" Ancients of the Future " โครงการอนุรักษ์แห่งอนาคตเพื่อเร่งกระบวนการชราสำหรับต้นไม้บางต้น




(ตัวอย่างของต้นไม้โบราณ ที่มีลำต้นหมอบกว้าง มีโพรงและยอดของต้นลดลง)


มีบางอย่างเกี่ยวกับต้นไม้โบราณที่จุดประกายความอัศจรรย์ พวกมันมักจะอุดมไปด้วยประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรม แต่ต้นไม้โบราณ ทุ่งหญ้าเก่าแก่ และสวน เป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญและน่าตื่นเต้นสำหรับสัตว์ป่าในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมหาศาลมากกว่า 2,000 สายพันธุ์ ต้องพึ่งพาต้นไม้โบราณเหล่านี้ แม้ต้นไม้ยังคงยืนหยัด ที่อยู่อาศัยและสัตว์ป่าปลอดภัย แต่จริงๆ แล้วพวกมันกำลังถูกคุกคามและกำลังลดลง

ความท้าทายหลักที่ต้นไม้โบราณและสัตว์ป่าต้องพึ่งพาอาศัย คือความต่อเนื่องของที่อยู่อาศัย หากปราศจากสิ่งนั้น สัตว์ป่าจำนวนมากก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ ขณะที่ภัยคุกคามเพิ่มขึ้นจากความชุกของโรคต้นไม้ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือรอยแตกหรือโพรงของต้นไม้โบราณที่มีอยู่ตามช่วงเวลาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอุดมไปด้วยประวัติศาสตร์ทางชีววิทยา - วัฒนธรรม 

สหราชอาณาจักรนั้น มีต้นไม้โบราณประมาณ 80% ของยุโรป ไม่เพียงเท่านั้น ในสวนสาธารณะที่ Blenheim ยังมีคอลเลกชันต้นโอ๊กโบราณที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในยุโรปเกือบ 1,000 ต้น รวมทั้งต้นไม้เก่าแก่ในหลายไซต์เช่นที่ Garden Village และ Park Cottage Eynsham ต้นไม้โบราณเหล่านี้สนับสนุนระบบนิเวศของแมลง นก ไลเคน ฯลฯ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าที่ที่อยู่อาศัยพิเศษนี้จะถูกสร้างขึ้น


Big Belly Oak ต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในป่า Savernake ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ
อายุประมาณ 1,100 ปีและมีเส้นรอบวงเกือบ 11 เมตร (36 ฟุต)  ตอนนี้ลำต้นตะปุ่มตะป่ำของมันถูกรัดด้วยแถบโลหะเพื่อไม่ให้มันแตกออก
จึงเกิดโครงการ Back from the Brink หนึ่งในโครงการอนุรักษ์ที่มีความท้าทายที่สุดเท่าที่เคยมีมา เป้าหมายคือเพื่อรักษา 20 สายพันธุ์จากการสูญพันธุ์และอีก 200 สายพันธุ์ที่ได้รับประโยชน์ โดยมีมากกว่า 19 โครงการที่ครอบคลุมอังกฤษจาก Cornwall ถึง Northumberland  และนับเป็นครั้งแรกที่องค์กรอนุรักษ์จำนวนมากมารวมตัวกันโดยมีเป้าหมายเดียว นั่นคือ นำสัตว์ พืช และเชื้อราที่ใกล้สูญพันธุ์บางชนิดกลับมาจากการสูญพันธุ์ 
 
ต้นไม้เมื่อมีอายุมากขึ้น บางส่วนอาจได้รับความเสียหาย ค่อยๆ ผุพังหรือกลวงออก กระบวนการทางธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยปกป้องและบำรุงต้นไม้ และพัฒนาลักษณะที่อยู่อาศัยอันมีค่าที่เรียกว่า " micro-habitats " (ที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก) แหล่งที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่ต่อเนื่องเหล่านี้ เหมาะสำหรับสายพันธุ์เฉพาะที่จะตั้งรกรากในรอยแตกและรอยแยก

โดยกิ่งที่ตายแล้ว โพรงกลวง รูเน่า และเปลือกหลวมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยให้ต้นไม้มีอายุยืนยาวขึ้น และเป็นที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งอุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ  แม้โลกขนาดจิ๋วกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แต่ความท้าทายหนึ่งกำลังเร่งกระบวนการชราของต้นไม้ เพื่อให้ชุมชนที่สลับซับซ้อนเหล่านี้จะไม่สูญหายไปตลอดกาล ด้วยโครงการที่เรียกว่า “ancients of the future” เป็นส่วนหนึ่งของ Back from the Brink

Ancients of the Future
ต้นไม้โบราณสนับสนุนสายพันธุ์หายากอย่างเหลือเชื่อมากมาย โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วย 28 สายพันธุ์ที่ถูกคุกคามมากที่สุด
ต้นไม้โบราณเช่นนี้ภายนอกอาจจะดูสวยงาม หากมองเข้าไปข้างในแล้วจะเห็นสิ่งที่น่าสนใจกว่า นั่นคือ เชื้อรา Oak polypore และตัวอ่อนด้วงคีม
( Lucanus cervus ) กำลังกินเนื้อแก่นที่ตายไปแล้ว ส่วนด้วงคีมโตเต็มวัยจะกินของเหลวที่มีน้ำตาลจาก "sap runs" ซึ่งเป็นชั้นไม้ที่มีชีวิตซึ่งลำเลียงน้ำและแร่ธาตุไปทั่วต้นไม้
 
ยังมีแมลงวัน Hover ที่วางไข่ไว้ในรูเน่าที่เต็มไปด้วยน้ำ ตัวหนอนหางหนู (Rat-tailed maggot) ที่กินเศษใบไม้ และแมลงเต่าทอง violet click ที่กินราไม้ที่อุดมไปด้วยมูลสัตว์และซากอื่น ๆ ที่สะสมมานานนับศตวรรษ รวมทั้งตะไคร่น้ำที่เกาะติดร่องน้ำฝนของเปลือกไม้ ค้างคาว Barbastelle จำศีลในรอยแยกและใต้เปลือกไม้หลวมๆ นกหัวขวานกำลังขยายรูเพื่อทำรัง ในขณะที่ นกเค้าแมว นกเหยี่ยวชวา นกเขา และไม้เลื้อยย้ายเข้าไปอยู่ในโพรงที่มีอยู่แล้ว
 
แหล่งชีวิตที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้คือโลกลับ ที่อยู่อาศัยที่หลากหลายซึ่งเต็มไปด้วยแมลง เชื้อรา ไลเคน นก และค้างคาว ซึ่งอดีตของต้นไม้ให้อาหารที่จำเป็นและที่พักพิงสำหรับมากกว่า 2,000 สายพันธุ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในป่า Savernake เพียงแห่งเดียว ต้นไม้เหล่านี้เป็นที่อยู่ของไลเคนเกือบ 120 สายพันธุ์ เชื้อรามากกว่า 500 สายพันธุ์ และสัตว์ป่าที่สำคัญอื่นๆ เช่น ผีเสื้อลาย white-letter hairstreak ที่หายาก
ตอนนี้ ป่าเผชิญกับการสูญเสีย micro-worlds เหล่านี้ในต้นไม้โบราณไปทีละต้น และมีไม่เพียงพอที่จะทดแทนได้

ด้วยจำนวนต้นไม้ที่พร้อมจะทดแทนในปัจจุบันมีน้อยลง แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของต้นไม้เหล่านี้จึงเสี่ยงต่อการสูญหาย
(Cr.Alex Hyde)
“ancients of the future” เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรการกุศลอนุรักษ์ Buglife,  Plantlife  และ Bat Conservation Trust โดยมีจุดมุ่งหมายที่ผิดปกติคือ เพื่อเพิ่มความเร็วในกระบวนการชราสำหรับต้นไม้บางต้น เพื่อให้แน่ใจว่าที่อยู่อาศัยเหล่านี้ไม่หายไป เนื่องจากมีการขยายทุ่งนาให้ใหญ่ขึ้น การจัดการป่าไม้แบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการทำสวนป่าและการสกัดไม้ทั้งต้น 
 
ต้นไม้โบราณถูกปกคลุมไปด้วยไม้พุ่ม กล้าไม้ พุ่มไม้เตี้ย และพุ่มไม้หนามที่แออัดยัดเยียด หลายต้นถูกโค่นล้มเพื่อทำไม้หรือพัฒนาเมือง ทำให้เพิ่มการเพิ่มขึ้นของโรคต้นไม้ และยังมีความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลก็คือมีต้นไม้รอดชีวิตหรือเติบโตได้จนถึงวัยชราน้อยลง โดย Rutter
นักวิจัยกล่าวว่า ในโลกของต้นไม้ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เราเรียกมันว่า "  tree time " ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนที่รองรับสายพันธุ์ที่หลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อ

แม้ต้นไม้มีอายุที่ต่างกัน เช่น ต้นบีชอายุ 225 ปี ต้นโอ๊กอายุ 400 ปี และต้นยูอายุ 900 ปี แต่ในช่วงนี้ลำต้นจะกลวง รูและโพรงปรากฏขึ้น และกิ่งไม้ตายจะโผล่ขึ้นมาเหนือกิ่งที่มีชีวิต และอาจต้องใช้เวลาถึง 300 ปีก่อนที่ใจกลางต้นไม้จะเน่าเปื่อย จากการสลายตัวของต้นไม้ที่แก่ชรา เหล่านี้เพียงพอที่แมลงจะสามารถเริ่มเคลื่อนที่เข้าไป และวางตัวอ่อนของพวกมันได้

เมื่อต้นไม้ถูกทำเป็นโพรง มันสามารถรักษารอบๆ บาดแผลเพื่อเลียนแบบโพรงที่มักเกิดขึ้นตามอายุธรรมชาติได้
 (Cr.Alex Hyde)


Alice Parfitt เจ้าหน้าที่ฝ่ายอนุรักษ์ของ Buglife and Ancients of the Future Project กล่าวเพิ่มเติมว่า สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยแหล่งที่อยู่อาศัยเหล่านี้จะให้บริการทุกประเภท เช่น การผสมเกสรหรือการแปรรูปการสลายตัวของวัสดุ นอกจากนั้น ยังพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่หายากมากๆ ที่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพวกมันด้วย
 
การปฏิบัติใน ancients of the future คือ 'veteranization' เป็นการทำลายต้นไม้ที่อายุน้อยกว่าที่อาจได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ เพื่อที่จะให้เริ่มเน่าเร็ว
กว่าที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ต้นไม้ไม่จำเป็นต้องชรามาก สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ และช่วยเติมรอยแยกหรือโพรงทางนิเวศแทนต้นไม้โบราณที่สูญเสียไป ซึ่ง Rutter กล่าวว่าเมื่อ  'veteranization' ในต้นไม้ที่มีอายุมากกว่า โลกจิ๋ว micro-habitats จะเริ่มพัฒนาเร็วขึ้นมาก  และเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการริเริ่มการวิจัยเพื่อติดตามความสำเร็จของเทคนิคนี้

ก่อนหน้านี้ 'veteranization' เคยทำมาก่อนแต่ไม่ได้รับการบันทึกไว้ จนในปี 2012 มีการทดลองระดับนานาชาติ โดยตั้งโรงงานมากกว่า 20 แห่งในสวีเดน อังกฤษ และนอร์เวย์ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการประเมิน 'veteranization' ของต้นโอ๊กเกือบ 1,000 ต้น


เชื้อราในห้องแล็ปที่นำไปใส่ตรงกลางต้นไม้ โดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่มีชีวิตจากภายนอก และสามารถอยู่ร่วมกันได้
(Cr. Matt Wainhouse)


สำหรับวิธีการที่ใช้รวมถึงการสร้างรูเหมือนที่นกหัวขวานทำ การบากกิ่งล่างหรือลำต้นเพื่อเลียนแบบความเสียหายจากสัตว์เช่น กวางหรือม้า และการสร้างกล่องรังสำหรับนกและค้างคาว โครงการนี้วางแผนที่จะใช้เวลา 25 ปีจนถึงปี 2037 ดังนั้น ผลลัพธ์จึงยังไม่ได้รับการวิเคราะห์อย่างครบถ้วน แต่ Rutter กล่าวว่า สัญญาณมีแนวโน้มดีมาก ต้นไม้ส่วนใหญ่ตอบสนองได้ดี รักษาตัวและเติบโตต่อไป โดยพบว่ามีนก ค้างคาว และแมลงในธรรมชาติอาศัยอยู่ในซอกที่สร้างขึ้นมา
 
นอกจาก 'veteranization' ในต้นไม้อายุน้อยแล้ว นักวิจัยพยายามเลียนแบบกระบวนการย่อยสลายวัสดุของเชื้อราในระบบนิเวศด้วย โดยปลูกราบนขอนไม้ในห้องแล็บ จากนั้นนำบล็อกรานี้ไปใส่ลงในรูของต้นไม้อายุน้อยที่ตัดไว้ เพื่อให้เชื้อราเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการสลายตัวของไม้ พวกมันจะถูกทิ้งไว้อย่างนั้น 2 - 3 ปี แล้วจึงแกะบล็อกออกเพื่อดูว่าเชื้อราเข้าไปเกาะอยู่ในต้นไม้หรือไม่
 
โปรเจ็กต์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ลองใช้ เนื่องจากเคยทดลองฉีดวัคซีนเชื้อรามาก่อนในอเมริกาเหนือ ซึ่งนักวิจัยพบว่าการฉีดวัคซีนเชื้อราสามารถ  ลดเวลาการสลายตัวจาก 100 ปีเหลือเพียง 3 ปี แม้ว่าการพังทลายของต้นไม้โบราณโดยการสลายตัวของเชื้อรา เคยถูกมองว่าเป็นอันตรายมาก่อน แต่เมื่อใช้ร่วมกับวิธีการ 'veteranization' อาจให้ผลที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเป็นส่วนตามธรรมชาติของกระบวนการชราภาพ และสามารถยืดอายุของต้นไม้ได้โดยให้สารอาหารจากภายในแก่พวกมัน
 

Strömsholm หนึ่งในไซต์ที่รวมอยู่ในการทดลองระดับนานาชาติ
ที่นี่คุณสามารถเห็นต้นโอ๊กกลวงเก่าอยู่ตรงกลางของภาพถ่ายที่รายล้อมไปด้วยต้นโอ๊กอายุน้อย ซึ่งบางต้นก็ผ่านการใช้งานมาแล้ว
-see-an_fig1_351344867



(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่