ก่อนอื่น ผมอยากให้ลองกลับไปอ่านกระทู้เก่าผมก่อนนะครับ
1.
https://ppantip.com/topic/40911549
2.
https://ppantip.com/topic/40913768
3.
https://ppantip.com/topic/40920692
ย้ายประเทศ ได้ไหม?
คำตอบคือ ได้ครับ
แต่
ใช่ว่า ทุกคนที่อยากจะย้ายประเทศ ก็จะได้ย้ายนะครับ
อันดับแรกเลย คือ
- คุณสมบัติ ของตัวคุณเอง -
เริ่มจาก มีความมุ่งมานะ มีความตั้งใจจริงไหม?
มุ่งมานะ เริ่มจากไหน? ก็เริ่มจาก หาข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ครับ ข้อมูลที่มีประโยชน์
ที่สำคัญ ข้อมูลที่มาจาก "เว็ปไซต์ของหน่วยงานราชการ ของประเทศนั้นๆ" ครับ
เช่น ต้องการหาข้อมูลการของวีซ่าถาวร ของประเทศออสเตรเลีย ก็เข้าไปหาข้อมูลจากเว็ปไซต์ของ Immigration ของออสเตรเลียโดยตรง
จะได้ข้อมูลที่ "ถูกต้องที่สุด" ครับ
ถูกต้องมากกว่า ถามจากคนทั่วๆไปครับ
ต่อมาคือ
ความสามารถและทักษะ ที่คุณมีอยู่
อย่างน้อยๆ ก็ต้องเรื่อง "ภาษาต่างประเทศ" ครับ ต้องมี
เพราะการหาข้อมูลต่างๆ ก็เป็นภาษาต่างประเทศ เป็นหลัก
หากเริ่มต้นด้วยการ หาข้อมูลที่เป็นภาษาต่างประเทศแล้วรู้สึก ยุ่งยาก วุ่นวาย แปลยาก สับสน
ผมว่าคุณเลิกความตั้งใจที่จะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ครับ เพราะ พฤติกรรมที่ว่านั้น บ่งบอกว่า "คุณ ใ จ ไ ม่ สู้" ครับ
คนใจไม่สู้ อยู่ต่างประเทศไม่ได้ครับ เพราะชีวิตในต่างประเทศนั้น อย่าหวังที่จะแบมือร้องขอความช่วยเหลือจากใครเลยครับ
"โห้ยยยยย พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ถ้าตรูไปต่างประเทศแล้วลำบาก ตรูไปขออาศัยอยู่วัดไทย ก็ได้แล้ววว"
จ๊ะ
ถ้าคุณยัง ฝันเฟื่อง ก็แล้วแต่คุณนะครับ
ผมบอกได้เลยครับ ว่า วัดไทยในต่างประเทศ ไม่ได้เป็นที่ รองรับคนไทยที่ไม่มีที่จะไป ครับ
เขาไม่ให้คุณไปเกาะกิน อาศัยอยู่ในวัดหรอกครับ
สำคัญที่สุด เหนืออื่นใด ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศคือ
- ย อ ม รั บ ค ว า ม จ ริ ง ใ น สิ่ ง ที่ ต น เ อ ง มี อ ยู่ ใ น ตั ว -
ผมหมายความว่า
หากคุณอยู่ในประเทศไทย คุณเป็นแพทย์ ที่จบจากมหาวิทยาลัยแพทย์อันดับต้นๆของประเทศ ได้เกียรตินิยมอันดับ1 ทำงานเป็นผู้บริหารในโรงพยาบาล
นั่นคือ ตัวตนของคุณ ในประเทศไทยนะครับ
แต่ เมื่อคุณไปใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น
ใบประกอบโรคศิลป์ที่คุณมีอยู่นั้นใช้ไม่ได้ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ครับ
หมายความว่า ถ้าคุณยังต้องการไปประกอบอาชีพแพทย์
คุณต้องไปนั่งเรียน ไปนั่งสอบใบประกอบโรคศิลป์ของประเทศนั้นใหม่
แพทย์บางคน ต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ 4 ปี เพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกอบโรคศิลป์
และ
เมื่อได้ใบประกอบโรคศิลป์มาแล้ว ใช่ว่าจะจบแค่นั้นนะครับ
คุณยังต้องมีทักษะ ที่จะทำงานในโรงพยาบาลที่ประเทศนั้นได้ครับ
เช่น
สนทนากับคนไข้ เรื่องอาการป่วย การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษา ฯลฯ
ซึ่งเมื่อเสร็จจากคนไข้ ก็ใช่ว่าจะจบแค่นั้นนะครับ คุณยังต้องบันทึกอาการของคนไข้ บันทึกการวินิจฉัยของคุณ บันทึกแนวทางการรักษาของคุณ บันทึกการจ่ายยาของคุณ ลงในแฟ้มประวัติคนไข้ ในภาษาของประเทศนั้นๆนะครับ
หากคุณ ไม่ต้องการใช้เวลา เพื่อการได้มาซึ่งใบประกอบโรคศิลป์
คุณก็ต้อง ยอมรับที่จะทำงานอื่นแทนแล้วละครับ
ที่ผมยกตัวอย่างอาชีพแพทย์นั้น ไม่ใช่เพราะผมมีอคติกับอาชีพนี้นะครับ
แต่
เพราะว่า การยกตัวอย่างอาชีพนี้ จะมองเห็นภาพชัดที่สุดครับ
ในความเป็นจริงนั้น
แทบจะทุกอาชีพ ในต่างประเทศ จะต้องได้รับการรับรอง "คววามรู้ความสามารถที่ได้มาตรฐานของประเทศนั้นๆ" ของคุณในวิชาชีพนั้นๆครับ
เช่น วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ
แม้กระทั่ง ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างประปา ช่างเชื่อมโลหะ ฯลฯ ก็ต้องไปเรียนเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร (Cerificate) ของประเทศนั้นๆนะครับ
หลายคนอาจจะมองว่า ผม "ดับฝัน" ของเด็กไทย
อันนี้ก็แล้วแต่จะมองนะครับ
แต่ จุดประสงค์ของผมคือ
ผมต้องการให้เด็กไทย "ยืนอยู่บนความเป็นจริง และยอมรับในความเป็นจริง" ต่างหากครับ
ผมไม่อยากให้เด็กไทย ฝันเฟื่อน ฝันกลางวัน ว่า อันนี้ก็ได้ อันนั้นก็ได้
ซึ่ง ความเป็นจริง ในชีวิตจริง มันไม่ได้ง่ายแบบนั้นครับ
หวังพึ่งคนไทยในต่างประเทศ
ครับ
ลองดูครับ
ผมบอกได้ว่า
คนไทยจำนวนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ
อาจจะยุยง สนับสนุน โน้มน้าว ชักจูง โดยการบอกว่า
"ได้ ได้ ทำได้ ไม่ยากหรอก ถ้าติดตรงไหน เดี๋ยวช่วยเอง ยินดีช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน"
ครับ
ผมบอกได้เลยว่า
ผมเห็นมาเยอะแล้วครับ พูดแบบนี้ พูดออกสื่อในขณะที่คุณอยู่ต่างแดน และผู้ขอความช่วยเหลืออยู่ประเทศไทย
พอถึงเวลาจริงๆ เมื่อผู้ขอความช่วยเหลือ มาถึงดินแดนประเทศที่คุณอยู่
ถ้าคุณไม่อ้ำอึ้ง เฉไฉว่า คุณไม่สะดวกตอนนี้ สารพัดเหตุผล
หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้
อาจจะสงสัยว่า ไอ้นี่เป็นใคร มันจะพูดอะไรก็ได้ เพ้อเจ้อ ไร้เหตุผล
อันนั้นก็แล้วแต่จะคิดครับ
แต่ถ้าใครสงสัยจริงๆ
ผมก็บอกได้คร่าวๆ ว่า
ผมไปนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 1995 ยื่นเรื่องขอวีซ่าถาวรด้วยตนเองทั้งหมด ไม่ใช้เอเจ้นท์
พอได้วีซ่าถาวร ผมทำงานที่สนามบินนานาชาติโอ๊คแลนด์ (ไม่ใช่สนามบินฝั่งภายในประเทศ)
ทำกับการบินไทย (สัญญาจ้างชั่วคราว) แล้ว ทำกับแอร์นิวซีแลนด์ เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน (เช็คอิน รับผู้โดยสารขาเข้า และแผนกกระเป๋าหาย)
ผมทำงานที่แอร์นิวซีแลนด์ ได้รับรางวัลพนักงานบริการยอดเยี่ยม โหวตโดยพนักงานทุกหน่วงยงานในสนามบิน
เวลาว่าง ผมทำงานเป็นล่ามให้กับ Immigration ทั้งที่สนามบิน ที่สำนักงานในเมือง และ สัมภาษณ์โดยผมเป็นล่ามผ่านโทรศัพท์ (เพราะเจ้าหน้าที่อยู่คนละเมือง) ผมมีโอกาสได้รับรู้ ได้เห็นพฤติกรรมด้านลบของคนไทยในนิวซีแลนด์ค่อนข้างระดับหนึ่งครับ
กลับมาที่เรื่อง ย้ายประเทศง่ายไหม?
ตอบได้เลยว่า
- - ไ ม่ - -
มันไม่ง่ายเลยครับ
เพราะ อันดับแรกที่คุณต้องมีคือ "ใจ" ครับ
ใจสู้ ใจมุ่งมั่น ใจกว้างที่จะยอมรับความจริงของตนเอง
หากว่า คุณได้อ่านกระทู้ก่อนๆของผมแล้ว
คุณมั่นใจว่า คุณมีคุณสมบัติ ที่จะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ
- เริ่มเลยครับ -
หากว่า ยังไม่พร้อม
ไปค้นหาจุดอ่อนของตนเอง แก้ไข
แล้วค่อยเริ่ม
ผมบอกได้เลยครับว่า การไปใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น มันไม่มี "สูตรสำเร็จรูป"
ที่สำคัญ มันไม่มีแบบ "กึ่งสำเร็จรูป" ที่แกะซอง ลวกน้ำร้อนแล้วใช้ได้เลยนั้น มันไม่มีอยู่จริงครับ
คุณอยากได้ คุณต้องสร้างเองครับ
เอาไว้ว่างๆ ผมจะเล่าเรื่องที่ผมได้ประสพพบเจอมาครับ
ซึ่ง ผมว่า คนไทยในต่างแดน จำนวนไม่น้อย ที่ไม่ยอมเล่าด้านลบที่ตนเองต้องประสพ
เวลาใครถาม ชีวิตในต่างประเทศเป็นยังไง?
ผมว่า ส่วนมากจะพูดถึงแต่ด้านดีล้วนๆ (ให้คนฟังอิจฉา)
น้อยคนที่จะเล่าให้ฟัง เรื่องด้านลบครับ
ผมมีเกริ่นๆไปบ้าง ในกระทู้นี้ครับ
https://ppantip.com/topic/40942771
ไว้ว่างๆ ผมค่อยมาเล่าละกันนะครับ
ย้ายประเทศ ได้ไหม? ง่ายไหม?
1. https://ppantip.com/topic/40911549
2. https://ppantip.com/topic/40913768
3. https://ppantip.com/topic/40920692
ย้ายประเทศ ได้ไหม?
คำตอบคือ ได้ครับ
แต่
ใช่ว่า ทุกคนที่อยากจะย้ายประเทศ ก็จะได้ย้ายนะครับ
อันดับแรกเลย คือ
- คุณสมบัติ ของตัวคุณเอง -
เริ่มจาก มีความมุ่งมานะ มีความตั้งใจจริงไหม?
มุ่งมานะ เริ่มจากไหน? ก็เริ่มจาก หาข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ครับ ข้อมูลที่มีประโยชน์
ที่สำคัญ ข้อมูลที่มาจาก "เว็ปไซต์ของหน่วยงานราชการ ของประเทศนั้นๆ" ครับ
เช่น ต้องการหาข้อมูลการของวีซ่าถาวร ของประเทศออสเตรเลีย ก็เข้าไปหาข้อมูลจากเว็ปไซต์ของ Immigration ของออสเตรเลียโดยตรง
จะได้ข้อมูลที่ "ถูกต้องที่สุด" ครับ
ถูกต้องมากกว่า ถามจากคนทั่วๆไปครับ
ต่อมาคือ
ความสามารถและทักษะ ที่คุณมีอยู่
อย่างน้อยๆ ก็ต้องเรื่อง "ภาษาต่างประเทศ" ครับ ต้องมี
เพราะการหาข้อมูลต่างๆ ก็เป็นภาษาต่างประเทศ เป็นหลัก
หากเริ่มต้นด้วยการ หาข้อมูลที่เป็นภาษาต่างประเทศแล้วรู้สึก ยุ่งยาก วุ่นวาย แปลยาก สับสน
ผมว่าคุณเลิกความตั้งใจที่จะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ครับ เพราะ พฤติกรรมที่ว่านั้น บ่งบอกว่า "คุณ ใ จ ไ ม่ สู้" ครับ
คนใจไม่สู้ อยู่ต่างประเทศไม่ได้ครับ เพราะชีวิตในต่างประเทศนั้น อย่าหวังที่จะแบมือร้องขอความช่วยเหลือจากใครเลยครับ
"โห้ยยยยย พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ถ้าตรูไปต่างประเทศแล้วลำบาก ตรูไปขออาศัยอยู่วัดไทย ก็ได้แล้ววว"
จ๊ะ
ถ้าคุณยัง ฝันเฟื่อง ก็แล้วแต่คุณนะครับ
ผมบอกได้เลยครับ ว่า วัดไทยในต่างประเทศ ไม่ได้เป็นที่ รองรับคนไทยที่ไม่มีที่จะไป ครับ
เขาไม่ให้คุณไปเกาะกิน อาศัยอยู่ในวัดหรอกครับ
สำคัญที่สุด เหนืออื่นใด ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศคือ
- ย อ ม รั บ ค ว า ม จ ริ ง ใ น สิ่ ง ที่ ต น เ อ ง มี อ ยู่ ใ น ตั ว -
ผมหมายความว่า
หากคุณอยู่ในประเทศไทย คุณเป็นแพทย์ ที่จบจากมหาวิทยาลัยแพทย์อันดับต้นๆของประเทศ ได้เกียรตินิยมอันดับ1 ทำงานเป็นผู้บริหารในโรงพยาบาล
นั่นคือ ตัวตนของคุณ ในประเทศไทยนะครับ
แต่ เมื่อคุณไปใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น
ใบประกอบโรคศิลป์ที่คุณมีอยู่นั้นใช้ไม่ได้ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ครับ
หมายความว่า ถ้าคุณยังต้องการไปประกอบอาชีพแพทย์
คุณต้องไปนั่งเรียน ไปนั่งสอบใบประกอบโรคศิลป์ของประเทศนั้นใหม่
แพทย์บางคน ต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ 4 ปี เพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกอบโรคศิลป์
และ
เมื่อได้ใบประกอบโรคศิลป์มาแล้ว ใช่ว่าจะจบแค่นั้นนะครับ
คุณยังต้องมีทักษะ ที่จะทำงานในโรงพยาบาลที่ประเทศนั้นได้ครับ
เช่น
สนทนากับคนไข้ เรื่องอาการป่วย การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษา ฯลฯ
ซึ่งเมื่อเสร็จจากคนไข้ ก็ใช่ว่าจะจบแค่นั้นนะครับ คุณยังต้องบันทึกอาการของคนไข้ บันทึกการวินิจฉัยของคุณ บันทึกแนวทางการรักษาของคุณ บันทึกการจ่ายยาของคุณ ลงในแฟ้มประวัติคนไข้ ในภาษาของประเทศนั้นๆนะครับ
หากคุณ ไม่ต้องการใช้เวลา เพื่อการได้มาซึ่งใบประกอบโรคศิลป์
คุณก็ต้อง ยอมรับที่จะทำงานอื่นแทนแล้วละครับ
ที่ผมยกตัวอย่างอาชีพแพทย์นั้น ไม่ใช่เพราะผมมีอคติกับอาชีพนี้นะครับ
แต่
เพราะว่า การยกตัวอย่างอาชีพนี้ จะมองเห็นภาพชัดที่สุดครับ
ในความเป็นจริงนั้น
แทบจะทุกอาชีพ ในต่างประเทศ จะต้องได้รับการรับรอง "คววามรู้ความสามารถที่ได้มาตรฐานของประเทศนั้นๆ" ของคุณในวิชาชีพนั้นๆครับ
เช่น วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ
แม้กระทั่ง ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างประปา ช่างเชื่อมโลหะ ฯลฯ ก็ต้องไปเรียนเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร (Cerificate) ของประเทศนั้นๆนะครับ
หลายคนอาจจะมองว่า ผม "ดับฝัน" ของเด็กไทย
อันนี้ก็แล้วแต่จะมองนะครับ
แต่ จุดประสงค์ของผมคือ
ผมต้องการให้เด็กไทย "ยืนอยู่บนความเป็นจริง และยอมรับในความเป็นจริง" ต่างหากครับ
ผมไม่อยากให้เด็กไทย ฝันเฟื่อน ฝันกลางวัน ว่า อันนี้ก็ได้ อันนั้นก็ได้
ซึ่ง ความเป็นจริง ในชีวิตจริง มันไม่ได้ง่ายแบบนั้นครับ
หวังพึ่งคนไทยในต่างประเทศ
ครับ
ลองดูครับ
ผมบอกได้ว่า
คนไทยจำนวนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ
อาจจะยุยง สนับสนุน โน้มน้าว ชักจูง โดยการบอกว่า
"ได้ ได้ ทำได้ ไม่ยากหรอก ถ้าติดตรงไหน เดี๋ยวช่วยเอง ยินดีช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน"
ครับ
ผมบอกได้เลยว่า
ผมเห็นมาเยอะแล้วครับ พูดแบบนี้ พูดออกสื่อในขณะที่คุณอยู่ต่างแดน และผู้ขอความช่วยเหลืออยู่ประเทศไทย
พอถึงเวลาจริงๆ เมื่อผู้ขอความช่วยเหลือ มาถึงดินแดนประเทศที่คุณอยู่
ถ้าคุณไม่อ้ำอึ้ง เฉไฉว่า คุณไม่สะดวกตอนนี้ สารพัดเหตุผล
หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้
อาจจะสงสัยว่า ไอ้นี่เป็นใคร มันจะพูดอะไรก็ได้ เพ้อเจ้อ ไร้เหตุผล
อันนั้นก็แล้วแต่จะคิดครับ
แต่ถ้าใครสงสัยจริงๆ
ผมก็บอกได้คร่าวๆ ว่า
ผมไปนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 1995 ยื่นเรื่องขอวีซ่าถาวรด้วยตนเองทั้งหมด ไม่ใช้เอเจ้นท์
พอได้วีซ่าถาวร ผมทำงานที่สนามบินนานาชาติโอ๊คแลนด์ (ไม่ใช่สนามบินฝั่งภายในประเทศ)
ทำกับการบินไทย (สัญญาจ้างชั่วคราว) แล้ว ทำกับแอร์นิวซีแลนด์ เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน (เช็คอิน รับผู้โดยสารขาเข้า และแผนกกระเป๋าหาย)
ผมทำงานที่แอร์นิวซีแลนด์ ได้รับรางวัลพนักงานบริการยอดเยี่ยม โหวตโดยพนักงานทุกหน่วงยงานในสนามบิน
เวลาว่าง ผมทำงานเป็นล่ามให้กับ Immigration ทั้งที่สนามบิน ที่สำนักงานในเมือง และ สัมภาษณ์โดยผมเป็นล่ามผ่านโทรศัพท์ (เพราะเจ้าหน้าที่อยู่คนละเมือง) ผมมีโอกาสได้รับรู้ ได้เห็นพฤติกรรมด้านลบของคนไทยในนิวซีแลนด์ค่อนข้างระดับหนึ่งครับ
กลับมาที่เรื่อง ย้ายประเทศง่ายไหม?
ตอบได้เลยว่า
- - ไ ม่ - -
มันไม่ง่ายเลยครับ
เพราะ อันดับแรกที่คุณต้องมีคือ "ใจ" ครับ
ใจสู้ ใจมุ่งมั่น ใจกว้างที่จะยอมรับความจริงของตนเอง
หากว่า คุณได้อ่านกระทู้ก่อนๆของผมแล้ว
คุณมั่นใจว่า คุณมีคุณสมบัติ ที่จะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ
- เริ่มเลยครับ -
หากว่า ยังไม่พร้อม
ไปค้นหาจุดอ่อนของตนเอง แก้ไข
แล้วค่อยเริ่ม
ผมบอกได้เลยครับว่า การไปใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น มันไม่มี "สูตรสำเร็จรูป"
ที่สำคัญ มันไม่มีแบบ "กึ่งสำเร็จรูป" ที่แกะซอง ลวกน้ำร้อนแล้วใช้ได้เลยนั้น มันไม่มีอยู่จริงครับ
คุณอยากได้ คุณต้องสร้างเองครับ
เอาไว้ว่างๆ ผมจะเล่าเรื่องที่ผมได้ประสพพบเจอมาครับ
ซึ่ง ผมว่า คนไทยในต่างแดน จำนวนไม่น้อย ที่ไม่ยอมเล่าด้านลบที่ตนเองต้องประสพ
เวลาใครถาม ชีวิตในต่างประเทศเป็นยังไง?
ผมว่า ส่วนมากจะพูดถึงแต่ด้านดีล้วนๆ (ให้คนฟังอิจฉา)
น้อยคนที่จะเล่าให้ฟัง เรื่องด้านลบครับ
ผมมีเกริ่นๆไปบ้าง ในกระทู้นี้ครับ https://ppantip.com/topic/40942771
ไว้ว่างๆ ผมค่อยมาเล่าละกันนะครับ