ไทยยังคงรั้งท้าย Nikkei จัดอันดับดัชนีการฟื้นตัวจากโควิด-19 ไทยอยู่อันดับที่ 118 จาก 121 ประเทศทั่วโลก
https://thematter.co/brief/154192/154192
ยังคงรั้งท้ายเหมือนเดิม ในการจัดอันดับประเทศที่ฟื้นตัวจาก COVID-19 ของ Nikkei Asia ด้วยอันดับ 4 จากท้าย ร่วมกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่กำลังเผชิญกับการระบาดของสายพันธุ์เดลตาและการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า
ในเดือนกันยายนนี้ ไทยได้ไป 32 คะแนน และอยู่อันดับที่ 118 จากทั้งหมด 121 ประเทศ เป็นอันดับที่ 4 จากท้าย ซึ่งประเทศที่ Nikkei Asia จัดอันดับให้อยู่รั้งท้าย ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และไทยโดยประเมินจากการควบคุม COVID-19 การจัดสรรวัคซีน และความคล่องตัวในการเดินทาง
ยิ่งอันดับสูงเท่าไร ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวเริ่มกลับมามากขึ้นเท่านั้น ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่น้อยอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น รวมถึงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดน้อยลง โดยประเทศที่อยู่ใน3 อันดับแรก ได้แก่ จีน (73 คะแนน) ฮังการีและซาอุดิอาระเบีย (72 คะแนน) และชิลี (71 คะแนน)
สำนักข่าว Nikkei ระบุด้วยว่า ประเทศไทยขยับขึ้น 2 อันดับจากล่างสุดมาอยู่ที่ 118 ด้วยจำนวนผู้ป่วยรายวันลดลงจากเดิม แม้จะยังมีตัวเลขสูงอยู่ก็ตาม แต่รัฐบาลไทยได้ผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคในธุรกิจร้านค้าและร้านอาหารไปเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา และยังอนุญาตให้เที่ยวบินภายในประเทศบางเที่ยว บินไปและกลับจากกรุงเทพฯ และพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ ได้ด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ไทยเคยอยู่อันดับที่ 118 มาแล้ว ด้วยคะแนนรวม 26.0 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นอันดับที่รั้งท้ายแล้ว แต่ในเดือนสิงหาคมอันดับของไทยกลับตกลงไปอีก อยู่ที่ 120 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายร่วมกับเวียดนาม ด้วยคะแนน 22 คะแนน
สำหรับสถานการณ์ของไทยขณะนี้ มียอดผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 1,265,082 ราย และผู้เสียชีวิตรวม 12,631 ราย หรือคิดอัตราการเสียชีวิตเป็น 1% ขณะที่มีผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว 12.7% จากประชากรทั้งหมด
อ้างอิงจาก
https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/COVID-Recovery-Index-Delta-strain-and-late-jabs-hold-ASEAN-back
https://thematter.co/brief/151409/151409
https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/diaryPresentMonth/09/10/2021
ใครจะกล้าฉีด! ลูกชายโวยลั่น แม่รับวัคซีน เข็ม 2 ไม่ทันพ้นวันดับ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6602013#google_vignette
ลูกชายเศร้า แม่วัย 69 ปี เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ไม่ถึง 24 ชม. หมอระบุสาเหตุเพราะ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ไร้การเยียวยา ญาติผวาไม่กล้าฉีด
เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2564 ที่วัดสามัคคี ต.ในเมือง อ.เมือง นครราชสีมา ลูกหลานและญาติได้ร่วมพิธีฌาปนกิจน.ส.อำไพ วัดน้อย อายุ 69 ปี เสียชีวิตจากสาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลังเพิ่งรับวัคซีนเข็ม 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า (เข็มแรกซิโนแวค) โดยมีนายก้องเกียรติ วงศ์นิยม ส.อบจ.นครราชสีมา เขต 1 และนาง
นุกสรา จันทร์วิเศษ กำนันตำบลโพธิ์กลาง อ.เมือง ร่วมทอดผ้าบังสุกุล
นาย
ชูโชค เนรา อายุ 44 ปี ลูกชายคนโต กล่าวว่า ผู้เป็นแม่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีเพียงโรคประจำตัวตามวัยคือโรคความดันโลหิตสูง และเข้ารับการรักษาที่รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล หนองพลวงมะนาว ต.โพธิ์กลาง อย่างสม่ำเสมอ เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 64 รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกซิโนแวค ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา และวันที่ 30 ส.ค. 64 ได้คิวฉีดวัคซีนแบบไขว้แอสตร้าเซนเนก้า
หลังฉีดวัคซีนได้กลับมาพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ช่วงหัวค่ำมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดแขนซ้ายข้างที่ฉีดวัคซีน จึงกินยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์ เวลาประมาณ 02.00 น. มีอาการแน่นหน้าอก ตัวชา ท้องเสีย อาเจียนอย่างหนัก อาการทรุดหนักขึ้น จนแม่ทนไม่ไหว เวลา 06.00 น. จึงประสานเรียกรถพยาบาลมารับตัวไปรักษาที่รพ.มหาราช นครราชสีมา แต่ก็ไม่ทันการแม่เสียชีวิตก่อนไปถึง
ทั้งนี้ลูกหลานและญาติได้พูดคุยกันทุกคนระบุตรงกัน แม่เสียชีวิตเพราะวัคซีนสูตรไขว้อย่างแน่นอน แต่แพทย์กลับแจ้งสาเหตุการเสียชีวิตไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้ทุกคนไม่เชื่อมั่นในการฉีดวัคซีน ประกอบกับแพทย์อ้างหลักวิชาการ แม่ไม่ได้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน ทำให้ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับการติดต่อแต่อย่างใด
“เหตุการณ์นี้ทำให้ไม่เชื่อมั่นหลังฉีดวัคซีน หากเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเสาหลักผลกระทบจะตามมาอย่างมากมาย ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นโดยมีมาตรการรองรับอย่างชัดเจนและครอบคลุมมากกว่านี้ ขณะนี้ในกลุ่มญาติพี่น้องและชาว ต.โพธิ์กลาง รวมทั้งผู้ที่รู้จักกับครอบครัว หลายคนยังไม่ได้วัคซีนเข็มแรก ต่างหวาดกลัวไม่กล้าฉีดวัคซีนเกรงจะเป็นเช่นแม่ได้เสียชีวิตแบบมีปัญหาคาใจและไม่สามารถเรียกร้องความถูกต้อง ความเป็นธรรมได้”
ด้านนาย
ก้องเกียรติ ส.อบจ. นครราชสีมา เขต 1 อ.เมือง กล่าวว่า เบื้องต้นได้ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเบื้องต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดำเนินการชดเชยตามขั้นตอนโดยเร็ว
หักหัวคิวกันกี่ชั้น? แฉงบอาหารผู้ป่วยโควิดวันละ1.5หมื่น ได้ไข่ต้ม-ต้มฟัก1ชิ้น-ผัดวิญญาณหมู
https://www.dailynews.co.th/news/236406/
เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ผู้สื่อข่าวได้รับร้องเรียนจาก อดีตผู้ป่วยโควิด-19 ชาย 2 ราย คือ นาย
ไก่ (นามสมมุติ) อายุ 36 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป กับ นาย
เป็ด (นามสมมุติ) อายุ 36 ปี อาชีพทำสวนทุเรียน ว่า อาหารสำหรับผู้ป่วยโควิดในหอผู้ป่วยชุมชนแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร นั้นปริมาณและคุณภาพไม่น่าจะสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ พร้อมนำถุงอาหารในแต่ละวัน ออกมาให้ผู้สื่อข่าวดู โดยในถุงแรก เป็นเพียงข้าวสวยและไข่ต้ม ผัดเผ็ดที่มีแต่ผักและหมูสามชั้น 3 ชิ้น ชุดที่ 2 เป็นข้าวผัดไส้กรอกที่มีไส้กรอก 3 ชิ้น พร้อมแกงจืดฟักเขียว 1 ชิ้น และถั่วเขียวต้ม และน้ำปลาพริก 1 ซอง
ชายหนุ่มทั้งสองคน เปิดเผยว่า พวกตนเป็นอดีตผู้ป่วยติดเชื้อโควิด เมื่อช่วงวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา หลังจากตรวจพบว่า ตัวเองติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.ทุ่งตะโก 2 วัน ต่อมาในวันที่ 17 ส.ค. ได้ถูกย้ายมาอยู่ที่หอผู้ป่วยชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งตะโก หรือ Community Isolation (CI) ได้รับการรักษา 14 วัน จนหายเป็นปกติ ในระหว่างรักษาในหอผู้ป่วยฯ ซึ่งมีทั้งเด็ก คนหนุ่มสาว คนแก่ ทั้งหญิงชายร้อยกว่าคน ช่วงเปิดใหม่ๆ มีบุคคลระดับสูงฝ่ายต่างๆ ในจังหวัดเดินทางมาเยี่ยม ตรวจอาหารที่ได้รับวันละ 3 มื้อ อยู่ในเกณฑ์ดี มีทั้งข้าวพร้อมกับข้าว บางวันก็เป็นข้าวผัด ราดหน้า แต่ผ่านพ้นไปได้เพียง 4-5 วัน คุณภาพ และปริมาณอาหารก็เปลี่ยนไปมาก เหมือนกับที่นำมาให้ดูในวันนี้ ซึ่งเป็นอาหารของมื้อเช้าและมื้อเที่ยงของวันนี้ที่ผู้ป่วยไม่กิน
ทั้งสองคนระบุอีกว่า เมื่อผู้ป่วยกินไม่ลง ก็หันไปกินอาหารแห้งที่มีผู้บริจาคแทน ในแต่ละมื้อจึงมีอาหารเหลือจำนวนมาก รวมถึง ภาชนะที่ใส่อาหารก็เป็นเพียงถุงพลาสติกบางๆ ทำให้ไม่แน่ใจในความปลอดภัยของอาหาร แทนที่จะใส่กล่องอาหาร ผู้ป่วยหลายคนยอมรับไม่ได้กับอาหารในลักษณะดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสวยกับไข่ต้ม หรือผัดไข่กับผัก ผัดเผ็ดกับเศษหมู หรือข้าวผัดกับเนื้อหมูเพียงเล็กน้อย วนเวียนซ้ำซากทุกวัน ทั้งที่งบประมาณอาหารมีถึงคนละ 150 บาทต่อวัน แต่คุณภาพและปริมาณอาหารไม่น่าจะถึง 60 บาท
อดีตผู้ป่วยโควิดทั้งสองคน กล่าวอีกว่า พวกตนอยากให้มีการตรวจสอบ เพราะในขณะนี้ยังมีผู้ป่วยมากกว่า 100 รายในหอผู้ป่วยแห่งนี้ ผู้ป่วยทั้งหมดไม่ได้ต้องการอาหารที่หรูหราแต่อย่างใด เพียงขอให้เปลี่ยนประเภทอาหารบ้าง เช่น ราดหน้า ข้าวมันไก่ ที่ขายกันเพียง 30-40 บาท มีปริมาณที่กินแล้วอิ่ม พออยู่ได้ในแต่ละมื้อก็พอใจแล้ว เพราะเมื่ออยู่ในสถานที่รักษาตัว เจ้าหน้าที่ก็ไม่อนุญาตให้รับอาหารจากบุคคลภายนอกไม่ว่าจะเป็นญาติหรือไม่ก็ตาม เพราะไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกมาเยี่ยม เนื่องจากกลัวจะติดเชื้อ ถ้ามีก็เป็นอาหารแห้งที่ได้รับบริจาคมาบ้าง ที่น่าเห็นใจและน่าสงสารมาก คือ เด็กๆ และคนชรา ที่ไม่สามารถกินอาหารที่จัดมาให้ได้ จนผู้ป่วยหลายคนต้องคอยแบ่งอาหารที่มีเนื้อหมู หรือไข่ให้ ส่วนตัวเองก็กินเพียงน้ำแกงหรือน้ำปลา เป็นที่น่าสังเวชใจมาก
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบสถานที่ทำอาหารพบว่า ใช้สถานที่ภายในลานรับซื้อผลปาล์ม ข้างถนนลูกรังภายในลานปาล์ม ไมได้มีลักษณะเป็นสถานที่ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ประกอบอาหารก็ไม่สวมหน้ากาก ไม่สวมถุงมือด้วย ทั้งที่งบประมาณในการจัดหาอาหารที่ใช้งบของทางราชการมีมากถึงวันละ 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วย ในบางวันมีผู้ป่วยมากกว่า 150 คน
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ที่ทราบเรื่องพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ผู้จัดทำอาหารให้กับผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยแห่งนี้เป็นหน่วยงานไหน จึงพยายามสอบถามไปยังหน่วยงานระดับจังหวัดชุมพร แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด จึงไม่มีผู้ใดรับโทรศัพท์ ทราบเบื้องต้นว่า มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานหนึ่งให้คนใกล้ชิดรับเหมาไปทำ แต่มีการหักหัวคิวกันหลายระดับกว่าจะถึงผู้ป่วยจึงทำให้มีสภาพอาหารแบบที่นำออกมาแฉให้สังคมได้รับทราบ.
JJNY : 4in1 ไทยยังรั้งท้ายดัชนีการฟื้นตัว│ใครจะกล้าฉีด! ลูกโวยแม่รับเข็ม2ไม่พ้นวันดับ│แฉงบอาหารผู้ป่วย│คาดดูผลคลายล็อก
https://thematter.co/brief/154192/154192
ในเดือนกันยายนนี้ ไทยได้ไป 32 คะแนน และอยู่อันดับที่ 118 จากทั้งหมด 121 ประเทศ เป็นอันดับที่ 4 จากท้าย ซึ่งประเทศที่ Nikkei Asia จัดอันดับให้อยู่รั้งท้าย ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และไทยโดยประเมินจากการควบคุม COVID-19 การจัดสรรวัคซีน และความคล่องตัวในการเดินทาง
ยิ่งอันดับสูงเท่าไร ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวเริ่มกลับมามากขึ้นเท่านั้น ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่น้อยอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น รวมถึงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดน้อยลง โดยประเทศที่อยู่ใน3 อันดับแรก ได้แก่ จีน (73 คะแนน) ฮังการีและซาอุดิอาระเบีย (72 คะแนน) และชิลี (71 คะแนน)
สำนักข่าว Nikkei ระบุด้วยว่า ประเทศไทยขยับขึ้น 2 อันดับจากล่างสุดมาอยู่ที่ 118 ด้วยจำนวนผู้ป่วยรายวันลดลงจากเดิม แม้จะยังมีตัวเลขสูงอยู่ก็ตาม แต่รัฐบาลไทยได้ผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคในธุรกิจร้านค้าและร้านอาหารไปเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา และยังอนุญาตให้เที่ยวบินภายในประเทศบางเที่ยว บินไปและกลับจากกรุงเทพฯ และพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ ได้ด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ไทยเคยอยู่อันดับที่ 118 มาแล้ว ด้วยคะแนนรวม 26.0 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นอันดับที่รั้งท้ายแล้ว แต่ในเดือนสิงหาคมอันดับของไทยกลับตกลงไปอีก อยู่ที่ 120 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายร่วมกับเวียดนาม ด้วยคะแนน 22 คะแนน
สำหรับสถานการณ์ของไทยขณะนี้ มียอดผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 1,265,082 ราย และผู้เสียชีวิตรวม 12,631 ราย หรือคิดอัตราการเสียชีวิตเป็น 1% ขณะที่มีผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว 12.7% จากประชากรทั้งหมด
อ้างอิงจาก
https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/COVID-Recovery-Index-Delta-strain-and-late-jabs-hold-ASEAN-back
https://thematter.co/brief/151409/151409
https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/diaryPresentMonth/09/10/2021
ใครจะกล้าฉีด! ลูกชายโวยลั่น แม่รับวัคซีน เข็ม 2 ไม่ทันพ้นวันดับ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6602013#google_vignette
ลูกชายเศร้า แม่วัย 69 ปี เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ไม่ถึง 24 ชม. หมอระบุสาเหตุเพราะ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ไร้การเยียวยา ญาติผวาไม่กล้าฉีด
เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2564 ที่วัดสามัคคี ต.ในเมือง อ.เมือง นครราชสีมา ลูกหลานและญาติได้ร่วมพิธีฌาปนกิจน.ส.อำไพ วัดน้อย อายุ 69 ปี เสียชีวิตจากสาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลังเพิ่งรับวัคซีนเข็ม 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า (เข็มแรกซิโนแวค) โดยมีนายก้องเกียรติ วงศ์นิยม ส.อบจ.นครราชสีมา เขต 1 และนางนุกสรา จันทร์วิเศษ กำนันตำบลโพธิ์กลาง อ.เมือง ร่วมทอดผ้าบังสุกุล
นายชูโชค เนรา อายุ 44 ปี ลูกชายคนโต กล่าวว่า ผู้เป็นแม่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีเพียงโรคประจำตัวตามวัยคือโรคความดันโลหิตสูง และเข้ารับการรักษาที่รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล หนองพลวงมะนาว ต.โพธิ์กลาง อย่างสม่ำเสมอ เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 64 รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกซิโนแวค ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา และวันที่ 30 ส.ค. 64 ได้คิวฉีดวัคซีนแบบไขว้แอสตร้าเซนเนก้า
หลังฉีดวัคซีนได้กลับมาพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ช่วงหัวค่ำมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดแขนซ้ายข้างที่ฉีดวัคซีน จึงกินยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์ เวลาประมาณ 02.00 น. มีอาการแน่นหน้าอก ตัวชา ท้องเสีย อาเจียนอย่างหนัก อาการทรุดหนักขึ้น จนแม่ทนไม่ไหว เวลา 06.00 น. จึงประสานเรียกรถพยาบาลมารับตัวไปรักษาที่รพ.มหาราช นครราชสีมา แต่ก็ไม่ทันการแม่เสียชีวิตก่อนไปถึง
ทั้งนี้ลูกหลานและญาติได้พูดคุยกันทุกคนระบุตรงกัน แม่เสียชีวิตเพราะวัคซีนสูตรไขว้อย่างแน่นอน แต่แพทย์กลับแจ้งสาเหตุการเสียชีวิตไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้ทุกคนไม่เชื่อมั่นในการฉีดวัคซีน ประกอบกับแพทย์อ้างหลักวิชาการ แม่ไม่ได้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน ทำให้ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับการติดต่อแต่อย่างใด
“เหตุการณ์นี้ทำให้ไม่เชื่อมั่นหลังฉีดวัคซีน หากเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเสาหลักผลกระทบจะตามมาอย่างมากมาย ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นโดยมีมาตรการรองรับอย่างชัดเจนและครอบคลุมมากกว่านี้ ขณะนี้ในกลุ่มญาติพี่น้องและชาว ต.โพธิ์กลาง รวมทั้งผู้ที่รู้จักกับครอบครัว หลายคนยังไม่ได้วัคซีนเข็มแรก ต่างหวาดกลัวไม่กล้าฉีดวัคซีนเกรงจะเป็นเช่นแม่ได้เสียชีวิตแบบมีปัญหาคาใจและไม่สามารถเรียกร้องความถูกต้อง ความเป็นธรรมได้”
ด้านนายก้องเกียรติ ส.อบจ. นครราชสีมา เขต 1 อ.เมือง กล่าวว่า เบื้องต้นได้ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเบื้องต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดำเนินการชดเชยตามขั้นตอนโดยเร็ว
หักหัวคิวกันกี่ชั้น? แฉงบอาหารผู้ป่วยโควิดวันละ1.5หมื่น ได้ไข่ต้ม-ต้มฟัก1ชิ้น-ผัดวิญญาณหมู
https://www.dailynews.co.th/news/236406/
เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ผู้สื่อข่าวได้รับร้องเรียนจาก อดีตผู้ป่วยโควิด-19 ชาย 2 ราย คือ นายไก่ (นามสมมุติ) อายุ 36 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป กับ นายเป็ด (นามสมมุติ) อายุ 36 ปี อาชีพทำสวนทุเรียน ว่า อาหารสำหรับผู้ป่วยโควิดในหอผู้ป่วยชุมชนแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร นั้นปริมาณและคุณภาพไม่น่าจะสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ พร้อมนำถุงอาหารในแต่ละวัน ออกมาให้ผู้สื่อข่าวดู โดยในถุงแรก เป็นเพียงข้าวสวยและไข่ต้ม ผัดเผ็ดที่มีแต่ผักและหมูสามชั้น 3 ชิ้น ชุดที่ 2 เป็นข้าวผัดไส้กรอกที่มีไส้กรอก 3 ชิ้น พร้อมแกงจืดฟักเขียว 1 ชิ้น และถั่วเขียวต้ม และน้ำปลาพริก 1 ซอง
ชายหนุ่มทั้งสองคน เปิดเผยว่า พวกตนเป็นอดีตผู้ป่วยติดเชื้อโควิด เมื่อช่วงวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา หลังจากตรวจพบว่า ตัวเองติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.ทุ่งตะโก 2 วัน ต่อมาในวันที่ 17 ส.ค. ได้ถูกย้ายมาอยู่ที่หอผู้ป่วยชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งตะโก หรือ Community Isolation (CI) ได้รับการรักษา 14 วัน จนหายเป็นปกติ ในระหว่างรักษาในหอผู้ป่วยฯ ซึ่งมีทั้งเด็ก คนหนุ่มสาว คนแก่ ทั้งหญิงชายร้อยกว่าคน ช่วงเปิดใหม่ๆ มีบุคคลระดับสูงฝ่ายต่างๆ ในจังหวัดเดินทางมาเยี่ยม ตรวจอาหารที่ได้รับวันละ 3 มื้อ อยู่ในเกณฑ์ดี มีทั้งข้าวพร้อมกับข้าว บางวันก็เป็นข้าวผัด ราดหน้า แต่ผ่านพ้นไปได้เพียง 4-5 วัน คุณภาพ และปริมาณอาหารก็เปลี่ยนไปมาก เหมือนกับที่นำมาให้ดูในวันนี้ ซึ่งเป็นอาหารของมื้อเช้าและมื้อเที่ยงของวันนี้ที่ผู้ป่วยไม่กิน
ทั้งสองคนระบุอีกว่า เมื่อผู้ป่วยกินไม่ลง ก็หันไปกินอาหารแห้งที่มีผู้บริจาคแทน ในแต่ละมื้อจึงมีอาหารเหลือจำนวนมาก รวมถึง ภาชนะที่ใส่อาหารก็เป็นเพียงถุงพลาสติกบางๆ ทำให้ไม่แน่ใจในความปลอดภัยของอาหาร แทนที่จะใส่กล่องอาหาร ผู้ป่วยหลายคนยอมรับไม่ได้กับอาหารในลักษณะดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสวยกับไข่ต้ม หรือผัดไข่กับผัก ผัดเผ็ดกับเศษหมู หรือข้าวผัดกับเนื้อหมูเพียงเล็กน้อย วนเวียนซ้ำซากทุกวัน ทั้งที่งบประมาณอาหารมีถึงคนละ 150 บาทต่อวัน แต่คุณภาพและปริมาณอาหารไม่น่าจะถึง 60 บาท
อดีตผู้ป่วยโควิดทั้งสองคน กล่าวอีกว่า พวกตนอยากให้มีการตรวจสอบ เพราะในขณะนี้ยังมีผู้ป่วยมากกว่า 100 รายในหอผู้ป่วยแห่งนี้ ผู้ป่วยทั้งหมดไม่ได้ต้องการอาหารที่หรูหราแต่อย่างใด เพียงขอให้เปลี่ยนประเภทอาหารบ้าง เช่น ราดหน้า ข้าวมันไก่ ที่ขายกันเพียง 30-40 บาท มีปริมาณที่กินแล้วอิ่ม พออยู่ได้ในแต่ละมื้อก็พอใจแล้ว เพราะเมื่ออยู่ในสถานที่รักษาตัว เจ้าหน้าที่ก็ไม่อนุญาตให้รับอาหารจากบุคคลภายนอกไม่ว่าจะเป็นญาติหรือไม่ก็ตาม เพราะไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกมาเยี่ยม เนื่องจากกลัวจะติดเชื้อ ถ้ามีก็เป็นอาหารแห้งที่ได้รับบริจาคมาบ้าง ที่น่าเห็นใจและน่าสงสารมาก คือ เด็กๆ และคนชรา ที่ไม่สามารถกินอาหารที่จัดมาให้ได้ จนผู้ป่วยหลายคนต้องคอยแบ่งอาหารที่มีเนื้อหมู หรือไข่ให้ ส่วนตัวเองก็กินเพียงน้ำแกงหรือน้ำปลา เป็นที่น่าสังเวชใจมาก
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบสถานที่ทำอาหารพบว่า ใช้สถานที่ภายในลานรับซื้อผลปาล์ม ข้างถนนลูกรังภายในลานปาล์ม ไมได้มีลักษณะเป็นสถานที่ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ประกอบอาหารก็ไม่สวมหน้ากาก ไม่สวมถุงมือด้วย ทั้งที่งบประมาณในการจัดหาอาหารที่ใช้งบของทางราชการมีมากถึงวันละ 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วย ในบางวันมีผู้ป่วยมากกว่า 150 คน
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ที่ทราบเรื่องพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ผู้จัดทำอาหารให้กับผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยแห่งนี้เป็นหน่วยงานไหน จึงพยายามสอบถามไปยังหน่วยงานระดับจังหวัดชุมพร แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด จึงไม่มีผู้ใดรับโทรศัพท์ ทราบเบื้องต้นว่า มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานหนึ่งให้คนใกล้ชิดรับเหมาไปทำ แต่มีการหักหัวคิวกันหลายระดับกว่าจะถึงผู้ป่วยจึงทำให้มีสภาพอาหารแบบที่นำออกมาแฉให้สังคมได้รับทราบ.