ภาพแสดงลายละเอียดของหัวหอมเบอร์มิวดา จากแคตตาล็อก Bolgiano’s “Greater Baltimore” Tomato
Cr.PUBLIC DOMAIN/BIODIVERSITY HERITAGE LIBRARY
เบอร์มิวดา (Bermuda) แท้จริงแล้วเป็นหมู่เกาะที่มีเกาะมากกว่า 100 เกาะ เกาะเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างภูเขาไฟ สิ่งมีชีวิตในทะเล และสภาพอากาศ แม้ว่าหมู่เกาะแห่งนี้เคยมีชื่อเสียงที่น่าเกรงขาม และพายุบ่อยครั้ง แต่ปัจจุบันเบอร์มิวดาเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
ด้วยพื้นที่เพียง 20 ตารางไมล์ เกาะเบอร์มิวดาแทบจะไม่เป็นที่สนใจในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทว่าในช่วงทศวรรษที่1800 ดินแดนเล็กๆของอังกฤษแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องการส่งออกที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ นั่นคือ " หัวหอม " (onions) ซึ่งในหนังสือชื่อ All About Bermuda Onions ของ Nancy Hutchings Valentine ศิลปินชาวเบอร์มิวดาผู้โด่งดังในช่วงชีวิตของเธอ เขียนไว้ว่า
ในปี 1844 เกาะแห่งนี้กำลังเติบโตด้วยหัวหอม 332,745 ปอนด์ที่ส่วนใหญ่ส่งออกไปต่างประเทศ พ่อค้าเรือชาวเบอร์มิวดากลายเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘Onions’ และเบอร์มิวดาได้รับฉายาว่า ' The Onion Patch '
ตอนนั้น หัวหอม Bermuda (Bermuda onions) กำลังเฟื่องฟูในดินกึ่งเขตร้อนมีชื่อเสียงมากจนดึงดูดความสนใจของผู้รู้หนังสือ จนกระทั่งในปี 1877
เมื่อ Mark Twain นักเขียนหนังสือคลาสสิกตลอดกาลไปเยี่ยมเกาะ เขารู้สึกประทับใจและได้เขียนอธิบายถึงบทบาทสำคัญที่หัวหอมชื่อเดียวกันของเกาะในชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นว่า
เรือที่กำลังซ่อมแซมในเบอร์มิวดา ในปี 1871 (Cr.DUNCAN1890 / GETTY IMAGES)
หัวหอมเป็นความภาคภูมิใจและความปิติยินดีของเบอร์มิวดา เป็นอัญมณีแห่งอัญมณี และในคำอุปมาของชาวเบอร์มิวเดี่ยน มันหมายถึงความสมบูรณ์แบบ
หัวหอม Bermuda ที่หอมหวานและชุ่มฉ่ำนี้ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับเกาะนี้เมื่อราวปี 1616 ในไม่ช้าก็กลายเป็นพืชผลหลัก ถูกส่งออกไปยังชายฝั่งตะวันออกครั้งแรกจาก St. George's ในปี 1847
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 หัวหอมกลายเป็นพืชผลส่งออกที่สำคัญของเบอร์มิวดาอย่างรวดเร็ว โดยเกษตรกรหลายร้อยคนตระหนักถึงศักยภาพของตลาดในสหรัฐฯ และต่อมาคือ สหราชอาณาจักร จนช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผู้นำเข้าผักรายใหญ่ของอเมริกามองว่าเกาะนี้เป็นแหล่งหัวหอมหลัก และเรือ SS
“ Trinidad ” ก็บรรทุกหัวหอมมากกว่า 30,000 กล่องไปยังสหรัฐอเมริกาทุกสัปดาห์ จากนั้น การส่งออกหัวหอมจากเบอร์มิวดาดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง [1914-18] เมื่อการขนส่งเกือบจะหยุดชะงักและส่งผลเสียต่อการส่งออกหัวหอม
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พืชผลที่ครั้งหนึ่งเคยนิยมนี้หายไปจนเกือบมืดมน ไม่ใช่เพราะว่าหัวหอม Bermuda หยุดปลูก ชาวบ้านบนเกาะยังคงปลูกพวกมันจนเติบโตอุดมสมบูรณ์ และยังคงมีอยู่อย่างพอเพียง แม้ว่าการส่งออกหัวหอมจากเบอร์มิวดาจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง แต่สหรัฐฯ ได้กำหนดภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้การส่งออกหัวหอมชะลอตัวลงอย่างมาก นอกจากนั้น หัวหอมของเบอร์มิวดากลับถูกแย่งชิงโดยส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการเกษตรของอเมริกา
คนงานในไร่หัวหอมในปี 1890 / Cr.ARCHIVE FARMS/GETTY IMAGES
กล่าวคือ ช่วงปี 1930 เมื่อชุมชนชาวนาในเท็กซัส เริ่มพัฒนาหัวหอมของตัวเอง และเรียกพวกมันว่า " Bermuda Onions " เพื่อขายและส่งออกหัวหอม
ได้อย่างง่ายดาย ผลผลิตที่ปลูกในท้องถิ่นไม่สามารถแข่งขันกับการเก็บเกี่ยวมากมายในเท็กซัสได้อีกต่อไป โดยเกษตรกรในเท็กซัสมีข้อได้เปรียบในการใช้ระบบรถไฟใหม่ของอเมริกาเหนือในการเคลื่อนย้าย และส่งออกหัวหอมที่ปลูกในท้องถิ่นในปริมาณมาก ในที่สุดเบอร์มิวดาก็ต้องยอมแพ้ แต่ชื่อเล่นของเกาะก็ยังคงอยู่
นักประวัติศาสตร์สรุปว่า เบอร์มิวดาถูกโดดเดี่ยวบนมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ โดยต้องพึ่งพาการขนส่งทางเรือซึ่งเป็นวิธีการขนส่งที่ช้ากว่ามาก ผลที่ตามมาคือการส่งออกของเบอร์มิวดาลดลงจาก 153,000 ลังในปี 1914 เหลือเพียง 21,570 ลังในปี 1923 ในทางกลับกัน เกษตรกรในเท็กซัสส่งออกหัวหอมบนรางรถไฟมากกว่า 1,000 คันไปยังประเทศอื่นๆ และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ชุมชนเกษตรกรรมเท็กซัสเรียกตัวเองว่า Bermuda Colony ต่อมา เปลี่ยนเป็น Bermuda, Texas
แม้ว่าในปี 1930 นั้น คณะกรรมการพัฒนาการค้าเบอร์มิวดาพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะควบคุมแนวโน้มด้วยการส่งโปสการ์ดไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยเขียนไว้ข้างลังว่า “ รสชาติของ " Bermuda " ของแท้จะแตกต่างกันมากกับของ " Texas " ซึ่งอาจเป็นเพราะแสงแดดที่สวยงาม และลมทะเลที่พัดลงมาในเบอร์มิวดาหรือเวทมนตร์บางอย่างในดิน แต่สิ่งที่เป็นรสชาติจะบ่งบอกถึงความแตกต่างในทันที นี่คือของจริงที่คุณจะได้รับ ”
Texas Onions Cr.ภาพ frisco.org
แต่มันเป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์ ยุคของเกษตรกรในเบอร์มิวดาส่งออกหัวหอมได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยการท่องเที่ยวเข้ามาแทนที่เกษตรกรรมในฐานะแกนนำทางเศรษฐกิจของเกาะ อย่างไรก็ตาม ชื่อเล่นยังคงอยู่แม้ว่าอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดที่มาของชื่อสูญพันธุ์ไปแล้ว
ทั้งนี้ หัวหอมอาจดูไม่เหมือนผักที่มีเสน่ห์ที่สุดเมื่อเทียบกับผักอื่น แต่สำหรับนักเดินเรือในช่วงปี 1800 หัวหอมนั้นมีความจำเป็น พวกมันอาจมีวิตามิน C ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่สามารถเก็บเป็นเสบียงได้ดีกว่าผลผลิตส่วนใหญ่ในการเดินทางทางทะเลที่ยาวนาน เนื่องจากรสชาติของหัวหอม Bermuda หวานพอที่จะกินดิบได้ จึงช่วยประหยัดห้องครัวของเรือเพื่อความจำเป็นในการปรุงอาหาร ทั้งยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการต่อสู้กับเลือดออกตามไรฟันด้วย
หลายทศวรรษผ่านไป หัวหอมหวานไฮบริด เช่น Granex ลูกผสมระหว่างหัวหอม Bermuda และหัวหอม Grano และต่อมาคือ Vidalia มาแทนที่หัวหอม Bermuda บนชั้นวางในร้านขายของชำ ในปัจจุบันนี้ หัวหอมหวานส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกามาจากจอร์เจีย เท็กซัส หรือฮาวาย ในขณะเดียวกัน ในเบอร์มิวดา หัวที่เคยนำชื่อเสียงและโชคลาภมาสู่คนจำนวนมากนั้น เป็นเพียงเชิงอรรถทางประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ปัจจุบัน เบอร์มิวดาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดประจำปี 2021 จากนิตยสารท่องเที่ยวต่างประเทศรายใหญ่ โดย Condé Nast Traveller รวมเกาะนี้ไว้ในรายชื่อสถานที่ที่ดีที่สุด 21 แห่งในปีนี้ควบคู่ไปกับแองโกลา นิวซีแลนด์ อิตาลี และนิวยอร์กซิตี้
อ่าว horseshoe ใน bermuda
ตั้งชื่อตามรูปทรงโค้งมน โดดเด่นด้วย น้ำทะเลสีฟ้าใสที่เป็นเครื่องหมายการค้าของเบอร์มิวดาและหาดทรายสีชมพู
โดยเฉดสีกุหลาบนั้น เป็นผลมาจากการผสมผสานของปะการังบดและแคลเซียมคาร์บอเนต จากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า red forminifera
หมู่เกาะและแนวปะการังของเบอร์มิวดา เป็นโครงร่างขอบของแอ่งภูเขาไฟทรงกลม ภูเขาไฟก่อตัวขึ้นตามรอยเลื่อนเดียวกันกับที่เกิดสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก การเคลื่อนที่แบบเดียวกันของแผ่นเปลือกโลกที่ค่อยๆ ผลักยุโรปและอเมริกาให้ห่างกันมากขึ้น ยังได้ดึงภูเขาไฟที่ก่อตัวขึ้นตามแนวรอยเลื่อนที่อยู่ห่างจากสันเขาออกไป เบอร์มิวดาถูกผลักไปทางทิศตะวันตก และตอนนี้อยู่ห่างจาก Cape Hatteras ทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,030 กิโลเมตร (640 ไมล์)
หลังจากที่สันเขาภูเขาไฟก่อตัวขึ้น สิ่งมีชีวิตในทะเลที่หลั่งแคลไซต์ก็สร้างที่อยู่อาศัยของพวกมันขึ้น โดยสร้างสันเขาให้เป็นแนวปะการัง เมื่อปะการังก่อตัวขึ้นและโครงกระดูกของพวกมันกลายเป็นหินปูน ภูเขาไฟก็ปกคลุมไปด้วยฝาหินปูน เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงในช่วง Pleistocene (ยุคน้ำแข็ง) แผ่นหินปูนโผล่เหนือน้ำ และหินปูนก็กลายเป็นทราย จากนั้นลมพัดทรายให้เป็นเนินทราย และในที่สุดก็แข็งตัวเป็นหินทราย หมู่เกาะที่ก่อตัวในลักษณะนี้เรียกว่า atolls และถึงแม้ atolls จะไม่ใช่เรื่องแปลกในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เบอร์มิวดาเป็น atolls เพียงแห่งเดียวในมหาสมุทรแอตแลนติก
ทุกวันนี้ เบอร์มิวดามีดินสีแดงที่มีธาตุเหล็กสูง ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวมีชายหาดสีชมพูเพื่อชดเชยน้ำทะเลสีฟ้าคราม แต่ในขณะที่ดินอาจเป็นสีชมพูสวย แต่ก็มีน้ำน้อย ทำให้เกาะไม่มีลำธารหรือแหล่งน้ำจืด ในขณะที่ ฝนที่ตกลงมาในเบอร์มิวดาเมื่อกระทบกับพื้นบนเกาะเป็นแอ่งน้ำก็ยังกลายเป็นน้ำกร่อย ไม่เหมาะที่จะดื่ม ผู้อยู่อาศัยต้องเก็บน้ำฝนจากบนหลังคา แต่โชคดีสำหรับพืชพันธุ์ของหมู่เกาะที่มีฝนตกชุก ทำให้พืชพรรณเขียวชอุ่มเกือบครอบคลุมหมู่เกาะดังในภาพนี้
Bermuda /
Cr.ภาพ theluxuryeditor.com/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
เมื่อเบอร์มิวดาเคยเป็น " Onion Island " ในช่วงทศวรรษที่ 18
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 หัวหอมกลายเป็นพืชผลส่งออกที่สำคัญของเบอร์มิวดาอย่างรวดเร็ว โดยเกษตรกรหลายร้อยคนตระหนักถึงศักยภาพของตลาดในสหรัฐฯ และต่อมาคือ สหราชอาณาจักร จนช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผู้นำเข้าผักรายใหญ่ของอเมริกามองว่าเกาะนี้เป็นแหล่งหัวหอมหลัก และเรือ SS
“ Trinidad ” ก็บรรทุกหัวหอมมากกว่า 30,000 กล่องไปยังสหรัฐอเมริกาทุกสัปดาห์ จากนั้น การส่งออกหัวหอมจากเบอร์มิวดาดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง [1914-18] เมื่อการขนส่งเกือบจะหยุดชะงักและส่งผลเสียต่อการส่งออกหัวหอม
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พืชผลที่ครั้งหนึ่งเคยนิยมนี้หายไปจนเกือบมืดมน ไม่ใช่เพราะว่าหัวหอม Bermuda หยุดปลูก ชาวบ้านบนเกาะยังคงปลูกพวกมันจนเติบโตอุดมสมบูรณ์ และยังคงมีอยู่อย่างพอเพียง แม้ว่าการส่งออกหัวหอมจากเบอร์มิวดาจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง แต่สหรัฐฯ ได้กำหนดภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้การส่งออกหัวหอมชะลอตัวลงอย่างมาก นอกจากนั้น หัวหอมของเบอร์มิวดากลับถูกแย่งชิงโดยส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการเกษตรของอเมริกา
ได้อย่างง่ายดาย ผลผลิตที่ปลูกในท้องถิ่นไม่สามารถแข่งขันกับการเก็บเกี่ยวมากมายในเท็กซัสได้อีกต่อไป โดยเกษตรกรในเท็กซัสมีข้อได้เปรียบในการใช้ระบบรถไฟใหม่ของอเมริกาเหนือในการเคลื่อนย้าย และส่งออกหัวหอมที่ปลูกในท้องถิ่นในปริมาณมาก ในที่สุดเบอร์มิวดาก็ต้องยอมแพ้ แต่ชื่อเล่นของเกาะก็ยังคงอยู่
นักประวัติศาสตร์สรุปว่า เบอร์มิวดาถูกโดดเดี่ยวบนมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ โดยต้องพึ่งพาการขนส่งทางเรือซึ่งเป็นวิธีการขนส่งที่ช้ากว่ามาก ผลที่ตามมาคือการส่งออกของเบอร์มิวดาลดลงจาก 153,000 ลังในปี 1914 เหลือเพียง 21,570 ลังในปี 1923 ในทางกลับกัน เกษตรกรในเท็กซัสส่งออกหัวหอมบนรางรถไฟมากกว่า 1,000 คันไปยังประเทศอื่นๆ และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ชุมชนเกษตรกรรมเท็กซัสเรียกตัวเองว่า Bermuda Colony ต่อมา เปลี่ยนเป็น Bermuda, Texas
แม้ว่าในปี 1930 นั้น คณะกรรมการพัฒนาการค้าเบอร์มิวดาพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะควบคุมแนวโน้มด้วยการส่งโปสการ์ดไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยเขียนไว้ข้างลังว่า “ รสชาติของ " Bermuda " ของแท้จะแตกต่างกันมากกับของ " Texas " ซึ่งอาจเป็นเพราะแสงแดดที่สวยงาม และลมทะเลที่พัดลงมาในเบอร์มิวดาหรือเวทมนตร์บางอย่างในดิน แต่สิ่งที่เป็นรสชาติจะบ่งบอกถึงความแตกต่างในทันที นี่คือของจริงที่คุณจะได้รับ ”
ทั้งนี้ หัวหอมอาจดูไม่เหมือนผักที่มีเสน่ห์ที่สุดเมื่อเทียบกับผักอื่น แต่สำหรับนักเดินเรือในช่วงปี 1800 หัวหอมนั้นมีความจำเป็น พวกมันอาจมีวิตามิน C ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่สามารถเก็บเป็นเสบียงได้ดีกว่าผลผลิตส่วนใหญ่ในการเดินทางทางทะเลที่ยาวนาน เนื่องจากรสชาติของหัวหอม Bermuda หวานพอที่จะกินดิบได้ จึงช่วยประหยัดห้องครัวของเรือเพื่อความจำเป็นในการปรุงอาหาร ทั้งยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการต่อสู้กับเลือดออกตามไรฟันด้วย