40,000 กว่าเขื่อนในจีน รอพังทิ้ง/ปรับปรุงใหม่


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
จีน...ทุบเขื่อน 40,000 แห่ง



เขื่อนที่หมู่บ้าน Weizishui ใน Beijing
©  Gilles Sabrie/Bloomberg



จีนมีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำหลายพันโครงการที่ไม่ต้องการ
ในขณะที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เรียกร้องวาระแห่งชาติ
ให้มีการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ทำให้เจ้าหน้าที่ต่างกระตือรือร้น
ที่จะรื้อถอนเขื่อนที่วางแผนไว้ไม่ดี/ทำงานไม่ได้
แต่ประเทศจีนยังต้องใช้ไฟฟ้าพลังน้ำสะอาดจำนวนมหาศาล
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายบรรลุคาร์บอนเป็นศูนย์

จีนกำลังพยายามลดเศรษฐกิจขนาดมหึมา
จากพลังงานถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิล
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน
ภายในปี 2060 จะเป็น Carbon Neutral


เหตุใดจีนจึงพยายามปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำมากถึง 40,000 แห่ง

คำตอบเบื้องหลัง ต้องเจาะลึกลงไปในประวัติศาสตร์
จีนมีปัญหากับความพยายามจะควบคุมแม่น้ำ
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รบกับแม่น้ำมาตลอด

ในช่วงทศวรรษ 1959
ประธานเหมา เจ๋อตง ประกาศวาทกรรม
คนพิชิตธรรมชาติ
ทำให้ภูเขาสูงต้องค้อมหัวลง
ทำให้แม่น้ำต้องยอมสยบ


พร้อมกับการโฆษณาชวนเชื่อ
ชักชวนคนงาน ชาวบ้าน สมาชิกพรรคคอมมี่
ผลคือ ทำให้จีนได้เขื่อนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
ในอัตราที่ก้าวกระโดด  มีอย่างเหลือเฟือเหลือล้น
ทั้งนี้เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า ควบคุมน้ำท่วม
ใช้ในชลประทานสำหรับทุ่งนา
และแหล่งน้ำดื่มสำหรับเมืองต่าง ๆ ในระยะยาว
แต่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากนโยบายดังกล่าว
กำลังส่งผลหายนะย้อนกลับมายังบ้านเมืองในทุกวันนี้
เช่น น้ำท่วม ระบายน้ำไม่ทัน สภาพแวดล้อมเสียหาย

เพราะเขื่อนหลายแห่งในจีน  มีขนาดเล็กเกินไป
ทำให้สร้างพลังงานไฟฟ้า ได้ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายมาก
บางแห่งก็เจอฝนแล้ง ไม่มีมีน้ำมาป้อนเขื่อน
เพราะแม่น้ำแห้งเหือด/ถูกเขื่อนด้านบนดักน้ำไว้
เขื่อนกลายสภาพเป็นที่เก็บกักสะสมตะกอน
เพราะถูกแทนที่ด้วยเขื่อนที่สร้างขึ้นเหนือต้นน้ำ

เป็นเวลานานแล้วที่ผู้คนคิดว่า
มันเปล่าประโยชน์ที่จะปล่อยให้แม่น้ำไหล
ไปต่อหน้าต่อตาคุณ โดยไม่ทำอะไรเลย

Wang Yongchen ผู้ก่อตั้ง Green Earth Volunteers 
ที่มุ่งเน้นในเรื่อง การอนุรักษ์แม่น้ำ
ที่มีสำนักงานที่เป่ยจิง (ปักกิ่ง) ให้สัมภาษณ์



โรงไฟฟ้า Moshikou ในเมือง Shijingshan 
ที่เคยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของปักกิ่ง
©   Gilles Sabrie/Bloomberg


ในเขตชานเมืองทางตะวันตกของปักกิ่ง 
โครงการไฟฟ้าพลังน้ำในยุคแรก ๆ
ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดโครงการหนึ่งของจีน
กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
คนงานกำลังยุ่งอยู่กับการปูถนนและตกแต่งบ้านเรือน
ที่ถนนสายธุรกิจโบราณ  แห่งใหม่ใกล้กับสถานี Moshikou
ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หลังจากสร้างขึ้นในปี 1956
โครงการไฟฟ้าขนาด 6,000 กิโลวัตต์ ใน Shijingshan
ที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของปักกิ่ง
เป็นสถานีพลังงานน้ำขนาดใหญ่แห่งแรก
ที่ออกแบบและสร้างขึ้นอย่างเป็นเอกเทศ
เขื่อนนี้ถูกสร้างขึ้นบนคลองผันน้ำของ 
แม่น้ำหลวง/หลัก ของปักกิ่งที่ Yongding
แม่น้ำที่เป็นแหล่งน้ำดื่มหลักของเมืองหลวง
เป็นสถานที่ความภาคภูมิในของจีนในอดีต
จนกระทั่ง น้ำในแม่น้ำกลายเป็นมลพิษมากเกินไปในทศวรรษ 1990

สถานีพลังงานไฟฟ้า Moshikou ไม่เคยหยุดทำการอย่างเป็นทางการ
แต่สุดท้าย ก็ค่อย ๆ หยุดผลิตไฟฟ้า เพราะผลจากภัยแล้ง
ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตอนภาคเหนือของจีน
และความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นจากเมืองต่าง ๆ
และหมู่บ้านต้นน้ำที่สร้างฝาย/เขื่อนหลายร้อยแห่งเพื่อเก็บกักน้ำ
สื่อท้องถิ่นของจีนรายงานว่า 
มีโครงการเก็บกักน้ำมากกว่า 80 โครงการ
ที่สร้างขึ้นในเขตปักกิ่ง แค่เมืองหลักเพียงเมืองเดียว
 
เพียงแค่ในปี 2010 แม่น้ำแห่งนี้ แล้งน้ำโดยเฉลี่ย 316 วันต่อปี
สภาพภูมิประเทศในกรุงปักกิ่ง มันเปี๊ยนไป (เปลี่ยนไป)
ตอนเด็ก ๆ ผมมักจะว่ายน้ำในคลองใกล้สถานี
แต่ตอนนี้น้ำน้อยลงเรื่อย ๆ  สกปรกและสกปรกมากขึ้น

Jin Chengjian อีก 40 ขวบครบ 100  ปีให้สัมภาษณ์
ชายผู้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ Shijingshan  
 

แต่การที่เขื่อน Moshikou อยู่ใกล้กับเมืองหลวงมาก
ทำให้ได้ต่อชีวิตเขื่อนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
แต่เขื่อนเก่า ๆ อีกหลายแห่งของจีน
ไม่โชคดีเหมือนกับเขื่อนแห่งนี้
ในหมู่บ้าน Weizishui ถ้าขับรถยนต์ไปทางต้นน้ำ 90 นาที
เป็นเขื่อนคอนกรีตสูง 68 เมตร สร้างเสร็จในปี 1980
เพื่อควบคุมน้ำท่วม ต้องใช้เวลา 6 ปีกว่าจะเสร็จ
แล้วใช้งานเพียงครั้งเดียว (เพราะที่ผ่านมาไร้น้ำป้อนเขื่อน)



ร้านกาแฟใน  ถนนสายธุรกิจโบราณแห่งใหม่
ใกล้สถานี Moshikou ที่เลิกใช้งานแล้ว
© Gilles Sabrie/Bloomberg



การสร้างมันไม่ดีเลย มันอาจจะพังได้ภายในวันเดียว
ดังนั้น ผมจึงไม่เข้าไปใกล้เขื่อนแห่งนี้มากเกินไป
"
Gao ชาวบ้านวัย 75 ปี ก็เหมือนกับคนจีนอีกหลายคน
ที่ต่างไม่ยอมบอกชื่อจริง ชื่อเต็มกับผู้สัมภาษณ์

เมื่อปีที่แล้ว ทางรัฐบาลจีนได้ปิดกั้นเส้นทาง
ทางเข้าเขื่อนแห่งนี้ที่มีเพียงเส้นทางเดียว
โดยอ้างว่า เพื่อป้องกันไวรัส Covid-19
โครงการที่ล้มเหลวและอันตรายดังกล่าว
ดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ/นักสืบ Social Media
ต่างมโนเปรียบเทียบกับเขื่อน Huver อุสา(Usa)
ในภาพยนตร์เรื่อง วันโลกาวินาศ

 
ความคลั่งไคล้ในเรื่องการสร้างเขื่อนของจีน
นั้นยากยิ่งในการที่จะพยายามทำความเข้าใจ
เพียงแค่สิ้นปี 2017 
แม่น้ำแยงซี แม่น้ำที่ยาวที่สุดของจีน
มีสถานีไฟฟ้าพลังน้ำ/เขื่อนมากกว่า 24,000 แห่งกระจายอยู่ทั่ว 10 เขตปกครอง
มีอย่างน้อย 930 แห่ง ที่ถูกสร้างขึ้น
โดยไม่มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

เขื่อนเก่า ๆ หลายแห่งกลายเป็นภัยคุกคาม
ความปลอดภัยต่อชีวิต/ทรัพย์สินอย่างร้ายแรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน ที่น้ำท่วมบ่อยครั้งมาก
ตามรายงานของ กระทรวงทรัพยากรน้ำของจีน
China’s Ministry of Water Resource
อ่างเก็บน้ำ 3,515 แห่งที่สร้างปัญหาระหว่างปี 1951 -  2011
รวมถึงเขื่อน Banqiao  ในมณฑล  Henan
ซึ่งรวมถึงเขื่อนอีก 61 แห่ง ที่พังทะลาย
หลังจากฝนตกหนักเพียง 6 ชั่วโมง
ในเดือนสิงหาคม 1975 คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 240,000 คน

เรื่องเขื่อนพังยังคงปัญหาระดับชาติของจีน
เมื่อต้นปีนี้  เขื่อน 2 แห่งในมองโกเลียใน
พังลงหลังจากฝนตกหนัก  ทำให้น้ำท่วมคร่าชีวิตผู้คนกว่า 300 คน
ในช่วงฤดูร้อนปีนี้  มณฑล  Henan
ทางกองทัพจีนได้เตือนว่า เขื่อน Yihelan 
อาจพังลงได้ทุกเมื่อ ให้ระมัดระวัง ตัวใครตัวมัน

เขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำในจีน
ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมายยิ่งกว่าเดิม
เพราะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนแปลงการไหลของแม่น้ำ 
ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยคน/สัตว์ป่าจมอยู่ใต้น้ำ
ขัดขวางการอพยพและการวางไข่ของปลา
เช่น เขื่อนสามโตรก Three Gorges ที่ยิ่งใหญ่ของจีน
ได้ก่อสร้างเก็บกักแม่น้ำแยงซีในปี 2006
หลังจากการก่อสร้างที่ยาวนานร่วม 10 ปี
 

แต่จีนยังคงเดินหน้าสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ต่อไป
ซึ่งรวมถึงโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ Baihetan ขนาด16GW
ที่เพิ่งจะเปิดใช้งานทันเวลาวันครบรอบ 100 ปี
ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปีนี้

แต่รัฐบาลได้ประกาศว่า
ต้องการหยุดการพัฒนาเขื่อนขนาดเล็ก
ในแผนระยะยาว 5  ปี ฉบับที่ 13
อุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำที่เริ่มในปี 2016
นี่เป็นครั้งแรกที่  รัฐบาลมีวาระแห่งชาติว่า
จะควบคุมการขยายตัว/การเพิ่มขึ้น
ของสถานีไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กอย่างเคร่งครัด

ในปี 2018 หลังจากที่ประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง
ได้ไปเยือนภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
และเรียกร้องให้มีการปกป้องสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
มีการเปิดตัวโครงการวาระแห่งชาติ
เพื่อทุบทิ้งหรือปรับปรุงเขื่อน/สถานีพลังน้ำขนาดเล็ก 40,000 แห่ง

แม่น้ำของเราถูกใช้ประโยชน์มากเกินไป
หลังจากการก่อสร้างมานานหลายทศวรรษ
โดยไม่มีการวางแผนที่เหมาะสม

Ma Jun ผู้อำนวยการ สถาบันกิจการสาธารณะและสิ่งแวดล้อม
Institute of Public & Environmental Affairs
 



สถานีไฟฟ้าพลังน้ำ Baihetan ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
©  Jiang Wenyao/Xinhua/Getty Images

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่