อยากทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักสยามและกัมพูชาช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้างครับ ทราบเพียงว่าในช่วงนั้นเป็นช่วงที่สยามกับอันนามขับเคี่ยวกันเพื่อแย่งชิงอิทธิพลในกัมพูชา มีเจ้านายกัมพูชาส่วนหนึ่งมาประทับในกรุงเทพฯ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่สี่ ตอนที่ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองกัมพูชา
อยากทราบอีกว่า นอกจากเจ้านายกัมพูชากับเจ้านายล้านช้างบางสายที่อาจมาประทับในกรุงเทพฯแล้ว มีเจ้านายของเมืองประเทศราชอื่นๆมาประทับในกรุงเทพฯหรือไม่ครับ แล้วในส่วนของเจ้านายกัมพูชานี้พอจะมีหนังสือเล่มไหนหรือบทความบทไหนบ้างที่เขียนเกี่ยวกับช่วงเวลาดังกล่าว เท่าที่ จขกท. ทราบก็น่าจะเป็นเรื่อง "ถกเขมร" ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช คือโดยส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว เคยอ่านจากหลายๆความเห็น ช่วงนั้นเจ้านายกัมพูชาหลายพระองค์ประทับในกรุงเทพฯ บางพระองค์เช่นนักองค์ราชาวดีก็ทรงฝึกหัดงานราชการในราขสำนักสยาม มีการใช้ภาษาไทยในหมู่เจ้านายกัมพูชามากกว่าภาษาเขมร คือเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
อยากทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักสยามและกัมพูชาช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
อยากทราบอีกว่า นอกจากเจ้านายกัมพูชากับเจ้านายล้านช้างบางสายที่อาจมาประทับในกรุงเทพฯแล้ว มีเจ้านายของเมืองประเทศราชอื่นๆมาประทับในกรุงเทพฯหรือไม่ครับ แล้วในส่วนของเจ้านายกัมพูชานี้พอจะมีหนังสือเล่มไหนหรือบทความบทไหนบ้างที่เขียนเกี่ยวกับช่วงเวลาดังกล่าว เท่าที่ จขกท. ทราบก็น่าจะเป็นเรื่อง "ถกเขมร" ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช คือโดยส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว เคยอ่านจากหลายๆความเห็น ช่วงนั้นเจ้านายกัมพูชาหลายพระองค์ประทับในกรุงเทพฯ บางพระองค์เช่นนักองค์ราชาวดีก็ทรงฝึกหัดงานราชการในราขสำนักสยาม มีการใช้ภาษาไทยในหมู่เจ้านายกัมพูชามากกว่าภาษาเขมร คือเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ