนะครับท่าน เมื่อมันไม่มีบทบัญญัติ ก็แสดงว่า "ไม่มีอำนาจ" เมื่อไม่มีอำนาจก็ทำไม่ได้ ใครทำก็ทำผิดกฎหมายเสียเอง ไม่ว่ามหาเถรสมาคม หรือเจ้าคณะใหญ่หนกลาง !
ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า "กฎมหาเถรสมาคมมิได้ให้อำนาจไว้" เมื่อไม่ให้ ก็ไม่มี แค่นั้น แต่ถามว่า ในเมื่อมหาเถรสมาคม มีอำนาจในการตรากฎมหาเถรสมาคม คือออกกฎหมาย ม.21 ได้ด้วยตัวเอง และเมื่อกฎหมายนั้นมันไม่เวิร์ค แล้วทำไมไม่แก้ไข กลับทำไขสือ อ้างว่าต้องทำตามกฎมหาเถรสมาคม ถ้าไม่ทำก็แสดงว่าทำผิดกฎหมายเสียเอง ซึ่งก็ถูก แต่ถูกแบบเด็กๆ ตรงนี้มีข้อเปรียบเทียบ อันได้แก่ การแก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ มาตรา 7 ว่าด้วยการเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งแต่เดิมนั้น มาตรา 7 กำหนดให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจในการส่งรายนามเป็นเบื้องต้น และกำหนดให้สมเด็จพระราชาคณะ "ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์" เป็นผู้มีสิทธิ์เป็นเบื้องแรก แต่ครั้นรัฐบาลไม่ยอมนำมติมหาเถรสมาคมขึ้นทูลเกล้า สนช. จึงได้ทำการแก้ไข มาตรา 7 เสียใหม่ ให้เป็นพระบรมราชโองการโดยสมบูรณ์ ซึ่งความจริงแล้วก็ต้องเริ่มต้นที่ "นายกรัฐมนตรี" นำความขึ้นกราบบังคมทูล ก่อนจะทรงมีพระบรมราชโองการลงมา พูดง่ายๆ ว่า ยึดอำนาจการเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช จากมหาเถรสมาคมไปให้แก่นายกรัฐมนตรี เพียงแต่ไม่ได้เขียนไว้ในบัญญัติ แต่โดยพฤตินัยแล้วเป็นเช่นนั้น
นั่นแสดงให้เห็นว่า ในเมื่อมหาเถรสมาคมมีอำนาจ "ทั้งออกกฎหมาย" "ทั้งแก้ไขกฎหมาย" แต่กลับบอกว่า "ต้องทำตามกฎหมายที่ออกแล้วโดยไม่มีข้อแม้" ใครแปลกฎหมายแบบนี้ก็ปัญญาอ่อน อีกอย่าง การอ้างว่า ถ้าใช้ ม.21 เพียวๆ จะผิดกฎนิคหกรรม แบบนี้ก็ถือว่า ไม่รู้จักเหรียญห้าเหรียญบาท คือไม่รู้ว่ากฎหมายไหนเป็นกฎหมายแม่ กฎหมายไหนเป็นกฎหมายลูก ก็ในเมื่อ ม.21 เอง ระบุว่า "ให้อำนาจมหาเถรสมาคมในการวินิจฉัยสูงกว่าศาลสงฆ์" นั่นก็ชัดเจนแล้วว่า การใช้ ม.21 จะถือว่าเป็นการผิดกฎนิคหกรรมไม่ได้หรอก ถ้าผิดก็ผิดตั้งแต่ออก ม.21 มาบังคับใช้แล้ว แต่เมื่อออกมาใช้ได้ก็แสดงว่าไม่ผิด
สุดท้าย ที่บอกว่า "เหตุนี้ ในพระลิขิตของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโย เมื่อปี 2542 มหาเถรสมาคมก็ทำอะไรไม่ได้ เช่นเดียวกับ พ.ศ. นี้ ที่แม้จะมีพระบัญชาจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมภโร) ออกมาให้กรรมการมหาเถรสมาคมดำเนินการในเรื่องนี้ก็ตาม แต่กรรมการมหาเถรสมาคมก็ไม่สามารถตัดสินได้ เพราะถ้าตัดสิน ก็ผิดกฎนิคหกรรม ! หรือละเมิดกฎนิคหกรรม