อยู่กับผม……..ลำบากหน่อยนะ / เสียงชายหนุ่มแต่งชุดดูดี พูดด้วยเสียงนุ่มทุ้ม
ไม่เป็นไรค่ะ สีทนได้ / เสียงหญิงสาวแทรกขึ้นมา
โฆษณาสีสำหรับบ้านยี่ห้อหนึ่งวิ่งเข้ามาในหัวของผม
https://youtu.be/qqzScCO4SAU
ภายหลังนั่งมองฝากระโปรงรถตัวเองที่เป็นรอยยับและพับลงเล็กน้อย
มีรอยถลอกที่เจือด้วยสีสนิมจาง ๆ และร่องรอยสีของรถคู่กรณีที่คอยย้ำเตือนถึงความสะเพร่าในการขับรถของตัวเอง
สีเขาทนได้ ทำไมสีเราไม่ทนเลย ??
หลังจากบ่นกับตัวเองเสร็จ ก็นึกได้ว่า สองสามปีก่อน ผมเคยเคลมทำสีฝากระโปรงรถไว้
เนื่องจากโดนเศษหินกระเด็นใส่จนเป็นรอย หลังจากขับรถวิ่งตามรถบรรทุกหิน
ทั้งๆ ที่ใจจริงไม่อยากจะทำสีใหม่ซักเท่าไหร่ เพราะเข้าใจดีว่า
สีที่ติดรถมานั้นดีที่สุด ?? หากไม่จำเป็นแล้ว ก็ไม่ต้องทำสีใหม่ !!
ทำไมผมถึงบอกอย่างนี้ นั้นก็เพราะว่าการทำสีใหม่ จำเป็นต้องขัดเอาชั้นเคลือบสีเดิมออกก่อน
ไม่อย่างนั้นสีใหม่จะไม่ติดกับตัวรถ หรือ หลุดร่อนได้ง่าย
และการขัดเอาสีเก่าออกก่อนที่จะทำสีใหม่ นี้แหละครับ ที่ทำให้สมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของสีรถยนต์ลดลง
ทำไม ??
นั้นก็เพราะการซ่อมสีรถไม่ว่าจะอู่ซ่อมรถยนต์ของตามี หรือ การซ่อมรถตามศูนย์บริการรถยนต์
การขัดเพื่อทำสีใหม่ ชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟต จะถูกขัดออกไปด้วย
กระบวนการสร้างชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟตจะถูกสร้างขึ้นในระหว่างการผลิตรถยนต์
หลายท่านอาจจะเคยเห็น ภาพรถทั้งคันถูกจุ่มลงในบ่อสารเคมี
นั้นแหละครับ คือบ่อสำหรับการสร้างชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟต ก่อนที่รถจะถูกนำไปพ่นสีต่อไป
ชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟสนั้น เป็นชั้นเคลือบบาง ๆ ที่อยู่ระหว่างเหล็กหรือ Substrate กับชั้นเคลือบอื่นๆ
ทำหน้าที่ช่วยเสริมการยึดเหนี่ยวระหว่างชั้นเคลือบกับตัวรถ
เนื่องจากผิวหน้าชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟตนั้นที่ขรุขระและมีช่องว่าง
สามารถสร้าง Mechanical Lock กับชั้นเคลือบอื่นได้เป็นอย่างดี
หากมีการรอยถลอกของชั้นสีจนถึงชั้นเหล็ก
สังกะสีที่อยู่ในชั้นฟอสเฟตจะยอมสังเวยตัวเองเกิดการกัดกร่อนแทนเหล็ก
ปกป้องไม่ให้รถเราเกิดสนิมแดง (Fe
2O
3) ที่สามารถลุกลามต่อไปได้
แต่ตอนนี้คาดได้ว่า ชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟตของรถผมไม่อยู่แล้วจากการทำสีเมื่อครั้งก่อน
สนิมบางๆ เริ่มมีให้เห็นตามแนวถลอกของสี
แม้จะมีใบเคลมที่ได้มาจากประกัน
แต่ก็ติดวันหยุดยาว และต้องรออนุมัติก่อนซ่อม บวกกับสายฝนที่ตกมาแทบทุกวัน
การปล่อยให้สนิมแดงอยู่เช่นนี้คงไม่ดีแน่ เพราะเดี๋ยวมันลุกลามและเอาออกไม่หมด
จาก Filiform Corrosion ที่สามารถดันให้สีที่เคลือบอยู่รอบ ๆ แตกและหลุดร่อนได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมา
สาวๆ ในที่ทำงาน ผู้เชี่ยวชาญในการเสริมความงามจึงถูกตามตัวออกมา พร้อมด้วยน้ำยาทาเล็บ
ขั้นตอนแรกทิชชู่ถูกหยิบขึ้นมาใช้ ทาถูเบาๆ พอให้สนิมบางส่วนที่ไม่ติดแน่นหลุดออกมาก่อน
จากนั้นจึงป้ายน้ำยาทาเล็บลงไป
โดยครั้งแรกป้ายบางๆ ทิ้งไว้ให้แห้ง พอแห้งแล้วก็ทาทับอีกครั้งหรือสองครั้ง เพื่อเพิ่มความหนา
แค่นี้ก็พอจะหยุดยั้งสนิม ไม่ให้ลุกลามในระหว่างการซ่อมได้แล้วครับ
อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้จะอันตรายมาก หากท่านทำเองที่บ้าน !!!
ควรปรึกษาภรรยาก่อนทำ เนื่องจากการหยิบน้ำยาทาเล็บ ผิดขวด
อาจทำให้เกิดการฟกช้ำ และ เผลอๆ อาจเสียงเงินมากกว่าการซ่อมสีรถ
#เหล็กไม่เอาถ่าน
1. S.Jegannathan etc., Performance of zinc phosphate coatings obtained by cathodic electrochemical treatment in accelerated corrosion tests, Electrochimica Acta, Volume 51, Issue 2, 10 October 2005, Pages 247-256.
2. A Amirudin, D Thierry, Corrosion mechanisms of phosphated zinc layers on steel as substrates for automotive coatings, Progress in Organic Coatings, 1996 – Elsevier.
3.
http://www.thaiparker.co.th/.../innov.../room_temp_chem.html
4. Nelson K. Akafuah etc., Evolution of the Automotive Body Coating Process—A Review, Coatings 2016, 6, 24.
สีจะไม่ทน !!
ไม่เป็นไรค่ะ สีทนได้ / เสียงหญิงสาวแทรกขึ้นมา
โฆษณาสีสำหรับบ้านยี่ห้อหนึ่งวิ่งเข้ามาในหัวของผม
https://youtu.be/qqzScCO4SAU
ภายหลังนั่งมองฝากระโปรงรถตัวเองที่เป็นรอยยับและพับลงเล็กน้อย
มีรอยถลอกที่เจือด้วยสีสนิมจาง ๆ และร่องรอยสีของรถคู่กรณีที่คอยย้ำเตือนถึงความสะเพร่าในการขับรถของตัวเอง
สีเขาทนได้ ทำไมสีเราไม่ทนเลย ??
หลังจากบ่นกับตัวเองเสร็จ ก็นึกได้ว่า สองสามปีก่อน ผมเคยเคลมทำสีฝากระโปรงรถไว้
เนื่องจากโดนเศษหินกระเด็นใส่จนเป็นรอย หลังจากขับรถวิ่งตามรถบรรทุกหิน
ทั้งๆ ที่ใจจริงไม่อยากจะทำสีใหม่ซักเท่าไหร่ เพราะเข้าใจดีว่า
สีที่ติดรถมานั้นดีที่สุด ?? หากไม่จำเป็นแล้ว ก็ไม่ต้องทำสีใหม่ !!
ทำไมผมถึงบอกอย่างนี้ นั้นก็เพราะว่าการทำสีใหม่ จำเป็นต้องขัดเอาชั้นเคลือบสีเดิมออกก่อน
ไม่อย่างนั้นสีใหม่จะไม่ติดกับตัวรถ หรือ หลุดร่อนได้ง่าย
และการขัดเอาสีเก่าออกก่อนที่จะทำสีใหม่ นี้แหละครับ ที่ทำให้สมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของสีรถยนต์ลดลง
ทำไม ??
นั้นก็เพราะการซ่อมสีรถไม่ว่าจะอู่ซ่อมรถยนต์ของตามี หรือ การซ่อมรถตามศูนย์บริการรถยนต์
การขัดเพื่อทำสีใหม่ ชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟต จะถูกขัดออกไปด้วย
กระบวนการสร้างชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟตจะถูกสร้างขึ้นในระหว่างการผลิตรถยนต์
หลายท่านอาจจะเคยเห็น ภาพรถทั้งคันถูกจุ่มลงในบ่อสารเคมี
นั้นแหละครับ คือบ่อสำหรับการสร้างชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟต ก่อนที่รถจะถูกนำไปพ่นสีต่อไป
ชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟสนั้น เป็นชั้นเคลือบบาง ๆ ที่อยู่ระหว่างเหล็กหรือ Substrate กับชั้นเคลือบอื่นๆ
ทำหน้าที่ช่วยเสริมการยึดเหนี่ยวระหว่างชั้นเคลือบกับตัวรถ
เนื่องจากผิวหน้าชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟตนั้นที่ขรุขระและมีช่องว่าง
สามารถสร้าง Mechanical Lock กับชั้นเคลือบอื่นได้เป็นอย่างดี
หากมีการรอยถลอกของชั้นสีจนถึงชั้นเหล็ก
สังกะสีที่อยู่ในชั้นฟอสเฟตจะยอมสังเวยตัวเองเกิดการกัดกร่อนแทนเหล็ก
ปกป้องไม่ให้รถเราเกิดสนิมแดง (Fe2O3) ที่สามารถลุกลามต่อไปได้
แต่ตอนนี้คาดได้ว่า ชั้นเคลือบซิงค์ฟอสเฟตของรถผมไม่อยู่แล้วจากการทำสีเมื่อครั้งก่อน
สนิมบางๆ เริ่มมีให้เห็นตามแนวถลอกของสี
แม้จะมีใบเคลมที่ได้มาจากประกัน
แต่ก็ติดวันหยุดยาว และต้องรออนุมัติก่อนซ่อม บวกกับสายฝนที่ตกมาแทบทุกวัน
การปล่อยให้สนิมแดงอยู่เช่นนี้คงไม่ดีแน่ เพราะเดี๋ยวมันลุกลามและเอาออกไม่หมด
จาก Filiform Corrosion ที่สามารถดันให้สีที่เคลือบอยู่รอบ ๆ แตกและหลุดร่อนได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมา
สาวๆ ในที่ทำงาน ผู้เชี่ยวชาญในการเสริมความงามจึงถูกตามตัวออกมา พร้อมด้วยน้ำยาทาเล็บ
ขั้นตอนแรกทิชชู่ถูกหยิบขึ้นมาใช้ ทาถูเบาๆ พอให้สนิมบางส่วนที่ไม่ติดแน่นหลุดออกมาก่อน
จากนั้นจึงป้ายน้ำยาทาเล็บลงไป
โดยครั้งแรกป้ายบางๆ ทิ้งไว้ให้แห้ง พอแห้งแล้วก็ทาทับอีกครั้งหรือสองครั้ง เพื่อเพิ่มความหนา
แค่นี้ก็พอจะหยุดยั้งสนิม ไม่ให้ลุกลามในระหว่างการซ่อมได้แล้วครับ
อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้จะอันตรายมาก หากท่านทำเองที่บ้าน !!!
ควรปรึกษาภรรยาก่อนทำ เนื่องจากการหยิบน้ำยาทาเล็บ ผิดขวด
อาจทำให้เกิดการฟกช้ำ และ เผลอๆ อาจเสียงเงินมากกว่าการซ่อมสีรถ
#เหล็กไม่เอาถ่าน
1. S.Jegannathan etc., Performance of zinc phosphate coatings obtained by cathodic electrochemical treatment in accelerated corrosion tests, Electrochimica Acta, Volume 51, Issue 2, 10 October 2005, Pages 247-256.
2. A Amirudin, D Thierry, Corrosion mechanisms of phosphated zinc layers on steel as substrates for automotive coatings, Progress in Organic Coatings, 1996 – Elsevier.
3. http://www.thaiparker.co.th/.../innov.../room_temp_chem.html
4. Nelson K. Akafuah etc., Evolution of the Automotive Body Coating Process—A Review, Coatings 2016, 6, 24.