#อาหารเสริมชื่อบอกอยู่แล้วว่าเสริม
เสริมเติมในส่วนที่ขาด และใช้เป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเรา
ถ้าหากว่าเรารู้จักอาหารหลักในชีวิตประจำวัน
ทานให้เพียงพอความต้องการของร่างกาย และทานหลากหลาย
สารเสริมใดๆก็ไม่มีความจำเป็นค่ะ
โปรตีนมีความสำคัญกับร่างกาย เป็นสารอาหารหลักที่จำเป็น (Macronutrients)
เหมือนที่เราเคยเรียน หรือได้ยินกันสมัยเด็กๆว่า
โปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ บำรุงผม ขน เล็บ ผิวหนัง
และที่สำคัญสำหรับทุกคนคือ เป็นวัตถุดิบในการช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
เนื่องจากเมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อสลาย จำนวนลดลง
จึงทำให้การเผาผลาญลดลงตามวัย
การที่ระบบเผาผลาญเราน้อยลง แต่เรายังทานเท่าเดิม ไม่มีการซ่อมแซม และเสริมสร้าง
จึงทำให้เราเป็นโรคเมตาบอลิก (Metabolic syndrome)
หรือโรคที่เกี่ยวกับการเผาผลาญตามมา
รวมถึงเบาหวานชนิดที่ 2 ก็เป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วย
ดังนั้น วิธีหนึ่งในการช่วยซ่อมแซม และฟื้นฟูระบบเผาผลาญของร่างกาย
นั่นคือการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ด้วยการทานโปรตีนให้เพียงพอความต้องการ
ร่วมกับออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (Resistant training)
บางคนพอแนะนำว่าให้เพิ่มโปรตีน ก็มักจะนึกหาอาหารเสริมกันก่อน
ทั้งๆที่จริงๆแล้ว อาหารหลักในชีวิตประจำวันที่เป็นโปรตีนนั้นมีมากมายเลยค่ะ
รวมถึงมีราคาถูกกว่าอาหารเสริมหลายเท่าด้วย
สารอาหารโปรตีนก็ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้
สำหรับเนื้อสัตว์และไข่ทานได้เลยไม่มีแป้ง
เนื้อสัตว์บางคนกลัวย่อยยาก
แนะนำเลือกทานปลาได้ทุกชนิด เนื้อไก่
ส่วนไข่ก็ไม่ได้จำกัดว่าต้องกี่ฟองต่อวัน ได้ทั้งไข่เป็ดและไข่ไก่
คลอเรสเตอรอลจากการทานไข่ ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้ไขมันในเลือดขึ้นค่ะ
สามารถทานเพื่อเสริมโปรตีนได้เลย
แนะนำให้ทานอาหารให้มีความหลากหลาย จะดีที่สุด
ส่วนนม เต้าหู้ ถั่ว หากว่ามาจากธรรมชาติโดย ไม่ได้ผ่านกระบวนการแยกแป้งออก
ก็จะมีน้ำตาล และแป้งแฝงอยู่แล้ว
สามารถทานเพื่อเสริมโปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่ได้
ให้เลือกแบบที่ไม่เติมน้ำตาลค่ะ หรือเลือกที่เขียนว่า High protein
ก็จะช่วยเสริมโปรตีนต่อวันได้
ส่วนเรื่องที่ว่าจะต้องทานเท่าไหร่
ก็จะขึ้นกับปริมาณโปรตีนที่แต่ละคนจะได้รับ
ตามคำแนะนำ คือ 0.8 - 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เช่นหนัก 50 กิโลกรัม ก็ควรได้รับโปรตีนอย่างน้อย 50 กรัมต่อวัน เป็นต้น
ถ้าจะเพิ่มกล้ามเนื้อ ก็ทานมากกว่านั้น แล้วเวทเทรนนิ่ง
(สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ควรจำกัดปริมาณโปรตีน ควรปรึกษาแพทย์)
ที่สำคัญคือ ควรเลือกทานอาหารให้หลากหลายเข้าไว้ค่ะ
มาที่เรื่องอาหารเสริม ที่เป็นตัวเสริม ช่วยอำนวยความสะดวก
ในเวลาที่เราหาโปรตีนจากอาหารหลักทานไม่ได้
หมอปอจะแนะนำ และบอกคนไข้อยู่เสมอว่า
ปัจจัยหลักของการเลือกอาหารเสริมคือ ให้ดูที่ฉลากโภชนาการ ว่าในสัดส่วนหนึ่งๆ
อาหารนั้น ควรจะมีโปรตีนสูง แต่คาร์โบไฮเดรตรวมถึงน้ำตาล ให้น้อยที่สุด
ถึงจะคุ้มค่าในการซื้อหามาทานเสริมจากอาหารหลัก
เพราะถ้าเข้าใจผิดในคำโฆษณา โดยไม่ได้พลิกดูฉลากโภชนาการก่อนแล้ว
หากอาหารนั้น มีคาร์โบไฮเดรตมาก แต่โปรตีนพอประมาณ
ก็จะทำให้ไม่คุ้มค่า ต่อการเสียเงินซื้อ
เพราะคาร์โบไฮเดรต ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่ดีค่ะ
(คาร์โบไฮเดรต 18 กรัม เทียบเท่ากับข้าว 1 ทัพพี
ใครที่มีอาหารเสริมอยู่ ลองพลิกฉลากกันดูก่อนทานนะคะ)
ดังนั้น ให้เน้นเลือกโปรตีนจากอาหารหลักกันดูก่อน
ก่อนที่จะไปหาอาหารเสริมใดๆ
เพราะเราคงไม่สามารถทานผงชงกันไปได้ตลอดชีวิตแน่ๆ
ชีวิตคงทุกข์น่าดู
ให้คำว่า "เสริม" ได้ไปเติมส่วนที่ขาด
และอำนวยความสะดวกให้กับเรา ก็เพียงพอแล้วค่ะ
เพราะความรู้ที่ถูกต้อง ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีได้ไปตลอด
#หมอปอสอนเบาหวาน
#หมอปอSugarFreedom
อาหารเสริมโปรตีน เบาหวานจำเป็นต้องทานไหม ควรทานโปรตีนอย่างไรให้เพียงพอ
เสริมเติมในส่วนที่ขาด และใช้เป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเรา
ถ้าหากว่าเรารู้จักอาหารหลักในชีวิตประจำวัน
ทานให้เพียงพอความต้องการของร่างกาย และทานหลากหลาย
สารเสริมใดๆก็ไม่มีความจำเป็นค่ะ
โปรตีนมีความสำคัญกับร่างกาย เป็นสารอาหารหลักที่จำเป็น (Macronutrients)
เหมือนที่เราเคยเรียน หรือได้ยินกันสมัยเด็กๆว่า
โปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ บำรุงผม ขน เล็บ ผิวหนัง
และที่สำคัญสำหรับทุกคนคือ เป็นวัตถุดิบในการช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
เนื่องจากเมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อสลาย จำนวนลดลง
จึงทำให้การเผาผลาญลดลงตามวัย
การที่ระบบเผาผลาญเราน้อยลง แต่เรายังทานเท่าเดิม ไม่มีการซ่อมแซม และเสริมสร้าง
จึงทำให้เราเป็นโรคเมตาบอลิก (Metabolic syndrome)
หรือโรคที่เกี่ยวกับการเผาผลาญตามมา
รวมถึงเบาหวานชนิดที่ 2 ก็เป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วย
ดังนั้น วิธีหนึ่งในการช่วยซ่อมแซม และฟื้นฟูระบบเผาผลาญของร่างกาย
นั่นคือการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ด้วยการทานโปรตีนให้เพียงพอความต้องการ
ร่วมกับออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (Resistant training)
บางคนพอแนะนำว่าให้เพิ่มโปรตีน ก็มักจะนึกหาอาหารเสริมกันก่อน
ทั้งๆที่จริงๆแล้ว อาหารหลักในชีวิตประจำวันที่เป็นโปรตีนนั้นมีมากมายเลยค่ะ
รวมถึงมีราคาถูกกว่าอาหารเสริมหลายเท่าด้วย
สารอาหารโปรตีนก็ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้
สำหรับเนื้อสัตว์และไข่ทานได้เลยไม่มีแป้ง
เนื้อสัตว์บางคนกลัวย่อยยาก
แนะนำเลือกทานปลาได้ทุกชนิด เนื้อไก่
ส่วนไข่ก็ไม่ได้จำกัดว่าต้องกี่ฟองต่อวัน ได้ทั้งไข่เป็ดและไข่ไก่
คลอเรสเตอรอลจากการทานไข่ ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้ไขมันในเลือดขึ้นค่ะ
สามารถทานเพื่อเสริมโปรตีนได้เลย
แนะนำให้ทานอาหารให้มีความหลากหลาย จะดีที่สุด
ส่วนนม เต้าหู้ ถั่ว หากว่ามาจากธรรมชาติโดย ไม่ได้ผ่านกระบวนการแยกแป้งออก
ก็จะมีน้ำตาล และแป้งแฝงอยู่แล้ว
สามารถทานเพื่อเสริมโปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่ได้
ให้เลือกแบบที่ไม่เติมน้ำตาลค่ะ หรือเลือกที่เขียนว่า High protein
ก็จะช่วยเสริมโปรตีนต่อวันได้
ส่วนเรื่องที่ว่าจะต้องทานเท่าไหร่
ก็จะขึ้นกับปริมาณโปรตีนที่แต่ละคนจะได้รับ
ตามคำแนะนำ คือ 0.8 - 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เช่นหนัก 50 กิโลกรัม ก็ควรได้รับโปรตีนอย่างน้อย 50 กรัมต่อวัน เป็นต้น
ถ้าจะเพิ่มกล้ามเนื้อ ก็ทานมากกว่านั้น แล้วเวทเทรนนิ่ง
(สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ควรจำกัดปริมาณโปรตีน ควรปรึกษาแพทย์)
ที่สำคัญคือ ควรเลือกทานอาหารให้หลากหลายเข้าไว้ค่ะ
มาที่เรื่องอาหารเสริม ที่เป็นตัวเสริม ช่วยอำนวยความสะดวก
ในเวลาที่เราหาโปรตีนจากอาหารหลักทานไม่ได้
หมอปอจะแนะนำ และบอกคนไข้อยู่เสมอว่า
ปัจจัยหลักของการเลือกอาหารเสริมคือ ให้ดูที่ฉลากโภชนาการ ว่าในสัดส่วนหนึ่งๆ
อาหารนั้น ควรจะมีโปรตีนสูง แต่คาร์โบไฮเดรตรวมถึงน้ำตาล ให้น้อยที่สุด
ถึงจะคุ้มค่าในการซื้อหามาทานเสริมจากอาหารหลัก
เพราะถ้าเข้าใจผิดในคำโฆษณา โดยไม่ได้พลิกดูฉลากโภชนาการก่อนแล้ว
หากอาหารนั้น มีคาร์โบไฮเดรตมาก แต่โปรตีนพอประมาณ
ก็จะทำให้ไม่คุ้มค่า ต่อการเสียเงินซื้อ
เพราะคาร์โบไฮเดรต ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่ดีค่ะ
(คาร์โบไฮเดรต 18 กรัม เทียบเท่ากับข้าว 1 ทัพพี
ใครที่มีอาหารเสริมอยู่ ลองพลิกฉลากกันดูก่อนทานนะคะ)
ดังนั้น ให้เน้นเลือกโปรตีนจากอาหารหลักกันดูก่อน
ก่อนที่จะไปหาอาหารเสริมใดๆ
เพราะเราคงไม่สามารถทานผงชงกันไปได้ตลอดชีวิตแน่ๆ
ชีวิตคงทุกข์น่าดู
ให้คำว่า "เสริม" ได้ไปเติมส่วนที่ขาด
และอำนวยความสะดวกให้กับเรา ก็เพียงพอแล้วค่ะ
เพราะความรู้ที่ถูกต้อง ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีได้ไปตลอด
#หมอปอสอนเบาหวาน
#หมอปอSugarFreedom